‘นพดล’ ยกหลักการ ‘ปธ.สภา’ เชื่อ มีเริ่มก็มีโต้ แนะคุยภายใน เลี่ยงชิงไหวพริบผ่านสื่อ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4001015
‘นพดล’ ยกหลักการ ‘ประธานสภา’ เชื่อ มีเริ่มก็มีโต้ แนะคุยภายใน เลี่ยงชิงไหวชิงพริบผ่านสื่อ
สืบเนื่องสถานการณ์การเมืองไทยที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านหลังการเลือกตั้ง โดยเกิดกระแสจับตาการจัดตั้งรัฐบาล 2566 และการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย นั้น
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม นาย
นพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ โดยเสนอแนะถึงภาพรวมการเลือกตั้งว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ควรต้องแก้กฎหมายให้หมายเลขผู้สมัคร ส.ส. และหมายเลขพรรคเดียวกันเป็นเบอร์เดียวกันทั่วประเทศ และควรกำหนดเวลารับรอง ส.ส.ภายใน 30 วัน ไม่ใช่ 60 วัน เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่เข้าแก้ปัญหา ประชาชนโดยเร็ว
นอกจากนี้ นาย
นพดล ยังทวีตแสดงความเห็นถึงประเด็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยกล่าวถึงหลักการของการดำรงตำแหน่งประธานสภา ว่า
ต้องตัดความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคเก่า ไม่ลงมติในสภา และเมื่อพ้นตำแหน่งก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
1. ประชาชนอยากได้รัฐบาลเร่งแก้ปากท้อง สร้างประชาธิปไตย ประโยชน์ของประชาชนมาก่อน
2. เพื่อไทย สนับสนุนก้าวไกลเป็นแกนนำรัฐบาล
3. ตำแหน่งต่างๆ คุยภายใน เลี่ยงชิงไหวชิงพริบผ่านสื่อ เพราะมีเริ่ม ก็มีโต้
4. ความสำคัญของพรรคหรือคน อยู่ที่ประชาชนให้ การสร้างตัวตนในโซเชียลเอาให้พอควร
5. ถ้าสับสน อ่านข้อ 1
ประธานสภาฯ ในระบบอังกฤษที่ไทยเรียนมานั้น ความเป็นกลางทางการเมืองสำคัญสุด เมื่อได้เป็นแล้ว ต้องตัดความสัมพันธ์กับพรรคเก่า และไม่ลงมติในสภา เมื่อพ้นตำแหน่งก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ประธานจึงไม่สามารถผลักดันกฎหมายใดๆ ได้ การผลักดันกฎหมายเป็นงานของรัฐบาล และการโหวตอยู่ที่เสียง ส.ส. ส่วน ส.ส. ก็ผลักดันกฎหมายของตนได้
https://twitter.com/NoppadonPattama/status/1662440761286356993
แฉแหลก! ‘วิโรจน์’ อ้าง ‘สติกเกอร์ Easy Pass พิสดาร’ มีหลายรุ่น ติดปุ๊บผ่านฉลุย
https://www.dailynews.co.th/news/2377045/
เดินหน้าแฉต่อ! “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 7 จากพรรคก้าวไกล เคลื่อนไหวพร้อมหลักฐานชิ้นใหม่ ถกถาม "ต่อให้บรรทุกเป็น 100 ตัน ก็ขับผ่านฉลุย แถมไม่ต้องเสียเวลาชั่ง?"
