ธิดา ชี้คนเสื้อแดง ไม่ใช่แค่ใส่เสื้อแดง แนะต้องสามัคคีตั้งรบ.ปชต. อย่าเป็นแค่เอฟซีพรรค
https://www.matichon.co.th/politics/news_4003599
ธิดา ชี้คนเสื้อแดง ไม่ใช่แค่ใส่เสื้อแดง แนะต้องสามัคคีตั้งรบ.ปชต. อย่าเป็นแค่เอฟซีพรรค
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นาง
ธิดา โตจิราการ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง คนเสื้อแดง VS คนใส่เสื้อสีแดง โดยมีเนื้อหาดังนี้
คนเสื้อแดง เป้าหมายการต่อสู้
1. การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่อำนาจเป็นของประชาชนแท้จริง
2. ต่อสู้ด้วยสันติวิธี ไม่ได้จับอาวุธขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ
3. ต่อสู้ทั้งวิถีทางในรัฐสภาและนอกรัฐสภา
4. ต่อสู้เพื่อนิติรัฐนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายโดยประชาชนเพื่อประชาชน
หลักการของคนเสื้อแดงของนปช.ก็มีอย่างนี้ และเมื่อผ่านการต่อสู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยนับพัน ก็จะเข้มข้นด้วยความต้องการคือทวงความยุติธรรมให้ประชาชน ให้ผู้ถูกกระทำจากอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะบาดเจ็บ ล้มตายกลางถนน หรือถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่ถูกต้อง หรือถูกอุ้มฆ่า ทั้งในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหารจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ในวิถีทางรัสภา คนเสื้อแดงก็จะถือเป็นส่วนสำคัญของการต่อสู้ด้วย มิใช่มีแต่ถือการต่อสู้เฉพาะบนท้องถนน ในอดีต คนเสื้อแดงทั้งหมดก็ถือเป็น Fc พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย เพราะมีพรรคฝ่ายประชาธิปไตยพรรคเดียว เวลาผ่านจากปี 2550 ถึง 2566 ผ่านมา 16 ปี เกิดสถานการณ์ใหม่ มีการทำรัฐประหารซ้ำ 2 ครั้ง มีการฆ่าคนกลางถนน โดยผู้กระทำลอยนวลพ้นผิด ประเทศชาติพังพินาศทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เกิดพรรคการเมืองใหม่ คนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมก็แยกกันสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ก็เกิด Fc พรรคเพื่อไทย, Fc พรรคก้าวไกล, Fcพรรคไทยสร้างไทย, Fc พรรคประชาชาติ หรือ Fc พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น ซึ่งจะมีดีกรีความเข้มข้นหนักเบาของ Fc เหล่านี้ต่างกัน ในทัศนะดิฉัน คนเสื้อแดงจริงจะมีจุดยืนและผลประโยชน์ของประชาชนไทยโดยรวมเป็นหลัก และสนับสนุนพรรคการเมืองเฉพาะฝ่ายประชาธิปไตยพรรคใดก็ได้
ดังนั้น Fc ของพรรคต่างๆ ถ้ายึดผลประโยชน์หรือชัยชนะของพรรคที่ตัวเองสนับสนุนเป็นหลักอย่างเดียว หมายความว่า เขาจะเป็นคนใส่เสื้อสีแดงที่เป็น Fc พรรคการเมืองเท่านั้น ยังไม่ใช่คนเสื้อแดงตัวจริง แต่การเป็น Fc ของพรรคใดพรรคหนึ่งฝ่ายประชาธิปไตย ก็ยังถือเป็นหมู่มิตร แม้นจะขาดหรืออ่อนไปในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและชัยชนะของประชาชน ก็ควรจะใช้ท่าทีต่อกันแบบ มิตร มิใช่ศัตรู ไม่ใช่ใช้ภาษาต่อว่าต่อขานรุนแรงที่หนุนพรรคประชาธิปไตยต่างกัน หรือดูหมิ่นดูถูกกันและกัน แม้จะสนับสนุนพรรคต่างกัน
