‘ชัชชาติ’ แถลงผลงาน1ปี ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 เผยขับเคลื่อนแล้ว 211 นโยบาย ลุยต่อบิ๊กโปรเจ็กต์
https://www.matichon.co.th/local/news_4027894
ชัชชาติแถลงผลงาน 1 ปี ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 เผยขับเคลื่อนแล้ว 211 นโยบาย แก้ร้องเรียน 2 แสนเรื่อง ลุยต่อบิ๊กโปรเจ็กต์
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยผู้บริหาร กทม. จัดแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี 365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน กรุงเทพฯ นาย
ชัชชาติกล่าวว่า แรงขับเคลื่อนการทำงานรอบปีที่ผ่านมา คือ 1.ผลักดันโครงการขนาดใหญ่เชื่อมโยงการพัฒนาเส้นเลือดฝอย 2.เปลี่ยนวิธีคิดการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ต้องคอยตามผู้ว่าฯ 3.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูล แต่ต้องนำมาตอบโจทย์ประชาชน 4.สร้างความโปร่งใสในการทำงาน และ 5.ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเมือง
นาย
ชัชชาติกล่าวต่อว่าสำหรับนโยบาย 216 ตัว เพิ่มเป็น 226 ตัว แบ่งเป็นทำแล้ว 211 ตัว ยังไม่ดำเนินการ 11 ตัว เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง ยุติการดำเนินการ 4 ตัว ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ห้องให้นมเด็ก, ห้องสมุดรถยนต์ เปลี่ยนเป็น ห้องสมุดออนไลน์แทน ในช่วงปีแรกเป็นช่วงการทำแซนด์บ็อกซ์ โปรโตไทป์ เพื่อทดสอบแนวคิดในมิติสาธารณสุข การศึกษา เราไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งหมดในกรุงเทพฯได้ ถ้ามีความผิดพลาดจะเกิดผลกระทบรุนแรง เช่น ราชพิพัฒน์โมเดล เมื่อสำเร็จในปีที่ 2-3 จะขยายไปยังจุดอื่นๆ เช่น Bangkok Health Zoning โครงการขนาดใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการปรับปรุง รพ.กลาง 4,000 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน 4,925.67 ล้านบาท, โครงการขยายถนนรามคำแหง 24 และปรับปรุงถนนหัวหมาก 729.78 ล้านบาท, โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน 14,804 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างเตาเผาขยะ 4,410 ล้านบาท เป็นต้น
นาย
ชัชชาติกล่าวว่า สำหรับนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี อาทิ ด้านปลอดภัยดี แก้ปัญหาไฟฟ้าดับ 28,000 ดวง เปลี่ยนเป็นหลอดไฟ LED 11,400 ดวง, ปรับปรุงทางม้าลาย, แปลนอาคารเข้าระบบ 5,000 แห่ง ด้านโปร่งใสดี แก้ปัญหาทราฟฟี่ฟองดูว์ 200,000 เรื่อง, เปิดบริการ BMA OSS ยื่นแบบก่อสร้างอาคารผ่านระบบออนไลน์, เปิดเผย 720 ข้อมูล ตามความต้องการของประชาชน ด้านเศรษฐกิจดี พัฒนาการฝึกอาชีพเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ, ออกสินเชื่อช่วยเหลือให้กับผู้ค้าหาบเร่ร่วมกับธนาคารกรุงไทย, 12 เทศกาล 12 เดือน, เร่งอนุมัติการถ่ายภาพยนตร์ในกรุงเทพฯใน 3 วัน, จ้างงานคนพิการ 489 ตำแหน่ง บรรจุเป็นข้าราชการ 9 อัตรา ด้านเดินทางดี มีการปรับปรุงทางเท้าเสริมเหล็กเส้น 221.47 กิโลเมตร, ติดตั้งจุดจอดจักรยานเพิ่ม 100 จุด, คืนผิวจราจร สะพานเชื้อเพลิง สะพานข้ามแยก ณ ระนอง, พัฒนารถโดยสาร BMA Feeder 4 เส้นทาง, ลอกท่อระบายน้ำ 7,115.4 กิโลเมตร เป็นต้น