จากกรณีข่าว “
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 7 จากพรรคก้าวไกล ได้ออกมาเคลื่อนไหวแฉภาพสติกเกอร์ที่แปะอยู่บนรถบรรทุก ที่มีเป็นสัญลักษณ์ให้ผ่านทางได้แบบไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งไม่ต้องชั่งตามน้ำหนักให้เสียเวลา
ต่อมาด้าน กทพ. แจงไม่ได้เป็นผู้จัดทำ สติกเกอร์พระอาทิตย์สีฟ้าติดรถบรรทุก ย้ำช่องทาง easy pass บนทางด่วน ใช้ได้เฉพาะรถยนต์ 4 ล้อเท่านั้น รถมากกว่า 4 ล้อ หมดสิทธิตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานต่อีกว่าด้าน “
วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยในรอบนี้ได้กลับมาเปิดโปงกลไกลในการทำงานขอสติกเกอร์ พร้อมด้วยหลักฐานใหม่
โดยระบุว่า “
Easy Pass พิสดารมีหลายรุ่น ติดปุ๊ผ่านฉลุย ลุยไม่ยั้ง ไม่ต้องชั่งให้เสียเวลา มีคนให้ข้อมูลกับผมว่า Easy Pass พิสดาร นี่มีหลายรูปแบบมาก มีคนร่ำลือกันว่า ต่อให้บรรทุกเป็น 100 ตัน ก็ขับผ่านฉลุย แถมไม่ต้องเสียเวลาชั่ง”
“
กลไกคือ จะมีองค์กรลึกลับไปไล่เคลียร์ แล้วเหมาจ่ายไปก่อน จากนั้นก็จะผลิตสติ๊กเกอร์ Easy Pass พิสดาร (ที่ไม่เกี่ยวกับการทางพิเศษ) ออกมา แล้วนำมาจำหน่ายให้กับรถบรรทุกต่างๆ ในราคาหลักพันบาทต่อเดือน ตามระยะทาง และจำนวนด่าน อย่างเช่น สติ๊กเกอร์ Easy Pass รุ่นกระต่ายน้อยคอยรัก แบบนี้ดวงละ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือนครับ.สติ๊กเกอร์ Easy Pass พิสดารแบบนี้ ไม่มีกลไกอิเล็กทรอนิกส์อะไร ใช้แค่ตาสังเกต เห็นปุ๊บ เป็นอันว่ารู้กัน ไม่ต้องเลิ่กลั่ก แต่รับรองผ่านฉลุย ลุยไม่ยั้ง ไม่ต้องชั่งให้เสียเวลา”
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/747228580527032
'ชัชชาติ' จี้ รบ.ใหม่ทบทวน กม.ภาษีที่ดิน ปูดห้างใหญ่จ่ายน้อยลง 10 เท่า ขณะที่ชานเมืองเก็บมากขึ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4001028
‘ชัชชาติ’ จี้ รบ.ใหม่ทบทวน กม.ภาษีที่ดิน ปูดห้างใหญ่จ่ายน้อยลง 10 เท่า ขณะที่ชานเมืองเก็บมากขึ้น
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่สำนักงานเขตพญาไท นาย
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงข้อเสนอเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับรัฐบาลชุดใหม่ว่า เรื่องที่จะฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากคือ เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เดิม กทม.จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยคิดจากรายได้ของกิจการ 12.5% เพื่อมาเป็นรายได้ของเขต แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะคิดตามมูลค่าที่ดิน ยกตัวอย่างเขตพญาไท ก่อนที่จะเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษี สามารถจัดเก็บได้ประมาณ 300 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนรูปแบบภาษีทำให้จัดเก็บได้ลดลงเหลือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะตอนแรกหวังว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ผู้ที่มีรายได้มากจะต้องเสียภาษีมาก แต่พบว่าไม่ได้เป็นไปตามนั้น เช่น ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเขตพญาไท เดิมเสียภาษี 10.7 ล้านบาท แต่เมื่อเก็บภาษีรูปแบบใหม่ เสียภาษีเพียง 1.08 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าภาษีลดลงถึง 10 เท่า
“
แต่ก่อนมีการคิดห้างนี้ขายของเท่าไหร่ ค่าเช่าที่เท่าไหร่ เก็บ 12.5% แต่พอเปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปุ๊ป ไม่คิดตามรายได้แล้ว คิดตามมูลค่าที่ดินแปลงนี้เท่าไหร่ อาคารเก่าก็จะมีค่าเสื่อม สรุปเป็นภาษีที่ดินฯ ลดลงไปเหลือแค่ 10% เอง” นาย
ชัชชาติกล่าว
นาย
ชัชชาติกล่าวต่อว่า อาคารสำนักงานแห่งหนึ่งในเขตพญาไท เดิมเสียภาษี 11.49 ล้านบาท เพราะคำนวณจากค่าเช่าภายในสำนักงาน แต่เมื่อคิดภาษีรูปแบบใหม่ เสียภาษีเพียง 3.72 ล้านบาท เพราะคิดตามมูลค่าที่ดิน รวมถึงยิ่งเป็นอาคารเก่ามีค่าเสื่อมเยอะ ทำให้มูลค่าลดลงอีก ในขณะที่ห้องเช่าซึ่งเป็นอาคาร เดิมเก็บได้ 4.35 ล้านบาท ภาษีใหม่เก็บได้เพียง 7.68 หมื่นบาท รายได้หายไป 4.28 ล้านบาท เพราะเจ้าของได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในอาคารห้องเช่า จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยทำให้เสียภาษีในอีกอัตราหนึ่ง ซึ่งเขตในตัวเมืองมีการจัดเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะในเมืองมีสถานประกอบการเยอะ แต่เขตในชานเมืองเก็บภาษีได้มากขึ้น เพราะชานเมืองที่ดินหลายแปลงเป็นที่คนอยู่อาศัย กลายเป็นว่าคนที่มีที่ดินพร้อมบ้านพัก กลับกลายเป็นว่าอาจจะต้องเสียภาษีเยอะขึ้น ทั้งที่ไม่ได้สร้างรายได้ บางคนถือที่ดินเปล่าที่พ่อแม่ให้มาส่งให้ลูกหลาน แต่ก่อนไม่ต้องเสียภาษีเพราะไม่มีรายได้ แต่พอมาเป็นภาษีที่ดินฯใหม่ต้องจ่ายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย จะเห็นได้ว่าต้องฝากถึงรัฐบาลและสภาชุดใหม่ ไปช่วยทบทวนว่าการทำแบบนี้มีผลกระทบอย่างไร เป็นจุดที่เราจะลดความเหลื่อมล้ำได้จริงไหม รวมถึงเงินที่ติดค้างให้กับท้องถิ่น จากการลดภาษีที่ดินฯ 90% ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในปีนี้ที่มีการลดอีก 15% ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ลดภาระของประชาชน แต่เอาเงินของท้องถิ่นไปช่วย ถ้าอนาคตรัฐบาลคืนเงินนี้ให้ท้องถิ่นได้ ท้องถิ่นจะมีเงินไปบริหารตามหลักกระจายอำนาจได้มากขึ้น
“
ตามอัตราปกติจัดเก็บได้ 2 หมื่นล้านบาท หายไป 1.8 หมื่นล้านบาท 2 ปี 3 หมื่นกว่าล้านบาท แต่ท่านให้คืนมาพันกว่าล้านบาทเอง กทม.อาจจะไม่ได้มีปัญหามาก แต่ท้องถิ่นเล็กๆ ที่เขาไม่มีรายได้อื่น กทม.ยังมีรายได้อื่นๆ จากภาษี VAT มาช่วย ต้องฝากรัฐบาลช่วยดูตรงนี้ด้วย เพราะถ้าเราจริงใจกับการกระจายอำนาจ ก็ต้องให้ทรัพยากรมาช่วยด้วย” นายชัชชาติกล่าว
