Schaliegas: USSR Gas Well Blow Out = Nuclear Bomb Puts Out Fire
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 สองมหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก
คือ สหรัฐอเมริกา กับ สหภาพโซเวียตรัสเซีย
ทั้งสองชาติต่างเริ่มมองหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์จาก
พลังงานมหาศาลที่ปลดปล่อยออกมาจากระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมการผลิต
เช่น การวางแผนจะใช้ระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อจะขุดคลองปานามาเส้นใหม่
การสร้างท่าเทียบเรือในอลาสก้า
การขุดค้นภูเขาหาแร่ธาตุ
และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายดินและหินเป็นจำนวนมหาศาล
ภายใต้โครงการ
Operation Plowshare
สหรัฐอเมริกาได้ทำการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในทะเลทรายเนวาดา 27 ครั้ง
ซึ่งยังมีผลตกค้างจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในครั้งนั้น
ที่ยังสามารถมองเห็นรูปปล่องภูเขาไฟในพื้นทะเลทรายได้
ปล่องภูเขาไฟที่เหมือนรูปอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุด
ชื่อ
Sedan ในปี ค.ศ. 1962
ซึ่งในปัจจุบันนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
แม้ว่า สหภาพโซเวียตจะได้ทำการทดสอบอย่างระมัดระวัง
ภายใต้รหัสโครงการการระเบิดนิวเคลียร์เพื่อเศรษฐกิจแห่งชาติ
ด้วยการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กเป็นจำนวน 158 ครั้ง
ทั้งนี้โดยมีเป้าหมาย เพื่อค้นหาแหล่งน้ำมันใต้ดิน
สร้างถ้ำใต้ดินขนาดใหญ่สำหรับการจัดเก็บแก๊สธรรมชาติ
เปิดหน้าเหมืองแร่จากหุบเขาต่าง ๆ
ขุดคลองสายต่าง ๆ และการสร้างเขื่อนในที่ต่าง ๆ
เพราะมีครั้งหนึ่ง เมื่อทำการสำรวจแหล่งน้ำมันแล้ว
กัมมันตภาพรังสีกลับปนเปื้อนพื้นที่ส่วนใหญ่
ที่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นใกล้แม่น้ำ
Volga
และในอีกครั้งหนึ่ง ที่ทำการระเบิดดินใกล้แม่น้ำ Chagan
เพื่อทดสอบว่าจะสามารถสร้างแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำได้หรือไม่
แน่นอนว่าได้แก้มลิง/อ่างเก็บน้ำตามที่ต้องการ
แต่กลับปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีจนถึงทุกวันนี้
นับว่า มันเป็นช่วงเวลาที่พิสูจน์ตนเองถึงคุณและโทษระเบิดนิวเคลียร์
ในปี 1963
บ่อแก๊สในแหล่งผลิต
Urtabulak ของเมือง Bukhara ในภาคใต้ของ Uzbekistan
ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้
เกิดการระเบิดที่ระดับความลึกชั้นใต้ดิน 2.4 กิโลเมตร
ทำให้เกิดการลุกไหม้เหนือผิวดินกินเวลาถึง 3 ปี
ผลการเผาไหม้อย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน
ทำให้เกิดการสูญเสียแก๊สไปมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ซึ่งปริมาณแก๊สดังกล่าวเพียงพอต่อความต้องการ
กับการใช้งานด้านพลังงานของมหานคร
St. Petersburg
เมื่อหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อควบคุมไฟไหม้บ่อแก๊สเพลิง
ต่างประสบกับล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า
รัฐบาลสหภาพโซเวียตรัสเซียจึงเริ่มสอบถาม
นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
บรรดานักธรณีวิทยาและนักฟิสิกส์ของโครงการนิวเคลียร์
ต่างได้ทำการคำนวณว่า ถ้ามีการระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมา
พื้นที่ใกล้กับการระเบิดนิวเคลียร์จะสร้างแรงกดดัน
กลุ่มเมฆหมอกเศษหินเศษดินขนาดยักษ์
ที่จะสามารถปกคลุมและปิดหลุมใด ๆ ได้
ภายในระยะทาง 25 ถึง 50 เมตรจากการระเบิด
แรงระเบิดที่จำเป็นมีการคำนวณว่าจะต้องใช้แรงระเบิดถึง 30
kiloton
หรือประมาณว่าเป็น 2 เท่าที่ใช้ระเบิดใน
Hiroshima
Diagram of explosive yield vs mushroom cloud height,
illustrating the difference between 22 kiloton Fat Man and 15 megaton Castle Bravo explosions
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1966
มีการขุดเจาะหลุมที่ลาดเอียงเล็กน้อย
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 1 ฟุตจำนวน 2 หลุม
โดยเริ่มขุดเจาะหลุมพร้อม ๆ กัน
อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบ่อแก๊สเพลิง
ที่ลุกเผาไหม้อย่างไม่สามารถควบคุมได้
ผลคือ ขุดได้ที่ระดับความลึก 1,400 เมตร
คิดเป็นระยะทางห่างประมาณ 35 เมตรจากบ่อแก๊สเพลิง
มีการวางระเบิดนิวเคลียร์ลงในหลุมหนึ่ง
หลุมลูกนั้นถูกกลบทับเต็มไปด้วยปูนซีเมนต์
โดยเหตุผลที่ว่าหลังจากที่ระเบิดขึ้นมาแล้ว
จะป้องกันไม่ให้มีการปะทุใด ๆ ขึ้นสู่ผิวดินอีก
หนังสือพิมพ์โซเวียต Pravda Vostoka of Tashkent
ได้เผยแพร่รายงานการทดลองในเวลานั้น
" วันหนึ่งของฤดูใบไม้ร่วงที่หนาวเย็นในปี 1966
การสั่นสะเทือนเลือนลั่นชั้นใต้ดินที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน
ได้ส่งผลต่อหย่อมหญ้าที่ขึ้นกันอยู่กระจัดกระจายบนพื้นทรายสีขาว
มีหมอกควันพวยพุ่งขึ้นเหนือพื้นทะเลทราย
ไฟแสงสีส้มของเปลวเพลิงบ่อแก๊สค่อย ๆ มอดดับลงอย่างช้า ๆ
จากนั้นค่อย ๆ ลุกไหม้อย่างรวดเร็วขึ้น
แล้วค่อย ๆ กระพริบ จนดับลงในที่สุด
นับเป็นครั้งแรกจาก 1,064 วัน
ที่ความเงียบสงบได้มาเยี่ยมเยือนพื้นที่แห่งนี้
เสียงคำรามของแก๊สติดไฟเหมือนเครื่องบิน Jet ก็สงบลง "
มันใช้เวลาเพียง 23 วินาทีเท่านั้น
ในการดับเปลวไฟที่พวยพุ่งออกมา
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้
คือ ผลการทำงานที่น่าทึ่งมาก
แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่ระเบิดนิวเคลียร์