ในสถานการณ์นี้ต้องสามัคคีกันตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยของประชาชนให้ได้ และเป็นไปได้ว่า อาจตั้งรัฐบาลของประชาชนไม่ได้! ต้องสามัคคีกันต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการสืบทอดอำนาจที่ยังไม่วางมือจากการเมือง โดยมีองค์กรอิสระ, วุฒิสมาชิก เป็นตัวช่วย แม้ผลการเลือกตั้งประชาชน จะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะเหนือพรรคจารีตอำนาจนิยม แต่นี่เพียงบันไดขั้นแรกเท่านั้น อาจถูกฟันฉับ ๆ ทีละพรรคก็เป็นได้
อย่าเป็นเพียงคนใส่เสื้อสีอะไรก็ได้ที่เป็นเพียง Fc พรรคการเมือง เพราะถ้าเราเป็นนักต่อสู้ ต้องยึดฝ่ายประชาธิปไตย และชัยชนะของประชาชนเป็นหลักยิ่งกว่าพรรคการเมือง นี่คือศักดิ์ศรีของคนเสื้อแดงที่ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อสีแดง ในทำนองเดียวกัน คนที่สวมเสื้อสีแดงก็อาจไม่ใช่คนเสื้อแดงจริง!
https://www.facebook.com/krootida/posts/pfbid0PKdKoDhcVfS7pNM7yn3wEyQiN15qVKaMkS6ca7QrNWUsmFewRuyHNKwVfVfGUR9Yl?__tn__=%2CO*F
'ณพลเดช' ยกข้อกฎหมาย เอาผิดนักร้อง ปม พิธา ถือหุ้นไอทีวี เตือนโทษถึงกบฎ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4003720
‘ณพลเดช’ ยกข้อกฎหมาย เอาผิดนักร้อง ปม พิธา ถือหุ้นสื่อไอทีวี เตือนร้องเท็จโทษถึงกบฎ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นาย
ณพลเดช มณีลังกา อดีตเลขานุการกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า
วันนี้ทราบข่าวที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงนายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เดินทางเข้าให้ถ้อยคำต่อกกต. กรณีร้องให้ตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล กรณีการถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น เห็นแล้วมองไม่ออกว่าประเทศไทยจะเดินไปสู่ความเจริญกันอย่างไรเพราะมัวแต่ทำนิติสงครามกันแบบนี้
หากพิจารณาแล้วคำพิพากษาล่าสุดเลขที่คดีแดง ลต. สสข 24/2566 ลงวันที่ 2 พ.ค.2566 กรณีถือหุ้นสื่อตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาได้วางหลักว่า “การถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ย่อมไม่มีอำนาจสั่งการให้บริษัทเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองได้ การตีความบทบัญญัติของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร การมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุเป็นผู้ถือหุ้นย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ” จึงถือว่าไม่ผิด เป็นกรณีที่คุณชาญชัย ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ถูก กกต. นครนายก ตัดสิทธิ์เป็นผู้สมัคร ส.ส. เพียงเพราะถือหุ้น AIS 200 หุ้น
และนายชาญชัยชนะหลังฟ้องศาลฎีกาพิพากษา จึงไม่ถูกตัดสิทธิ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (3) ว่าด้วยการถือหุ้นสื่อ โดยหลักแล้วแนวคำพิพากษาจะยึดโยงกันระหว่างศาล ถือเป็นความยุติธรรมอันสูงสุด แต่วันนี้เห็นการกระทำ ที่นายเรืองไกร นำคำพิพากษาเก่าๆ ตั้งแต่คำพิพากษาที่ 20/2563 มาให้กกต. พิจารณา มีเจตนาที่จะทำประการใดอันอาจให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและประเทศชาติหรือไม่ หากพิจารณาความผิดที่อาจเกิดขึ้น หากมองกลับว่าคนร้องควรมีความรับผิดได้เช่นใดบ้าง พิจารณาได้ดังนี้ครับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 “ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท”