JJNY : ‘นพดล’ยกหลักการ‘ปธ.สภา’│แฉแหลก! ‘วิโรจน์’อ้าง‘Easy Pass พิสดาร’│'ชัชชาติ'จี้ทบทวนภาษีที่ดิน│รัสเซียขับเจ้าหน้าที่
https://www.matichon.co.th/politics/news_4001015
‘นพดล’ ยกหลักการ ‘ประธานสภา’ เชื่อ มีเริ่มก็มีโต้ แนะคุยภายใน เลี่ยงชิงไหวชิงพริบผ่านสื่อ
สืบเนื่องสถานการณ์การเมืองไทยที่อยู่ในระยะเปลี่ยนผ่านหลังการเลือกตั้ง โดยเกิดกระแสจับตาการจัดตั้งรัฐบาล 2566 และการเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ระหว่างพรรคก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย นั้น
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม นายนพดล ปัทมะ รองประธานคณะกรรมการยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย (พท.) โพสต์ข้อความผ่านทางทวิตเตอร์ โดยเสนอแนะถึงภาพรวมการเลือกตั้งว่า ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป ควรต้องแก้กฎหมายให้หมายเลขผู้สมัคร ส.ส. และหมายเลขพรรคเดียวกันเป็นเบอร์เดียวกันทั่วประเทศ และควรกำหนดเวลารับรอง ส.ส.ภายใน 30 วัน ไม่ใช่ 60 วัน เพื่อให้มีรัฐบาลใหม่เข้าแก้ปัญหา ประชาชนโดยเร็ว
นอกจากนี้ นายนพดล ยังทวีตแสดงความเห็นถึงประเด็นประธานสภาผู้แทนราษฎร โดยกล่าวถึงหลักการของการดำรงตำแหน่งประธานสภา ว่า
ต้องตัดความสัมพันธ์ที่มีต่อพรรคเก่า ไม่ลงมติในสภา และเมื่อพ้นตำแหน่งก็ไม่ควรยุ่งเกี่ยวกับการเมือง
1. ประชาชนอยากได้รัฐบาลเร่งแก้ปากท้อง สร้างประชาธิปไตย ประโยชน์ของประชาชนมาก่อน
2. เพื่อไทย สนับสนุนก้าวไกลเป็นแกนนำรัฐบาล
3. ตำแหน่งต่างๆ คุยภายใน เลี่ยงชิงไหวชิงพริบผ่านสื่อ เพราะมีเริ่ม ก็มีโต้
4. ความสำคัญของพรรคหรือคน อยู่ที่ประชาชนให้ การสร้างตัวตนในโซเชียลเอาให้พอควร
5. ถ้าสับสน อ่านข้อ 1
ประธานสภาฯ ในระบบอังกฤษที่ไทยเรียนมานั้น ความเป็นกลางทางการเมืองสำคัญสุด เมื่อได้เป็นแล้ว ต้องตัดความสัมพันธ์กับพรรคเก่า และไม่ลงมติในสภา เมื่อพ้นตำแหน่งก็ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง ประธานจึงไม่สามารถผลักดันกฎหมายใดๆ ได้ การผลักดันกฎหมายเป็นงานของรัฐบาล และการโหวตอยู่ที่เสียง ส.ส. ส่วน ส.ส. ก็ผลักดันกฎหมายของตนได้
https://twitter.com/NoppadonPattama/status/1662440761286356993
แฉแหลก! ‘วิโรจน์’ อ้าง ‘สติกเกอร์ Easy Pass พิสดาร’ มีหลายรุ่น ติดปุ๊บผ่านฉลุย
https://www.dailynews.co.th/news/2377045/
เดินหน้าแฉต่อ! “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 7 จากพรรคก้าวไกล เคลื่อนไหวพร้อมหลักฐานชิ้นใหม่ ถกถาม "ต่อให้บรรทุกเป็น 100 ตัน ก็ขับผ่านฉลุย แถมไม่ต้องเสียเวลาชั่ง?"
