.
.
The Dublin Whiskey Fire as depicted
by The Illustrated London News
.
.
ไฟไหม้บริเวณ Chamber Street ใน Liberties
บริเวณใกล้เคียงกับ Dublin Ireland
สาเหตุที่แท้จริงของเพลิงไหม้ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่อาคารหลังแรกที่เกิดเพลิงไหม้คือ
โกดังเก็บสุราของ Laurence Malone
ซึ่งเก็บวิสกี้และสุราอื่น ๆ ไว้ 5,000 บาร์เรล
(คิดเป็นปริมาณมากกว่าหนึ่งล้านลิตร)
ไฟได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
และเมื่อเปลวไฟลามไปถึงถังไม้ใส่สุรา
ถังไม้ก็แตกออกมาเพราะไฟ/ความร้อน
ทำให้เกิดแม่น้ำวิสกี้ที่ติดไฟเผาไหม้
ไหลผ่านถนนแคบ ๆ ที่ทอดตัวออกจากโกดัง
เหล้าไฟที่ลุกโชติชัชวาลก็ไหลไปทุกที่ที่สัมผัส
.
.
.
.
ชาวบ้านต่างได้รับคำแจ้งเตือนก่อนเกิดเพลิงไหม้
จากเสียงกรีดร้องหมูจากเล้าหมูที่อยู่ใกล้เคียง
เสียงเตือนของหมูก่อนหน้านี้มีส่วนช่วย
ทำให้เกิดการอพยพชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
รวดเร็วมากจนน่าประหลาดใจ
ในเวลาต่อมา ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับคำชม
จากหน่วยให้บริการฉุกเฉินและนายกเทศมนตรี
ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านต่างรวมตัวกัน
ตามลำธารเหล้าไหลรินที่กว้าง 2 ฟุต ลึก 6 นิ้ว
และทอดยาวออกไปกว่า 400 เมตร
ณ ที่ด้านใดด้านหนึ่งของถนน Mill
ชาวบ้านต่างพากันตักเหล้าขณะที่ไหลผ่าน
ตักเหล้าลงใส่ในขวด หม้อและกระทะ
บางคนถอดหมวกและรองเท้าบูทเพื่อเก็บวิสกี้
บางคนพากันจับมือกันและดื่มกันบนท้องถนน
วิสกี้ที่ไหลออกจากโรงงานยังไม่มีสารเจือปน
(ยังไม่ผ่านการเจือจาง/ผสมสีแต่งกลิ่น)
จึงมีดีกรีที่สูงกว่าเวลาบรรจุขวดมาก
ทำให้ผู้ชายหลายสิบคนที่ดื่มสุรานี้
ล้มป่วยจากพิษแอลกอฮอล์
“ ชายแปดคนมีอาการโคม่า/เมาขนาดเสียศูนย์
ถูกหามส่งโรงพยาบาล Meath ในสภาพโคม่า
สิบสองคนหามส่งโรงพยาบาล Jervis Street
สามคนหามส่งโรงพยาบาล Stevens
และคนหนึ่งถูกหามส่งโรงพยาบาล Mercer
แม้ว่าตัวเลขดังเหล่านี้ ไม่ได้แสดงระบุตัวตน
หรือชื่อของคนเมาเหล้าแต่อย่างใด ”
ตามรายงานข่าว The Irish Times
.
.
.
ผู้คนกำลังดื่มวิสกี้บนถนนหลังจาก
เกิดเพลิงไหม้ในโรงกลั่น Dublin
18 มิถุนายน 1875 ไอร์แลนด์
@ L'Illustration Journal Universel
.
.
