ข่าวหดหู่ 4.0 'ดร.สุวินัย' แฉสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม เพราะ 'ทีมชัชชาติ' แก้รูปแบบการก่อสร้าง

11 ก.ค.2566- ดร.สุวินัย ภรณวลัย ประธานยุทธศาสตร์วิชาการ สถาบันทิศทางไทย อดีตอาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก Suvinai Pornavalai ว่า สาหตุสะพานข้ามแยกลาดกระบังถล่ม น่าจะมาจากการแก้รูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับของทีมผู้ว่ากทม. ที่ทำให้ประสิทธิภาพลดลงทางเทคนิค
จากงานวิจัยตัวนี้ (ที่มาอยู่ใต้คอมเมนต์) ผู้วิจัยใช้สะพานที่มีช่วง 31 เมตร ใช้ระบบดึงเส้นเอ็นร่วมกับระบบปรับความตึงภายหลัง
ผลการวิเคราะห์พบว่าวัสดุอัดแรงชนิด Girder box นั้นคงค่าโมเมนต์ไว้ได้มากที่สุดเนื่องจากน้ำหนักของตัวมันเอง น้ำหนักบรรทุกเพิ่ม โหลดเลน และแรงลมรวมกัน 44,029 กิโลนิวตันเมตร
ในขณะที่ ช่วงเวลาที่ใหญ่ที่สุดของ Precast คือ 7,556.75 KNm บีมบ็อกซ์ของ Girder มีโมเมนต์และแรงเฉือนที่มากกว่า Precast

นี่คือผลกระทบจากน้ำหนักของ Girder box ของมันเองที่ใหญ่กว่า Precast
การสูญเสียรูปแบบอัดแรงของ Girder box และประเภท Precast เท่ากับ 24.85% และ 26.32% ตามลำดับ
นอกจากนี้ ยังพบว่า Girder box ประเภทดังกล่าวมีราคาถูกกว่า ง่ายกว่า และมีประสิทธิภาพมากกว่า Precast ดูน้อยลง
ดร.สุวินัย ยังโพสต์เอกสารที่ระบุว่า นายสุรจิตต์ พงษ์สิงห์วิทยา ส.ก.เขตลาดกระบัง พรรคเพื่อไทย ได้ยื่นกระทู้ถาม ในการประชุมสภากรุงเทพมหานคร สมัยประชุม สามัญ สมัยแรก (ครั้งที่ 3) ประจำปีพุทธศักราช 2566 โดยมี นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าฯ กทม. เข้าประชุมด้วย ถึงความคืบหน้าของสะพานดังกล่าว เมื่อ 18 มกราคม โดยระบุว่า การก่อสร้างสะพาน ยกระดับถนนอ่อนนุช-ลาดกระบัง มีระยะทางเพียง 3.3 กิโลเมตร ใช้งบประมาณ 1,664,550,000 ล้านบาท ซึ่งทั้งเจ้าหน้าที่เขต และผู้อำนวยการเขต ต่างก็ไม่ทราบข้อมูล หรือเป็นที่ปรึกษาใน โครงการนี้
โดย นายสุรจิตต์ ได้สอบถามทางกทม. ว่าจะดำเนิน การเร่งรัดให้เร็วขึ้นอย่างไร โดยนายวิศณุ ทรัพย์ สมพล รองผู้ว่าฯกทม. ได้ระบุว่า ทางกทม. ได้มีการ ปรับเปลี่ยนรูปแบบการก่อสร้างทางยกระดับ จาก แบบเดิมที่เป็นการก่อสร้าง girder box segment ซึ่งติดตั้งแบบหล่อคอนกรีตและเทในที่ ให้เป็น precast box segment โดยหล่อจากโรงงาน และ ขนย้ายมาติดตั้งบริเวณพื้นที่ก่อสร้าง และจะแจ้งให้ ผู้รับจ้างเพิ่มแรงงาน วัสดุ และเครื่องจักรเพื่อเร่งรัด งานก่อสร้างให้เร็วขึ้น และลดผลกระทบในระหว่าง การก่อสร้าง.

ถาม AI ให้ ว่ามันต่างกันตรงไหน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่