จากกรณีข่าว “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 7 จากพรรคก้าวไกล ได้ออกมาเคลื่อนไหวแฉภาพสติกเกอร์ที่แปะอยู่บนรถบรรทุก ที่มีเป็นสัญลักษณ์ให้ผ่านทางได้แบบไม่ต้องเสียเงิน อีกทั้งไม่ต้องชั่งตามน้ำหนักให้เสียเวลา
ต่อมาด้าน กทพ. แจงไม่ได้เป็นผู้จัดทำ สติกเกอร์พระอาทิตย์สีฟ้าติดรถบรรทุก ย้ำช่องทาง easy pass บนทางด่วน ใช้ได้เฉพาะรถยนต์ 4 ล้อเท่านั้น รถมากกว่า 4 ล้อ หมดสิทธิตามที่ได้เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้
ล่าสุดเมื่อวันที่ 28 พ.ค. 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานต่อีกว่าด้าน “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” ได้ออกมาเคลื่อนไหวอีกครั้งในเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยในรอบนี้ได้กลับมาเปิดโปงกลไกลในการทำงานขอสติกเกอร์ พร้อมด้วยหลักฐานใหม่
โดยระบุว่า “Easy Pass พิสดารมีหลายรุ่น ติดปุ๊ผ่านฉลุย ลุยไม่ยั้ง ไม่ต้องชั่งให้เสียเวลา มีคนให้ข้อมูลกับผมว่า Easy Pass พิสดาร นี่มีหลายรูปแบบมาก มีคนร่ำลือกันว่า ต่อให้บรรทุกเป็น 100 ตัน ก็ขับผ่านฉลุย แถมไม่ต้องเสียเวลาชั่ง”
“กลไกคือ จะมีองค์กรลึกลับไปไล่เคลียร์ แล้วเหมาจ่ายไปก่อน จากนั้นก็จะผลิตสติ๊กเกอร์ Easy Pass พิสดาร (ที่ไม่เกี่ยวกับการทางพิเศษ) ออกมา แล้วนำมาจำหน่ายให้กับรถบรรทุกต่างๆ ในราคาหลักพันบาทต่อเดือน ตามระยะทาง และจำนวนด่าน อย่างเช่น สติ๊กเกอร์ Easy Pass รุ่นกระต่ายน้อยคอยรัก แบบนี้ดวงละ ประมาณ 3,000 บาทต่อเดือนครับ.สติ๊กเกอร์ Easy Pass พิสดารแบบนี้ ไม่มีกลไกอิเล็กทรอนิกส์อะไร ใช้แค่ตาสังเกต เห็นปุ๊บ เป็นอันว่ารู้กัน ไม่ต้องเลิ่กลั่ก แต่รับรองผ่านฉลุย ลุยไม่ยั้ง ไม่ต้องชั่งให้เสียเวลา”
https://www.facebook.com/wirojlak/posts/747228580527032
'ชัชชาติ' จี้ รบ.ใหม่ทบทวน กม.ภาษีที่ดิน ปูดห้างใหญ่จ่ายน้อยลง 10 เท่า ขณะที่ชานเมืองเก็บมากขึ้น
https://www.matichon.co.th/politics/news_4001028
‘ชัชชาติ’ จี้ รบ.ใหม่ทบทวน กม.ภาษีที่ดิน ปูดห้างใหญ่จ่ายน้อยลง 10 เท่า ขณะที่ชานเมืองเก็บมากขึ้น
เมื่อวันที่ 27 พฤษภาคม ที่สำนักงานเขตพญาไท นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร (กทม.) เปิดเผยถึงข้อเสนอเรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างกับรัฐบาลชุดใหม่ว่า เรื่องที่จะฝากไปถึงรัฐบาลใหม่ซึ่งเป็นเรื่องสำคัญมากคือ เรื่องภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง เดิม กทม.