“
หากจะให้คะแนนตนเอง ขอให้ 5 คะแนน เต็ม 10 จะได้ปรับปรุงตัวง่ายขึ้น เพราะถ้าให้เต็มเราก็จะปรับปรุงยาก แต่ถ้าให้ 5 คะแนน จะมีโอกาสปรับปรุงได้มากขึ้น ก็ต้องขอบคุณทีมงาน กทม.ทุกคนที่มีความเข้มแข็งร่วมเดินไปด้วยกัน เราทำคนเดียวไม่ได้อยู่แล้วทุกอย่างที่เห็น นี่คือผลงานทีมงาน กทม. สิ่งที่ กทม.ยังทำได้ไม่ดี คือเศรษฐกิจเมือง ต้องขับเคลื่อนให้มากขึ้น เร่งรัดพัฒนาตลาด 11 แห่ง เชื่อว่าที่ผ่านมามาถูกทาง แต่หากมีข้อปรับปรุงก็พร้อมน้อมรับเพื่อทำให้ดีขึ้น โดยสิ่งที่ยากสุดในการทำงานคือ การแก้ทุจริตคอร์รัปชั่น หากไม่มีความโปร่งใส ประชาชนไม่ไว้ใจ สุดท้ายก็ไม่มีแนวร่วม “ผู้ว่าฯกทม.กล่าว
‘เศรษฐา’ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไขข้อข้องใจ 80 กองทุนทั่วโลกซักวุ่นจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กังวลม็อบประท้วง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4027904
‘เศรษฐา’ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไขข้อข้องใจ 80 กองทุนทั่วโลกซักวุ่นจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กังวลม็อบประท้วง
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน นาย
เศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับนักลงทุนกว่า 80 กองทุนจากทั่วโลก ทั้งจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น อังกฤษ สหภาพยุโรป รวมถึงประเทศไทย จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยตนเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งในที่ประชุมนักลงทุนสอบถามถึงสถานการณ์บ้านเมืองและนโยบายรัฐบาลชุดใหม่เป็นหลัก ซึ่งได้ชี้แจงว่าทางพรรคเพื่อไทยอยากให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็วที่สุด โดยมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำและมีนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อประเทศและเศรษฐกิจจะได้เดินไปข้างหน้าได้ เนื่องจากนักลงทุนมีความเป็นห่วงและกังวล เรื่องของช่วงสุญญากาศที่ยังไม่มีรัฐบาล ทำให้การลงทุนหยุดชะงัก
นาย
เศรษฐากล่าวว่า ทางนักลงทุนต่างชาติอยากให้มีรัฐบาลใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะมาลงทุนหรือไม่ลงทุน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งการลงทุนที่สำคัญ แต่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ยังมีคู่แข่งทั้งประเทศอินโดนีเซียกับเวียดนาม ซึ่งก็อยากได้ต่างชาติตั้งโรงงานในประเทศเขา ดังนั้น ประเทศไทยก็ต้องระมัดระวังตรงนี้ ถ้าเกิดไม่รีบตั้งรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งหรือถ้าตั้งรัฐบาลช้าไปประเทศเพื่อนบ้านจะมาแย่งการลงทุนไป ทำให้เศรษฐกิจเราไม่ดีได้
