หลุมขุดเจาะที่ลึกที่สุดในโลก

.
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
.
Сверхглубокая скважина СГ-7 2005 год
.
ช่วงปี 2005 ที่เริ่มมีการรื้อถอนอุปกรณ์
ออกไปบางส่วน เพื่อไปใช้งานสถานที่อื่น

1.

.
.


เรื่องที่เหลือเชื่อและยากที่จะจินตนาการว่า
ภายใต้ฝาโลหะขนาดเล็กที่ปิดปากหลุมนี้อยู่
ด้านในหลุมนี้ เคยมีการขุดเจาะที่ลึกที่สุดในโลก
แต่ในขณะนี้ล้อมรอบไปด้วยซากปรักหักพัง


ในปี 1970
Kola Superdeep Borehole  คือ
โครงการวิทยาศาสตร์ที่ดำเนินการ
โดยสหภาพโซเวียตรัสเซีย
เพื่อทำความเข้าใจ/เรียนรู้
เกี่ยวกับเปลือกโลกให้มากขึ้น
ขณะเดียวกันเพื่อแข่งขันกับสหรัฐอเมริกา
ที่ทั้งสองชาตินี้ต่างแย่งชิงกันว่า
ใครเหนือกว่าใครทางด้าน
วิทยาศาสตร์และวิศวกรรม


เปลือกโลกเป็นชั้นนอกสุดของโลก
เป็นเปลือกบาง ๆ เมื่อเปรียบเทียบกับ
มวลของโลกทึ่หนาประมาณ 30-50 กิโลเมตร
สันนิษฐานว่า โครงสร้างเป็นหินทั่วไป เช่น
หินแกรนิต และ หินบะซอลต์
ทั้งนี้นักวิทยาศาสตร์สังเกตจาก
การระเบิดของภูเขาไฟ
และตรวจสอบจากชั้นหิน
/ชั้นดินในเขตภูเขาไฟเก่า
โดยเปลือกโลกจะลอยอยู่เหนือ
ผิวปกคลุมแกนกลางด้านในของโลก
ซึ่งคาดว่าจะเป็นมวลกึ่งของแข็งของเหลว
จากหินหลอมเหลว ที่ประกอบขึ้นเป็น
พื้นที่ส่วนใหญ่ของโลก
ภายใต้ผิวปกคลุมส่วนที่
พื้นที่ที่เป็นใจกลางของโลก
ที่สันนิษฐานว่าน่าจะเป็น
พวกประเภทธาตุเหล็ก
ที่มีผลทำให้เข็มทิศแม่เหล็ก
ชี้ไปทางทิศเหนือตลอด

ในตอนต้นทศวรรษที่ 1960
สหรัฐอเมริกาได้พยายาม
ขุดเจาะเปลือกโลกครั้งแรก
โดยมีเป้าหมายหลักคือ
ไม่เพียงแค่เจาะผ่านแค่เปลือกโลก
แต่ต้องการเจาะลึกเข้าไปให้ถึง
พื้นผิวปกคลุมแกนกลางด้านในของโลก
ซึ่งถ้ากระบวนการนี้ทำได้สำเร็จแล้ว

นักธรณีวิทยาคาดหวังว่า
จะได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับ
อายุ ชั้นดิน/แร่ธาตุต่าง ๆ
และกระบวนการภายในของโลก
รวมถึงให้คำตอบเกี่ยวกับ
ความลึกลับของชั้นเปลือกโลก
ที่บางครั้งเกิดรอยเลื่อน
ที่ทำให้เกิดคลื่นซูนามิขึ้นมาหลายครั้ง
ซึ่งในเวลานั้นยังคงเป็น
ข้อถกเถียงกันในเชิงวิทยาศาสตร์