โดยรวมแล้ว มีผู้เสียชีวิต 13 คนในวันนั้น
แต่ไม่มีใครเสียชีวิตในเปลวเพลิง
และไม่มีใครเสียชีวิตจากการสูดดมควัน
มึแต่คนที่เสียชีวิตจากการดื่มเหล้ามากเกินไป
ในที่สุดไฟก็ดับโดยการเททราย/กรวดผสมกัน
เทลงบนของเหลวที่ลุกเป็นเพลิงไฟ
เพราะไม่สามารถใช้น้ำในการดับไฟได้
วิสกี้จะลอยขึ้นไปด้านบนเหมือนกับน้ำมัน
ไฟไหม้กระจายไปทั่วทั้งเมืองตามลำธารเหล้า
และเมื่อทรายใช้ดับไฟหมดลง
ชาวบ้านต่างใช้ขี้ม้าสร้างสิ่งกีดขวาง
เพื่อป้องกันไม่ให้วิสกี้ไหลต่อไป
และก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
เมื่อวิสกี้ที่เผาไหม้ไปพบกับขี้ม้าที่เปียกชื้น
วิสกี้ก็จะเผาไหม้ยากขึ้นและไฟก็ค่อย ๆ ดับลง
เรื่องราววิสกี้ไฟที่น่าอับอาย
(มีคนดื่มเหล้าตาย คนดื่มเหล้าฟรีฟรี)
ยังคงเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวัน
ตำนานวิสกี้ไฟที่เล่าติดต่อกันมาจนทุกวันนี้
ในปี 2014
มีผู้ผลิตวิสกี้รายใหม่ใช้ชื่อว่า
Flaming Pig หมูไฟ
มาจากการร้องเสียงหลงของหมูในตำนาน
ที่ตักเตือนชาวบ้านให้รู้ว่า ไฟไหม้ ไฟไหม้
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3Tk7vBB
https://bit.ly/2CLupNF
https://bit.ly/3R96wCD
https://bit.ly/3RekiUo
.
.
.
.
.
.
.
.
.
A Brief History of Irish Whiskey
.
.
.
Whiskey วิสกี้
วิสกี้ เป็นเหล้ากลั่นที่ได้จากการหมักเมล็ดข้าว
เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้างโพด ข้าวสาลี ข้าวไรย์
แล้วนำมากลั่นให้ได้แอลกอฮอล์สูงขึ้น
บรรจุขวดให้มีแอลกอฮอล์ราว 40-43 ดีกรี
ขั้นตอนการผลิตวิสกี้
การเตรียมมอลต์ (malting)
เป็นขั้นตอนการนำเมล็ดข้าว
เช่น ข้างบาร์เลย์มาทำให้งอกเป็นมอลต์
ซึ่งจะเกิดเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า
ไดแอสเทส (diastase)
ที่จะเปลี่ยนสตาร์ชให้เป็นน้ำตาล
การย่อยสลายเป็นขั้นตอน
การนำมอลต์ที่ได้มาต้มกับน้ำ
ให้เกิดการย่อยสลายได้น้ำตาล
และสารละลายที่เรียกว่า น้ำเวิร์ต
การหมักเป็นขั้นตอนการเติมยีสต์
และปล่อยให้เกิดการหมัก
โดยปฏิกิริยาของยีสต์
ได้แอลกอฮอล์แล้วจึงนำไปกลั่น
การกลั่น
เป็นขั้นตอนที่จะกลั่นให้ได้วิสกี้
โดยใช้ความร้อนควบแน่น ผ่านความเย็น
ซึ่งจะได้วิสกี้ที่มีสีขาวใส
แต่กลิ่นและรสชาติยังไม่ดีนัก
จึงต้องนำไปบ่มในถังไม้โอ๊กต่อไป
การบ่ม
จะนำวิสกี้ที่กลั่นได้ไปบ่มในถังไม้โอ๊ก
เพื่อให้ได้วิสกี้ที่มีรสชาติและกลิ่นที่ดีขึ้น
ปกติการบ่มจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี
การที่จะต้องบ่มเป็นระยะเวลามากหรือน้อย
ขึ้นกับปริมาณของแอลกอฮอล์ที่กลั่นได้
บางชนิดต้องเก็บไว้นานกว่าปกติ
เพื่อให้รสชาตินุ่มนวลมากขึ้น
ดังนั้นวิสกี้ที่เก็บไว้นานมาก ๆ
ไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีกว่า
วิสกี้ที่เก็บบ่มน้อยปีกว่า
วิสกี้ที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า สเตรตวิสกี้
(straight whisky) เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา
แต่วิสกี้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
จะมีเพิ่มขั้นตอนการผสม โดยนำวิสกี้ที่ทำจาก
ข้าวต่างชนิดกัน หรือกลั่นคนละครั้ง หรืออายุ
การเก็บรักษาแตกต่างกันมาปรุงผสมเข้าด้วยกัน
เพื่อให้ได้วิสกี้ชนิดใหม่ที่มีสี กลิ่น และรสชาติ
เฉพาะตัวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
วิสกี้ที่ได้จากการผสมนี้เรียกว่า เบลนด์วิสกี้
(blended whisky)
ประเภทของวิสกี้
ยังอาจแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
และประเทศที่ผลิตวิสกี้ที่มีชื่อเสียง ได้ดังนี้
1. คอร์นวิสกี้ (corn whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่น
ภายหลังการหมักเมล็ดต่าง ๆ
ซึ่งต้องเป็นเมล็ดข้าวโพดอย่างน้อยร้อยละ 80
กลั่นให้มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 80 ดีกรี
นำมาเจือจางแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 62.5 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้โอ๊กเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
วิสกี้นี้มีเมล็ดข้าวโพดเป็นส่วนประกอบหลัก
จะมีกลิ่นรสอ่อนมาก
2. ไรย์วิสกี้ (rye whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่นหลังการหมัก
เมล็ดข้าวหลายชนิดที่มีข้าวไรย์
อยู่ในปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51
และกลั่นให้มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 80 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้อังไฟเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
วิสกี้ชนิดนี้จะมีกลิ่นรสมาก
3. ไลต์วิสกี้ (light whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่นภายหลังการหมัก
เมล็ดข้าวหลายชนิดมีแอลกอฮอล์ 80-95 ดีกรี
ก่อนที่จะเจือจางและเก็บไว้ในถังไม้โอ๊ก
วิสกี้ชนิดนี้มีรสน้อยกว่าวิสกี้ชนิดอื่น ๆ
เพราะสารให้กลิ่นรสได้ระเหยไป
ในระหว่างการกลั่นให้ได้แอลกอฮอล์สูง
4. สก๊อตวิสกี้ (scotch whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศสก๊อตแลนด์
ตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ
จะมีลักษณะและกลิ่นรสเฉพาะตัว
จากน้ำที่ใช้ในการผลิตแต่ละประเภท
และจำนวนของมอลต์ที่ใช้
มอลต์ที่ใช้ในการผลิตจะต้องนำมาอบให้แห้ง
ด้วยถ่านพีต (peat) เพื่อทำให้มีกลิ่น
และรสชาติของควันไฟ หลังจากการกลั่นด้วย
สก๊อตวิสกี้ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับหนึ่ง
มีการผลิตทั้งชนิดที่เป็นสก๊อตมอลต์วิสกี้
(scotch malt whisky) ที่ได้จากการกลั่น
หลังการหมักมอลต์ที่อบแห้งด้วยถ่านพีต
และกลั่นให้มีแอลกอฮอล์ราว 60-70 ดีกรี
เป็นวิสกี้ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด/ราคาแพงที่สุด
5. สก๊อตเกรนวิสกี้ (scotch grain whisky)
ได้จากการกลั่นหลังการหมักเมล็ดข้าวชนิดต่าง ๆ
มีแอลกอฮอล์สูงถึง 90 ดีกรี มีกลิ่น/รสชาติอ่อน
6. เบลนด์สก๊อตวิสกี้ (blended scotch whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการผสมมอลต์และเกรนวิสกี้
โดยอาจมีการเติมสี กลิ่น และรสชาติลงไป
มีรสเข้มปานกลาง มีแอลกอฮอล์ราว 40-43 ดีกรี
และเก็บไว้ในถังไม้โอ๊ก ไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวิสกี้ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
7. อเมริกันวิสกี้ (american whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดข้าวโพด ข้าวสาลี
ข้าวไรย์ ข้าวโพด (maize) เป็นวัตถุดิบ
กลั่นให้ได้แอลกอฮอล์ประมาณ 80 ดีกรี
และเก็บบ่มไว้ในถังไม้โอ๊กอังไฟ
เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
จึงมีกลิ่นหอมและความเข้มข้นมาก
อเมริกันวิสกี้ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม
ผลิตจากรัฐเคนตั๊กกี้ (Kentucky)
ซึ่งเรียกว่าเบอร์เบิน (bourbon)
ตามชื่อเมืองในรัฐที่มีการผลิตเป็นครั้งแรก
เบอร์เบินที่ผลิตในรัฐนี้ จะใช้กระบวนการหมัก
ที่เรียกว่า ซาวแมช (sourmash)
โดยการเติมยีสต์ที่เก็บไว้จากการหมัก
ครั้งก่อน ๆในถังหมัก ยีสต์จะเจริญเติบโต
และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกลิ่นและรสชาติที่ดี
8. แคนาเดียนวิสกี้ (Canadian whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศแคนาดา
โดยใช้ข้าวโพด ข้าวไรย์ และมอลต์ เป็นวัตถุดิบ
กลั่นให้ได้แอลกอฮอล์ประมาณ 80-90 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้โอ๊กสีขาวเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี
9. ไอริชวิสกี้ (Irish whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
โดยใช้เมล็ดข้าวหลายชนิด เช่น มอลต์ ข้าวสาลี
ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์
เก็บบ่มไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวิสกีที่มีรสชาติอ่อน
มีกลิ่นรสเข้มข้นมาก
Credit :
Whiskey / วิสกี้
ไฟไหม้วิสกี้ Dublin ในปี 1875
.
The Dublin Whiskey Fire as depicted
by The Illustrated London News
.
ไฟไหม้บริเวณ Chamber Street ใน Liberties
บริเวณใกล้เคียงกับ Dublin Ireland
สาเหตุที่แท้จริงของเพลิงไหม้ยังไม่ทราบแน่ชัด
แต่อาคารหลังแรกที่เกิดเพลิงไหม้คือ
โกดังเก็บสุราของ Laurence Malone
ซึ่งเก็บวิสกี้และสุราอื่น ๆ ไว้ 5,000 บาร์เรล
(คิดเป็นปริมาณมากกว่าหนึ่งล้านลิตร)
ไฟได้ลุกลามไปอย่างรวดเร็ว
และเมื่อเปลวไฟลามไปถึงถังไม้ใส่สุรา
ถังไม้ก็แตกออกมาเพราะไฟ/ความร้อน
ทำให้เกิดแม่น้ำวิสกี้ที่ติดไฟเผาไหม้
ไหลผ่านถนนแคบ ๆ ที่ทอดตัวออกจากโกดัง
เหล้าไฟที่ลุกโชติชัชวาลก็ไหลไปทุกที่ที่สัมผัส
.
.
ชาวบ้านต่างได้รับคำแจ้งเตือนก่อนเกิดเพลิงไหม้
จากเสียงกรีดร้องหมูจากเล้าหมูที่อยู่ใกล้เคียง
เสียงเตือนของหมูก่อนหน้านี้มีส่วนช่วย
ทำให้เกิดการอพยพชาวบ้านได้อย่างรวดเร็ว
รวดเร็วมากจนน่าประหลาดใจ
ในเวลาต่อมา ชาวบ้านในพื้นที่ได้รับคำชม
จากหน่วยให้บริการฉุกเฉินและนายกเทศมนตรี
ในขณะเดียวกัน ชาวบ้านต่างรวมตัวกัน
ตามลำธารเหล้าไหลรินที่กว้าง 2 ฟุต ลึก 6 นิ้ว
และทอดยาวออกไปกว่า 400 เมตร
ณ ที่ด้านใดด้านหนึ่งของถนน Mill
ชาวบ้านต่างพากันตักเหล้าขณะที่ไหลผ่าน
ตักเหล้าลงใส่ในขวด หม้อและกระทะ
บางคนถอดหมวกและรองเท้าบูทเพื่อเก็บวิสกี้
บางคนพากันจับมือกันและดื่มกันบนท้องถนน
วิสกี้ที่ไหลออกจากโรงงานยังไม่มีสารเจือปน
(ยังไม่ผ่านการเจือจาง/ผสมสีแต่งกลิ่น)
จึงมีดีกรีที่สูงกว่าเวลาบรรจุขวดมาก
ทำให้ผู้ชายหลายสิบคนที่ดื่มสุรานี้
ล้มป่วยจากพิษแอลกอฮอล์
“ ชายแปดคนมีอาการโคม่า/เมาขนาดเสียศูนย์
ถูกหามส่งโรงพยาบาล Meath ในสภาพโคม่า
สิบสองคนหามส่งโรงพยาบาล Jervis Street
สามคนหามส่งโรงพยาบาล Stevens
และคนหนึ่งถูกหามส่งโรงพยาบาล Mercer
แม้ว่าตัวเลขดังเหล่านี้ ไม่ได้แสดงระบุตัวตน
หรือชื่อของคนเมาเหล้าแต่อย่างใด ”
ตามรายงานข่าว The Irish Times
.
