สวนดุสิตโพลคนกังวลตั้งรัฐบาลโหวตนายกฯ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_557582/
สวนดุสิตโพลคนกังวลตั้งรัฐบาลโหวตนายกฝน ห่วงพรรคร่วมเล่นเกม มองไม่ราบรื่น
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณีคนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566พบว่า จากการเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชน ร้อยละ 72.63 สนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 21.30 ระบุ ติดตามเท่าเดิม ร้อยละ 6.07 ระบุ ติดตามน้อยลง
ณ วันนี้ ประชาชน ร้อยละ 52.14 รู้สึกเครียดกับเรื่องปากท้อง/ค่าใช้จ่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ51.90 ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ 48.31 ระบุว่า ค่าน้ำมัน/ค่าไฟ
ทั้งนี้เมื่อมีความรู้สึกเครียด ประชาชนร้อยละ 46.38 จะแก้ปัญหาด้วยการคุยกับเพื่อน คนรัก คนที่ไว้ใจได้ รองลงมาร้อยละ 42.88 ระบุว่า พักผ่อนให้มากขึ้น ร้อยละ 34.04 ระบุ คุยกับคนในครอบครัวเมื่อสอบถามว่าประชาชนมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 67.83 ระบุว่า กังวล
เนื่องจากกลัวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนพรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีการเล่นเกมการเมืองมากเกินไปและกังวลการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว.ขณะ ร้อยละ 32.17 ระบุว่า ไม่กังวล เพราะ ให้เป็นไปตามขั้นตอนทางกฏหมาย เชื่อมั่นว่าพรรคก้าวไกลจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ,น่าจะตกลงร่วมกันได้ลงตัว ,การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ฯลฯ
ส่วนความเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นไปด้วยความราบรื่น พบว่าร้อยละ 58.33 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น ขณะที่ ร้อยละ 41.67 ระบุว่า เชื่อมั่น
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่ไม่เชื่อต่างชาติแทรกแซงเลือกตั้ง 2566
https://www.prachachat.net/politics/news-1304322
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ข่าวลือ-ข่าวจริง เลือกตั้ง 2566 คนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่า ต่างชาติแทรกแซงการเลือกตั้ง ขณะที่หาเสียง 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างกว่า 30% ได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งมากกว่า 20 ข่าว
วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “
ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข่าวลือหรือข่าวจริงช่วงเลือกตั้ง 2566
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง พบว่า ร้อยละ 31.22 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 25.27 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 23.59 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง พบว่า ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 27.40 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแทรกแซงจากต่างชาติ พบว่า
• ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
• ร้อยละ 22.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
• ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
• ร้อยละ 8.17 ระบุว่า เชื่อมาก
• ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง พบว่า
• ร้อยละ 30.92 ระบุว่า จำนวนมากกว่า 20 ข่าว
• ร้อยละ 22.29 ระบุว่า จำนวน 1–5 ข่าว
• ร้อยละ 16.26 ระบุว่า จำนวน 6–10 ข่าว
• ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ไม่เคยได้ยินเลย
• ร้อยละ 10.15 ระบุว่า จำนวน 11–15 ข่าว
• ร้อยละ 6.72 ระบุว่า จำนวน 16–20 ข่าว
‘เพื่อไทย’ จ่อคุย’ ก้าวไกล’ หาข้อยุติศึกชิงประธานสภาสัปดาห์หน้า ก่อนบานปลายหนัก
https://www.dailynews.co.th/news/2376318/
‘เพื่อไทย’ จ่อคุย’ ก้าวไกล’ หาข้อยุติศึกชิงประธานสภาฯ สัปดาห์หน้า หาข้อยุติโดยเร็วก่อนบานปลาย เชื่อมีทางออกขออย่ามองไปไกลถึงขั้นฟรีโหวต
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. นาย
ประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย(พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจาตําแหน่งประธานสภา ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคก้าวไกล ว่าจะมีการหารือกันในสัปดาห์หน้า โดยตัวแทนจากทั้ง 2 พรรคจะพูดคุยกันเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว เมื่อถามว่า หากจนสุดทางแล้วยังไม่ลงตัว จะมีการปล่อยให้ฟรีโหวตกันหรือไม่ นาย
ประเสริฐ กล่าวว่า ไม่อยากให้มองไปถึงขั้นนั้น ขอให้คุยกันก่อน เป็นทางที่ดีที่สุด เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออก อย่ามองไปไกลถึงจุดที่ว่าต้องแสดงพลังใส่กัน
เมื่อถามว่า จะกระทบการทํางานร่วมกันในอนาคตหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ไม่กระทบ เรายินดีสนับสนุนนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว จุดยืนนี้ไม่เปลี่ยน
เมื่อถามถึงกรณีที่มีนักวิชาการเสนอแก้ปัญหา ด้วยการให้คนจากพรรคที่ 3 ดํารงตําแหน่งประธานสภาฯ นาย
ประเสริฐ กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เป็นความเห็นของนักวิชาการ แต่สิ่งสำคัญคือพรรค พท.และพรรคก้าวไกลต้องตกลงกันให้ได้ เพื่อหาข้อยุติโดยเร็ว ก่อนที่เรื่องดังกล่าวจะบานปลาย.
