เรื่องโดย ผศ. ดร.สมฤดี สักการเวช
ถ้าพูดถึงเพชร เชื่อเลยว่าหลายคนต้องเคยได้ยินสโลแกน “Diamond is a girl’s best friend” (เพชรคือมิตรแท้ของสตรี) ประโยคนี้มาจากบทเพลงที่ดาราสาวสุดเซ็กซี่ มาริลิน มอนโร ขับร้องในภาพยนตร์ Gentlemen Prefers Blond เครื่องประดับเพชรคืออัญมณีที่สาว ๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากจะมีติดตัวไว้สักชิ้น
ปัจจุบันบริษัทค้าเพชรที่โด่งดังที่สุดคือ De Beers แต่รู้หรือไม่ว่าในทศวรรษที่ 30s De Beers ประสบปัญหาใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่มีการชะลอตัว ประเทศอเมริกาประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง
สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเพชรกลายเป็นของชนิดแรก ๆ ที่ขายไม่ออก De Beers นำสโลแกน “A Diamond is forever” (เพชรคือนิรันดร) มาสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเพชรกับความรักที่ยั่งยืน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผู้คนไม่ได้นิยมเอาเพชรมาประดับแหวนแต่งงาน แต่เพราะสโลแกน “เพชรคือนิรันดร” นั่นเอง เลยมีการหันมาใช้เพชรบนแหวนแต่งงานมากขึ้น เพชรไม่ใช่แค่ของสวยงาม แต่คือสัญลักษณ์ของความรัก ความหรูหรา ความแข็งแกร่ง และคุณค่าทางใจที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าตลอดกาล
เพชรธรรมชาติเกิดจากการตกผลึกภายใต้อุณหภูมิสูงและความดันสูงใต้เปลือกโลกใช้เวลานานเป็นล้านปี มีสมบัติกายภาพที่พิเศษต่างจากแร่อัญมณีอื่น ๆ อย่างความแข็งระดับ 10 ตามมาตรวัดความแข็งของโมห์ส (Mohs’ scale of hardness) ซึ่งทำให้เพชรเป็นแร่ที่แข็งที่สุด และเพราะความแข็งนี่แหละทำให้เพชรมีประกายวาววิบวับ ที่เรียกว่า “วาวแบบเพชร” (adamantine luster) ซึ่งเป็นประกายที่แร่อัญมณีอื่น ๆ ก็ไม่สามารถเทียบได้
เพชรธรรมชาตินั้นมีมาตรฐานคุณภาพเพชร เรียกว่า “4Cs” คือ น้ำหนัก (carat) สี (color) ความสะอาด (clarity) และการเจียระไน (cutting)
ถ้าเพชรมีระดับคุณภาพดีเยี่ยมครบ 4Cs ก็ถือว่าเป็นเพชรที่เป๊ะ ! เพชรใสไร้สี (colorless) หรือเพชรเกือบไร้สี (near colorless) มักจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะความคลาสสิกและเข้ากับทุกลุก
แต่ถ้าใครอยากแตกต่าง เพชรสีแฟนซี อย่างเพชรสีชมพู น้ำเงิน หรือเหลือง ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมที่พร้อมจ่ายหนักเพื่อประมูลเอามาไว้ครอบครอง
แต่เดี๋ยวก่อน…ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมาแรง โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันแถมยังเป็นสินค้าแฟชั่นด้วย ความหรูหราจากเครื่องประดับแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อีกต่อไป
คนส่วนมากเริ่มมองหาเครื่องประดับแฟชั่นที่ราคาไม่แรง สามารถเปลี่ยนได้บ่อย ๆ มากกว่าจะลงทุนกับเครื่องประดับชิ้นใหญ่ ๆ เพราะอย่างที่รู้กันว่า เพชรธรรมชาตินั้นหายากและมีราคาแพง ทำให้ตอนนี้ “เพชรสังเคราะห์” กลายมาเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ด้วยราคาเบากว่าครึ่งแต่ความสวยไม่แพ้กัน
อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ยังหลงใหลในเสน่ห์ของเพชร แต่ไม่อยากควักกระเป๋าทุ่มเงินหนัก ๆ ขอบอกเลยว่าเรามีทางเลือกใหม่อย่าง
เพชรสังเคราะห์ หรือเพชรที่ผลิตในห้องปฏิบัติการ (lab-grown diamond) ซึ่งกำลังมาแรงมากในหลายประเทศ
เพชรสังเคราะห์มีความเหมือนเพชรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบเคมีหรือสมบัติทางกายภาพ เพชรสังเคราะห์ที่เจียระไนแล้วก็เหมือนเพชรธรรมชาติจนแยกด้วยตาเปล่าไม่ออก ที่สำคัญราคายังถูกกว่าเพชรธรรมชาติถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า
ใครที่อยากได้เพชรเม็ดใหญ่ ๆ ในงบไม่บานปลาย หรือใครมีงบจำกัดก็สามารถเลือกเพชรสังเคราะห์เม็ดใหญ่ได้ในราคาเดียวกับเพชรแท้เม็ดเล็ก เพชรสังเคราะห์ก็คือคำตอบที่ใช่ !
