ก็เรื่องรถไฟฟ้าความเร็วสูงเชื่อม 3 สถานี ดอนเมือง สุวรรณภูมิ อู่ตะเภา
ที่เครือซีพีได้สัมปทานไป
เรื่องนี้ ฮือฮามาแล้วเมื่อปี 2563 ที่ซีพียื่นซองประกวดราคาไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
จึงโดนตัดออกจากการเปิดซอง แต่ซีพีก็แสดงอภินิหารฟ้องศาล และศาลก็พิพากษาให้ซีพีชนะคดี
ให้คณะกรรมการประกวดราคาต้องรับซองซีพีแม้จะยื่นซองเกินเวลาก็ตาม ด้วยเหตุผล แม้จะเกินเวลาแต่ยังไม่มีการเปิดซองของใคร
และผลก็ปรากฎว่า ซีพีชนะ ได้สัมปทานไปครองแบบชิว ๆ เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการยื่นซองประกวดราคาแม้ว่าจะเกินเวลาแต่ก็ชนะได้
แต่ถึงวันนี้ ผ่านมาสามปี ยังไม่มี ไม่เริ่ม ไม่อะไรเลย ในการก่อสร้างตามสัญญาสัมปทาน
เรียกว่า ดินสักก้อนก็ไม่ได้ขุด เสาเข็มสักต้นก็ไม่ได้ตอก รางรถสักเส้นก็ไม่ได้วาง ทุกอย่างยังว่างเปล่า
นั่นเพราะซีพียื่นเรื่องต่อหน่วยงานรัฐ ขอปรับแก้เปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน เมื่อยังไม่มีคำตอบจากรัฐ การก่อสร้างจึงไม่เริ่ม
ก็แปลกดี สามปีผ่าน หน่วยงานรัฐจะยอมให้ซีพีแก้ไขสัญญา หรือไม่ยอม ก็ไม่ว่าอะไร
เงียบ ๆ งึม ๆ งำ ๆ ทำเป็นต่อรองกันอยู่อย่างนั้น แบบรอสัญญาณจากผู้มีอำนาจในการจะเอื้อหรือไม่เอื้อซีพี
สัมปทานนี้ เป็นการร่วมทุนระหว่างเอกชนกับรัฐ
รัฐบาลต้องจ่ายเงินร่วมทุนให้ซีพี และขณะเดียวกัน ซีพีนอกจากควักเงินทุนร่วมแล้ว ยังต้องจ่ายค่าสัมปทานด้วย
ตรงนี้แหละ ที่ซีพีขอแก้ไขสัญญา คือ ขอแก้ให้รัฐบาลจ่ายเงินร่วมทุนเพิ่ม และขอแก้ให้ซีพีจ่ายค่าสัมปทานลดลง
ชนะการประมูลมาแบบอภินิหารไม่พอ ยังจะมาขอแก้ไขสัญญาแบบงานยังไม่เริ่มสักนิดซะอีก
เอาแต่ได้แบบนี้ ถ้าไม่ใช่ซีพีคงโดนปรับ โดนยกเลิกสัญญาไปนานแล้ว ไม่ใช่นิ่งเป็นขอนไม้มาสามปีอยู่แบบนี้
ไม่เคยเอื้อประโยชน์ใครจริง ๆ
.
