JJNY : ก้าวไกล นัดแถลง ลากไส้กลุ่มอำนาจ│วิโรจน์จี้ไอทีวี แจงสังคม│จี้ตั้งกก.ไต่สวน ปมชายแดนใต้│เอสเอ็มอีร้อง ‘พิธา’ ช่วย

ก้าวไกล นัดแถลงทันที ลากไส้กลุ่มอำนาจ แฉคนอยู่เบื้องหลัง กรณีหุ้นไอทีวี
https://www.matichon. co.th/politics/news_4024376

 
ก้าวไกล นัดแถลงทันที ลากไส้กลุ่มอำนาจ แฉคนอยู่เบื้องหลัง กรณีหุ้นไอทีวี
 
จากกรณีที่ ข่าว 3 มิติ โดย “แยม ฐปณีย์” ได้ออกมาเปิดคลิปการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ที่จัดประชุมขึ้นเมื่อปลายเดือนเมษายนที่ผ่านมา เป็นคลิปวีดีโอ บันทึกการประชุมผู้ถือหุ้นไอทีวี ที่มีการร้องเรียนให้ตรวจสอบว่า ไม่ตรงกับบันทึกการประชุมในเอกสาร
 
ล่าสุด เพชร กรุณพล เทียนสุวรรณ ว่าที่ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ออกโพสต์ระบุ 
 
พรุ่งนี้ (12 มิ.ย.) แถลงข่าวเรื่องหุ้นITV ที่พรรคก้าวไกล ขอบคุณผู้หวังดีที่ช่วยกันลากไส้กลุ่มอำนาจที่เกาะกินประเทศนี้ ที่ทำทุกทางเพื่อรักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตัวเองและพวกพ้อง ถึงเวลาที่ความจริงจะไล่ล่าและขุดเอาข้อมูลทั้งหมดออกมาเปิดเผยว่าใครอยู่เบื้องหลังเรื่องนี้
 
https://twitter.com/petchy66/status/1667938279730339845
 


วิโรจน์ จี้ ไอทีวี แจงสังคม บันทึกประชุมไม่ตรงคำตอบปธ. ใครสั่ง ใครบงการ? อย่าเงียบเนียน 
https://www.matichon.co.th/politics/news_4024446

วิโรจน์ จี้ ไอทีวี แจงสังคม บันทึกประชุมไม่ตรงคำตอบปธ. ใครสั่ง ใครบงการ? อย่าเงียบเนียน 
 
เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน สืบเนื่องกรณีรายการข่าวสามมิติเปิดเผยรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ITV ซึ่งไม่ตรงกับคลิปวิดีโอที่บันทึกการประชุม
 
นายวิโรจน์ ลักขณาอดิศร ว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อพรรคก้าวไกล โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กว่า
 
ประเด็นสำคัญ คือ ในคำถามที่ถามโดยผู้ถือหุ้นว่า “บริษัท ไอทีวี มีการดำเนินงานเกี่ยวกับสื่อ หรือไม่”     ปรากฎว่าคลิปวิดีโอ ที่ตอบโดย “นายคิมห์ สิริทวีชัย” ประธานคณะกรรมการบริษัท ในฐานะประธานในที่ประชุม ตอบอย่างชัดเจนว่า “ตอนนี้บริษัทยังไม่มีการดำเนินการใดๆ นะครับ ก็รอผลคดีความให้สิ้นสุดก่อนนะครับ”
.
แต่ในรายงานการประชุมผู้ถือหุ้น ที่ลงนามโดย “นายคิมห์ สิริทวีชัย” ประธานในที่ประชุม กลับบันทึกว่า “ปัจจุบันยังดำเนินกิจการอยู่ ตามวัตถุประสงค์ของบริษัท และมีการส่งงบการเงิน และยื่นแบบภาษีเงินได้นิติบุคคลตามปกติ”
.
นายวิโรจน์ระบุว่า นี่จึงเป็นประเด็นข้อสงสัย ที่บริษัท ไอทีวี ต้องชี้แจงต่อสังคมว่า ทำไมรายงานการบันทึกการประชุม ถึงไม่ตรงกับคำตอบ ที่ประธานฯ ตอบในที่ประชุม
.
ใครเป็นคนสั่ง ใครเป็นผู้บงการ ให้ทำรายงานการประชุมแบบนี้และที่สังคมต้องตั้งคำถามต่อ ก็คือ พฤติการณ์แบบนี้ เข้าข่ายการทำรายงานการประชุมผู้ถือหุ้นเท็จ เพื่อใช้เป็นเหตุกลั่นแกล้งให้บุคคลอื่นต้องโทษคดีอาญา หรือไม่
.
ประธานคณะกรรมการบริษัท และกรรมการผู้สอบทานและแก้ไขรายงานการประชุม ตลอดจนคณะกรรมการท่านอื่นๆ จะรับผิดชอบต่อกรณีนี้อย่างไร
.
นายวิโรจน์ระบุด้วยว่า บริษัท ไอทีวี ควรต้องเร่งชี้แจงข้อสงสัยต่างๆ ข้างต้น ให้สังคมทราบโดยกระจ่าง จะเงียบเนียนไม่ได้ครับ เพราะการกระทำในลักษณะนี้ อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดในมาตรา 216 ของ พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด ซึ่งมีโทษจำคุกถึง 5 ปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ เชียวนะครับ
 