สำหรับเทคนิคการผลิตเพชรสังเคราะห์นั้น มีสองแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ HPHT (high pressure high temperature) และ CVD (chemical vapor deposition)
ใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ สร้างเพชรขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ โดยวิธี HPHT จะใช้ความร้อนและแรงดันสูงเพื่อเลียนแบบสภาวะในโลกที่เพชรธรรมชาติเกิดขึ้น วิธีนี้ทำให้ได้วัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายเพชรธรรมชาติมาก นอกจากเพชรสังเคราะห์ HPHT ไร้สีแล้วอาจมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง น้ำตาล
นอกจากนี้กระบวนการ HPHT ยังเป็นกระบวนการที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพสีเพชรธรรมชาติให้มีสีขาวขึ้น หรือระดับคุณภาพสีสูงขึ้นด้วย
ส่วน CVD นั้นใช้การปล่อยไอคาร์บอนเข้าไปในระบบสุญญากาศ และใช้พลังงานสูงทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน แล้วสร้างผลึกเพชรขึ้นทีละนิดทีละหน่อย จนออกมาเป็นเพชรสังเคราะห์ที่ควบคุมขนาดและความหนาได้ตามต้องการ
การผลิตเพชรสังเคราะห์ไม่ใช่แค่เรื่องเครื่องประดับอย่างเดียวเท่านั้น แต่เพชรสังเคราะห์ยังมีบทบาทสำคัญในวงการอุตสาหกรรมด้วย เช่น ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ขุดเจาะ เนื่องจากมีสมบัติความแข็งและการนำความร้อนที่ดี และที่สำคัญเพชรสังเคราะห์ยังช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย เพราะการผลิตไม่ต้องระเบิด ขุด เจาะ ทำเหมือง ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลอย่างน้ำ น้ำมัน หรือไฟฟ้าแบบการทำเหมืองเพชรธรรมชาติ และที่สำคัญคือไม่ทำลายป่า ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้เยอะมาก เหมาะกับสายรักษ์โลกสุด ๆ
แม้เพชรสังเคราะห์กับเพชรธรรมชาติจะดูเหมือนกันเป๊ะ แต่เพชรธรรมชาติยังคงมีเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้แตกต่าง นั่นก็คือ “ความเป็นธรรมชาติ”
เพชรธรรมชาติมักจะมีร่องรอยของตำหนิเล็ก ๆ ที่เกิดจากการก่อตัวใต้เปลือกโลก เช่น ลักษณะหลุมสามเหลี่ยมที่ผิวเพชร (trigons) หรือแร่มลทิน (crystal inclusions) เล็ก ๆ ซึ่งสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เพชรสังเคราะห์ไม่มี แม้ว่าเพชรสังเคราะห์จะบริสุทธิ์กว่า แต่ในขณะเดียวกันเพชรธรรมชาติก็ยังคงมีความพิเศษอยู่ในเรื่องของความหายาก ความเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า และเป็นมรดกที่สามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ มีคุณค่าในเชิงจิตใจมากกว่าเพชรสังเคราะห์ และยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราที่ไม่มีวันเอาต์
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นเพชรธรรมชาติหรือเพชรสังเคราะห์ การเลือกก็ขึ้นอยู่กับสไตล์และสิ่งที่คุณให้ความสำคัญ ถ้าคุณเป็นสายรักษ์โลก ชอบความคุ้มค่า เพชรสังเคราะห์ก็คงตอบโจทย์ แต่ถ้าคุณชอบของหายาก มีคุณค่าเชิงจิตใจและอยากใช้เป็นสินทรัพย์มรดกตกทอด เพชรธรรมชาติก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดี
เพชรแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ ?