“
นักลงทุนค่อนข้างกังวลมากเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า การประท้วงถ้าหากผลออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งนักลงทุนเป็นห่วง ผมบอกว่าประเทศไทยจริงๆ แล้วอยากให้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด โดยให้พรรค ก.ก.ในฐานะแกนนำรีบออกนโยบายมาร่วมกับพรรค พท.โดยเร็ว ไม่อยากมีช่วงสุญญากาศเกิดขึ้น และอยากให้ได้เริ่มการบริหารจัดการประเทศโดยเร็ว ” นาย
เศรษฐากล่าว
นาย
เศรษฐากล่าวต่อว่านอกจากนี้ นักลงทุนยังถามว่าคิดว่า ส.ว.จะโหวตให้นาย
พิธาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ได้อธิบายว่าตามหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทาง ส.ว.ควรที่จะโหวตตามฉันทามติ จากการสอบถามของนักลงทุนวันนี้ กังวลเรื่องการเมืองเป็นหลัก เพราะเป็นเรื่องเดียวที่ฉุดรั้งประเทศไว้ และถามว่าจะล่าช้าถึงเมื่อไหร่ ถึงสิ้นปีหรือไม่ ตนบอกว่าทุกวันมีเรื่องเปลี่ยนแปลง ถ้าถามเมื่อ 3-4 วันที่แล้ว อาจจะเร็วกว่านี้ แต่ถ้าถามวันนี้อาจจะดีเลย์ไปอีก ไม่ได้ลงรายละเอียดมาก แต่ทุกคนรู้อยู่ว่ามีประเด็นอะไรกันบ้าง ทุกวันมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ยิ่งมีข้อมูลมาก ตัวแปรจะเยอะขึ้น ความผันผวน ความไม่แน่นอนของตลาดจะเพิ่มขึ้นด้วย ก็เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากกว่า เรื่องการลงทุนมองว่าโดยพื้นฐานของประเทศไทยดีอยู่แล้ว ขอให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังสอบถามเรื่องการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ได้บอกไปว่าไร้สาระ รวมถึงยังถามว่าถ้าหากมีอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้น พรรค ก.ก.ไม่ได้เป็นรัฐบาลและนาย
พิธาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บอกว่าทั้ง 8 พรรคแสดงเจตจำนงแล้วว่าจะอยู่ร่วมกันทำงานต่อไป
ประธานส.อ.ท. ห่วง!! 19 อุตฯ ออเดอร์ร่วง แต่ยังเดินเครื่องจักรเพื่อพยุงจ้างงาน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4027699
“เกรียงไกร” ประธานส.อ.ท.ห่วง 19 อุตฯผลิตแค่พยุงจ้างงานทั้งที่ออเดอร์หาย ห่วงตั้งรบ.วุ่นภาพหลอนม็อบลงถนน
นาย
เกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “มติชน” ถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้จนถึงปีหน้า ว่า ปีนี้เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังแผ่วลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯลดความร้อนแรง จากมาตรการดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าไทยลดตามไปด้วย เห็นสัญญาณตั้งแต่ตุลาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 ที่ตัวเลขส่งออกลดลง โดย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกของไทยดีที่สุด คือ ลบ1% ถึง 0% ล่าสุดแนวโน้มยังรุนแรง ดังนั้นไตรมาสที่ 3(กรกฎาคม-กันยายน2566) กกร.จะประเมินใหม่อีกครั้ง
