น้ำดับไฟได้อย่างไร

.

.
นักผจญเพลิงสวมอุปกรณ์ครบชุด
ถือสายยาง/พ่นน้ำใกล้ ๆ กับเปลวไฟ
น้ำทำให้เชื้อเพลิงของไฟเผาไหม้ได้ยากขึ้น
© Ted Horowitz Photography
via Getty Images
.
.

น้ำดับไฟได้  แต่น้ำไม่ได้ออกฤทธิ์กับเปลวไฟ

ในวัยเด็กม้กจะถูกสอนว่าน้ำดับไฟได้
และได้รับการบอกเล่าว่า
ความปลอดภัยจากอัคคีภัยมีความสำคัญมาก
แต่คนเราไม่ได้เรียนรู้วิทยาศาสตร์ว่า
น้ำสามารถดับไฟได้อย่างไร
แล้วทำไมน้ำถึงดับไฟได้

“ น้ำช่วยดับไฟได้
เพราะเป็นตัวระบายความร้อนที่ดีจริง ๆ
น้ำดูดซับความร้อนได้ดีจริง ๆ "  
Sara McAllister ผู้เชี่ยวชาญด้านการเผาไหม้และพฤติกรรมของไฟ
Missoula Fire Sciences Laboratory ของ US Forest Service
ในรัฐ Montana ให้สัมภาษณ์ฺกับ Live Science
.
.

.

.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Meet Research Mechanical Engineer 
Sara McAllister
.
.


" แต่น้ำไม่ได้ออกฤทธิ์กับเปลวไฟ
เพราะไฟต้องการสามสิ่งต่อไปนี้
เพื่อทำให้ไฟสามารถลุกโชกโชนต่อไป
เชื้อเพลิง ออกซิเจน และแหล่งความร้อน

ดังนั้น แทนที่จะต่อสู้กับไฟโดยตรง
น้ำจะทำหน้าที่แทนเชื้อเพลิง
น้ำทำให้เชื้อเพลิงหมดสภาพมากขึ้น
ไม่ว่าจะเป็นไม้ แปรงถ่าน หรืออาคาร
ทำให้ไฟเผาไหม้ได้ยากยิ่งขึ้น 

เมื่อไม้กำลังลุกไหม้ 
ความร้อนของไฟ จะทำให้สารในเนื้อไม้
กลายเป็นไอและเปลี่ยนเป็นก๊าซ
ซึ่งจากนั้นจะเป็นเชื้อเพลิงในกองไฟ
แต่ถ้าสาดน้ำลงไปที่ไม้
ไฟที่ลุกไหม้จะต้องร้อนเพียงพอ
ที่จะทำให้น้ำและไม้กลายเป็นไอได้
.
.
 
.
.

เพราะความจุความร้อนของน้ำสูงมาก
จึงต้องใช้พลังงาน/ความร้อนจำนวนมาก
ในการทำให้น้ำกลายเป็นไอ
หากเปลวไฟใช้พลังงาน
ในการทำให้น้ำกลายเป็นไอ
ก็จะมีพลังงานน้อยลง
จึงทำให้เชื้อเพลิงร้อนน้อยลง

เมื่อน้ำดูดซับความร้อน
เชื้อเพลิงจะถูกทำให้เย็นลง/มอดลง

ถ้าเปลวไฟไม่สามารถทำให้เชื้อเพลิง
ร้อนมากขึ้นเพียงพอที่จะทำให้เชื้อเพลิง
กลายเป็นไอที่ติดไฟลุกไหม้ได้
เปลวไฟก็จะไม่สามารถป้อนเชื้อเพลิง
ทึ่ติดไฟลุกไหม้ให้กับตัวเองได้
ดังนั้น มันจึงไม่ลุกลามมอดไหม้อีกต่อไป

นี่เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพมากในการดับไฟ 
โดยทำให้เชื้อเพลิงที่มีศักยภาพเปียกน้ำ
เพื่อไม่ให้ไฟลุกลามต่อไป

นี่คือ กลยุทธ์ที่อยู่เบื้องหลังระบบสปริงเกลอร์
อุปกรณ์พวกนี้ป้องกันไม่ให้ไฟลุกลามต่อไป
ดังนั้นจึงช่วยประหยัดเวลา
ก่อนที่นักผจญเพลิงจะไปถึงที่นั่น
.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
How fire sprinkler systems work 
(3D Animation)
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
AquaMist - The Broadest Range of Water
 Mist Systems from Johnson Controls
.
.