ถูกจุดชนวนให้ระเบิดขึ้นมา
แล้วตามด้วยการดับไฟในบ่อแก๊ส
นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ที่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์เพื่อดับไฟบ่อแก๊สเพลิง
และมันก็ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
หลายเดือนต่อมา
เกิดไฟไหม้อีกครั้งเกิดขึ้นที่บริเวณแหล่งแก๊ส Pamuk
แล้วไฟยังลุกลามไปยังบริเวณหลุมแก๊สเล็ก ๆ ที่รั่วใกล้เคียงอีกหลายหลุม
คราวนี้จึงมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 47 Kiloton
ฝังลงในหลุมที่ขุดเจาะขึ้นที่ระดับความลึก 2,440 เมตร
แล้วทำการจุดระเบิดขึ้นมาอีกครั้ง
แต่เพราะมีรูรั่วขนาดใหญ่และหลายหลุมมาก
จึงกินเวลาถึง 7 วัน ก่อนที่ไฟที่มอดไหม้จะดับลงหมดสิ้นเชิง
ความสำเร็จครั้งที่ 2 นี้
ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียตรัสเซีย
เริ่มมีความมั่นใจในเทคนิคใหม่ในการควบคุมบ่อแก๊สเพลิง
ทำให้มีการใช้วิธีการนี้ในอีกหลายครั้ง
ด้วยการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในการดับไฟจากบ่อแก๊สเพลิง
ในเดือนพฤษภาคมปี 1972
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 14 Kiloton
ที่หลุมขุดเจาะลงใต้ดินลึก 1,700 เมตร
เพื่อปิดผนึกปากหลุมแก๊สที่เพิ่งขุดใช้งานได้เพียง 2 ปี
ที่แหล่งก๊าซ Mayskii ห่างจากเมือง Mary ในเอเชียกลาง
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากนั้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน
หลุมแก๊สใน Ukraine ก็ถูกปิดผนึกด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 3.8 Kiloton
ที่ระดับความลึกมากกว่า 2.4 กิโลเมตร
ความพยายามครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อปี 1981
ในหลุมแก๊ส Kumzhinskiy ทางตอนเหนือ
ของเขตชายฝั่ง
European Russia
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 37.6 Kiloton
ที่ระดับความลึกของหลุมขุดเจาะ 1,511 เมตร
แต่คราวนี้ไม่ได้ผล ไม่สามารถปิดผนึกหลุมแก๊สเพลิงได้
เพราะตำแหน่งของรอยรั่วไม่ทราบจุดที่แน่ชัด
การทดลองทั้งหมดสิ้นสุดลงใน 1989
เพราะสหภาพโซเวียตรัสเซียยอมรับกติกาสากล
เรื่องการระงับทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ชนิดใด ๆ ร่วมกับนานาชาติ
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2xe2KkD
http://bit.ly/2xfojl3
http://bit.ly/2xlIwVr
http://bit.ly/2xhBFfC
สภาพไฟไหม้บ่อน้ำมันได้ลุกลามออกมานอกเหนือการควบคุม
ด้านนอกเมืองคูเวตในระหว่างปฏิบัติการ Desert Storm Credit : David Mcleod
Soviet nuclear test. Chagan. Atomic Lake.
ในเดือนมกราคม 1965
มีการทดลองใช้ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Chagan