นาย
เกรียงไกร กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกดังกล่าว ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลง และพบว่าจากอุตสาหกรรมทั้งหมด 45 กลุ่มอุตสาหกรรม มีถึง 19 อุตสาหกรรม คำสั่งซื้อ 3 เดือนข้างหน้าลดลง แต่ยังมีการผลิตอยู่ อีกความหมายหนึ่งคือมีการผลิตแต่ไม่ได้ส่งออก เป็นการผลิตแล้วเก็บเป็นสต๊อกไว้เพื่อพยุงการจ้างงาน และหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจคลี่คลายจะนำสินค้าที่ทำการสต็อกไว้มาส่งออกต่อไป ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะไม่อยากให้พนักงานขาดรายได้ ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องกัดฟันผลิตไปก่อน 19 อุตสาหกรรม
ประกอบด้วย 1.หนังและผลิตภัณฑ์หนัง 2.เหล็ก 3.แก้วและกระจก 4.โรงเลื่อนโรงอบไม้ 5.ไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น 6.เครื่องจักรกลและโลหะการ 7.เครื่องจักรกลการเกษตร 8.น้ำตาล 9.ยา 10.สมุนไพร 11.เยื่อและกระดาษ 12.การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 13.หัตถกรรมสร้างสรรค์ 14.การจัดการสิ่งแวดล้อม 15.เทคโนโลยีชีวภาพ 16.เครื่องสำอาง 17.หล่อโหละ 18.เฟอร์นิเจอร์ และ19.แกรนิตและหินอ่อน
นาย
เกรียงไกร กล่าวว่า ด้านเครื่องยนต์ท่องเที่ยวปีนี้ไทยตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน คิดเป็น 75% จากเมื่อปี 2562 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 40 ล้านคน หวังว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายหรือตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นจนถึงเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ระวังปัจจัยลบที่อาจแทรกเข้ามาด้วย โดยเฉพาะการเมือง ที่หากยืดเยื้อล่าช้าออกไป 1-2 เดือน หรือเลื่อนออกไปถึงช่วงปลายปี 2566 อาจส่งผลให้สิ่งที่หายไปจากสังคมไทยเป็นเวลานานกลับมาอีกครั้ง คือม็อบ เป็นภาพหลอนที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะจะกระทบกับเครื่องยนต์เศรษฐกิจ หรือภาคท่องเที่ยวโดยตรง จากเดิมที่คาดหวังว่านักท่องเที่ยวในปี 2566 จะถึง 30 ล้านคน อาจไปไม่ถึง
นอกจากนี้ยังอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยซึ่งปัจจุบันกำลังซื้อภาพรวมยังไม่ค่อยฟื้น จากค่าครองชีพที่สูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ที่ทำให้ราคาสินค้าทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น บวกกับปัจจุบันไทยมีหนี้ภาคครัวเรือนแตะ 90% ถือว่าตัวเลขสูงมาก มองว่าเรื่องนี้เป็นระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่
“
