ปี 2568 “การบินไทย” คัมแบ็กตลาดหลักทรัพย์
*ออกจากแผนฟื้นฟูก่อนเป้าหมายปลายปี 67
*อวดผู้โดยสาร80%/กำเงินสด3.5หมื่นล้าน
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทย มีแผนจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการก่อนเป้าหมายเดิมที่วางไว้ในปลายปี 67 และกลับไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในปี 68
เนื่องจากขณะนี้ผลการดำเนินงานเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน พ.ค.65 ประกอบกับความต้องการการเดินทางยังมีสูง จึงคาดว่าผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น จะผลักดันให้ต้นทุนทางการเงิน ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) เป็นบวกมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเข้าเกณฑ์ข้อกำหนดของการยื่นขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯ ต้องมี EBITDA หักลบค่าเช่าและเงินสด ย้อนหลัง 12 เดือน ต้องคงเหลือมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
นายชาย กล่าวต่อว่า การบินไทยดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไปแล้วราว 70% ยังคงเหลือเรื่องการจัดหาเงินทุนใหม่ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบแนวทางจัดหาเงินทุนใหม่ และรอประเมินสถานการณ์ทางการเงินว่ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนมากน้อยเพียงใด
เนื่องจากขณะนี้การบินไทยมีกระแสเงินสด (แคชโฟว์) เข้ามาต่อเนื่อง สะสมอยู่ในระดับ 3.5 หมื่นล้านบาท หากกลางปีนี้ผลงานยังบวกต่อเนื่องอาจยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาทุนใหม่ หรืออาจจัดหาเพียง 12,500 ล้านบาท
นายชาย กล่าวอีกว่า ภาพรวมปัจจุบัน มีอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) เฉลี่ยประมาณ 80% และคาดว่าทั้งปี 66 จะคงอยู่ในระดับ 80% ส่วนรายได้ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตราว40% จากปี 65 ที่คาดการณ์รายได้ 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1.6 - 1.7 แสนล้านบาทต่อปี
ด้านความสามารถทำการบิน เริ่มกลับมาทำการบินคิดเป็น 65% ของเส้นทางบินทั้งหมด หากเทียบกับปี 62 และมีแผนจะทยอยเปิดบินเพิ่มเติมต่อเนื่องในเส้นทางเอเชีย จีน ญี่ปุ่น และยุโรปในเมืองที่มีความนิยมสูง โดยเฉพาะจีนภายหลังเปิดประเทศ และมีดีมานด์เดินทางจำนวนมาก เตรียมเพิ่มจุดบินจาก 5 เมืองเป็น 8 เมือง
นายชาย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีฝูงบินให้บริการบิน 41 ลำ แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมการบินกลับมาฟื้นตัว ปริมาณผู้โดยสารเดินทางมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะนำเครื่องบินที่รอการขาย คือ แอร์บัส A 330 และโบอิ้ง 777-200ER รวม 8 ลำมาปรับปรุงให้บริการ
ขณะเดียวกันในปีนี้รอส่งมอบเครื่องบินเช่า เพื่อนำมาเสริมบริการอีก 9 ลำ ประกอบด้วย แอร์บัส A 350 จำนวน 6 ลำ และเครื่องบินลำตัวกว้างอีก 3 ลำ ที่รอการเจรจาเข้ามาประจำฝูงบิน โดยคาดว่าการรับมอบฝูงบินใหม่จะทยอยเข้ามาตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นไปจนถึงกลางปี 66
ส่งผลให้ภายในปี 66 จะมีเครื่องบินในฝูงบินให้บริการรวมกว่า 58 ลำ ไม่รวมเครื่องบินไทยสมายล์ รุ่นแอร์บัส A 320 อีก 20 ลำ ขณะที่แผนดำเนินงานในปี 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ และทดแทนเครื่องบินที่ปลดระวางรอการขายรวมกว่า 22 ลำ
เนื่องจากมีอายุการใช้งานเฉลี่ยกว่า 20 ปีประกอบด้วย แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ, แอร์บัส A340-500 จำนวน 2 ลำ, แอร์บัส A340-600 จำนวน 2 ลำ, โบอิ้ง B777-300 จำนวน 6 ลำ และโบอิ้ง B777-200 จำนวน 6 ลำ
วางแผนจัดหาเช่าเครื่องบินเพื่อเสริมบริการเพิ่มเติมกว่า 20 ลำ ซึ่งเป็นแผนที่ไม่เร่งด่วนอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของประเภทเครื่องบิน
นายชาย กล่าวด้วยว่า ส่วนแผนจำหน่ายสินทรัพย์ จากสถานการณ์ขณะนี้ ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นที่จะเร่งขายสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ และอาคารสำนักงานของการบินไทยที่มีอยู่ หากไม่ได้รับข้อเสนอด้านราคาที่เหมาะสม
โดยมีอสังหาริมทรัพย์ทั้งไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย อาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย และอาคารสำนักงานครัวการบินไทย ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่มีมูลค่ารวมกว่า 12,000 ล้านบาท
และอาคารสำนักงานขายจังหวัดเชียงใหม่ อาคารสำนักงานขายจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานขายและบ้านพักลอนดอน,อินโดนีเซีย และฮ่องกง ที่มีมูลค่ารวมหลักพันล้านบาท.