บริเวณ Semipalatinsk Test Site ใน Kazakhstan
การทดลองครั้งนี้ เพื่อสร้างแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำ
เป็นการทดลองครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุด
ภายใต้โครงการ National Economy
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 140 kiloton
ที่อยู่ในหลุมที่ขุดเจาะระดับความลึก 178 เมตร
บนพื้นที่ส่วนที่แห้งแล้งของ Chagan River
ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเก็บกักน้ำในช่วงน้ำหลาก
ผลการระเบิดสร้างหลุมลึก
ที่มีขนาดกว้าง 400 เมตร ลึกราว 100 เมตร
มีการขุดทางน้ำเข้าไปขนาดกว้าง 20 ถึง 38 เมตร
เพื่อให้น้ำหลากจากแม่น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำที่ระเบิดขึ้นมา
อ่างเก็บน้ำนี้รู้จักกันในชื่อว่า Lake Chagan
มีรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลงจากผลของการระเบิดครั้งแรก
แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำนี้ กลับมีกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนมากกว่า 100 เท่า
ของระดับมาตรฐานการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในน้ำกินน้ำใช้
ในช่วงทดลองโครงการครั้งนี้
รัฐบาลโซเวียตรัสเซียรู้สึกภูมิใจมากกับ Lake Chagan
มีการถ่ายทำภาพยนตร์ร่วมกับรัฐมนตรี Medium Machine Building Ministry
เพื่อโฆษณาชวนเชื่อโครงการนิวเคลียร์ของประเทศ
ด้วยการดำว่ายน้ำในอ่างเก็บน้ำ และให้น้ำกับปศุสัตว์ในพื้นที่
Declassified U.S. Nuclear Test Film #30
การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา
ที่เขตทดลอง Nevada Test Site ราว 90 ไมล์จาก Las Vegas
ภายใต้โครงการ Plowshare Program
เริ่มต้นขึ้น 6 กรกฏาคม 1962
หลังจากเริ่มต้นแผนการในเดือนมิถุนายน 1957
ภายใต้โครงการเพื่อสันติสุขและควบคุมพลังอำนาจระเบิดนิวเคลียร์
ที่จะสร้างพลังการทำลายและสร้างสรรค์อย่างมหาศาล
โดยมีแนวคิดว่าจะนำพลังงานนิวเคลียร์
มาใช้ในการขุดคลอง ระเบิดทางทำถนน ระเบิดภูเขาเพื่อหาแร่
และเป็นวิธีการที่น่าจะง่ายที่สุดในการขนย้ายดินและหินจำนวนมหาศาล
มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ถึง 27 ครั้ง
มีเพียง 4 ครั้งที่สร้างหลุมอุกาบาตขนาดใหญ่
และมีหลุม Sedan ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
Sedan มีขนาดลึกถึง 194 เมตรจากระดับพื้นทราย
จากผลของระเบิดขนาดเทียบเท่า TNT 104 kiloton
หรือเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่ใช้ใน Hiroshima จำนวน 8 ลูก
ผลการระเบิดครั้งแรกสร้างกรวยบนพื้นดิน 90 เมตรเหนือพื้นทะเลทราย
ภายในเวลาเพียงแค่ 3 วินาทีหลังจากการระเบิด
ระเบิดทรายออกไปถึง 12 ล้านตันที่ปลิวหายไป