ในฤดูใบไม้ผลิปีค.ศ.1961
มีการขุดเจาะรวม 5 หลุมนอกชายฝั่ง
เกาะ Guadalupe ประเทศเม็กซิโก
ภายใต้โครงการ Project Mohole
ซึ่งนักประวัติศาสตร์ท่านหนึ่งได้บรรยายว่า
เพื่อหาคำตอบทางวิทยาศาสตร์
จากพื้นโลก  สู่โครงการอวกาศ


ในปี ค.ศ.1966
โครงการนี้ได้ทำการขุดเจาะผ่านทัองทะเล
ทั้งนี้เพราะพื้นผิวเปลือกโลกจะบางกว่า
เมื่อขุดเจาะลงไปใต้มหาสมุทรตามที่ประเมินไว้
แต่ขุดเจาะหลุมได้ลึกเพียง 183 เมตร
รัฐบาลสหรัฐอเมริกาก็ระงับเงินสนับสนุน
และทำให้โครงการนี้ถูกทอดทิ้งไป


5 ปีต่อมา สหภาพโซเวียตรัสเซีย
ได้ตัดสินใจที่จะขุดเจาะเปลือกโลก
แข่งขันกับสหรัฐอเมริกา
โดยตั้งเป้าหมายการขุดเจาะ
ที่ความลึกเพียง 15 กิโลเมตร
ซึ่งดูแล้วสมจริงสมจัง
และมีเหตุผลมากกว่าสหรัฐอเมริกา
เพราะตั้งความหวังไว้เพียงต้องการดูว่า
ทางเทคนิคแล้วจะสามารถขุดเจาะ
หลุมได้ลึกที่สุดเพียงแค่ไหน
ก่อนที่จะมีปัญหาทางเทคนิค
ที่จะขุดเจาะหลุมลึกผ่านไปไม่ได้
.
2.

.
สถานีขุดเจาะ Kola Superdeep Borehole ภาพถ่ายในปี 1974  
Credit : Mezencev Sabourov / Wikimedia
.
.

ในปี ค.ศ.1971
นักวิทยาศาสตร์/วิศวกร/นายช่าง
/คนงานสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ได้เริ่มทำการขุดเจาะหลุมในคาบสมุทร Kola Peninsula
ทางตะวันตกเฉียงเหนือ
ของสหภาพโซเวียตรัสเซีย

ในปี ค.ศ.1979
สหภาพโซเวียตรัสเซียก็ได้ทำลายสถิติโลก
มีชัยชนะหลุมขุดเจาะน้ำมัน Bertha Rogers
ที่ WashitaCounty ในรัฐ Oklahoma สหรัฐอเมริกา
ที่มีระดับความลึก 9,583 เมตร

ในปีค.ศ.1983
สหภาพโซเวียตรัสเซียก็ทำการขุดเจาะ
ผ่านที่ระดับความลึกที่วัดได้
ที่ 12,000 เมตร (12 กิโลเมตร)
กลายเป็นวาระเฉลิมฉลองตลอดทั้งปี
และแสดงความยินดีกันทั่วทั้งประเทศ
สถานที่แห่งนี้ได้กลายเป็นชุมชนวิทยาศาสตร์
พวกนักการเมืองต่างพากันเข้ามา
เยี่ยมชนพื้นที่ขุดเจาะแห่งนี้
แบบไม่ซ้ำหน้ากันตลอดเวลาเลย

มีการนำหัวขุดเจาะ/ดอกสว่าน
ที่ใช้ในการขุดเจาะและมีสภาพขึ้นสนิม
ที่ทำการขุดเจาะหลุมได้ลึก
ถึงระดับที่ไม่เคยมีชาติใดทำมาได้ก่อน
นำขึ้นมาจัดแสดงเพื่อเป็น
ประจักษ์พยานต่อผู้ที่มาเยี่ยมชม

รัฐบาลก็ได้เร่งผลิต
แสตมป์ที่ระลึก/ซองจดหมายพิเศษ
ของสถานที่ขุดเจาะหลุมได้
ลึกที่สุดในโลกออกมาวางจำหน่าย