การเลือกตั้งในรอบนี้ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เป็นการดิสรัปทางการเมืองไทยครั้งสำคัญ หวังว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะราบรื่น ไม่เกิดความวุ่นวาย จนกลายเป็นมีม็อบลงถนน เพราะภาพการเดินขบวนหากถูกเผยแพร่ออกไปจะมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแน่นอน รวมถึงภาคการส่งออก และการลงทุนจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เช่นกัน ย้ำว่านักลงทุนไม่ชอบการเซอร์ไพร์ส ดังนั้น จึงอยากให้มีการจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจไทยแย่ไปกว่านี้” นาย
เกรียงไกรกล่าว
JJNY : ‘ชัชชาติ’ แถลงผลงาน1ปี│‘เศรษฐา’ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์│ห่วง!! 19 อุตฯ ออเดอร์ร่วง│รัสเซียถล่มบ้านเกิด“เซเลนสกี”
https://www.matichon.co.th/local/news_4027894
ชัชชาติแถลงผลงาน 1 ปี ให้คะแนนตัวเอง 5 เต็ม 10 เผยขับเคลื่อนแล้ว 211 นโยบาย แก้ร้องเรียน 2 แสนเรื่อง ลุยต่อบิ๊กโปรเจ็กต์
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน ที่ห้องรัตนโกสินทร์ ศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร เสาชิงช้า นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) พร้อมด้วยผู้บริหาร กทม. จัดแถลงผลงานครบรอบ 1 ปี 365 วัน ทำงาน ทำงาน ทำงาน กรุงเทพฯ นายชัชชาติกล่าวว่า แรงขับเคลื่อนการทำงานรอบปีที่ผ่านมา คือ 1.ผลักดันโครงการขนาดใหญ่เชื่อมโยงการพัฒนาเส้นเลือดฝอย 2.เปลี่ยนวิธีคิดการทำงานของเจ้าหน้าที่ให้ประชาชนเป็นศูนย์กลาง ไม่ต้องคอยตามผู้ว่าฯ 3.เพิ่มประสิทธิภาพการทำงาน โดยใช้เทคโนโลยีและข้อมูล แต่ต้องนำมาตอบโจทย์ประชาชน 4.สร้างความโปร่งใสในการทำงาน และ 5.ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการขับเคลื่อนเมือง
นายชัชชาติกล่าวต่อว่าสำหรับนโยบาย 216 ตัว เพิ่มเป็น 226 ตัว แบ่งเป็นทำแล้ว 211 ตัว ยังไม่ดำเนินการ 11 ตัว เช่น การกระตุ้นเศรษฐกิจเมือง ยุติการดำเนินการ 4 ตัว ที่ไม่สอดคล้องกับสถานการณ์ปัจจุบัน เช่น ห้องให้นมเด็ก, ห้องสมุดรถยนต์ เปลี่ยนเป็น ห้องสมุดออนไลน์แทน ในช่วงปีแรกเป็นช่วงการทำแซนด์บ็อกซ์ โปรโตไทป์ เพื่อทดสอบแนวคิดในมิติสาธารณสุข การศึกษา เราไม่สามารถนำนโยบายไปปฏิบัติทั้งหมดในกรุงเทพฯได้ ถ้ามีความผิดพลาดจะเกิดผลกระทบรุนแรง เช่น ราชพิพัฒน์โมเดล เมื่อสำเร็จในปีที่ 2-3 จะขยายไปยังจุดอื่นๆ เช่น Bangkok Health Zoning โครงการขนาดใหญ่ที่กำลังดำเนินการอยู่ เช่น โครงการปรับปรุง รพ.กลาง 4,000 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างอุโมงค์ระบายน้ำบึงหนองบอน 4,925.67 ล้านบาท, โครงการขยายถนนรามคำแหง 24 และปรับปรุงถนนหัวหมาก 729.78 ล้านบาท, โครงการส่วนต่อขยายรถไฟฟ้าสายสีเขียว บางหว้า-ตลิ่งชัน 14,804 ล้านบาท, โครงการก่อสร้างเตาเผาขยะ 4,410 ล้านบาท เป็นต้น