กระจายไปในอากาศแล้วไปหล่นแถวพื้นที่ไกลออกไป
สร้างหลุมลึก 100 เมตรและกว้าง 390 เมตร
ผลการระเบิดทำให้ชาวบ้านอเมริกันจำนวน 13 ล้านคน
ต้องอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
เพราะคาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
มันกินเวลา 7 เดือนกว่าที่ชาวบ้านจะกลับมาทำมากินในถิ่นเดิมได้
ในทุกวันนี้ ชาวบ้านสามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมหลุมดังกล่าวได้
โดยไม่จำเป็นต้องสวมชุดนิรภัยปัองกันสารปนเปื้อนกัมภาพรังสี
มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมหลุมอุตกาบาตที่สร้างขึ้นมากกว่าปีละ 10,000 คน
พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การดูแลของ U.S. Department of Energy
รัสเซียดับไฟบ่อแก๊สเพลิงด้วยระเบิดนิวเคลียร์
Schaliegas: USSR Gas Well Blow Out = Nuclear Bomb Puts Out Fire
ในช่วงต้นทศวรรษที่ 1960 สองมหาอำนาจนิวเคลียร์ของโลก
คือ สหรัฐอเมริกา กับ สหภาพโซเวียตรัสเซีย
ทั้งสองชาติต่างเริ่มมองหาวิธีที่จะใช้ประโยชน์จาก
พลังงานมหาศาลที่ปลดปล่อยออกมาจากระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมการผลิต
เช่น การวางแผนจะใช้ระเบิดนิวเคลียร์
เพื่อจะขุดคลองปานามาเส้นใหม่
การสร้างท่าเทียบเรือในอลาสก้า
การขุดค้นภูเขาหาแร่ธาตุ
และโครงการอื่น ๆ อีกมากมาย
ที่เกี่ยวข้องกับการขนย้ายดินและหินเป็นจำนวนมหาศาล
ภายใต้โครงการ Operation Plowshare
สหรัฐอเมริกาได้ทำการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ในทะเลทรายเนวาดา 27 ครั้ง
ซึ่งยังมีผลตกค้างจากการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ในครั้งนั้น
ที่ยังสามารถมองเห็นรูปปล่องภูเขาไฟในพื้นทะเลทรายได้
ปล่องภูเขาไฟที่เหมือนรูปอุกกาบาตขนาดใหญ่ที่สุด
ชื่อ Sedan ในปี ค.ศ. 1962
ซึ่งในปัจจุบันนี้กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยว
แม้ว่า สหภาพโซเวียตจะได้ทำการทดสอบอย่างระมัดระวัง
ภายใต้รหัสโครงการการระเบิดนิวเคลียร์เพื่อเศรษฐกิจแห่งชาติ
ด้วยการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาดเล็กเป็นจำนวน 158 ครั้ง
ทั้งนี้โดยมีเป้าหมาย เพื่อค้นหาแหล่งน้ำมันใต้ดิน
สร้างถ้ำใต้ดินขนาดใหญ่สำหรับการจัดเก็บแก๊สธรรมชาติ
เปิดหน้าเหมืองแร่จากหุบเขาต่าง ๆ
ขุดคลองสายต่าง ๆ และการสร้างเขื่อนในที่ต่าง ๆ
เพราะมีครั้งหนึ่ง เมื่อทำการสำรวจแหล่งน้ำมันแล้ว
กัมมันตภาพรังสีกลับปนเปื้อนพื้นที่ส่วนใหญ่
ที่มีประชากรอยู่กันอย่างหนาแน่นใกล้แม่น้ำ Volga
และในอีกครั้งหนึ่ง ที่ทำการระเบิดดินใกล้แม่น้ำ Chagan
เพื่อทดสอบว่าจะสามารถสร้างแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำได้หรือไม่
