เศรษฐีสอบเข้า ม.ดัง 27 ครั้ง ลูกชายจบ ป.โท พ่อยังไม่ได้เป็นเฟรชชี่ ล่าสุดผลปีนี้ออกแล้ว!
แม้จะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานจนกลายเป็นมหาเศรษฐี แต่ชายชาวจีนวัย 56 ปี ยังคงใฝ่ฝันที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเสฉวน ไม่ย่อท้อแม้จะล้มเหลวมาแล้วถึง 27 ครั้ง
เรื่องราวของ นายเหลียง มหาเศรษฐีจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ดึงดูดความสนใจของโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อเขาเข้าร่วมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 27 ในรอบ 4 ทศวรรษของชีวิตเขา ถึงอย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ยังไม่เป็นไปตามความต้องการ น่าเสียดายที่เขาต้องผิดหวังอีกครั้ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าเดิมที นายเหลียง เป็นพนักงานธรรมดาในโรงงาน จากนั้นจึงค่อยๆ เติบโตจากการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และตั้งบริษัทธุรกิจของตนเองขึ้นมา ที่สามารถสร้างรายได้หลายพันล้านหยวน อย่างไรก็ตาม เขายังคงยึดมั่นในความฝันที่จะเป็น "ผู้รอบรู้"
ในปี พ.ศ. 2526 นายเหลียงตัดสินใจสมัครสอบเข้าครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเสฉวน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำและมีชื่อเสียงมากในประเทศจีน ผลออกมาว่าเขาไม่ผ่านการคัดเลือก แต่เขายังไม่ย่อท้อ ตัดสินใจลองอีกครั้งในปีต่อมา แต่ก็ยังไปไม่ถึงฝันอยู่ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 นายเหลียงแต่งงานมีครอบครัว แต่เขาก็ไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรื่องการศึกษา
ในปี พ.ศ.2535 คะแนนของเขาสูงพอที่จะได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในหนานจิง อย่างไรก็ตาม เขายังไม่พอใจกับผลที่ได้ ดังนั้นจึงปฏิเสธการรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังกล่าวไป เพราะเป้าหมายของเขาคือการเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเสฉวน ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของเมือง ดังนั้น จึงตั้งใจว่าจะไม่สมัครเข้ามหาวิทยาลัยอื่นอีก
อย่างไรก็ดี ในปีเดียวกันนั้นจู่ๆ ธุรกิจของเขาก็มีปัญหาจนต้องปิดตัวลง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวเขากลายเป็นพนักงานขาย ขายตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวเรือน และก็เป็นอีกครั้งที่ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง เขาสามารถเปิดโรงงานวัสดุก่อสร้างและทำรายได้หลายล้านหยวนในเวลาไม่ถึงปี
