Batagaika Crater
(แอ่งบาตาไกก้าในไซบีเรียตะวันออก กว้างเกือบหนึ่งกิโลเมตรและยังขยายออกเรื่อยๆ เป็นหนึ่งในแอ่งขนาดใหญ่ที่สุดหลายแห่งในอาร์กติก
เมื่อชั้นดินเยือกแข็งคงตัวละลาย ดินจะทรุดตัวลง ทำให้เกิดแอ่งและทะเลสาบขึ้น)
สถานที่นี้มีชื่อว่า “บาตาไกก้า” (Batagaika Crater) เป็นหลุมขนาดใหญ่ที่มีขนาดความยาวประมาณ 1 กิโลเมตร ลึก 100 เมตร ตั้งอยู่ใจกลางป่าทางตะวันออกในเขตไซบีเรีย ประเทศรัสเซีย ซึ่งชาวยูคาเทียน (Yukatian) ชนพื้นเมืองท้องถิ่นเรียกที่แห่งนี้ว่า “ประตูเชื่อมนรก” (Door to Underworld)
ย้อนไปในปี 1960 ชาวยูคาเทียนระบุว่า ได้ยินเสียงดังกึกก้องและยังรู้สึกได้ถึงการสั่นไหวของพื้นดินโดยรอบ และเมื่อออกสำรวจก็พบหลุมลึกขนาดใหญ่หน้าตาประหลาด ทำให้พวกเขาเชื่อว่า นี่ต้องเป็นประสู่โลกใต้พิภพอย่างแน่นอน (หลุมบาตาไกก้าไม่ได้มีการยืนยันที่แน่นอนว่าเกิดขึ้นเพียงชั่วข้ามคืน)
จากการศึกษาทางธรณีวิทยา นักวิจัยระบุว่า แท้จริงแล้วหลุมแห่งนี้เกิดจากการละลายอย่างฉับพลันของชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณนั้น ทำให้ต้นไม้ที่เคยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนหายไป ประกอบกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชั้นดินน้ำแข็งละลายจนเหลือเป็นหลุมขนาดใหญ่หน้าตาประหลาดอย่างที่เห็น
(Permafrost มีสองประเภท หนึ่งมาจากน้ำแข็งจากธารน้ำแข็งที่หลงเหลือจากยุคน้ำแข็งสุดท้ายและตอนนี้ถูกฝังอยู่ใต้ดิน อีกประเภทหนึ่งที่อยู่รอบปล่องภูเขาไฟ Batagaika คือน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นในพื้นดิน บ่อยครั้งที่น้ำแข็งนี้ถูกขังอยู่ใต้ชั้นของตะกอนและถูกแช่แข็งเป็นเวลาอย่างน้อยสองปี)
ฟรังค์ กูนเธอร์ (Frank Günther) จากสถาบันวิจัย Alfred Wegener ได้เผยข้อมูลสำคัญลงในวารสาร Quaternary Research เมื่อปี 2016 โดยระบุว่า หลุมบาตาไกก้านั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นและลึกขึ้นทุกปี ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตลอด 10 ปี มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 10 เมตรต่อปี หรือหากปีไหนที่อุณหภูมิโลกสูงกว่าปกติอาจมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 30 เมตรต่อปี (ชั้นดินน้ำแข็งละลาย) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากเพราะ ก๊าซมีเทนและคาร์บอนจำนวนมหาศาลที่ถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินแห่งนั้นมานานหลายพันปีอาจเปิดออกและพวยพุ่งขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศส่งผลให้โลกร้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามข่าวดีคือ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ในวารสาร Quaternary Research แสดงให้เห็นว่าหลุมบาตาไกก้าช่วยให้เราสามารถศึกษาสภาพภูมิอากาศของไซบีเรียย้อนหลังไปได้ถึง 200,000 ปี และอัตราการขยายตัวของมันยังช่วยให้สามารถคาดการณ์ภาวะโลกร้อนในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้หลุมบาตาไกก้ายังเผยให้เห็นซากต้นไม้โบราณที่ถูกฝังอยู่ใต้น้ำแข็งเพอร์มาฟรอสต์รวมถึงซากสัตว์ในยุคน้ำแข็งอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ชะมด, ช้าง, ม้า ซึ่งทั้งหมดแล้วล้วนมีอายุไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี
การวิจัยที่นำโดย Julian Murton จาก University of Sussex กล่าวว่าตะกอนที่สัมผัสอาจมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าสภาพภูมิอากาศของไซบีเรียเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอดีตและคาดการณ์ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ผ่านช่วงเวลาที่เย็นลงและร้อนขึ้นในช่วง 200,000 ปี ซึ่งที่ผ่านมาประวัติภูมิอากาศของไซบีเรียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเขาวางแผนที่จะเจาะรูในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ตะกอนมากขึ้นและทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้แม่นยำยิ่งขึ้น
ซากสิ่งมีชีวิตโบราณในพื้นที่แห่งนี้ ตัวอย่างเช่น ลูกม้าอายุ 42,000 ปี ถูกตั้งชื่อว่า “ลีน่า” ถูกพบเมื่อปี 2018 โดยยังคงสภาพความสมบูรณ์อย่างมาก
เพราะพบของเหลวอย่างเลือดอยู่ในร่างกาย ล่าสุดกำลังอยู่ในขั้นตอนการพยายามโคลนนิ่งลูกม้าดึกดำบรรพ์นี้ให้มีชีวิตอีกครั้ง
(ต้นไม้โบราณบางส่วนที่ยังคงอยู่ในดิน)
(Permafrost ที่ละลายสามารถเร่งการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Cr. Julian Murton)
ผู้เชี่ยวชาญบางคนเชื่อว่า สัตว์กินหญ้าขนาดใหญ่ช่วยรักษาทุ่งหญ้าอาร์กติกไว้ได้ในยุคน้ำแข็งเพราะช่วยให้ปุ๋ยแก่หญ้า โดยหวังว่าการนำทุ่งหญ้าสเตปป์กลับสู่อาร์กติกเพื่อชะลอการละลายของชั้นดินเยือกแข็งคงตัว โดยการนำม้าป่าและสัตว์กินหญ้าอื่นๆ มาปล่อยในพื้นที่อีกครั้ง
By Fiona MacDonald
The Runit Dome
(The Runit Dome ประตูนรกที่เต็มไปด้วยรังสีนิวเคลียร์ กำลังแตกออกทีละน้อย จากภาวะโลกร้อน)
ห่างจากชายฝั่งลอสแอนเจลิส 800 กิโลเมตร ณ มหาสมุทรแปซิฟิก คือที่ตั้งของหมู่เกาะ Marshall เรียกอีกชื่อหนึ่งที่คนรู้จักกันคือ ‘The Tomb’ มีสถานที่กักเก็บขยะกัมมันตภาพรังสีที่มีปริมาณมากถึง 87,800 ลูกบาศก์เมตร จากการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์ที่มีชื่อว่า " Cactus " ของกองทัพสหรัฐอเมริกา สถานที่แห่งนี้มีชื่อเรียกว่า The Runit Dome (เดอะ-รูนิท-โดม) และมันกำลังจะเปิดออกเนื่องจาก “ภาวะโลกร้อน”
เดิมเกาะแห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นฐานทัพเรือของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสิ้นสุด รัฐบาลจึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นสถานที่ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงส่งครามเย็น เนื่องจากช่วงเวลานั้นอเมริกาและโซเวียตแข็งขันกันด้านเทคโนโลยีและอาวุธยุทโธปกรณ์กันอย่างมาก ดังนั้นการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์จึงเป็นอีก 1 เครื่องมือในการทำสงครามจิตวิทยาของยุคนั้น