ในขณะที่ทุกคนกำลังยุ่งอยู่กับการเฉลิมฉลอง
ชุดขุดเจาะจึงถูกวางทิ้งไว้
และไม่มีการบำรุงรักษา
ทำให้ในปีต่อมา  
ที่เริ่มมีการขุดเจาะใหม่อีกครั้ง
ที่ระยะทางความลึก
ของบ่อขุดเจาะ 5 กิโลเมตร
หัวขุดเจาะที่ยึดติดกับ
สายขุดเจาะ/ท่อขุดเจาะ เกิดการบิดตัว
หลุดลงข้างล่างของหลุมขุดเจาะ
แม้ว่าจะมีความพยายามกู้
หัวขุดเจาะ/สายขุดเจาะขึ้นมา
แต่ก็ประสบความล้มเหลว
ไม่สามารถกู้คืนขึ้นมาได้

ทั้งนี้น่าจะมาจากการที่ท่อที่ยัน
/กันดินรอบ ๆ ไม่ให้หล่นลงไป
มีการชำรุดหรือทรุดตัวลงไป
ด้านล่างของบ่อที่ขุดไว้
แบบการขุดบ่อบาดาล
ที่มักจะพบกันหลายแห่ง
ทำให้หัวขุดเจาะกับท่อขุดเจาะบางส่วน
ดึงขึ้นมาไม่ได้อีก ต้องทิ้งไว้ในบ่อ
ซึ่งส่วนมากมีทางเลือก 2 ทาง
คือ ปิดปากบ่อนั้น  
หรือ ใช้น้ำที่ระดับความลึกที่เจาะได้
เพราะมักจะเป็นพวกหิน
ตามด้วยดินทรายลงไปกลบทับ

หลังจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น
ทีมงานสหภาพโซเวียตรัสเซีย
ก็ได้เริ่มลงมือขุดเจาะใหม่อีกครั้ง
สันนิษฐานว่าน่าจะขุดเจาะในหลุมเดิม
โดยหัวขุดเจาะกับท่อชุดเก่า
ที่จมลงไปหลอมละลายไปแล้ว
กับต้องเจอกับปัญหาหินและทรายที่กลบทับ
และบางทีอาจจะหลอมละลาย
จากความร้อนที่ดันขึ้นมา

มีการขุดเจาะที่ระดับความลึก 7 กิโลเมตร
(จากเดิมที่เคยขุดเจาะลึกถึง 12 กิโลเมตร)
คราวนี้ต้องใช้เวลาถึง 5 ปี
จึงจะได้ความลึกที่ระดับสุดท้ายที่ 12,262 เมตร
โดยทีมงาน/วิศวกรต่างหวังว่า
จะสามารถขุดเจาะให้ได้ระดับความลึก
ถึง 15,000 เมตรภายในปีค.ศ.1993
แต่อุณหภูมิข้างในนั้นสูงกว่า
ที่คาดการณ์มาก มีอุณหภูมิประมาณ 180 ° C
ซึ่งได้สร้างความหายนะ/ความเสียหายต่าง ๆ
ให้กับอุปกรณ์ขุดเจาะ ยิ่งลงลึกยิ่งร้อน
มากกว่าเดิม ถ้าไปถึงเป้าหมายที่วางไว้
อาจร้อนมากจนถึง  300 ° C
สุดท้าย  จึงมีการสรุปและตัดสินใจว่า
ไม่สามารถทำการขุดเจาะ
ลึกลงไปกว่านี้ได้อีกแล้ว

วัตถุที่ประสงค์เดิมของหลุมขุดเจาะ คือ
การทำความเข้าใจธรรมชาติของเปลือกโลก
ผลการทดลองที่ขุดเจาะได้ลึกขนาดนี้
จึงได้รับการยกย่องว่า ประสบความสำเร็จ
เพราะมีข้อเท็จจริงที่น่าสนใจ
เกี่ยวกับพื้นผิวของโลก
นักวิทยาศาสตร์คาดว่า
จะพบประเภทชั้นหินแกรนิต
แปรเปลี่ยนสภาพกลายเป็นหินบะซอลต์
ที่ระดับความลึกประมาณ 7 กิโลเมตร
แต่กลับพบว่าพื้นที่บริเวณนี้เป็นรอยร้าว
ที่เต็มไปด้วยของเหลวคล้ายกับน้ำ
และเรื่องที่น่าประหลาดใจคือ
คาดว่ามีความลึกอย่างมากเช่นกัน