ในตอนท้าย นายวิโรจน์ยกข้อความจาก พ.ร.บ.บริษัทมหาชนจำกัด 2535 มาตรา 94 ว่ากรรมการต้องรับผิดร่วมกันเพื่อความเสียหายใด ๆ อันเกิดขึ้นแก่ผู้ถือหุ้นและบุคคลซึ่งเกี่ยวข้องกับบริษัทในกรณีดังต่อไปนี้ เว้นแต่จะพิสูจน์ได้ว่าตนมิได้มีส่วนในการกระทำความผิดนั้นด้วย
.
(1) การแจ้งข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความอันควรต้องแจ้งเกี่ยวกับฐานะการเงินและผลการดำเนินงานของบริษัทในการเสนอขายหุ้นหุ้นกู้หรือตราสารการเงินของบริษัท
.
(2) การแสดงข้อความหรือลงรายการในเอกสารที่ยื่นต่อนายทะเบียนโดยข้อความหรือรายการนั้นเป็นเท็จ หรือไม่ตรงกับบัญชี ทะเบียน หรือเอกสารของบริษัท
.
(3) การจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุน รายงานการประชุมผู้ถือหุ้นหรือรายงานการประชุมคณะกรรมการอันเป็นเท็จ
.
มาตรา 216 บุคคลใดซึ่งรับผิดชอบในการดำเนินงานของบริษัทใด กระทำหรือยินยอมให้กระทำการดังต่อไปนี้
.
(1) ทำให้เสียหาย ทำลาย เปลี่ยนแปลง ตัดทอน หรือปลอมบัญชี เอกสาร หรือหลักประกันของบริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท หรือ
.
(2) ลงข้อความเท็จ หรือไม่ลงข้อความสำคัญในบัญชีหรือเอกสารของ บริษัท หรือที่เกี่ยวกับบริษัท ถ้ากระทำหรือยินยอมให้กระทำเพื่อลวงให้บริษัทหรือผู้ถือหุ้นขาดประโยชน์ อันควรได้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินห้าปี หรือปรับไม่เกินหนึ่งล้านบาท หรือ ทั้งจำทั้งปรับ
.
พ.ร.ป.เลือกตั้ง ส.ส. 2561
มาตรา 143 ผู้ใดกระทำการอันเป็นเท็จเพื่อให้ ผู้อื่นเข้าใจผิดว่าผู้สมัครผู้ใดกระทำ การฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญนี้ ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกินสี่หมื่นบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดห้าปี
.
ถ้าการกระทำ ตามวรรคหนึ่งเป็นการเพื่อจะแกล้งให้ผู้สมัครนั้นถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง หรือสิทธิสมัครรับ
เลือกตั้ง หรือเพื่อไม่ให้มีการประกาศผลการเลือกตั้ง ต้องระวางโทษจำคุก ตั้งแต่ห้าปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำหนดยี่สิบปี
.
ถ้าการกระทำ ตามวรรคหนึ่งเป็นการแจ้งหรือให้ถ้อยคำ ต่อคณะกรรมการ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่เจ็ดปีถึงสิบปี และปรับตั้งแต่หนึ่งแสนสี่หมื่นบาทถึงสองแสนบาท และให้ศาลสั่งเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของผู้นั้นมีกำ หนดยี่สิบปี
.
ถ้าการกระทำ ตามวรรคสองหรือวรรคสามเป็นการกระทำ หรือก่อให้ผู้อื่นกระทำสนับสนุนหรือรู้เห็นเป็นใจ
ของหัวหน้าพรรคการเมืองหรือคณะกรรมการบริหารพรรคการเมือง ให้ถือว่าพรรคการเมืองนั้นกระทำ การอันเป็นการบ่อนทำลายความมั่นคงของราชอาณาจักร ตามกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยพรรคการเมือง
   