.
ผู้คนกำลังดื่มวิสกี้บนถนนหลังจาก
เกิดเพลิงไหม้ในโรงกลั่น Dublin
18 มิถุนายน 1875 ไอร์แลนด์
@ L'Illustration Journal Universel
.
โดยรวมแล้ว มีผู้เสียชีวิต 13 คนในวันนั้น
แต่ไม่มีใครเสียชีวิตในเปลวเพลิง
และไม่มีใครเสียชีวิตจากการสูดดมควัน
มึแต่คนที่เสียชีวิตจากการดื่มเหล้ามากเกินไป
ในที่สุดไฟก็ดับโดยการเททราย/กรวดผสมกัน
เทลงบนของเหลวที่ลุกเป็นเพลิงไฟ
เพราะไม่สามารถใช้น้ำในการดับไฟได้
วิสกี้จะลอยขึ้นไปด้านบนเหมือนกับน้ำมัน
ไฟไหม้กระจายไปทั่วทั้งเมืองตามลำธารเหล้า
และเมื่อทรายใช้ดับไฟหมดลง
ชาวบ้านต่างใช้ขี้ม้าสร้างสิ่งกีดขวาง
เพื่อป้องกันไม่ให้วิสกี้ไหลต่อไป
และก่อให้เกิดความเสียหายมากขึ้น
เมื่อวิสกี้ที่เผาไหม้ไปพบกับขี้ม้าที่เปียกชื้น
วิสกี้ก็จะเผาไหม้ยากขึ้นและไฟก็ค่อย ๆ ดับลง
เรื่องราววิสกี้ไฟที่น่าอับอาย
(มีคนดื่มเหล้าตาย คนดื่มเหล้าฟรีฟรี)
ยังคงเป็นที่จดจำมาจนถึงทุกวัน
ตำนานวิสกี้ไฟที่เล่าติดต่อกันมาจนทุกวันนี้
ในปี 2014
มีผู้ผลิตวิสกี้รายใหม่ใช้ชื่อว่า
Flaming Pig หมูไฟ
มาจากการร้องเสียงหลงของหมูในตำนาน
ที่ตักเตือนชาวบ้านให้รู้ว่า ไฟไหม้ ไฟไหม้
เรียบเรียง/ที่มา
https://bit.ly/3Tk7vBB
https://bit.ly/2CLupNF
https://bit.ly/3R96wCD
https://bit.ly/3RekiUo
.
.
.
.
.
.
.
.
A Brief History of Irish Whiskey
.
.