แน่นอนว่าได้แก้มลิง/อ่างเก็บน้ำตามที่ต้องการ
แต่กลับปนเปื้อนสารกัมมันตภาพรังสีจนถึงทุกวันนี้
นับว่า มันเป็นช่วงเวลาที่พิสูจน์ตนเองถึงคุณและโทษระเบิดนิวเคลียร์
ในปี 1963
บ่อแก๊สในแหล่งผลิต Urtabulak ของเมือง Bukhara ในภาคใต้ของ Uzbekistan
ระยะทางประมาณ 80 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้
เกิดการระเบิดที่ระดับความลึกชั้นใต้ดิน 2.4 กิโลเมตร
ทำให้เกิดการลุกไหม้เหนือผิวดินกินเวลาถึง 3 ปี
ผลการเผาไหม้อย่างต่อเนื่องทั้งวันทั้งคืน
ทำให้เกิดการสูญเสียแก๊สไปมากกว่า 12 ล้านลูกบาศก์เมตรต่อวัน
ซึ่งปริมาณแก๊สดังกล่าวเพียงพอต่อความต้องการ
กับการใช้งานด้านพลังงานของมหานคร St. Petersburg
เมื่อหาวิธีการต่าง ๆ เพื่อควบคุมไฟไหม้บ่อแก๊สเพลิง
ต่างประสบกับล้มเหลวครั้งแล้วครั้งเล่า
รัฐบาลสหภาพโซเวียตรัสเซียจึงเริ่มสอบถาม
นักวิทยาศาสตร์นิวเคลียร์เพื่อหาแนวทางช่วยเหลือ
บรรดานักธรณีวิทยาและนักฟิสิกส์ของโครงการนิวเคลียร์
ต่างได้ทำการคำนวณว่า ถ้ามีการระเบิดนิวเคลียร์ขึ้นมา
พื้นที่ใกล้กับการระเบิดนิวเคลียร์จะสร้างแรงกดดัน
กลุ่มเมฆหมอกเศษหินเศษดินขนาดยักษ์
ที่จะสามารถปกคลุมและปิดหลุมใด ๆ ได้
ภายในระยะทาง 25 ถึง 50 เมตรจากการระเบิด
แรงระเบิดที่จำเป็นมีการคำนวณว่าจะต้องใช้แรงระเบิดถึง 30 kiloton
หรือประมาณว่าเป็น 2 เท่าที่ใช้ระเบิดใน Hiroshima
Diagram of explosive yield vs mushroom cloud height,
illustrating the difference between 22 kiloton Fat Man and 15 megaton Castle Bravo explosions
ในช่วงฤดูใบไม้ร่วงปี 1966
มีการขุดเจาะหลุมที่ลาดเอียงเล็กน้อย
มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางกว้างกว่า 1 ฟุตจำนวน 2 หลุม
โดยเริ่มขุดเจาะหลุมพร้อม ๆ กัน
อยู่ในบริเวณใกล้เคียงกับบ่อแก๊สเพลิง
ที่ลุกเผาไหม้อย่างไม่สามารถควบคุมได้
ผลคือ ขุดได้ที่ระดับความลึก 1,400 เมตร
คิดเป็นระยะทางห่างประมาณ 35 เมตรจากบ่อแก๊สเพลิง
มีการวางระเบิดนิวเคลียร์ลงในหลุมหนึ่ง
หลุมลูกนั้นถูกกลบทับเต็มไปด้วยปูนซีเมนต์
โดยเหตุผลที่ว่าหลังจากที่ระเบิดขึ้นมาแล้ว
จะป้องกันไม่ให้มีการปะทุใด ๆ ขึ้นสู่ผิวดินอีก
หนังสือพิมพ์โซเวียต Pravda Vostoka of Tashkent
ได้เผยแพร่รายงานการทดลองในเวลานั้น
" วันหนึ่งของฤดูใบไม้ร่วงที่หนาวเย็นในปี 1966
การสั่นสะเทือนเลือนลั่นชั้นใต้ดินที่ไม่เคยปรากฏขึ้นมาก่อน
ได้ส่งผลต่อหย่อมหญ้าที่ขึ้นกันอยู่กระจัดกระจายบนพื้นทรายสีขาว
มีหมอกควันพวยพุ่งขึ้นเหนือพื้นทะเลทราย
ไฟแสงสีส้มของเปลวเพลิงบ่อแก๊สค่อย ๆ มอดดับลงอย่างช้า ๆ
จากนั้นค่อย ๆ ลุกไหม้อย่างรวดเร็วขึ้น
แล้วค่อย ๆ กระพริบ จนดับลงในที่สุด
นับเป็นครั้งแรกจาก 1,064 วัน
ที่ความเงียบสงบได้มาเยี่ยมเยือนพื้นที่แห่งนี้