https://web.facebook.com/wirojlak/posts/pfbid02qmi2R75SynvXKUW8HrNsxFJN6AebwtS8RgYFhHqvkxfkuke5XC6wReGi3uSyVaRyl
 

 
นักวิชาการดัง จี้ตั้งกก.ไต่สวน ปมข้อเสนอแก้ปัญหาชายแดนใต้ถูก ‘ป้ายสี’ เป็น ‘แบ่งแยกดินแดน’ ลั่นไม่อาจรับได้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4024086

นักวิชาการดัง จี้ตั้งกก.ไต่สวน ปมข้อเสนอแก้ปัญหาชายแดนใต้ถูก ‘ป้ายสี’ เป็น ‘แบ่งแยกดินแดน’ ลั่นไม่อาจรับได้
 
เมื่อวันที่ 11 มิถุนายน รศ. ดร. อนุสรณ์ ธรรมใจ กรรมการวิทยาลัยนานาชาติ ปรีดี พนมยงค์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ อดีตกรรมการนโยบายและกำกับการบริหารหนี้สาธารณะ กระทรวงการคลัง เผยแพร่บทความมีเนื้อหาตอนหนึ่งกล่าวถึงข้อเสนอต่อรัฐบาลใหม่ให้สร้างบทบาทอาเซียนยกระดับการเปิดทางเศรษฐกิจ การเมือง สร้างเสถียรภาพและสันติสุขในภูมิภาค รักษาดุลยภาพมหาอำนาจโลก สร้างพื้นที่ปลอดการแข่งขันทางการทหารและอาวุธในภูมิภาค หยุดเครือข่ายปรปักษ์ประชาธิปไตยอาเซียน สร้างความขัดแย้งไทยเมียนมา

การที่เครือข่ายปรปักษ์ประชาธิปไตยในไทยใช้กลไกของระบอบเผด็จการทหารพม่าให้สัมภาษณ์โจมตีพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตยและปฏิบัติการด้านข่าวสารแบบบิดเบือน ว่า จะสร้างความขัดแย้งกับรัฐบาลเผด็จการทหารพม่า สร้างความขัดแย้งตามแนวชายแดนไทยเมียนมาโดยรับแผนการมาจากสหรัฐอเมริกาหรือซีไอเอก็ตาม การกระทำดังกล่าวถือว่า จะสร้างความเสียหายต่อประเทศ และ เป็นการชักศึกเข้าบ้าน เพียงหวังโค่นล้มรัฐบาลใหม่ฝ่ายประชาธิปไตย
 
นอกจากนี้ยังมีการปลุกปั่นบิดเบือน ข้อเสนอเพื่อแก้ปัญหาสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ ใส่ร้ายป้ายสีว่า เป็นความพยายามแบ่งแยกดินแดน การดำเนินการดังกล่าวหากทำโดยอดีตนายทหารที่อยู่ในคณะรัฐประหารก็ดี หรือ นายทหารในกองทัพก็ดี ถือว่า เป็นเรื่องที่ไม่อาจยอมรับได้ และ ต้องมีการแต่งตั้งคณะกรรมการขึ้นมาไต่สวนข้อเท็จจริงดังกล่าว เพราะเป็นการจุดเชื้อไฟแห่งความขัดแย้งรุนแรงทั้งภายในประเทศ (กรณีสามจังหวัดชายแดนใต้) และ ระหว่างประเทศ (กรณีไทยเมียนมา)
 