https://www.nstda.or.th/sci2pub/diamond/
เพชร VS เพชรสังเคราะห์ : สวย เก๋ เท่ รักษ์โลก เลือกแบบไหนให้โดนใจ
เรื่องโดย ผศ. ดร.สมฤดี สักการเวช
ถ้าพูดถึงเพชร เชื่อเลยว่าหลายคนต้องเคยได้ยินสโลแกน “Diamond is a girl’s best friend” (เพชรคือมิตรแท้ของสตรี) ประโยคนี้มาจากบทเพลงที่ดาราสาวสุดเซ็กซี่ มาริลิน มอนโร ขับร้องในภาพยนตร์ Gentlemen Prefers Blond เครื่องประดับเพชรคืออัญมณีที่สาว ๆ หลายคนใฝ่ฝันอยากจะมีติดตัวไว้สักชิ้น
ปัจจุบันบริษัทค้าเพชรที่โด่งดังที่สุดคือ De Beers แต่รู้หรือไม่ว่าในทศวรรษที่ 30s De Beers ประสบปัญหาใหญ่ ไม่ว่าจะเป็นเศรษฐกิจโลกที่มีการชะลอตัว ประเทศอเมริกาประสบปัญหาภาวะเศรษฐกิจฝืดเคือง
สินค้าฟุ่มเฟือยอย่างเพชรกลายเป็นของชนิดแรก ๆ ที่ขายไม่ออก De Beers นำสโลแกน “A Diamond is forever” (เพชรคือนิรันดร) มาสร้างความเชื่อมโยงระหว่างเพชรกับความรักที่ยั่งยืน
ทั้งที่ก่อนหน้านี้ผู้คนไม่ได้นิยมเอาเพชรมาประดับแหวนแต่งงาน แต่เพราะสโลแกน “เพชรคือนิรันดร” นั่นเอง เลยมีการหันมาใช้เพชรบนแหวนแต่งงานมากขึ้น เพชรไม่ใช่แค่ของสวยงาม แต่คือสัญลักษณ์ของความรัก ความหรูหรา ความแข็งแกร่ง และคุณค่าทางใจที่ส่งต่อกันมาจากรุ่นสู่รุ่น เป็นสินทรัพย์ที่มีคุณค่าตลอดกาล
เพชรธรรมชาติเกิดจากการตกผลึกภายใต้อุณหภูมิสูงและความดันสูงใต้เปลือกโลกใช้เวลานานเป็นล้านปี มีสมบัติกายภาพที่พิเศษต่างจากแร่อัญมณีอื่น ๆ อย่างความแข็งระดับ 10 ตามมาตรวัดความแข็งของโมห์ส (Mohs’ scale of hardness) ซึ่งทำให้เพชรเป็นแร่ที่แข็งที่สุด และเพราะความแข็งนี่แหละทำให้เพชรมีประกายวาววิบวับ ที่เรียกว่า “วาวแบบเพชร” (adamantine luster) ซึ่งเป็นประกายที่แร่อัญมณีอื่น ๆ ก็ไม่สามารถเทียบได้