กระทั่งปี พ.ศ.2544 กระทรวงศึกษาธิการของจีน ได้ยกเลิกการจำกัดอายุในการเข้าเรียน จากเดิมที่กำหยดห้ามเกิน 25 ปี และนั่นเหมือนการจุดไฟความฝันของนายเหลียงกลับคืนมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากต้องจัดการกับธุรกิจที่รัดตัว ทำให้ช่วงแรกเขามีเวลาสอบในปี 2545 และ 2549 เท่านั้น แต่เมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ตั้งแต่ปี 2553-2565 เขาก็ลุยสอบติดต่อกันถึง 13 ปี
นายเหลียงมุ่งมั่นที่จะทำตามความฝันให้สำเร็จ ใช้เวลา 12 ชั่วโมงต่อวันในการเรียน เพิกเฉยต่อเสียงเยาะเย้ยและการเย้ยหยันจากคนอื่นๆ ที่มีต่อต่อความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของเขา ในขณะที่ภรรยาของเหลียงไม่เคยบ่นเรื่องนี้เลย โดยเขาเข้าใจว่าการที่ภรรยาเงียบถือเป็นสัญญาณของการสนับสนุน
ทางด้านลูกชายของเหลียง ซึ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว แต่คนเป็นพ่อก็ยังไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในฝัน สถิติคะแนนสูงสุดของนายเหลียงคือเมือปี พ.ศ.2561 เขาทำได้ 469 คะแนน จาก 750 คะแนน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 นายเหลียง นักธุรกิจวัย 56 ปี เข้าสนามสอบอีกครั้งพร้อมกับนักเรียนมัธยมปลายหลายแสนคนทั่วมณฑล เขากรอกคำตอบลงในแบบฟอร์มการสอบอย่างระมัดระวัง และกลับมารอลุ้นด้วยความหวังอีกครั้ง ว่าครั้งนี้เขาจะทำสำเร็จไหม หรือทำได้ดีกว่าเดิมแค่ไหน
ก่อนที่ในเวลาต่อมานายเหลียงจะกล่าวอย่างเศร้าใจว่า “ไม่ใช่ปีนี้ ขอโทษจริงๆ" ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทุกครั้งที่เขาสอบตก เหลียงจะสัญญากับตัวเองอย่างมุ่งมั่นว่าจะลองอีกครั้งในปีหน้า แต่คราวนี้เขาเริ่มสงสัยว่าความพยายามของเขาอาจไร้ผลจริงๆ หรือเปล่า
ข่าวจาก : สนุกดอทคอม
https://www.sanook.com/news/8920598/
เศรษฐีสอบเข้า ม.ดัง 27 ครั้ง ลูกชายจบ ป.โท พ่อยังไม่ได้เป็นเฟรชชี่ ล่าสุดผลปีนี้ออกแล้ว!
แม้จะประสบความสำเร็จในอาชีพการงานจนกลายเป็นมหาเศรษฐี แต่ชายชาวจีนวัย 56 ปี ยังคงใฝ่ฝันที่จะเข้ามหาวิทยาลัยเสฉวน ไม่ย่อท้อแม้จะล้มเหลวมาแล้วถึง 27 ครั้ง
เรื่องราวของ นายเหลียง มหาเศรษฐีจากมณฑลเสฉวน ประเทศจีน ดึงดูดความสนใจของโลกออนไลน์อีกครั้ง เมื่อเขาเข้าร่วมการสอบเข้ามหาวิทยาลัยอีกครั้ง นับเป็นครั้งที่ 27 ในรอบ 4 ทศวรรษของชีวิตเขา ถึงอย่างไรก็ดี ผลลัพธ์ที่ออกมาก็ยังไม่เป็นไปตามความต้องการ น่าเสียดายที่เขาต้องผิดหวังอีกครั้ง
เป็นที่ทราบกันดีว่าเดิมที นายเหลียง เป็นพนักงานธรรมดาในโรงงาน จากนั้นจึงค่อยๆ เติบโตจากการพัฒนาตนเองอยู่เสมอ และตั้งบริษัทธุรกิจของตนเองขึ้นมา ที่สามารถสร้างรายได้หลายพันล้านหยวน อย่างไรก็ตาม เขายังคงยึดมั่นในความฝันที่จะเป็น "ผู้รอบรู้"