นายชัชชาติกล่าวว่า สำหรับนโยบาย 9 ด้าน 9 ดี อาทิ ด้านปลอดภัยดี แก้ปัญหาไฟฟ้าดับ 28,000 ดวง เปลี่ยนเป็นหลอดไฟ LED 11,400 ดวง, ปรับปรุงทางม้าลาย, แปลนอาคารเข้าระบบ 5,000 แห่ง ด้านโปร่งใสดี แก้ปัญหาทราฟฟี่ฟองดูว์ 200,000 เรื่อง, เปิดบริการ BMA OSS ยื่นแบบก่อสร้างอาคารผ่านระบบออนไลน์, เปิดเผย 720 ข้อมูล ตามความต้องการของประชาชน ด้านเศรษฐกิจดี พัฒนาการฝึกอาชีพเชื่อมโยงกับผู้ประกอบการ, ออกสินเชื่อช่วยเหลือให้กับผู้ค้าหาบเร่ร่วมกับธนาคารกรุงไทย, 12 เทศกาล 12 เดือน, เร่งอนุมัติการถ่ายภาพยนตร์ในกรุงเทพฯใน 3 วัน, จ้างงานคนพิการ 489 ตำแหน่ง บรรจุเป็นข้าราชการ 9 อัตรา ด้านเดินทางดี มีการปรับปรุงทางเท้าเสริมเหล็กเส้น 221.47 กิโลเมตร, ติดตั้งจุดจอดจักรยานเพิ่ม 100 จุด, คืนผิวจราจร สะพานเชื้อเพลิง สะพานข้ามแยก ณ ระนอง, พัฒนารถโดยสาร BMA Feeder 4 เส้นทาง, ลอกท่อระบายน้ำ 7,115.4 กิโลเมตร เป็นต้น
“หากจะให้คะแนนตนเอง ขอให้ 5 คะแนน เต็ม 10 จะได้ปรับปรุงตัวง่ายขึ้น เพราะถ้าให้เต็มเราก็จะปรับปรุงยาก แต่ถ้าให้ 5 คะแนน จะมีโอกาสปรับปรุงได้มากขึ้น ก็ต้องขอบคุณทีมงาน กทม.ทุกคนที่มีความเข้มแข็งร่วมเดินไปด้วยกัน เราทำคนเดียวไม่ได้อยู่แล้วทุกอย่างที่เห็น นี่คือผลงานทีมงาน กทม. สิ่งที่ กทม.ยังทำได้ไม่ดี คือเศรษฐกิจเมือง ต้องขับเคลื่อนให้มากขึ้น เร่งรัดพัฒนาตลาด 11 แห่ง เชื่อว่าที่ผ่านมามาถูกทาง แต่หากมีข้อปรับปรุงก็พร้อมน้อมรับเพื่อทำให้ดีขึ้น โดยสิ่งที่ยากสุดในการทำงานคือ การแก้ทุจริตคอร์รัปชั่น หากไม่มีความโปร่งใส ประชาชนไม่ไว้ใจ สุดท้ายก็ไม่มีแนวร่วม “ผู้ว่าฯกทม.กล่าว
‘เศรษฐา’ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ไขข้อข้องใจ 80 กองทุนทั่วโลกซักวุ่นจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กังวลม็อบประท้วง
https://www.matichon.co.th/politics/news_4027904
‘เศรษฐา’ วิดีโอคอนเฟอเรนซ์ ไขข้อข้องใจ 80 กองทุนทั่วโลกซักวุ่นจัดตั้งรัฐบาลใหม่ กังวลม็อบประท้วง
เมื่อวันที่ 13 มิถุนายน นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกฯ และประธานที่ปรึกษาหัวหน้าครอบครัวเพื่อไทย (พท.) เปิดเผยว่า ได้ประชุมผ่านระบบออนไลน์ร่วมกับนักลงทุนกว่า 80 กองทุนจากทั่วโลก ทั้งจากประเทศสิงคโปร์ ฮ่องกง ญี่ปุ่น อังกฤษ สหภาพยุโรป รวมถึงประเทศไทย จัดโดยบริษัทหลักทรัพย์ซีแอลเอสเอ (ประเทศไทย) จำกัด โดยตนเป็นผู้ให้ข้อมูล ซึ่งในที่ประชุมนักลงทุนสอบถามถึงสถานการณ์บ้านเมืองและนโยบายรัฐบาลชุดใหม่เป็นหลัก ซึ่งได้ชี้แจงว่าทางพรรคเพื่อไทยอยากให้มีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่โดยเร็วที่สุด โดยมีพรรคก้าวไกลเป็นแกนนำและมีนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพื่อประเทศและเศรษฐกิจจะได้เดินไปข้างหน้าได้ เนื่องจากนักลงทุนมีความเป็นห่วงและกังวล เรื่องของช่วงสุญญากาศที่ยังไม่มีรัฐบาล ทำให้การลงทุนหยุดชะงัก