เสียงคำรามของแก๊สติดไฟเหมือนเครื่องบิน Jet ก็สงบลง "
มันใช้เวลาเพียง 23 วินาทีเท่านั้น
ในการดับเปลวไฟที่พวยพุ่งออกมา
เหตุการณ์ประวัติศาสตร์ครั้งนี้
คือ ผลการทำงานที่น่าทึ่งมาก
แสดงให้เห็นถึงช่วงเวลาที่ระเบิดนิวเคลียร์
ถูกจุดชนวนให้ระเบิดขึ้นมา
แล้วตามด้วยการดับไฟในบ่อแก๊ส
นี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์
ที่มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์เพื่อดับไฟบ่อแก๊สเพลิง
และมันก็ไม่ใช่ครั้งสุดท้าย
หลายเดือนต่อมา
เกิดไฟไหม้อีกครั้งเกิดขึ้นที่บริเวณแหล่งแก๊ส Pamuk
แล้วไฟยังลุกลามไปยังบริเวณหลุมแก๊สเล็ก ๆ ที่รั่วใกล้เคียงอีกหลายหลุม
คราวนี้จึงมีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 47 Kiloton
ฝังลงในหลุมที่ขุดเจาะขึ้นที่ระดับความลึก 2,440 เมตร
แล้วทำการจุดระเบิดขึ้นมาอีกครั้ง
แต่เพราะมีรูรั่วขนาดใหญ่และหลายหลุมมาก
จึงกินเวลาถึง 7 วัน ก่อนที่ไฟที่มอดไหม้จะดับลงหมดสิ้นเชิง
ความสำเร็จครั้งที่ 2 นี้
ทำให้บรรดานักวิทยาศาสตร์สหภาพโซเวียตรัสเซีย
เริ่มมีความมั่นใจในเทคนิคใหม่ในการควบคุมบ่อแก๊สเพลิง
ทำให้มีการใช้วิธีการนี้ในอีกหลายครั้ง
ด้วยการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ในการดับไฟจากบ่อแก๊สเพลิง
ในเดือนพฤษภาคมปี 1972
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 14 Kiloton
ที่หลุมขุดเจาะลงใต้ดินลึก 1,700 เมตร
เพื่อปิดผนึกปากหลุมแก๊สที่เพิ่งขุดใช้งานได้เพียง 2 ปี
ที่แหล่งก๊าซ Mayskii ห่างจากเมือง Mary ในเอเชียกลาง
ระยะทางประมาณ 30 กิโลเมตรทางตะวันออกเฉียงใต้
หลังจากนั้นอีกครั้งในเดือนกรกฎาคมของปีเดียวกัน
หลุมแก๊สใน Ukraine ก็ถูกปิดผนึกด้วยระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 3.8 Kiloton
ที่ระดับความลึกมากกว่า 2.4 กิโลเมตร
ความพยายามครั้งสุดท้ายเกิดขึ้นเมื่อปี 1981
ในหลุมแก๊ส Kumzhinskiy ทางตอนเหนือ
ของเขตชายฝั่ง European Russia
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 37.6 Kiloton
ที่ระดับความลึกของหลุมขุดเจาะ 1,511 เมตร
แต่คราวนี้ไม่ได้ผล ไม่สามารถปิดผนึกหลุมแก๊สเพลิงได้
เพราะตำแหน่งของรอยรั่วไม่ทราบจุดที่แน่ชัด
การทดลองทั้งหมดสิ้นสุดลงใน 1989
เพราะสหภาพโซเวียตรัสเซียยอมรับกติกาสากล
เรื่องการระงับทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ชนิดใด ๆ ร่วมกับนานาชาติ
เรียบเรียง/ที่มา
http://bit.ly/2xe2KkD
http://bit.ly/2xfojl3
http://bit.ly/2xlIwVr
http://bit.ly/2xhBFfC
สภาพไฟไหม้บ่อน้ำมันได้ลุกลามออกมานอกเหนือการควบคุม
ด้านนอกเมืองคูเวตในระหว่างปฏิบัติการ Desert Storm Credit : David Mcleod
Soviet nuclear test. Chagan. Atomic Lake.