Whiskey วิสกี้
วิสกี้ เป็นเหล้ากลั่นที่ได้จากการหมักเมล็ดข้าว
เช่น ข้าวบาร์เลย์ ข้างโพด ข้าวสาลี ข้าวไรย์
แล้วนำมากลั่นให้ได้แอลกอฮอล์สูงขึ้น
บรรจุขวดให้มีแอลกอฮอล์ราว 40-43 ดีกรี
ขั้นตอนการผลิตวิสกี้
การเตรียมมอลต์ (malting)
เป็นขั้นตอนการนำเมล็ดข้าว
เช่น ข้างบาร์เลย์มาทำให้งอกเป็นมอลต์
ซึ่งจะเกิดเอนไซม์ชนิดหนึ่งเรียกว่า
ไดแอสเทส (diastase)
ที่จะเปลี่ยนสตาร์ชให้เป็นน้ำตาล
การย่อยสลายเป็นขั้นตอน
การนำมอลต์ที่ได้มาต้มกับน้ำ
ให้เกิดการย่อยสลายได้น้ำตาล
และสารละลายที่เรียกว่า น้ำเวิร์ต
การหมักเป็นขั้นตอนการเติมยีสต์
และปล่อยให้เกิดการหมัก
โดยปฏิกิริยาของยีสต์
ได้แอลกอฮอล์แล้วจึงนำไปกลั่น
การกลั่น
เป็นขั้นตอนที่จะกลั่นให้ได้วิสกี้
โดยใช้ความร้อนควบแน่น ผ่านความเย็น
ซึ่งจะได้วิสกี้ที่มีสีขาวใส
แต่กลิ่นและรสชาติยังไม่ดีนัก
จึงต้องนำไปบ่มในถังไม้โอ๊กต่อไป
การบ่ม
จะนำวิสกี้ที่กลั่นได้ไปบ่มในถังไม้โอ๊ก
เพื่อให้ได้วิสกี้ที่มีรสชาติและกลิ่นที่ดีขึ้น
ปกติการบ่มจะใช้เวลาอย่างน้อย 2 ปี
การที่จะต้องบ่มเป็นระยะเวลามากหรือน้อย
ขึ้นกับปริมาณของแอลกอฮอล์ที่กลั่นได้
บางชนิดต้องเก็บไว้นานกว่าปกติ
เพื่อให้รสชาตินุ่มนวลมากขึ้น
ดังนั้นวิสกี้ที่เก็บไว้นานมาก ๆ
ไม่จำเป็นต้องมีคุณภาพดีกว่า
วิสกี้ที่เก็บบ่มน้อยปีกว่า
วิสกี้ที่ได้จากขั้นตอนนี้เรียกว่า สเตรตวิสกี้
(straight whisky) เป็นที่นิยมในสหรัฐอเมริกา
แต่วิสกี้ส่วนใหญ่ในปัจจุบัน
จะมีเพิ่มขั้นตอนการผสม โดยนำวิสกี้ที่ทำจาก
ข้าวต่างชนิดกัน หรือกลั่นคนละครั้ง หรืออายุ
การเก็บรักษาแตกต่างกันมาปรุงผสมเข้าด้วยกัน
เพื่อให้ได้วิสกี้ชนิดใหม่ที่มีสี กลิ่น และรสชาติ
เฉพาะตัวเป็นที่นิยมของผู้บริโภค
วิสกี้ที่ได้จากการผสมนี้เรียกว่า เบลนด์วิสกี้
(blended whisky)
ประเภทของวิสกี้
ยังอาจแบ่งตามวัตถุดิบที่ใช้ในการผลิต
และประเทศที่ผลิตวิสกี้ที่มีชื่อเสียง ได้ดังนี้
1. คอร์นวิสกี้ (corn whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่น
ภายหลังการหมักเมล็ดต่าง ๆ
ซึ่งต้องเป็นเมล็ดข้าวโพดอย่างน้อยร้อยละ 80
กลั่นให้มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 80 ดีกรี
นำมาเจือจางแอลกอฮอล์ไม่ให้เกิน 62.5 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้โอ๊กเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
วิสกี้นี้มีเมล็ดข้าวโพดเป็นส่วนประกอบหลัก
จะมีกลิ่นรสอ่อนมาก
2. ไรย์วิสกี้ (rye whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่นหลังการหมัก
เมล็ดข้าวหลายชนิดที่มีข้าวไรย์
อยู่ในปริมาณไม่ต่ำกว่าร้อยละ 51
และกลั่นให้มีแอลกอฮอล์ไม่เกิน 80 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้อังไฟเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
วิสกี้ชนิดนี้จะมีกลิ่นรสมาก
3. ไลต์วิสกี้ (light whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการกลั่นภายหลังการหมัก