น้ำระเหย/ละอองน้ำ

ยังเป็นกลยุทธ์สำคัญในการดับเพลิง
สำหรับสถานการณ์พิเศษอีกด้วย 
ตัวอย่างเช่น ห้องเซิร์ฟเวอร์ของบริษัท
การเทน้ำลงบนคอมพิวเตอร์นั้นไม่เหมาะสม
ดังนั้น ในพื้นที่ปิด จึงมีการใช้กลยุทธ์อื่น
เพื่อพยายามรักษาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
ด้วยวิธีการนี้เรียกว่า ละอองน้ำ
ละอองที่มีขนาดเล็กจนดูเหมือนไอน้ำ
จะฟุ้งกระจายเข้าไปในห้อง Server
ไอน้ำจำนวนมากจะเข้าไปแทนที่ออกซิเจน
และทำให้เปลวไฟเย็นลง/มอดลง "
Michael Gollner ผู้เชี่ยวชาญด้านการเผาไหม้
University of California Berkeley
ให้สัมภาษณ์กับ  Live Science
.
.

.
.


" ดังนั้น เห็นได้ชัดว่า
น้ำเป็นสารดับเพลิงที่มีประสิทธิภาพ
แต่ในบางสถานการณ์
น้ำไม่ใช่กลยุทธ์ที่ดี/เป็นไปได้
โดยเฉพาะอย่างยิ่งไฟป่า
ไฟป่าขนาดใหญ่ที่เกิดขึ้น
เป็นเรื่องยากมากที่จะหาน้ำ [ให้เพียงพอ]
เพื่อไปยังสถานที่เกิดไฟป่า "
Sara McAllister  ให้สัมภาษณ์เพิ่มเติม

" บ่อยครั้งที่เห็นและเป็นอยู่
เมื่อไฟป่าลดลงไม่ได้หมายถึง การดับไฟ
แต่เป็นการทำให้ไฟเผาไหม้ช้าลง

การเติมน้ำสามารถซื้อเวลา
เพื่อให้วิธีการดับเพลิงอื่น ๆ ทำงานได้
แต่มันไม่ได้หยุดไฟแต่อย่างใด
มันจำเป็นต้องมีคนอยู่บนพื้นที่
กำจัดเชื้อเพลิง/กลบไฟด้วยสิ่งต่าง ๆ
(พวกทราย เศษดิน หิน วัสดุไม่ลุกไหม้)

แต่นี่ไม่ใช่สิ่งที่สามารถทำได้
เมื่อเปลวไฟป่าสูง 50 ฟุต [15 เมตร] "
Michael Gollner กล่าวสรุป
.

เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3rniKQr
.
.
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
How Does Fire Spread?[Radiation] iHASCO
.
.

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
How Does Fire Spread?[Conduction] iHASCO
.
.

© https://bit.ly/3JPWaXb
.

.

.

.
 
.

.
.


การดับไฟด้วยไฟ Backfiring

หลักการเดียวกับการดับไฟทางอ้อม
ด้วยแนวกันไฟ (ในสวนยางภาคใต้นิยมทำกัน)
ความแตกต่างคือ มีการขยายแนวกันไฟ
ให้กว้างขึ้นอย่างรวดเร็วโดยใช้ไฟเผา

วิธีนี้เสี่ยงมาก

เพราะหากเกิดความผิดพลาดขึ้น
นอกจากจะดับไฟไม่ได้แล้ว
ยังจะทำให้ไฟยิ่งลุกลามออกไปใหญ่โต
และเกิดแนวไฟขึ้นใหม่อีกแนวหนึ่ง
จึงต้องใช้วิธีนี้ในกรณีจำเป็นจริง ๆ
และใช้เป็นทางเลือกสุดท้ายเท่านั้น

ส่วนใหญ่จะใช้ในการดับไฟ
เรือนยอดที่มีความรุนแรงมาก
หรือใช้หยุดยั้งไฟเพื่อป้องกันชีวิต
และทรัพย์สินของประชาชน
ในกรณีที่ไฟลุกลามเข้าใกล้แหล่งชุมชน
หรือพื้นที่ที่มีคุณค่าทางเศรษฐกิจ/จิตใจสูง