ในปี พ.ศ. 2526 นายเหลียงตัดสินใจสมัครสอบเข้าครั้งแรก โดยมีเป้าหมายเข้าเป็นนักศึกษาในมหาวิทยาลัยเสฉวน ซึ่งเป็นหนึ่งในสถาบันชั้นนำและมีชื่อเสียงมากในประเทศจีน ผลออกมาว่าเขาไม่ผ่านการคัดเลือก แต่เขายังไม่ย่อท้อ ตัดสินใจลองอีกครั้งในปีต่อมา แต่ก็ยังไปไม่ถึงฝันอยู่ดี ต่อมาในปี พ.ศ. 2534 นายเหลียงแต่งงานมีครอบครัว แต่เขาก็ไม่เคยล้มเลิกความตั้งใจที่จะเรื่องการศึกษา
ในปี พ.ศ.2535 คะแนนของเขาสูงพอที่จะได้เข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในหนานจิง อย่างไรก็ตาม เขายังไม่พอใจกับผลที่ได้ ดังนั้นจึงปฏิเสธการรับเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยดังกล่าวไป เพราะเป้าหมายของเขาคือการเข้าเรียนที่มหาวิทยาลัยเสฉวน ซึ่งเป็นอันดับหนึ่งของเมือง ดังนั้น จึงตั้งใจว่าจะไม่สมัครเข้ามหาวิทยาลัยอื่นอีก
อย่างไรก็ดี ในปีเดียวกันนั้นจู่ๆ ธุรกิจของเขาก็มีปัญหาจนต้องปิดตัวลง เพื่อหาเลี้ยงครอบครัวเขากลายเป็นพนักงานขาย ขายตั้งแต่เสื้อผ้าไปจนถึงเครื่องใช้ในครัวเรือน และก็เป็นอีกครั้งที่ธุรกิจเจริญรุ่งเรือง เขาสามารถเปิดโรงงานวัสดุก่อสร้างและทำรายได้หลายล้านหยวนในเวลาไม่ถึงปี
กระทั่งปี พ.ศ.2544 กระทรวงศึกษาธิการของจีน ได้ยกเลิกการจำกัดอายุในการเข้าเรียน จากเดิมที่กำหยดห้ามเกิน 25 ปี และนั่นเหมือนการจุดไฟความฝันของนายเหลียงกลับคืนมาอีกครั้ง อย่างไรก็ดี เนื่องจากต้องจัดการกับธุรกิจที่รัดตัว ทำให้ช่วงแรกเขามีเวลาสอบในปี 2545 และ 2549 เท่านั้น แต่เมื่อทุกอย่างลงตัวแล้ว ตั้งแต่ปี 2553-2565 เขาก็ลุยสอบติดต่อกันถึง 13 ปี
นายเหลียงมุ่งมั่นที่จะทำตามความฝันให้สำเร็จ ใช้เวลา 12 ชั่วโมงต่อวันในการเรียน เพิกเฉยต่อเสียงเยาะเย้ยและการเย้ยหยันจากคนอื่นๆ ที่มีต่อต่อความพยายามซ้ำแล้วซ้ำเล่าของเขา ในขณะที่ภรรยาของเหลียงไม่เคยบ่นเรื่องนี้เลย โดยเขาเข้าใจว่าการที่ภรรยาเงียบถือเป็นสัญญาณของการสนับสนุน
ทางด้านลูกชายของเหลียง ซึ่งสอบเข้ามหาวิทยาลัยได้ตั้งแต่ปี พ.ศ.2554 จนกระทั่งสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาโทแล้ว แต่คนเป็นพ่อก็ยังไม่ได้เข้าเรียนในมหาวิทยาลัยในฝัน สถิติคะแนนสูงสุดของนายเหลียงคือเมือปี พ.ศ.2561 เขาทำได้ 469 คะแนน จาก 750 คะแนน
ล่าสุด เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ.2566 นายเหลียง นักธุรกิจวัย 56 ปี เข้าสนามสอบอีกครั้งพร้อมกับนักเรียนมัธยมปลายหลายแสนคนทั่วมณฑล เขากรอกคำตอบลงในแบบฟอร์มการสอบอย่างระมัดระวัง และกลับมารอลุ้นด้วยความหวังอีกครั้ง ว่าครั้งนี้เขาจะทำสำเร็จไหม หรือทำได้ดีกว่าเดิมแค่ไหน
ก่อนที่ในเวลาต่อมานายเหลียงจะกล่าวอย่างเศร้าใจว่า “ไม่ใช่ปีนี้ ขอโทษจริงๆ" ทั้งนี้ ที่ผ่านมาทุกครั้งที่เขาสอบตก เหลียงจะสัญญากับตัวเองอย่างมุ่งมั่นว่าจะลองอีกครั้งในปีหน้า แต่คราวนี้เขาเริ่มสงสัยว่าความพยายามของเขาอาจไร้ผลจริงๆ หรือเปล่า
ข่าวจาก : สนุกดอทคอม
https://www.sanook.com/news/8920598/