ตลอดระยะเวลากว่า 12 ปี ในช่วงปีค.ศ.1946-1958 เกาะแห่งนี้ได้รับการทดสอบทิ้งระเบิดนิวเคลียร์เป็นจำนวน 67 ครั้ง ซึ่ง 1 ในนั้น คือการทดสอบระเบิดไฮโดรเจน ชื่อ “Bravo” (บรา-โว) เป็นระเบิดที่มีอณุภาครุนแรงที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งรุนแรงกว่าระเบิดปรมาณูที่ทิ้งใส่ฮิโรชิมาถึง 1,000 เท่า
ตั้งแต่ในปีค.ศ. 1977 – 1980 ทหารสหรัฐฯ ประมาณ 4,000 นายได้รับมอบหมายให้ทำความสะอาดพื้นที่ทดสอบนิวเคลียร์ในพื้นที่ของ Enewetak Atoll (อ่านว่า – เอเนเวตัก) ส่วนหนึ่งของเกาะปะการังในมหาสมุทรแปซิฟิค ไม่ว่าจะเป็นดินที่ปนเปื้อนพร้อมกับของเสียจากกัมมันตภาพรังสีอื่น ๆ เช่นอุปกรณ์ทางทหาร คอนกรีต และเศษโลหะ โดยการปิดทับหลุมด้วยคอนกรีต และจากความอันตรายของสารกัมมันตรังสี ส่งผลให้มีคนงานเสียชีวิตถึง 6 คน และอีกนับร้อยที่ต้องเป็นมะเร็ง
ทั้งนี้เป็นเวลามากกว่า 50 ปีที่หลุมแห่งนี้ถูกปิดด้วยโดมคอนกรีตขนาดใหญ่หนา 18 นิ้ว เพื่อป้องกันการรั่วไหลของสารกัมมันตรังสี แต่ในปี 2013 หน่วยงานกระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ได้เข้ามาตรวจสอบโดมนี้อีกครั้ง พบว่ามันเริ่มมีการชำรุดและมีการรั่วไหลของสารสุดอันตรายดังกล่าวออกมา
มุมมองทางอากาศของโดม Runit
โดมถูกวางไว้ในปล่องภูเขาไฟที่สร้างขึ้นโดยการทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ " Cactus " ในปี1958
Runit Island - Enewetak Atoll - หมู่เกาะมาร์แชลล์
กระทรวงพลังงานของสหรัฐฯ ระบุว่าอาจมีกัมมันตรังสีบางส่วนรั่วไหลออกมาปะปนในทะเลโดยรอบ แต่มีปริมาณไม่มากพอให้เกิดอันตรายต่อผู้คนที่อาศัยอยู่ใกล้กัน แต่หากน้ำทะเลเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ภายในปี 2030 น้ำทะเลอาจสูงขึ้นถึง 16 เซนติเมตรเมื่อเทียบกับปัจจุบัน ผลคือจะทำให้เกิดพายุมากขึ้นและน้ำท่วมบริเวณชายฝั่งจนท่วมโดมอย่างสมบูรณ์ในปี 2100
ชาวท้องถิ่นกังวลกันว่าหากเกิดความเสียหายกับโดมคอนกรีต พวกเขาจะต้องเสี่ยงกับอันตรายด้านสุขภาพ ซึ่งล่าสุดโดมก็เริ่มร้าวและแตกหัก เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คลื่นลมแรงจะทำให้โครงสร้างเปิดขึ้นได้ และทำให้กากกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในมหาสมุทรหรือทะเลสาบที่อยู่ใกล้เคียงมากขึ้น จนทำให้ชาวบ้านเกรงว่าจะต้องอพยพออกจากเกาะอีกครั้ง
และล่าสุดเมื่อปี 2019 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลอมเบีย ก็ได้ทำการสำรวจสภาพแวดล้อมของ Runit Dome ตั้งแต่ 2014-2019 มาอย่างต่อเนื่อง และพบว่า “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลโดยรอบสูงขึ้นทุกปี และพื้นที่แห่งนี้ยังสูงมากกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่า ซึ่งหากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำทะเลให้คงที่หรือลดลงได้ภายใน 80 ปีข้างหน้า ในอนาคตอาจทำให้ระดับน้ำท่วมถึงปากหลุม โดมคอนกรีตจะถูกคลื่นซัดจนเปิดออก