เพชรธรรมชาตินั้นมีมาตรฐานคุณภาพเพชร เรียกว่า “4Cs” คือ น้ำหนัก (carat) สี (color) ความสะอาด (clarity) และการเจียระไน (cutting)
ถ้าเพชรมีระดับคุณภาพดีเยี่ยมครบ 4Cs ก็ถือว่าเป็นเพชรที่เป๊ะ ! เพชรใสไร้สี (colorless) หรือเพชรเกือบไร้สี (near colorless) มักจะเป็นที่นิยมมากที่สุด เพราะความคลาสสิกและเข้ากับทุกลุก
แต่ถ้าใครอยากแตกต่าง เพชรสีแฟนซี อย่างเพชรสีชมพู น้ำเงิน หรือเหลือง ก็ได้รับความนิยมไม่แพ้กัน เพราะนอกจากจะหายากแล้วยังมีราคาสูง เป็นที่ต้องการของนักสะสมที่พร้อมจ่ายหนักเพื่อประมูลเอามาไว้ครอบครอง
แต่เดี๋ยวก่อน…ในยุคดิจิทัลที่เทคโนโลยีมาแรง โทรศัพท์มือถือ แท็บเล็ต กลายเป็นสิ่งจำเป็นในชีวิตประจำวันแถมยังเป็นสินค้าแฟชั่นด้วย ความหรูหราจากเครื่องประดับแบบเดิม ๆ อาจจะไม่ตอบโจทย์คนรุ่นใหม่อีกต่อไป
คนส่วนมากเริ่มมองหาเครื่องประดับแฟชั่นที่ราคาไม่แรง สามารถเปลี่ยนได้บ่อย ๆ มากกว่าจะลงทุนกับเครื่องประดับชิ้นใหญ่ ๆ เพราะอย่างที่รู้กันว่า เพชรธรรมชาตินั้นหายากและมีราคาแพง ทำให้ตอนนี้ “เพชรสังเคราะห์” กลายมาเป็นตัวเลือกใหม่ที่น่าสนใจ ด้วยราคาเบากว่าครึ่งแต่ความสวยไม่แพ้กัน
อย่างไรก็ตามสำหรับคนที่ยังหลงใหลในเสน่ห์ของเพชร แต่ไม่อยากควักกระเป๋าทุ่มเงินหนัก ๆ ขอบอกเลยว่าเรามีทางเลือกใหม่อย่าง
เพชรสังเคราะห์ หรือเพชรที่ผลิตในห้องปฏิบัติการ (lab-grown diamond) ซึ่งกำลังมาแรงมากในหลายประเทศ
เพชรสังเคราะห์มีความเหมือนเพชรธรรมชาติ ไม่ว่าจะเป็นองค์ประกอบเคมีหรือสมบัติทางกายภาพ เพชรสังเคราะห์ที่เจียระไนแล้วก็เหมือนเพชรธรรมชาติจนแยกด้วยตาเปล่าไม่ออก ที่สำคัญราคายังถูกกว่าเพชรธรรมชาติถึง 50 เปอร์เซ็นต์ หรือมากกว่า
ใครที่อยากได้เพชรเม็ดใหญ่ ๆ ในงบไม่บานปลาย หรือใครมีงบจำกัดก็สามารถเลือกเพชรสังเคราะห์เม็ดใหญ่ได้ในราคาเดียวกับเพชรแท้เม็ดเล็ก เพชรสังเคราะห์ก็คือคำตอบที่ใช่ !