JJNY : สวนดุสิตโพลคนกังวลตั้งรัฐบาล│ไม่เชื่อต่างชาติแทรกแซงเลือกตั้ง│‘เพื่อไทย’จ่อคุย’ก้าวไกล’│อานนท์อ่านเกมชนชั้นนำ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_557582/
สวนดุสิตโพลคนกังวลตั้งรัฐบาลโหวตนายกฝน ห่วงพรรคร่วมเล่นเกม มองไม่ราบรื่น
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณีคนไทยกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่ จำนวนทั้งสิ้น 1,352 คน ระหว่างวันที่ 24-26 พฤษภาคม 2566พบว่า จากการเลือกตั้งใหญ่ 14 พ.ค. 2566 ที่ผ่านมา ทำให้ประชาชน ร้อยละ 72.63 สนใจติดตามข่าวการเมืองมากขึ้น รองลงมาร้อยละ 21.30 ระบุ ติดตามเท่าเดิม ร้อยละ 6.07 ระบุ ติดตามน้อยลง
ณ วันนี้ ประชาชน ร้อยละ 52.14 รู้สึกเครียดกับเรื่องปากท้อง/ค่าใช้จ่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ร้อยละ51.90 ระบุว่า การจัดตั้งรัฐบาล ร้อยละ 48.31 ระบุว่า ค่าน้ำมัน/ค่าไฟ
ทั้งนี้เมื่อมีความรู้สึกเครียด ประชาชนร้อยละ 46.38 จะแก้ปัญหาด้วยการคุยกับเพื่อน คนรัก คนที่ไว้ใจได้ รองลงมาร้อยละ 42.88 ระบุว่า พักผ่อนให้มากขึ้น ร้อยละ 34.04 ระบุ คุยกับคนในครอบครัวเมื่อสอบถามว่าประชาชนมีความกังวลกับการจัดตั้งรัฐบาลใหม่หรือไม่ พบว่า ร้อยละ 67.83 ระบุว่า กังวล
เนื่องจากกลัวว่าการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีจะไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของประชาชนพรรคที่ได้เสียงข้างมากอาจไม่ได้จัดตั้งรัฐบาล พรรคร่วมรัฐบาลมีความคิดเห็นไม่ตรงกัน มีการเล่นเกมการเมืองมากเกินไปและกังวลการโหวตของ ส.ส. และ ส.ว.ขณะ ร้อยละ 32.17 ระบุว่า ไม่กังวล เพราะ ให้เป็นไปตามขั้นตอนทางกฏหมาย เชื่อมั่นว่าพรรคก้าวไกลจะสามารถจัดตั้งรัฐบาลได้ ,น่าจะตกลงร่วมกันได้ลงตัว ,การจัดตั้งรัฐบาลต้องเป็นไปตามระบอบประชาธิปไตย เคารพสิทธิซึ่งกันและกัน ฯลฯ
ส่วนความเชื่อมั่นว่าการจัดตั้งรัฐบาลใหม่จะเป็นไปด้วยความราบรื่น พบว่าร้อยละ 58.33 ระบุว่า ไม่เชื่อมั่น ขณะที่ ร้อยละ 41.67 ระบุว่า เชื่อมั่น
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ส่วนใหญ่ไม่เชื่อต่างชาติแทรกแซงเลือกตั้ง 2566
https://www.prachachat.net/politics/news-1304322
นิด้าโพล เผยผลสำรวจ ข่าวลือ-ข่าวจริง เลือกตั้ง 2566 คนส่วนใหญ่ ไม่เชื่อว่า ต่างชาติแทรกแซงการเลือกตั้ง ขณะที่หาเสียง 6 สัปดาห์ กลุ่มตัวอย่างกว่า 30% ได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งมากกว่า 20 ข่าว
วันที่ 28 พฤษภาคม 2566 ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ข่าวลือหรือข่าวจริง ช่วงเลือกตั้ง 2566” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 18-22 พฤษภาคม 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 1,310 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับข่าวลือหรือข่าวจริงช่วงเลือกตั้ง 2566