ความผิดตามมาตรา 173 มีองค์ประกอบดังนี้
1. รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
2. แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน
3. ว่าได้มีการกระทำความผิด
4. โดยเจตนา
นายณพลเดช ระบุอีกว่า จากกรณีที่นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกลถือหุ้นเพียง 42,000 หุ้น แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.0035% ของหุ้นทั้งหมด และมูลค่าในปัจจุบันหุ้นยังติดลบมีมูลค่าเหลือเพียง -56,910 บาท หากผู้ร้องทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาล่าสุดว่าไม่สามารถสั่งการสื่อได้ถือว่าไม่ผิดนั้น ก็หมายความว่า ผู้ร้องทั้งสอง “รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น…” เป็นองค์ประกอบแรก
การที่ผู้ร้องนำความเข้าแจ้งต่อ กกต. เป็นเจ้าพนักงานสอบสวน จึงครบองค์ประกอบที่สอง และได้ชี้ให้เห็นว่าผิดโดยมีความพยายาม บอกว่า “ผิดหรือไม่” เป็นการยกให้เห็นว่ามีโอกาสว่าได้มีการกระทำความผิด เป็นการครบองค์ประกอบที่สาม และผู้ร้องได้มีความพยายาม เตรียมเอกสารประกอบ พร้อมมาพบกกต. เป็นครั้งที่สอง ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาครบองค์ประกอบความผิดตามหลักกฎหมายดังกล่าว ทุกประการ ผู้ร้องอาจต้องรับผิดตามป.อาญา มาตรา 173 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หากเจตนาข้างต้นมีเจตนา ให้กกต.ยุบพรรค จากข้อมูลที่รู้กันอยู่โดยทั่วไปว่าไม่ผิดดังมีคำพิพากษาได้วางหลักฎีกาล่าสุดไว้แล้ว มีเจตนาล้มล้างเสียงของประชาชน ที่มอบให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งใช้อำนาจบริหารในระบอบประชาธิปไตย เข้าข่ายเป็นความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 (2) มาตรา 137 และ มาตรา 326
ทั้งนี้ในส่วนของความผิดฐานแจ้งความเท็จและเป็นกบฏ ต่อแผ่นดิน เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ประชาชนทุกคนมีสิทธิกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายครับ หากมีการฟ้องร้องทั่วประเทศต่อนักร้อง อะไรจะเกิดขึ้น ความวุ่นวาย บาปกรรม อาจสนองกลับผู้ร้องนะครับ ถ้าเขาร้องเหนือสุดใต้สุดไม่ว่าจะที่เชียงราย หรือ ยะลา ก็ต้องไปให้การครับ”
https://www.facebook.com/dr.peterping/posts/pfbid023r4myoaUw7L5M9kMvP8jemP9VB5vz2CvvhRVcS9bYT5zq3bMGpBvaMV2i6zyj9Uol
JJNY : ธิดาแนะต้องสามัคคีตั้งรบ.ปชต.│'ณพลเดช'ยกข้อกม.เอาผิดนักร้อง│‘ศุภวุฒิ’ ชี้ปัญหาศก.ต้องเร่งแก้│รัสเซียจะยอมเจรจา
https://www.matichon.co.th/politics/news_4003599
ธิดา ชี้คนเสื้อแดง ไม่ใช่แค่ใส่เสื้อแดง แนะต้องสามัคคีตั้งรบ.ปชต. อย่าเป็นแค่เอฟซีพรรค
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นางธิดา โตจิราการ อดีตประธานแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ได้โพสต์ข้อเขียน เรื่อง คนเสื้อแดง VS คนใส่เสื้อสีแดง โดยมีเนื้อหาดังนี้