และสารกัมตรังสีมหาศาลก็จะรั่วไหลออกสู่มหาสมุทรและกระจายไปทั่วโลก ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปรากฏการณ์ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) แผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี (radioactivity)
ความอันตรายของสารกัมมันตรังสีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของรังสี ปริมาณที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ ซึ่งหากถูกสาดใส่โดยตรง หรืออยู่ใกล้กับการระเบิด ก็อาจเสียชีวิตจากความร้อนของเปลวไฟจากแรงระเบิดได้ หรือหากได้รับสารกัมมันตรังสีอ่อน ๆ และไม่ได้รับการรักษา รังสีนั้นจะก่อให้เกิดมะเร็งในท้ายที่สุด โดยมันสามารถก่อมะเร็งได้ทุกจุดอวัยวะบนร่างกายและทุก ๆ สิ่งมีชีวิต
Ken Buesseler นักรังสีวิทยาทางทะเลผู้วางแผนที่จะศึกษาดินโดยรอบโดมกล่าวว่า ชาวบ้านอาจวิตกกังวลมากเกินไป เนื่องจากทุกวันนี้มีธาตุซีเซียมและพลูโตเนียมอยู่ในทุกๆ สิ่งที่เรากินและดื่มเข้าไปอยู่แล้ว แต่นักวิทยาศาสตร์ก็ไม่ได้นิ่งนอนใจ พวกเขายังคงศึกษาเรื่องนี้ต่อไปจนกว่าจะได้คำตอบที่ชัดเจน เพราะหากเกิดการรั่วไหลจริง มันจะกลายเป็นภัยเงียบที่ร้ายกาจต่อมนุษย์
ที่มา Science alert
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
ประตูนรก (Door to Hell) ระเบิดเวลาใต้ดิน
จากการศึกษาทางธรณีวิทยา นักวิจัยระบุว่า แท้จริงแล้วหลุมแห่งนี้เกิดจากการละลายอย่างฉับพลันของชั้นดินเพอร์มาฟรอสต์ (Permafrost) ซึ่งเป็นผลมาจากการตัดไม้ทำลายป่าในบริเวณนั้น ทำให้ต้นไม้ที่เคยทำหน้าที่เป็นฉนวนกันความร้อนหายไป ประกอบกับอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น ส่งผลให้ชั้นดินน้ำแข็งละลายจนเหลือเป็นหลุมขนาดใหญ่หน้าตาประหลาดอย่างที่เห็น
(Permafrost มีสองประเภท หนึ่งมาจากน้ำแข็งจากธารน้ำแข็งที่หลงเหลือจากยุคน้ำแข็งสุดท้ายและตอนนี้ถูกฝังอยู่ใต้ดิน อีกประเภทหนึ่งที่อยู่รอบปล่องภูเขาไฟ Batagaika คือน้ำแข็งที่ก่อตัวขึ้นในพื้นดิน บ่อยครั้งที่น้ำแข็งนี้ถูกขังอยู่ใต้ชั้นของตะกอนและถูกแช่แข็งเป็นเวลาอย่างน้อยสองปี)
ฟรังค์ กูนเธอร์ (Frank Günther) จากสถาบันวิจัย Alfred Wegener ได้เผยข้อมูลสำคัญลงในวารสาร Quaternary Research เมื่อปี 2016 โดยระบุว่า หลุมบาตาไกก้านั้นมีขนาดใหญ่ขึ้นและลึกขึ้นทุกปี ซึ่งจากการเก็บข้อมูลตลอด 10 ปี มีอัตราการขยายตัวอยู่ที่ 10 เมตรต่อปี หรือหากปีไหนที่อุณหภูมิโลกสูงกว่าปกติอาจมีอัตราการขยายตัวสูงถึง 30 เมตรต่อปี (ชั้นดินน้ำแข็งละลาย) ซึ่งเป็นเรื่องที่น่ากังวลมากเพราะ ก๊าซมีเทนและคาร์บอนจำนวนมหาศาลที่ถูกกักเก็บอยู่ใต้ดินแห่งนั้นมานานหลายพันปีอาจเปิดออกและพวยพุ่งขึ้นไปทำลายชั้นบรรยากาศส่งผลให้โลกร้อนยิ่งขึ้นกว่าเดิม
อย่างไรก็ตามข่าวดีคือ การศึกษาที่ตีพิมพ์ในเดือนกุมภาพันธ์ 2017 ในวารสาร Quaternary Research แสดงให้เห็นว่าหลุมบาตาไกก้าช่วยให้เราสามารถศึกษาสภาพภูมิอากาศของไซบีเรียย้อนหลังไปได้ถึง 200,000 ปี และอัตราการขยายตัวของมันยังช่วยให้สามารถคาดการณ์ภาวะโลกร้อนในอนาคตได้อีกด้วย นอกจากนี้หลุมบาตาไกก้ายังเผยให้เห็นซากต้นไม้โบราณที่ถูกฝังอยู่ใต้น้ำแข็งเพอร์มาฟรอสต์รวมถึงซากสัตว์ในยุคน้ำแข็งอีกเป็นจำนวนมาก เช่น ชะมด, ช้าง, ม้า ซึ่งทั้งหมดแล้วล้วนมีอายุไม่ต่ำกว่า 4,000 ปี