จากการสำรวจเมื่อถามถึงความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อโจมตีพรรคการเมืองคู่แข่ง พบว่า ร้อยละ 31.22 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 25.27 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 23.59 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.31 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.61 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ด้านความเชื่อของประชาชนต่อข่าวพรรคการเมืองมีการใช้ปฏิบัติการสร้างข่าว ปั่นกระแสผ่านสื่อสังคมออนไลน์ (Social Media) เพื่อเพิ่มคะแนนนิยมให้กับพรรคตนเอง พบว่า ร้อยละ 30.08 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ รองลงมา ร้อยละ 27.40 ระบุว่า เชื่อมาก ร้อยละ 22.06 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย ร้อยละ 19.54 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ และร้อยละ 0.92 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
สำหรับความเชื่อของประชาชนต่อข่าวการเลือกตั้งครั้งนี้ มีการแทรกแซงจากต่างชาติ พบว่า
• ร้อยละ 56.56 ระบุว่า ไม่เชื่อเลย
• ร้อยละ 22.21 ระบุว่า ไม่ค่อยเชื่อ
• ร้อยละ 11.76 ระบุว่า ค่อนข้างเชื่อ
• ร้อยละ 8.17 ระบุว่า เชื่อมาก
• ร้อยละ 1.30 ระบุว่า ไม่ตอบ/ไม่สนใจ
ท้ายที่สุดเมื่อถามถึงการได้ยินข่าวลือเกี่ยวกับการเลือกตั้งของประชาชน ในช่วง 6 สัปดาห์ของการหาเสียง พบว่า
• ร้อยละ 30.92 ระบุว่า จำนวนมากกว่า 20 ข่าว
• ร้อยละ 22.29 ระบุว่า จำนวน 1–5 ข่าว
• ร้อยละ 16.26 ระบุว่า จำนวน 6–10 ข่าว
• ร้อยละ 13.66 ระบุว่า ไม่เคยได้ยินเลย
• ร้อยละ 10.15 ระบุว่า จำนวน 11–15 ข่าว
• ร้อยละ 6.72 ระบุว่า จำนวน 16–20 ข่าว
‘เพื่อไทย’ จ่อคุย’ ก้าวไกล’ หาข้อยุติศึกชิงประธานสภาสัปดาห์หน้า ก่อนบานปลายหนัก
https://www.dailynews.co.th/news/2376318/
‘เพื่อไทย’ จ่อคุย’ ก้าวไกล’ หาข้อยุติศึกชิงประธานสภาฯ สัปดาห์หน้า หาข้อยุติโดยเร็วก่อนบานปลาย เชื่อมีทางออกขออย่ามองไปไกลถึงขั้นฟรีโหวต
เมื่อวันที่ 27 พ.ค. นายประเสริฐ จันทรรวงทอง เลขาธิการพรรคเพื่อไทย(พท.) กล่าวถึงความคืบหน้าการเจรจาตําแหน่งประธานสภา ระหว่างพรรคเพื่อไทย กับพรรคก้าวไกล ว่าจะมีการหารือกันในสัปดาห์หน้า โดยตัวแทนจากทั้ง 2 พรรคจะพูดคุยกันเพื่อหาข้อสรุปในเรื่องดังกล่าว เมื่อถามว่า หากจนสุดทางแล้วยังไม่ลงตัว จะมีการปล่อยให้ฟรีโหวตกันหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ไม่อยากให้มองไปถึงขั้นนั้น ขอให้คุยกันก่อน เป็นทางที่ดีที่สุด เชื่อว่าเรื่องนี้มีทางออก อย่ามองไปไกลถึงจุดที่ว่าต้องแสดงพลังใส่กัน
เมื่อถามว่า จะกระทบการทํางานร่วมกันในอนาคตหรือไม่ นายประเสริฐ กล่าวว่า ไม่กระทบ เรายินดีสนับสนุนนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกลอยู่แล้ว จุดยืนนี้ไม่เปลี่ยน
เมื่อถามถึงกรณีที่มีนักวิชาการเสนอแก้ปัญหา ด้วยการให้คนจากพรรคที่ 3 ดํารงตําแหน่งประธานสภาฯ นายประเสริฐ กล่าวว่า ตนไม่มีความเห็นในเรื่องนี้ เป็นความเห็นของนักวิชาการ แต่สิ่งสำคัญคือพรรค พท.และพรรคก้าวไกลต้องตกลงกันให้ได้ เพื่อหาข้อยุติโดยเร็ว ก่อนที่เรื่องดังกล่าวจะบานปลาย.