คนเสื้อแดง เป้าหมายการต่อสู้
1. การเมืองในระบอบประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขที่อำนาจเป็นของประชาชนแท้จริง
2. ต่อสู้ด้วยสันติวิธี ไม่ได้จับอาวุธขึ้นสู้กับอำนาจรัฐ
3. ต่อสู้ทั้งวิถีทางในรัฐสภาและนอกรัฐสภา
4. ต่อสู้เพื่อนิติรัฐนิติธรรม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายโดยประชาชนเพื่อประชาชน
หลักการของคนเสื้อแดงของนปช.ก็มีอย่างนี้ และเมื่อผ่านการต่อสู้บาดเจ็บล้มตายนับร้อยนับพัน ก็จะเข้มข้นด้วยความต้องการคือทวงความยุติธรรมให้ประชาชน ให้ผู้ถูกกระทำจากอำนาจรัฐ ไม่ว่าจะบาดเจ็บ ล้มตายกลางถนน หรือถูกจับกุมคุมขังอย่างไม่ถูกต้อง หรือถูกอุ้มฆ่า ทั้งในอดีต โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังรัฐประหารจนถึงปัจจุบัน
ดังนั้น ในวิถีทางรัสภา คนเสื้อแดงก็จะถือเป็นส่วนสำคัญของการต่อสู้ด้วย มิใช่มีแต่ถือการต่อสู้เฉพาะบนท้องถนน ในอดีต คนเสื้อแดงทั้งหมดก็ถือเป็น Fc พรรคไทยรักไทย พรรคพลังประชาชน พรรคเพื่อไทย เพราะมีพรรคฝ่ายประชาธิปไตยพรรคเดียว เวลาผ่านจากปี 2550 ถึง 2566 ผ่านมา 16 ปี เกิดสถานการณ์ใหม่ มีการทำรัฐประหารซ้ำ 2 ครั้ง มีการฆ่าคนกลางถนน โดยผู้กระทำลอยนวลพ้นผิด ประเทศชาติพังพินาศทางเศรษฐกิจ การเมือง สังคม เกิดพรรคการเมืองใหม่ คนเสื้อแดงและประชาชนผู้รักประชาธิปไตยและความยุติธรรมก็แยกกันสนับสนุนพรรคการเมืองฝ่ายประชาธิปไตย ก็เกิด Fc พรรคเพื่อไทย, Fc พรรคก้าวไกล, Fcพรรคไทยสร้างไทย, Fc พรรคประชาชาติ หรือ Fc พรรคเสรีรวมไทย เป็นต้น ซึ่งจะมีดีกรีความเข้มข้นหนักเบาของ Fc เหล่านี้ต่างกัน ในทัศนะดิฉัน คนเสื้อแดงจริงจะมีจุดยืนและผลประโยชน์ของประชาชนไทยโดยรวมเป็นหลัก และสนับสนุนพรรคการเมืองเฉพาะฝ่ายประชาธิปไตยพรรคใดก็ได้
ดังนั้น Fc ของพรรคต่างๆ ถ้ายึดผลประโยชน์หรือชัยชนะของพรรคที่ตัวเองสนับสนุนเป็นหลักอย่างเดียว หมายความว่า เขาจะเป็นคนใส่เสื้อสีแดงที่เป็น Fc พรรคการเมืองเท่านั้น ยังไม่ใช่คนเสื้อแดงตัวจริง แต่การเป็น Fc ของพรรคใดพรรคหนึ่งฝ่ายประชาธิปไตย ก็ยังถือเป็นหมู่มิตร แม้นจะขาดหรืออ่อนไปในอุดมการณ์ประชาธิปไตยและชัยชนะของประชาชน ก็ควรจะใช้ท่าทีต่อกันแบบ มิตร มิใช่ศัตรู ไม่ใช่ใช้ภาษาต่อว่าต่อขานรุนแรงที่หนุนพรรคประชาธิปไตยต่างกัน หรือดูหมิ่นดูถูกกันและกัน แม้จะสนับสนุนพรรคต่างกัน
ในสถานการณ์นี้ต้องสามัคคีกันตั้งรัฐบาลประชาธิปไตยของประชาชนให้ได้ และเป็นไปได้ว่า อาจตั้งรัฐบาลของประชาชนไม่ได้! ต้องสามัคคีกันต่อสู้กับฝ่ายเผด็จการสืบทอดอำนาจที่ยังไม่วางมือจากการเมือง โดยมีองค์กรอิสระ, วุฒิสมาชิก เป็นตัวช่วย แม้ผลการเลือกตั้งประชาชน จะเป็นฝ่ายได้รับชัยชนะเหนือพรรคจารีตอำนาจนิยม แต่นี่เพียงบันไดขั้นแรกเท่านั้น อาจถูกฟันฉับ ๆ ทีละพรรคก็เป็นได้
อย่าเป็นเพียงคนใส่เสื้อสีอะไรก็ได้ที่เป็นเพียง Fc พรรคการเมือง เพราะถ้าเราเป็นนักต่อสู้ ต้องยึดฝ่ายประชาธิปไตย และชัยชนะของประชาชนเป็นหลักยิ่งกว่าพรรคการเมือง นี่คือศักดิ์ศรีของคนเสื้อแดงที่ไม่จำเป็นต้องสวมเสื้อสีแดง ในทำนองเดียวกัน คนที่สวมเสื้อสีแดงก็อาจไม่ใช่คนเสื้อแดงจริง!