ในเดือนมกราคม 1965
มีการทดลองใช้ระเบิดนิวเคลียร์ที่ Chagan
บริเวณ Semipalatinsk Test Site ใน Kazakhstan
การทดลองครั้งนี้ เพื่อสร้างแก้มลิง/อ่างเก็บน้ำ
เป็นการทดลองครั้งแรกที่ใหญ่ที่สุด
ภายใต้โครงการ National Economy
มีการใช้ระเบิดนิวเคลียร์ขนาด 140 kiloton
ที่อยู่ในหลุมที่ขุดเจาะระดับความลึก 178 เมตร
บนพื้นที่ส่วนที่แห้งแล้งของ Chagan River
ทั้งนี้มีเป้าหมายเพื่อเก็บกักน้ำในช่วงน้ำหลาก
ผลการระเบิดสร้างหลุมลึก
ที่มีขนาดกว้าง 400 เมตร ลึกราว 100 เมตร
มีการขุดทางน้ำเข้าไปขนาดกว้าง 20 ถึง 38 เมตร
เพื่อให้น้ำหลากจากแม่น้ำไหลเข้าอ่างเก็บน้ำที่ระเบิดขึ้นมา
อ่างเก็บน้ำนี้รู้จักกันในชื่อว่า Lake Chagan
มีรูปร่างไม่เปลี่ยนแปลงจากผลของการระเบิดครั้งแรก
แต่น้ำในอ่างเก็บน้ำนี้ กลับมีกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนมากกว่า 100 เท่า
ของระดับมาตรฐานการปนเปื้อนกัมมันตภาพรังสีในน้ำกินน้ำใช้
ในช่วงทดลองโครงการครั้งนี้
รัฐบาลโซเวียตรัสเซียรู้สึกภูมิใจมากกับ Lake Chagan
มีการถ่ายทำภาพยนตร์ร่วมกับรัฐมนตรี Medium Machine Building Ministry
เพื่อโฆษณาชวนเชื่อโครงการนิวเคลียร์ของประเทศ
ด้วยการดำว่ายน้ำในอ่างเก็บน้ำ และให้น้ำกับปศุสัตว์ในพื้นที่
Declassified U.S. Nuclear Test Film #30
การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ของสหรัฐอเมริกา
ที่เขตทดลอง Nevada Test Site ราว 90 ไมล์จาก Las Vegas
ภายใต้โครงการ Plowshare Program
เริ่มต้นขึ้น 6 กรกฏาคม 1962
หลังจากเริ่มต้นแผนการในเดือนมิถุนายน 1957
ภายใต้โครงการเพื่อสันติสุขและควบคุมพลังอำนาจระเบิดนิวเคลียร์
ที่จะสร้างพลังการทำลายและสร้างสรรค์อย่างมหาศาล
โดยมีแนวคิดว่าจะนำพลังงานนิวเคลียร์
มาใช้ในการขุดคลอง ระเบิดทางทำถนน ระเบิดภูเขาเพื่อหาแร่
และเป็นวิธีการที่น่าจะง่ายที่สุดในการขนย้ายดินและหินจำนวนมหาศาล
มีการทดลองระเบิดนิวเคลียร์ถึง 27 ครั้ง
มีเพียง 4 ครั้งที่สร้างหลุมอุกาบาตขนาดใหญ่
และมีหลุม Sedan ที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
Sedan มีขนาดลึกถึง 194 เมตรจากระดับพื้นทราย
จากผลของระเบิดขนาดเทียบเท่า TNT 104 kiloton
หรือเทียบเท่ากับระเบิดนิวเคลียร์ที่ใช้ใน Hiroshima จำนวน 8 ลูก
ผลการระเบิดครั้งแรกสร้างกรวยบนพื้นดิน 90 เมตรเหนือพื้นทะเลทราย
ภายในเวลาเพียงแค่ 3 วินาทีหลังจากการระเบิด
ระเบิดทรายออกไปถึง 12 ล้านตันที่ปลิวหายไป
กระจายไปในอากาศแล้วไปหล่นแถวพื้นที่ไกลออกไป
สร้างหลุมลึก 100 เมตรและกว้าง 390 เมตร
ผลการระเบิดทำให้ชาวบ้านอเมริกันจำนวน 13 ล้านคน
ต้องอพยพโยกย้ายออกจากพื้นที่เพื่อความปลอดภัย
เพราะคาดว่าอาจจะได้รับผลกระทบจากกัมมันตภาพรังสี
มันกินเวลา 7 เดือนกว่าที่ชาวบ้านจะกลับมาทำมากินในถิ่นเดิมได้
ในทุกวันนี้ ชาวบ้านสามารถเดินทางเข้าเยี่ยมชมหลุมดังกล่าวได้
โดยไม่จำเป็นต้องสวมชุดนิรภัยปัองกันสารปนเปื้อนกัมภาพรังสี
มีผู้คนเข้าเยี่ยมชมหลุมอุตกาบาตที่สร้างขึ้นมากกว่าปีละ 10,000 คน
พื้นที่นี้อยู่ภายใต้การดูแลของ U.S. Department of Energy