วิธีการดับไฟ

จะเริ่มต้นเหมือนการดับด้วยแนวกันไฟ
คือต้องทำแนวกันไฟขึ้นก่อน 
หลังจากทำแนวกันไฟเสร็จแล้ว
แทนที่จะรอตั้งรับไฟที่แนวกันไฟ
แต่จะใช้วิธีจุดไฟจากแนวกันไฟ
เพื่อให้ไฟลุกลามสวนทางกลับไปหาแนวไฟป่า
ไฟที่จุดขึ้นนี้เรียกว่าแนวไฟเผากลับ(Backfire)
เมื่อแนวไฟเผากลับลุกลามไป
บรรจบกับแนวไฟป่าจริง
ไฟก็จะดับลงเพราะขาดเชื้อเพลิง

วิธีนี้จะต้องดำเนินการภายใต้การควบคุม
ของผู้ที่มีประสบการณ์และความชำนาญ
ในการเผากลับจริง ๆ เท่านั้น
เพราะการจุดไฟเผากลับ
ให้ไฟลุกลามสวนทางลม

หลักของแนวไฟป่า ไม่ใช่เรื่องง่าย
มีบ่อยครั้งที่ผิดพลาดเพราะแนวไฟเผากลับ
สู้อิทธิพลความแรงของลมหลักไม่ได้
ทำให้เปลวไฟตีกลับ/กระโดดข้ามแนวกันไฟ
มีผลทำให้สถานการณ์กลับเลวร้ายยิ่งขึ้น
ดังนั้นการปฏิบัติงานจะต้องดำเนินการ
ตามหลักเกณฑ์ต่อไปนี้อย่างเคร่งครัด

- การสั่งการจุดไฟเผากลับ
ต้องมาจากผู้รับผิดชอบการดับไฟป่าครั้งนั้น 
(Fire Boss) แต่เพียงผู้เดียวเท่านั้น

- การสั่งการจุดไฟหลังจากทำแนวกันไฟ
เสร็จเรียบร้อยแล้วจริง ๆ และได้วางกำลัง
พนักงานดับไฟป่าเพื่อเตรียมการดับลูกไฟ
และควบคุมไฟในกรณีที่เกิดการผิดพลาด 
ไว้อย่างเพียงพอและรัดกุมแล้ว

- จุดไฟในขณะที่แนวไฟป่าจริง
ยังอยู่ห่างพอสมควร มิฉะนั้นแล้วอิทธิพลของลม
จากแนวไฟป่า จะทำให้แนวไฟเผากลับ
ถูกลมตีกลับทิศและกระโดดข้ามแนวไปได้

- ถ้าลักษณะของลมผันผวนไม่คงที่ 
ห้ามจุดไฟเผากลับโดยเด็ดขาด

- จุดไฟด้วยเครื่องมือเฉพาะ เช่น คบจุดไฟ 
ทั้งนี้เพื่อให้สามารถจุดไฟเผากลับได้อย่าง
รวดเร็วทันการ และแนวไฟเผากลับ
มีความสม่ำเสมอ ลดปัญหาการเกิด
ความปั่นป่วนของกระแสลม

- เมื่อจุดไฟแล้วต้องคอยดับไฟ
ในส่วนที่จะลามข้ามแนวกันไฟ
กลับมาหาบริเวณป่าที่จะป้องกัน 
และต้องคอยระวังดับลูกไฟ
ที่ปลิวข้ามแนวกันไฟมา

- ขณะที่แนวไฟป่าและแนวไฟเผากลับ
ลุกลามเข้าบรรจบกัน
จะมีการปะทะกันของแนวลมสองแนว
ซึ่งอาจทำให้เกิดลมหมุนอย่างรุนแรงได้
ดังนั้น ต้องระวังการปลิวกระจายของลูกไฟ
และสะเก็ดไฟที่ปลิวไปมาให้ดี

© วิธีการและกลยุทธ์ในการดับไฟป่า

.
.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Crews Light Backfires to
Control California Fire
.
.