นอกจากนี้ที่ระดับความลึก 6 กิโลเมตร
ยังพบซากดึกดำบรรพ์ของแพลงก์ตอน
เมื่อส่องดูด้วยกล้องจุลทรรศน์ที่มีกำลังขยาย

การค้นพบที่ไม่คาดคิดอีกอย่างหนึ่งคือ
ก๊าซไฮโดรเจนจำนวนมาก
โคลนที่ไหลออกมาจากหลุมขุดเจาะ
มีคำอธิบายว่า เดือด กับ ไฮโดรเจน

ในปี ค.ศ.1990
มีโครงการขุดเจาะหลุมลึกพิเศษ
อีกโครงการหนึ่ง คือ
German Continental Deep Drilling Programme
โดยทำการขุดเจาะที่ Bavaria ในเยอรมันนี
ทีมงานของชาวเยอรมัน
ขุดเจาะหลุมได้ลึกถึง 9,101 เมตร
แต่ก็พบปัญหาแบบเดียวกับ
Kola Superdeep Borehole
คือ พบว่ามีอุณหภูมิสูง
ผิดปกติมากกว่า 260 ° C ที่
ภายใต้อุณหภูมิและความดัน
ที่ความลึกระดับนั้น
พวกหิน/แร่ธาติได้แปรสภาพ
เหมือนของเหลว จึงเป็นการยากมาก
ที่จะขุดเจาะหลุมให้ลึกลงไปอีก
.
.

.
.

ในปี ค.ศ.2008
มีการขุดเจาะบ่อน้ำมันในแหล่งน้ำมัน
Al Shaheen Oil Field ใน Qatar
โดยขุดเจาะบนแหล่งน้ำมันท้องทะเล
ได้ระดับความลึก 12,289 เมตร

แต่การขุดเจาะหลุม
Kola Superdeep Borehole
เป็นการขุดเจาะหลุมที่ลึกที่สุดในโลก
เพราะเป็นการขุดเจาะในแนวดิ่ง
บนพื้นผิวโลกดำดิ่งลงไป
ทำให้ปากหลุมของ
Kola Superdeep Borehole
ที่มีความกว้างเพียง 9 นิ้ว
และตอนนี้ยังปิดปากหลุมอยู่
ยังคงรักษาตำแหน่ง
หลุมขุดเจาะที่ลึกที่สุดในโลก
.

เรียบเรียง/ที่มา


http://bit.ly/2QYbKqc
http://bit.ly/2QTKnNU
http://bit.ly/2TjTggD
https://bit.ly/2TfZFJx
.
.
.
3.

.
สภาพปัจจุบัน Credit: Alexei Zaitsev

.
.
4.

.
Credit: Bigest/Wikimedia

.
.
5.

.
Credit: Rakot13/Wikimedia

.
.
6.

.
Credit: Alexander Egortsev

.
.
7.

.
ตัวอย่างที่ได้จากการขุดเจาะหลุม Kola Superdeep Borehole ในปี 1980 Credit : Ivanovic Vladimir Khmelinsky

.
.
8.

.
การเก็บตัวอย่างแกนที่ได้จากการขุดเจาะหลุม Kola Superdeep Borehole ในปี 1980  Credit : Ivanovic Vladimir Khmelinsky

.
.
9.

.
Credit : https://go.nasa.gov/2LBZtSt

.
.
10.


.
.
11.


.
.
12.


.
.
13.

.
10-13 Credit : https://bit.ly/1oALsTw
.
.
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่