สำหรับเทคนิคการผลิตเพชรสังเคราะห์นั้น มีสองแบบที่นิยมใช้กันในปัจจุบัน คือ HPHT (high pressure high temperature) และ CVD (chemical vapor deposition)
ใช้เวลาเพียงไม่กี่สัปดาห์ สร้างเพชรขึ้นมาในห้องปฏิบัติการ โดยวิธี HPHT จะใช้ความร้อนและแรงดันสูงเพื่อเลียนแบบสภาวะในโลกที่เพชรธรรมชาติเกิดขึ้น วิธีนี้ทำให้ได้วัสดุสังเคราะห์ที่มีลักษณะคล้ายเพชรธรรมชาติมาก นอกจากเพชรสังเคราะห์ HPHT ไร้สีแล้วอาจมีสีต่าง ๆ เช่น เหลือง น้ำตาล
นอกจากนี้กระบวนการ HPHT ยังเป็นกระบวนการที่ใช้ในการปรับปรุงคุณภาพสีเพชรธรรมชาติให้มีสีขาวขึ้น หรือระดับคุณภาพสีสูงขึ้นด้วย
ส่วน CVD นั้นใช้การปล่อยไอคาร์บอนเข้าไปในระบบสุญญากาศ และใช้พลังงานสูงทำให้เกิดการแตกตัวเป็นไอออน แล้วสร้างผลึกเพชรขึ้นทีละนิดทีละหน่อย จนออกมาเป็นเพชรสังเคราะห์ที่ควบคุมขนาดและความหนาได้ตามต้องการ
การผลิตเพชรสังเคราะห์ไม่ใช่แค่เรื่องเครื่องประดับอย่างเดียวเท่านั้น แต่เพชรสังเคราะห์ยังมีบทบาทสำคัญในวงการอุตสาหกรรมด้วย เช่น ใช้ในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องมือแพทย์ และอุปกรณ์ขุดเจาะ เนื่องจากมีสมบัติความแข็งและการนำความร้อนที่ดี และที่สำคัญเพชรสังเคราะห์ยังช่วยลดการทำลายสิ่งแวดล้อมได้อีกด้วย เพราะการผลิตไม่ต้องระเบิด ขุด เจาะ ทำเหมือง ไม่ต้องใช้ทรัพยากรมหาศาลอย่างน้ำ น้ำมัน หรือไฟฟ้าแบบการทำเหมืองเพชรธรรมชาติ และที่สำคัญคือไม่ทำลายป่า ลดการปล่อยแก๊สเรือนกระจกได้เยอะมาก เหมาะกับสายรักษ์โลกสุด ๆ
แม้เพชรสังเคราะห์กับเพชรธรรมชาติจะดูเหมือนกันเป๊ะ แต่เพชรธรรมชาติยังคงมีเสน่ห์บางอย่างที่ทำให้แตกต่าง นั่นก็คือ “ความเป็นธรรมชาติ”
เพชรธรรมชาติมักจะมีร่องรอยของตำหนิเล็ก ๆ ที่เกิดจากการก่อตัวใต้เปลือกโลก เช่น ลักษณะหลุมสามเหลี่ยมที่ผิวเพชร (trigons) หรือแร่มลทิน (crystal inclusions) เล็ก ๆ ซึ่งสร้างเอกลักษณ์เฉพาะตัวที่เพชรสังเคราะห์ไม่มี แม้ว่าเพชรสังเคราะห์จะบริสุทธิ์กว่า แต่ในขณะเดียวกันเพชรธรรมชาติก็ยังคงมีความพิเศษอยู่ในเรื่องของความหายาก ความเป็นสินทรัพย์ที่มีมูลค่า และเป็นมรดกที่สามารถส่งต่อจากรุ่นสู่รุ่นได้ มีคุณค่าในเชิงจิตใจมากกว่าเพชรสังเคราะห์ และยังถือเป็นสัญลักษณ์ของความหรูหราที่ไม่มีวันเอาต์
สุดท้ายแล้วไม่ว่าจะเป็นเพชรธรรมชาติหรือเพชรสังเคราะห์ การเลือกก็ขึ้นอยู่กับสไตล์และสิ่งที่คุณให้ความสำคัญ ถ้าคุณเป็นสายรักษ์โลก ชอบความคุ้มค่า เพชรสังเคราะห์ก็คงตอบโจทย์ แต่ถ้าคุณชอบของหายาก มีคุณค่าเชิงจิตใจและอยากใช้เป็นสินทรัพย์มรดกตกทอด เพชรธรรมชาติก็ยังเป็นตัวเลือกที่ดี
เพชรแบบไหนที่ใช่สำหรับคุณ ?
https://www.nstda.or.th/sci2pub/diamond/