https://www.facebook.com/krootida/posts/pfbid0PKdKoDhcVfS7pNM7yn3wEyQiN15qVKaMkS6ca7QrNWUsmFewRuyHNKwVfVfGUR9Yl?__tn__=%2CO*F
'ณพลเดช' ยกข้อกฎหมาย เอาผิดนักร้อง ปม พิธา ถือหุ้นไอทีวี เตือนโทษถึงกบฎ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4003720
‘ณพลเดช’ ยกข้อกฎหมาย เอาผิดนักร้อง ปม พิธา ถือหุ้นสื่อไอทีวี เตือนร้องเท็จโทษถึงกบฎ
เมื่อวันที่ 29 พฤษภาคม นายณพลเดช มณีลังกา อดีตเลขานุการกรรมาธิการการกฎหมาย การยุติธรรมและสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร โพสต์เฟซบุ๊กส่วนตัว ระบุว่า
วันนี้ทราบข่าวที่นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ อดีตสมาชิกพรรคพลังประชารัฐ รวมถึงนายสนธิญา สวัสดี อดีตที่ปรึกษากรรมาธิการ การกฎหมาย การยุติธรรม และสิทธิมนุษยชน สภาผู้แทนราษฎร เดินทางเข้าให้ถ้อยคำต่อกกต. กรณีร้องให้ตรวจสอบนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกล ในฐานะแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีพรรคก้าวไกล กรณีการถือครองหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น เห็นแล้วมองไม่ออกว่าประเทศไทยจะเดินไปสู่ความเจริญกันอย่างไรเพราะมัวแต่ทำนิติสงครามกันแบบนี้
หากพิจารณาแล้วคำพิพากษาล่าสุดเลขที่คดีแดง ลต. สสข 24/2566 ลงวันที่ 2 พ.ค.2566 กรณีถือหุ้นสื่อตามคำวินิจฉัยของศาลฎีกาได้วางหลักว่า “การถือหุ้นเป็นสัดส่วนที่น้อยมาก ย่อมไม่มีอำนาจสั่งการให้บริษัทเผยแพร่ข่าวสารที่เป็นประโยชน์ต่อพรรคการเมืองได้ การตีความบทบัญญัติของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร การมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะเหตุเป็นผู้ถือหุ้นย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ” จึงถือว่าไม่ผิด เป็นกรณีที่คุณชาญชัย ผู้สมัครจากพรรคประชาธิปัตย์ ถูก กกต. นครนายก ตัดสิทธิ์เป็นผู้สมัคร ส.ส. เพียงเพราะถือหุ้น AIS 200 หุ้น
และนายชาญชัยชนะหลังฟ้องศาลฎีกาพิพากษา จึงไม่ถูกตัดสิทธิ์ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญลักษณะต้องห้ามตามมาตรา 98 (3) ว่าด้วยการถือหุ้นสื่อ โดยหลักแล้วแนวคำพิพากษาจะยึดโยงกันระหว่างศาล ถือเป็นความยุติธรรมอันสูงสุด แต่วันนี้เห็นการกระทำ ที่นายเรืองไกร นำคำพิพากษาเก่าๆ ตั้งแต่คำพิพากษาที่ 20/2563 มาให้กกต. พิจารณา มีเจตนาที่จะทำประการใดอันอาจให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลและประเทศชาติหรือไม่ หากพิจารณาความผิดที่อาจเกิดขึ้น หากมองกลับว่าคนร้องควรมีความรับผิดได้เช่นใดบ้าง พิจารณาได้ดังนี้ครับ
ประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 173 “ผู้ใดรู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน หรือเจ้าพนักงานผู้มีอำนาจสืบสวนคดีอาญาว่า ได้มีการกระทำความผิด ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท”
ความผิดตามมาตรา 173 มีองค์ประกอบดังนี้
1. รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น
2. แจ้งข้อความแก่พนักงานสอบสวน
3. ว่าได้มีการกระทำความผิด
4. โดยเจตนา
นายณพลเดช ระบุอีกว่า จากกรณีที่นายพิธา หัวหน้าพรรคก้าวไกลถือหุ้นเพียง 42,000 หุ้น แต่คิดเป็นสัดส่วนเพียง 0.0035% ของหุ้นทั้งหมด และมูลค่าในปัจจุบันหุ้นยังติดลบมีมูลค่าเหลือเพียง -56,910 บาท หากผู้ร้องทั้งสองได้ทราบคำพิพากษาล่าสุดว่าไม่สามารถสั่งการสื่อได้ถือว่าไม่ผิดนั้น ก็หมายความว่า ผู้ร้องทั้งสอง “รู้ว่ามิได้มีการกระทำความผิดเกิดขึ้น…” เป็นองค์ประกอบแรก
การที่ผู้ร้องนำความเข้าแจ้งต่อ กกต. เป็นเจ้าพนักงานสอบสวน จึงครบองค์ประกอบที่สอง และได้ชี้ให้เห็นว่าผิดโดยมีความพยายาม บอกว่า “ผิดหรือไม่” เป็นการยกให้เห็นว่ามีโอกาสว่าได้มีการกระทำความผิด เป็นการครบองค์ประกอบที่สาม และผู้ร้องได้มีความพยายาม เตรียมเอกสารประกอบ พร้อมมาพบกกต. เป็นครั้งที่สอง ถือเป็นการกระทำโดยเจตนาครบองค์ประกอบความผิดตามหลักกฎหมายดังกล่าว ทุกประการ ผู้ร้องอาจต้องรับผิดตามป.อาญา มาตรา 173 ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี และปรับไม่เกินหกหมื่นบาท
หากเจตนาข้างต้นมีเจตนา ให้กกต.ยุบพรรค จากข้อมูลที่รู้กันอยู่โดยทั่วไปว่าไม่ผิดดังมีคำพิพากษาได้วางหลักฎีกาล่าสุดไว้แล้ว มีเจตนาล้มล้างเสียงของประชาชน ที่มอบให้พรรคการเมืองที่ชนะการเลือกตั้งใช้อำนาจบริหารในระบอบประชาธิปไตย เข้าข่ายเป็นความผิดฐานกบฏ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 113 (2) มาตรา 137 และ มาตรา 326
ทั้งนี้ในส่วนของความผิดฐานแจ้งความเท็จและเป็นกบฏ ต่อแผ่นดิน เป็นความผิดต่อแผ่นดิน ประชาชนทุกคนมีสิทธิกล่าวโทษต่อพนักงานสอบสวนให้ดำเนินคดีกับผู้กระทำผิดตามกฎหมายครับ หากมีการฟ้องร้องทั่วประเทศต่อนักร้อง อะไรจะเกิดขึ้น ความวุ่นวาย บาปกรรม อาจสนองกลับผู้ร้องนะครับ ถ้าเขาร้องเหนือสุดใต้สุดไม่ว่าจะที่เชียงราย หรือ ยะลา ก็ต้องไปให้การครับ”
https://www.facebook.com/dr.peterping/posts/pfbid023r4myoaUw7L5M9kMvP8jemP9VB5vz2CvvhRVcS9bYT5zq3bMGpBvaMV2i6zyj9Uol