จัดเก็บภาษีโรงเรือนและที่ดิน โดยคิดจากรายได้ของกิจการ 12.5% เพื่อมาเป็นรายได้ของเขต แต่เมื่อมีการเปลี่ยนรูปแบบเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง จะคิดตามมูลค่าที่ดิน ยกตัวอย่างเขตพญาไท ก่อนที่จะเปลี่ยนรูปแบบการจัดเก็บภาษี สามารถจัดเก็บได้ประมาณ 300 ล้านบาท แต่เมื่อเปลี่ยนรูปแบบภาษีทำให้จัดเก็บได้ลดลงเหลือประมาณ 200 ล้านบาท ซึ่งเป็นเรื่องที่น่าสนใจ เพราะตอนแรกหวังว่าภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างจะช่วยแก้ปัญหาความเหลื่อมล้ำในสังคม ผู้ที่มีรายได้มากจะต้องเสียภาษีมาก แต่พบว่าไม่ได้เป็นไปตามนั้น เช่น ห้างสรรพสินค้าแห่งหนึ่งในเขตพญาไท เดิมเสียภาษี 10.7 ล้านบาท แต่เมื่อเก็บภาษีรูปแบบใหม่ เสียภาษีเพียง 1.08 ล้านบาท แสดงให้เห็นว่าภาษีลดลงถึง 10 เท่า
“แต่ก่อนมีการคิดห้างนี้ขายของเท่าไหร่ ค่าเช่าที่เท่าไหร่ เก็บ 12.5% แต่พอเปลี่ยนมาเป็นภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้างปุ๊ป ไม่คิดตามรายได้แล้ว คิดตามมูลค่าที่ดินแปลงนี้เท่าไหร่ อาคารเก่าก็จะมีค่าเสื่อม สรุปเป็นภาษีที่ดินฯ ลดลงไปเหลือแค่ 10% เอง” นายชัชชาติกล่าว
นายชัชชาติกล่าวต่อว่า อาคารสำนักงานแห่งหนึ่งในเขตพญาไท เดิมเสียภาษี 11.49 ล้านบาท เพราะคำนวณจากค่าเช่าภายในสำนักงาน แต่เมื่อคิดภาษีรูปแบบใหม่ เสียภาษีเพียง 3.72 ล้านบาท เพราะคิดตามมูลค่าที่ดิน รวมถึงยิ่งเป็นอาคารเก่ามีค่าเสื่อมเยอะ ทำให้มูลค่าลดลงอีก ในขณะที่ห้องเช่าซึ่งเป็นอาคาร เดิมเก็บได้ 4.35 ล้านบาท ภาษีใหม่เก็บได้เพียง 7.68 หมื่นบาท รายได้หายไป 4.28 ล้านบาท เพราะเจ้าของได้ย้ายทะเบียนบ้านมาอยู่ในอาคารห้องเช่า จึงกลายเป็นที่อยู่อาศัยทำให้เสียภาษีในอีกอัตราหนึ่ง ซึ่งเขตในตัวเมืองมีการจัดเก็บภาษีได้น้อยลง เพราะในเมืองมีสถานประกอบการเยอะ แต่เขตในชานเมืองเก็บภาษีได้มากขึ้น เพราะชานเมืองที่ดินหลายแปลงเป็นที่คนอยู่อาศัย กลายเป็นว่าคนที่มีที่ดินพร้อมบ้านพัก กลับกลายเป็นว่าอาจจะต้องเสียภาษีเยอะขึ้น ทั้งที่ไม่ได้สร้างรายได้ บางคนถือที่ดินเปล่าที่พ่อแม่ให้มาส่งให้ลูกหลาน แต่ก่อนไม่ต้องเสียภาษีเพราะไม่มีรายได้ แต่พอมาเป็นภาษีที่ดินฯใหม่ต้องจ่ายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นคนจนหรือคนรวย จะเห็นได้ว่าต้องฝากถึงรัฐบาลและสภาชุดใหม่ ไปช่วยทบทวนว่าการทำแบบนี้มีผลกระทบอย่างไร เป็นจุดที่เราจะลดความเหลื่อมล้ำได้จริงไหม รวมถึงเงินที่ติดค้างให้กับท้องถิ่น จากการลดภาษีที่ดินฯ 90% ในช่วงการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 และในปีนี้ที่มีการลดอีก 15% ซึ่งเป็นนโยบายของรัฐบาลที่ลดภาระของประชาชน แต่เอาเงินของท้องถิ่นไปช่วย ถ้าอนาคตรัฐบาลคืนเงินนี้ให้ท้องถิ่นได้ ท้องถิ่นจะมีเงินไปบริหารตามหลักกระจายอำนาจได้มากขึ้น
“ตามอัตราปกติจัดเก็บได้ 2 หมื่นล้านบาท หายไป 1.8 หมื่นล้านบาท 2 ปี 3 หมื่นกว่าล้านบาท แต่ท่านให้คืนมาพันกว่าล้านบาทเอง กทม.อาจจะไม่ได้มีปัญหามาก แต่ท้องถิ่นเล็กๆ ที่เขาไม่มีรายได้อื่น กทม.ยังมีรายได้อื่นๆ จากภาษี VAT มาช่วย ต้องฝากรัฐบาลช่วยดูตรงนี้ด้วย เพราะถ้าเราจริงใจกับการกระจายอำนาจ ก็ต้องให้ทรัพยากรมาช่วยด้วย” นายชัชชาติกล่าว