การวิจัยที่นำโดย Julian Murton จาก University of Sussex กล่าวว่าตะกอนที่สัมผัสอาจมีประโยชน์ในการทำความเข้าใจว่าสภาพภูมิอากาศของไซบีเรียเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอดีตและคาดการณ์ว่าจะเปลี่ยนแปลงไปอย่างไรในอนาคต ในขณะที่พื้นที่ส่วนใหญ่ผ่านช่วงเวลาที่เย็นลงและร้อนขึ้นในช่วง 200,000 ปี ซึ่งที่ผ่านมาประวัติภูมิอากาศของไซบีเรียยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด และเขาวางแผนที่จะเจาะรูในพื้นที่เพื่อวิเคราะห์ตะกอนมากขึ้นและทำความเข้าใจกับสิ่งที่เกิดขึ้นในอดีตได้แม่นยำยิ่งขึ้น
เพราะพบของเหลวอย่างเลือดอยู่ในร่างกาย ล่าสุดกำลังอยู่ในขั้นตอนการพยายามโคลนนิ่งลูกม้าดึกดำบรรพ์นี้ให้มีชีวิตอีกครั้ง
เดิมเกาะแห่งนี้ถูกเลือกให้เป็นฐานทัพเรือของสหรัฐฯ ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสงครามสิ้นสุด รัฐบาลจึงตัดสินใจเปลี่ยนเป็นสถานที่ทดสอบอาวุธนิวเคลียร์ในช่วงส่งครามเย็น เนื่องจากช่วงเวลานั้นอเมริกาและโซเวียตแข็งขันกันด้านเทคโนโลยีและอาวุธยุทโธปกรณ์กันอย่างมาก ดังนั้นการทดสอบระเบิดนิวเคลียร์จึงเป็นอีก 1 เครื่องมือในการทำสงครามจิตวิทยาของยุคนั้น
ชาวท้องถิ่นกังวลกันว่าหากเกิดความเสียหายกับโดมคอนกรีต พวกเขาจะต้องเสี่ยงกับอันตรายด้านสุขภาพ ซึ่งล่าสุดโดมก็เริ่มร้าวและแตกหัก เพิ่มโอกาสเสี่ยงที่คลื่นลมแรงจะทำให้โครงสร้างเปิดขึ้นได้ และทำให้กากกัมมันตภาพรังสีปนเปื้อนในมหาสมุทรหรือทะเลสาบที่อยู่ใกล้เคียงมากขึ้น จนทำให้ชาวบ้านเกรงว่าจะต้องอพยพออกจากเกาะอีกครั้ง
และล่าสุดเมื่อปี 2019 นักวิจัยจากมหาวิทยาลัยโคลอมเบีย ก็ได้ทำการสำรวจสภาพแวดล้อมของ Runit Dome ตั้งแต่ 2014-2019 มาอย่างต่อเนื่อง และพบว่า “ภาวะโลกร้อน” ส่งผลให้ระดับน้ำทะเลโดยรอบสูงขึ้นทุกปี และพื้นที่แห่งนี้ยังสูงมากกว่าระดับน้ำทะเลเฉลี่ยทั่วโลกถึง 3 เท่า ซึ่งหากยังไม่สามารถควบคุมระดับน้ำทะเลให้คงที่หรือลดลงได้ภายใน 80 ปีข้างหน้า ในอนาคตอาจทำให้ระดับน้ำท่วมถึงปากหลุม โดมคอนกรีตจะถูกคลื่นซัดจนเปิดออก
และสารกัมตรังสีมหาศาลก็จะรั่วไหลออกสู่มหาสมุทรและกระจายไปทั่วโลก ส่งผลต่อสภาพแวดล้อมอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
ปรากฏการณ์ธาตุกัมมันตรังสี (radioactive element) แผ่รังสีได้เองอย่างต่อเนื่องเช่นนี้ เรียกว่า กัมมันตภาพรังสี (radioactivity)
ความอันตรายของสารกัมมันตรังสีขึ้นอยู่กับหลายปัจจัย เช่น ชนิดของรังสี ปริมาณที่ได้รับ ระยะเวลาที่ได้รับ ซึ่งหากถูกสาดใส่โดยตรง หรืออยู่ใกล้กับการระเบิด ก็อาจเสียชีวิตจากความร้อนของเปลวไฟจากแรงระเบิดได้ หรือหากได้รับสารกัมมันตรังสีอ่อน ๆ และไม่ได้รับการรักษา รังสีนั้นจะก่อให้เกิดมะเร็งในท้ายที่สุด โดยมันสามารถก่อมะเร็งได้ทุกจุดอวัยวะบนร่างกายและทุก ๆ สิ่งมีชีวิต
ที่มา Science alert