เรื่องเล่าไร้สาระ

แม่เล่าให้ฟังว่า การใช้ไฟดับไฟ
เคยเกิดขึ้นที่เรือนแถวไม้ชั้นเดียวในหาดใหญ่
ที่ขวางกั้นถนนเจียกีซี(ถนนธรรมนูญวิถี)
แนวปัจจุบันคือ สมาคมไหหลำ-คลีนิคแพทย์
มีถนนผ่ากลางแยกเป็นบ้านเรือน 2 ฝั่ง

วันเกิดเหตุ ไฟไหม้บ้านไม้แถวนั้น
แม้ว่าชาวบ้านจะช่วยกันดับไฟด้วยน้ำ/ทราย
แต่ไฟก็ยังไหม้ลุกลามหลายหลัง
มีแต่เสียงเอะอะโวยวายดังขรมไปหมด
พอ ๆ กับสำนวนเหยียดคนจีนในอดีตว่า
เอะอะเหมือนเจ๊กตื่นไฟ

(คนจีนรุ่นเก่าที่สำเพ็ง/เยาวราช
จะหวิบ/โกรธเกลียดมาก
หรือเก็บไว้ในใจ/ด่าแม่ในใจ
ถ้ามีคนไทยเรียกว่า เจ๊ก ไอ้เจ๊ก
แม้จะชมเชยว่า อยู่ดีกินดีถ้าแต่งงานกับเจ๊ก
เพราะมีข่าวลือปนข่าวจริงว่า
จอมพลตราไก่ของสยามเลี้ยงหมาตัวหนึ่ง
ตั้งชื่อว่า เจ๊ก กับชอบเรียกคนจีนว่า เจ๊ก)

หมอฝรั่งที่มีคลีนิคอยู่เรือนแถวไม้ที่นั้น
เพิ่งลงมาจากรถไฟเพราะไปทำธุระที่สงขลา
ท่านสั่งให้พังฝาบ้านหลังหนึ่งแค่ครึ่งหลังทันที
แล้วจุดไฟเผาฝาบ้านครึ่งหลังนั้นทันที
ทีแรกชาวบ้านไม่ยอมทำตามท่าน
แต่ท่านลงมือพังฝาบ้านก่อนเป็นคนแรก
ชาวบ้านเลยเชื่อมั่น/ทำตามหมอฝรั่ง

ผลคือ ไฟที่ลุกลามมาค่อย ๆ มอดดับลงที่นี่
ทำให้ท่านได้รับการยอมรับ/นับถือจากชาวบ้าน
ต่อมา แนวคิดนี้ของท่านสร้างแรงบันดาลใจ
ให้ชาวสวนยางทำร่องดักไฟในสวนยาง
เพราะหน้าแล้งไฟมักจะไหม้บ่อย
จากพวกขี้ยาที่สูบบุหรี่แล้วโยนทิ้งเพ่นพ่าน

หมอฝรั่งท่านนี้ได้ไปเปิดโรงพยาบาลมิชชั่น
ที่ได้รับเงินสนับสนุนจากกองทุนต่างชาติ
ใกล้กับวัดโคกสมานคุณ ฝั่ง หาดใหญ่ใน
(รางรถไฟแยกเมืองเป็น 2 ฝั่ง)
นัยว่าแย่งชิงมวลชน/สอนศาสนาคริสต์
แต่ประสบความสำเร็จให้คนเปลี่ยนศาสนา
ได้น้อยมาก พอ ๆ กับโรงเรียนบาทหลวงในไทย
ที่สำนักวาติกันบอกว่า
มันก็ยังงงงง แอบสงสัยอยู่
แม้ว่าคุณภาพการเรียนการสอนคับแก้วมาก
แต่นักเรียนเปลี่ยนศาสนากลับน้อยมาก ๆ
เมื่อเปรียบเทียบกับประเทศอื่น ๆ
ที่มีโรงเรียนในการกำกับดูแลของบาทหลวง

โรงพยาบาลมิชชั่นในหาดใหญ่
ได้ปิดกิจการไปแล้ว เพราะขาดแคลนแพทย์
ยิ่งแพทย์ที่จบจากต่างประเทศจะมาทำงาน
ก็ติดขัดปัญหากฎหมายในไทย/อัตราค่าจ้าง
ทุกวันนี้ อาคารโรงพยาบาลมิชชั่นเดิม
ได้แปรสภาพเป็นที่ทำการหมอสอนศาสนา

เรื่องแปลกแต่จริง
แม่/คนเก่าคนแก่ยืนยันว่า
บ้านไม้คลีนิคเดิมของหมอฝรั่ง
ปัจจุบันเป็นคลีนิคหมอไทย 2 ท่าน

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่