นายเศรษฐากล่าวว่า ทางนักลงทุนต่างชาติอยากให้มีรัฐบาลใหม่โดยเร็ว เพื่อจะได้ตัดสินใจว่าจะมาลงทุนหรือไม่ลงทุน เพราะอย่างที่ทราบกันดีว่าปัจจุบันประเทศไทยเป็นแหล่งการลงทุนที่สำคัญ แต่ประเทศไทยไม่ได้อยู่ตัวคนเดียว ยังมีคู่แข่งทั้งประเทศอินโดนีเซียกับเวียดนาม ซึ่งก็อยากได้ต่างชาติตั้งโรงงานในประเทศเขา ดังนั้น ประเทศไทยก็ต้องระมัดระวังตรงนี้ ถ้าเกิดไม่รีบตั้งรัฐบาลมาจากการเลือกตั้งหรือถ้าตั้งรัฐบาลช้าไปประเทศเพื่อนบ้านจะมาแย่งการลงทุนไป ทำให้เศรษฐกิจเราไม่ดีได้
“นักลงทุนค่อนข้างกังวลมากเรื่องการจัดตั้งรัฐบาลล่าช้า การประท้วงถ้าหากผลออกมาไม่เป็นไปตามที่คาดหวังไว้ ซึ่งนักลงทุนเป็นห่วง ผมบอกว่าประเทศไทยจริงๆ แล้วอยากให้จัดตั้งรัฐบาลโดยเร็วที่สุด โดยให้พรรค ก.ก.ในฐานะแกนนำรีบออกนโยบายมาร่วมกับพรรค พท.โดยเร็ว ไม่อยากมีช่วงสุญญากาศเกิดขึ้น และอยากให้ได้เริ่มการบริหารจัดการประเทศโดยเร็ว ” นายเศรษฐากล่าว
นายเศรษฐากล่าวต่อว่านอกจากนี้ นักลงทุนยังถามว่าคิดว่า ส.ว.จะโหวตให้นายพิธาเป็นนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ได้อธิบายว่าตามหลักของการปกครองระบอบประชาธิปไตย ทาง ส.ว.ควรที่จะโหวตตามฉันทามติ จากการสอบถามของนักลงทุนวันนี้ กังวลเรื่องการเมืองเป็นหลัก เพราะเป็นเรื่องเดียวที่ฉุดรั้งประเทศไว้ และถามว่าจะล่าช้าถึงเมื่อไหร่ ถึงสิ้นปีหรือไม่ ตนบอกว่าทุกวันมีเรื่องเปลี่ยนแปลง ถ้าถามเมื่อ 3-4 วันที่แล้ว อาจจะเร็วกว่านี้ แต่ถ้าถามวันนี้อาจจะดีเลย์ไปอีก ไม่ได้ลงรายละเอียดมาก แต่ทุกคนรู้อยู่ว่ามีประเด็นอะไรกันบ้าง ทุกวันมีข้อมูลใหม่ๆ เกิดขึ้นตลอดเวลา ยิ่งมีข้อมูลมาก ตัวแปรจะเยอะขึ้น ความผันผวน ความไม่แน่นอนของตลาดจะเพิ่มขึ้นด้วย ก็เป็นประเด็นที่น่ากังวลมากกว่า เรื่องการลงทุนมองว่าโดยพื้นฐานของประเทศไทยดีอยู่แล้ว ขอให้มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่สมบูรณ์แบบ อีกทั้งยังสอบถามเรื่องการตั้งรัฐบาลแห่งชาติ ได้บอกไปว่าไร้สาระ รวมถึงยังถามว่าถ้าหากมีอุบัติเหตุทางการเมืองเกิดขึ้น พรรค ก.ก.ไม่ได้เป็นรัฐบาลและนายพิธาไม่ได้เป็นนายกรัฐมนตรี ได้บอกว่าทั้ง 8 พรรคแสดงเจตจำนงแล้วว่าจะอยู่ร่วมกันทำงานต่อไป
ประธานส.อ.ท. ห่วง!! 19 อุตฯ ออเดอร์ร่วง แต่ยังเดินเครื่องจักรเพื่อพยุงจ้างงาน
https://www.matichon.co.th/economy/news_4027699
“เกรียงไกร” ประธานส.อ.ท.ห่วง 19 อุตฯผลิตแค่พยุงจ้างงานทั้งที่ออเดอร์หาย ห่วงตั้งรบ.วุ่นภาพหลอนม็อบลงถนน
นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ส.อ.ท.) เปิดเผยกับ “มติชน” ถึงภาพรวมเศรษฐกิจไทยปีนี้จนถึงปีหน้า ว่า ปีนี้เครื่องยนต์ส่งออกของไทยกำลังแผ่วลง เนื่องจากเศรษฐกิจสหรัฐฯลดความร้อนแรง จากมาตรการดอกเบี้ยเพื่อควบคุมเงินเฟ้อ ทำให้คำสั่งซื้อสินค้าไทยลดตามไปด้วย เห็นสัญญาณตั้งแต่ตุลาคม 2565 ถึง เมษายน 2566 ที่ตัวเลขส่งออกลดลง โดย คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) คาดการณ์ตัวเลขการส่งออกของไทยดีที่สุด คือ ลบ1% ถึง 0% ล่าสุดแนวโน้มยังรุนแรง ดังนั้นไตรมาสที่ 3(กรกฎาคม-กันยายน2566) กกร.จะประเมินใหม่อีกครั้ง