งานนี้ เป็นไปไม่ได้ครับ ซีพีจะอ้างโควิด อ้างอะไรก็ฟังไม่ขึ้น
เพราะก่อนยื่นซอง ก็มีหลักเกณฑ์ชัดเจนอยู่แล้ว ว่าต้องร่วมทุนเท่าไร ค่าสัมปทานแค่ไหน
แต่พอชนะการประมูล กลับจะมาขอรับทุนเพิ่ม จ่ายสัมปทานน้อยลง แบบนี้ ไม่มีใครกล้าทำหรอกครับ นอกจากซีพีที่เหมือนรู้ว่าได้แก้ไขสัญญาแน่
ดังนั้น รัฐบาลประยุทธ์ ณ วันนี้ อย่ายุ่งเด็ดขาด ปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลใหม่
หรือหากได้เป็นรัฐบาลต่อ ก็อย่าทำอะไรเอื้อซีพีเด็ดขาด แก้ไขสัญญาไม่ได้ ยุ่งนักก็บอกเลิกสัญญาไปเลย พร้อมยึดและปรับเงินตามสัญญา
อย่าไปแอบทำกันเงียบ ๆ แบบทิ้งทวนนะครับ
เตือนไว้ก่อน
อย่านะครับคุณประยุทธ์ อย่าเด็ดขาด จะเป็นรัฐบาลต่อหรือมีรัฐบาลใหม่ ก็อย่า
ที่เครือซีพีได้สัมปทานไป
เรื่องนี้ ฮือฮามาแล้วเมื่อปี 2563 ที่ซีพียื่นซองประกวดราคาไม่ทันตามเวลาที่กำหนด
จึงโดนตัดออกจากการเปิดซอง แต่ซีพีก็แสดงอภินิหารฟ้องศาล และศาลก็พิพากษาให้ซีพีชนะคดี
ให้คณะกรรมการประกวดราคาต้องรับซองซีพีแม้จะยื่นซองเกินเวลาก็ตาม ด้วยเหตุผล แม้จะเกินเวลาแต่ยังไม่มีการเปิดซองของใคร
และผลก็ปรากฎว่า ซีพีชนะ ได้สัมปทานไปครองแบบชิว ๆ เป็นปรากฎการณ์ใหม่ของการยื่นซองประกวดราคาแม้ว่าจะเกินเวลาแต่ก็ชนะได้
แต่ถึงวันนี้ ผ่านมาสามปี ยังไม่มี ไม่เริ่ม ไม่อะไรเลย ในการก่อสร้างตามสัญญาสัมปทาน
เรียกว่า ดินสักก้อนก็ไม่ได้ขุด เสาเข็มสักต้นก็ไม่ได้ตอก รางรถสักเส้นก็ไม่ได้วาง ทุกอย่างยังว่างเปล่า
นั่นเพราะซีพียื่นเรื่องต่อหน่วยงานรัฐ ขอปรับแก้เปลี่ยนแปลงสัญญาสัมปทาน เมื่อยังไม่มีคำตอบจากรัฐ การก่อสร้างจึงไม่เริ่ม
ก็แปลกดี สามปีผ่าน หน่วยงานรัฐจะยอมให้ซีพีแก้ไขสัญญา หรือไม่ยอม ก็ไม่ว่าอะไร
เงียบ ๆ งึม ๆ งำ ๆ ทำเป็นต่อรองกันอยู่อย่างนั้น แบบรอสัญญาณจากผู้มีอำนาจในการจะเอื้อหรือไม่เอื้อซีพี
สัมปทานนี้ เป็นการร่วมทุนระหว่างเอกชนกับรัฐ
รัฐบาลต้องจ่ายเงินร่วมทุนให้ซีพี และขณะเดียวกัน ซีพีนอกจากควักเงินทุนร่วมแล้ว ยังต้องจ่ายค่าสัมปทานด้วย
ตรงนี้แหละ ที่ซีพีขอแก้ไขสัญญา คือ ขอแก้ให้รัฐบาลจ่ายเงินร่วมทุนเพิ่ม และขอแก้ให้ซีพีจ่ายค่าสัมปทานลดลง
ชนะการประมูลมาแบบอภินิหารไม่พอ ยังจะมาขอแก้ไขสัญญาแบบงานยังไม่เริ่มสักนิดซะอีก
เอาแต่ได้แบบนี้ ถ้าไม่ใช่ซีพีคงโดนปรับ โดนยกเลิกสัญญาไปนานแล้ว ไม่ใช่นิ่งเป็นขอนไม้มาสามปีอยู่แบบนี้
ไม่เคยเอื้อประโยชน์ใครจริง ๆ