เมล็ดข้าวหลายชนิดมีแอลกอฮอล์ 80-95 ดีกรี
ก่อนที่จะเจือจางและเก็บไว้ในถังไม้โอ๊ก
วิสกี้ชนิดนี้มีรสน้อยกว่าวิสกี้ชนิดอื่น ๆ
เพราะสารให้กลิ่นรสได้ระเหยไป
ในระหว่างการกลั่นให้ได้แอลกอฮอล์สูง
4. สก๊อตวิสกี้ (scotch whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศสก๊อตแลนด์
ตามกฎหมายของประเทศอังกฤษ
จะมีลักษณะและกลิ่นรสเฉพาะตัว
จากน้ำที่ใช้ในการผลิตแต่ละประเภท
และจำนวนของมอลต์ที่ใช้
มอลต์ที่ใช้ในการผลิตจะต้องนำมาอบให้แห้ง
ด้วยถ่านพีต (peat) เพื่อทำให้มีกลิ่น
และรสชาติของควันไฟ หลังจากการกลั่นด้วย
สก๊อตวิสกี้ได้รับความนิยมมากเป็นอันดับหนึ่ง
มีการผลิตทั้งชนิดที่เป็นสก๊อตมอลต์วิสกี้
(scotch malt whisky) ที่ได้จากการกลั่น
หลังการหมักมอลต์ที่อบแห้งด้วยถ่านพีต
และกลั่นให้มีแอลกอฮอล์ราว 60-70 ดีกรี
เป็นวิสกี้ที่มีคุณภาพที่ดีที่สุด/ราคาแพงที่สุด
5. สก๊อตเกรนวิสกี้ (scotch grain whisky)
ได้จากการกลั่นหลังการหมักเมล็ดข้าวชนิดต่าง ๆ
มีแอลกอฮอล์สูงถึง 90 ดีกรี มีกลิ่น/รสชาติอ่อน
6. เบลนด์สก๊อตวิสกี้ (blended scotch whisky)
เป็นวิสกี้ที่ได้จากการผสมมอลต์และเกรนวิสกี้
โดยอาจมีการเติมสี กลิ่น และรสชาติลงไป
มีรสเข้มปานกลาง มีแอลกอฮอล์ราว 40-43 ดีกรี
และเก็บไว้ในถังไม้โอ๊ก ไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวิสกี้ชนิดที่ได้รับความนิยมมากที่สุด
7. อเมริกันวิสกี้ (american whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศสหรัฐอเมริกา
ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้เมล็ดข้าวโพด ข้าวสาลี
ข้าวไรย์ ข้าวโพด (maize) เป็นวัตถุดิบ
กลั่นให้ได้แอลกอฮอล์ประมาณ 80 ดีกรี
และเก็บบ่มไว้ในถังไม้โอ๊กอังไฟ
เป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี
จึงมีกลิ่นหอมและความเข้มข้นมาก
อเมริกันวิสกี้ที่มีชื่อเสียงและได้รับความนิยม
ผลิตจากรัฐเคนตั๊กกี้ (Kentucky)
ซึ่งเรียกว่าเบอร์เบิน (bourbon)
ตามชื่อเมืองในรัฐที่มีการผลิตเป็นครั้งแรก
เบอร์เบินที่ผลิตในรัฐนี้ จะใช้กระบวนการหมัก
ที่เรียกว่า ซาวแมช (sourmash)
โดยการเติมยีสต์ที่เก็บไว้จากการหมัก
ครั้งก่อน ๆในถังหมัก ยีสต์จะเจริญเติบโต
และทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมี
อย่างต่อเนื่อง ทำให้มีกลิ่นและรสชาติที่ดี
8. แคนาเดียนวิสกี้ (Canadian whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศแคนาดา
โดยใช้ข้าวโพด ข้าวไรย์ และมอลต์ เป็นวัตถุดิบ
กลั่นให้ได้แอลกอฮอล์ประมาณ 80-90 ดีกรี
เก็บไว้ในถังไม้โอ๊กสีขาวเป็นเวลาไม่ต่ำกว่า 3 ปี
9. ไอริชวิสกี้ (Irish whisky)
เป็นวิสกี้ที่ผลิตจากประเทศไอร์แลนด์ (Ireland)
โดยใช้เมล็ดข้าวหลายชนิด เช่น มอลต์ ข้าวสาลี
ข้าวโพด ข้าวโอ๊ต ข้าวไรย์
เก็บบ่มไม่ต่ำกว่า 3 ปี
เป็นวิสกีที่มีรสชาติอ่อน
มีกลิ่นรสเข้มข้นมาก
Credit : Whiskey / วิสกี้