นายเกรียงไกร กล่าวว่า แนวโน้มการส่งออกดังกล่าว ล่าสุดดัชนีความเชื่อมั่นภาคอุตสาหกรรมลดลง และพบว่าจากอุตสาหกรรมทั้งหมด 45 กลุ่มอุตสาหกรรม มีถึง 19 อุตสาหกรรม คำสั่งซื้อ 3 เดือนข้างหน้าลดลง แต่ยังมีการผลิตอยู่ อีกความหมายหนึ่งคือมีการผลิตแต่ไม่ได้ส่งออก เป็นการผลิตแล้วเก็บเป็นสต๊อกไว้เพื่อพยุงการจ้างงาน และหวังว่าเมื่อเศรษฐกิจคลี่คลายจะนำสินค้าที่ทำการสต็อกไว้มาส่งออกต่อไป ที่ต้องทำเช่นนี้เพราะไม่อยากให้พนักงานขาดรายได้ ตอนนี้ภาคอุตสาหกรรมก็ต้องกัดฟันผลิตไปก่อน 19 อุตสาหกรรม
ประกอบด้วย 1.หนังและผลิตภัณฑ์หนัง 2.เหล็ก 3.แก้วและกระจก 4.โรงเลื่อนโรงอบไม้ 5.ไม้อัด ไม้บางและวัสดุแผ่น 6.เครื่องจักรกลและโลหะการ 7.เครื่องจักรกลการเกษตร 8.น้ำตาล 9.ยา 10.สมุนไพร 11.เยื่อและกระดาษ 12.การพิมพ์และบรรจุภัณฑ์ 13.หัตถกรรมสร้างสรรค์ 14.การจัดการสิ่งแวดล้อม 15.เทคโนโลยีชีวภาพ 16.เครื่องสำอาง 17.หล่อโหละ 18.เฟอร์นิเจอร์ และ19.แกรนิตและหินอ่อน
นายเกรียงไกร กล่าวว่า ด้านเครื่องยนต์ท่องเที่ยวปีนี้ไทยตั้งเป้านักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน คิดเป็น 75% จากเมื่อปี 2562 ที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวอยู่ที่ 40 ล้านคน หวังว่าในช่วงไตรมาสสุดท้ายหรือตั้งแต่เดือนตุลาคม-ธันวาคม 2566 ตัวเลขนักท่องเที่ยวจะมีมากขึ้นจนถึงเป้าหมาย
อย่างไรก็ตาม ระวังปัจจัยลบที่อาจแทรกเข้ามาด้วย โดยเฉพาะการเมือง ที่หากยืดเยื้อล่าช้าออกไป 1-2 เดือน หรือเลื่อนออกไปถึงช่วงปลายปี 2566 อาจส่งผลให้สิ่งที่หายไปจากสังคมไทยเป็นเวลานานกลับมาอีกครั้ง คือม็อบ เป็นภาพหลอนที่ไม่อยากให้เกิดขึ้น เพราะจะกระทบกับเครื่องยนต์เศรษฐกิจ หรือภาคท่องเที่ยวโดยตรง จากเดิมที่คาดหวังว่านักท่องเที่ยวในปี 2566 จะถึง 30 ล้านคน อาจไปไม่ถึง
นอกจากนี้ยังอาจซ้ำเติมเศรษฐกิจไทยซึ่งปัจจุบันกำลังซื้อภาพรวมยังไม่ค่อยฟื้น จากค่าครองชีพที่สูง โดยเฉพาะค่าไฟฟ้า ที่ทำให้ราคาสินค้าทุกประเภทปรับตัวเพิ่มขึ้น บวกกับปัจจุบันไทยมีหนี้ภาคครัวเรือนแตะ 90% ถือว่าตัวเลขสูงมาก มองว่าเรื่องนี้เป็นระเบิดเวลาทางเศรษฐกิจที่สำคัญ และต้องจับตาดูอย่างใกล้ชิด เพราะไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะปะทุขึ้นมาเมื่อไหร่
“การเลือกตั้งในรอบนี้ไม่เหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา เป็นการดิสรัปทางการเมืองไทยครั้งสำคัญ หวังว่าการจัดตั้งรัฐบาลจะราบรื่น ไม่เกิดความวุ่นวาย จนกลายเป็นมีม็อบลงถนน เพราะภาพการเดินขบวนหากถูกเผยแพร่ออกไปจะมีผลต่อการตัดสินใจท่องเที่ยวแน่นอน รวมถึงภาคการส่งออก และการลงทุนจะได้รับผลกระทบจากเรื่องนี้เช่นกัน ย้ำว่านักลงทุนไม่ชอบการเซอร์ไพร์ส ดังนั้น จึงอยากให้มีการจัดตั้งรัฐบาลให้เร็วที่สุด เพื่อไม่ให้เศรษฐกิจไทยแย่ไปกว่านี้” นายเกรียงไกรกล่าว