ขอเสนอให้รัฐบาลใหม่ดำเนินนโยบายพัวพันอย่างสร้างสรรค์ต่อประเทศเมียนมา และ ไทยควรมีบทบาทนำในการเป็นเจ้าภาพในการเจรจาเพื่อให้เกิดสันติภาพ การกลับคืนสู่ประชาธิปไตยและการเคารพสิทธิมนุษยชนในเมียนมา รัฐบาลใหม่ฝ่ายพรรคประชาธิปไตยของไทยสามารถริเริ่มจัดการเจรจาสันติภาพในกรุงเทพ ระหว่าง คณะรัฐบาลเอกภาพแห่งชาติ (National Unity Government) และ กองกำลังพิทักษ์ประชาชน (People’s Defence Force) ของขบวนการต่อต้านรัฐบาลเผด็จการทหาร กับ รัฐบาลเผด็จการทหาร มิน อ่อง หล่าย การเจรจาสันติภาพยุติสงครามกลางเมืองก็เพื่อรักษาชีวิตของประชาชนจำนวนมาก เพื่อสันติสุขและเสถียรภาพของภูมิภาคอาเซียนแล้ว ยังเป็นไปเพื่อการบรรเทาภาระที่ประเทศไทยต้องดูแลผู้อพยพที่หนีภัยสงครามกลางเมืองเข้ามาตามแนวชายแดนจำนวนมากอีกด้วย นอกจากยังช่วยลดบทบาทของขบวนการค้ายาเสพติดข้ามชาติที่ใช้ชายแดนไทยพม่าเป็นทางผ่าน
 
รศ. ดร. อนุสรณ์ กล่าวอีกว่า การดำเนินนโยบายต่างประเทศแบบนิ่งเฉยต่อการละเมิดสิทธิมนุษยชน ปราบปรามขบวนการประชาธิปไตยอย่างไร้มนุษยธรรม ใน เมียนมา ของ รัฐบาลไทยที่ผ่านมา ควรต้องมีการทบทวนครั้งใหญ่ ขณะนี้ต้องร่วมกันคัดค้านการขยายผลสงครามกลางเมืองในพม่าบานปลายเพื่อหวังผลต่อการเมืองในประเทศไทยของเครือข่ายจารีตอนุรักษ์นิยมขวาจัดสุดโต่ง เครือข่ายประชาธิปไตยต้องร่วมกันหยุดทฤษฎีสมคบคิดขยายความขัดแย้งตามแนวชายแดน อ้างความไม่สงบ สนับสนุนรัฐบาลสืบทอดอำนาจเสียงข้างน้อยในไทยให้อยู่ในอำนาจต่อไป

การดำเนินนโยบายต่างประเทศของไทยต้องยึดถือความเป็นกลาง ไม่เอียงข้างมหาอำนาจใดมหาอำนาจหนึ่ง และ ไทยไม่ควรเข้าร่วมในความขัดแย้งระหว่างมหาอำนาจที่อุบัติขึ้นเป็นระยะๆ หากมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ใดมาบังคับ ต้องยึดถือผลประโยชน์แห่งชาติและผลประโยชน์ของประชาชนส่วนใหญ่เป็นหลักในการตัดสินใจ วิเทโศบายของไทยต้องไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ส่วนตัวของผู้มีอำนาจ แต่ต้องเป็นไปเพื่อผลประโยชน์ของประเทศโดยรวมอย่างแท้จริงบนพื้นฐานของสันติภาพ มนุษยธรรมและความรุ่งเรืองร่วมกัน การเดินหน้าอย่างเต็มที่ในการเปิดกว้างทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคมผ่านข้อตกลงระหว่างประเทศในระดับพหุภาคีจึงเป็นเรื่องที่รัฐบาลใหม่ต้องเอาใจใส่” รศ. ดร. อนุสรณ์ ระบุ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่