_________
#ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
#การบินไทย
@@@ การบินไทยออกจากแผนฟื้นฟูก่อนกำหนด @@@
*ออกจากแผนฟื้นฟูก่อนเป้าหมายปลายปี 67
*อวดผู้โดยสาร80%/กำเงินสด3.5หมื่นล้าน
นายชาย เอี่ยมศิริ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า การบินไทย มีแผนจะออกจากแผนฟื้นฟูกิจการก่อนเป้าหมายเดิมที่วางไว้ในปลายปี 67 และกลับไปซื้อขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย (ตลท.) ภายในปี 68
เนื่องจากขณะนี้ผลการดำเนินงานเป็นบวกอย่างต่อเนื่อง นับตั้งแต่เดือน พ.ค.65 ประกอบกับความต้องการการเดินทางยังมีสูง จึงคาดว่าผลการดำเนินงานที่เกิดขึ้น จะผลักดันให้ต้นทุนทางการเงิน ภาษี และค่าเสื่อม (EBITDA) เป็นบวกมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
ซึ่งเข้าเกณฑ์ข้อกำหนดของการยื่นขอออกจากแผนฟื้นฟูกิจการที่ระบุว่าบริษัทฯ ต้องมี EBITDA หักลบค่าเช่าและเงินสด ย้อนหลัง 12 เดือน ต้องคงเหลือมากกว่า 2 หมื่นล้านบาท
นายชาย กล่าวต่อว่า การบินไทยดำเนินงานตามแผนฟื้นฟูกิจการกำหนดไปแล้วราว 70% ยังคงเหลือเรื่องการจัดหาเงินทุนใหม่ วงเงิน 2 หมื่นล้านบาท อยู่ระหว่างศึกษาเปรียบเทียบแนวทางจัดหาเงินทุนใหม่ และรอประเมินสถานการณ์ทางการเงินว่ามีความจำเป็นต้องจัดหาเงินทุนมากน้อยเพียงใด
เนื่องจากขณะนี้การบินไทยมีกระแสเงินสด (แคชโฟว์) เข้ามาต่อเนื่อง สะสมอยู่ในระดับ 3.5 หมื่นล้านบาท หากกลางปีนี้ผลงานยังบวกต่อเนื่องอาจยังไม่มีความจำเป็นเร่งด่วนในการจัดหาทุนใหม่ หรืออาจจัดหาเพียง 12,500 ล้านบาท
นายชาย กล่าวอีกว่า ภาพรวมปัจจุบัน มีอัตราบรรทุกผู้โดยสาร (เคบิ้นแฟกเตอร์) เฉลี่ยประมาณ 80% และคาดว่าทั้งปี 66 จะคงอยู่ในระดับ 80% ส่วนรายได้ในปีนี้คาดว่าจะเติบโตราว40% จากปี 65 ที่คาดการณ์รายได้ 9 หมื่นล้านบาท ซึ่งเริ่มกลับมาใกล้เคียงกับช่วงก่อนเกิดโควิด-19 ที่มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 1.6 - 1.7 แสนล้านบาทต่อปี
ด้านความสามารถทำการบิน เริ่มกลับมาทำการบินคิดเป็น 65% ของเส้นทางบินทั้งหมด หากเทียบกับปี 62 และมีแผนจะทยอยเปิดบินเพิ่มเติมต่อเนื่องในเส้นทางเอเชีย จีน ญี่ปุ่น และยุโรปในเมืองที่มีความนิยมสูง โดยเฉพาะจีนภายหลังเปิดประเทศ และมีดีมานด์เดินทางจำนวนมาก เตรียมเพิ่มจุดบินจาก 5 เมืองเป็น 8 เมือง
นายชาย กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีฝูงบินให้บริการบิน 41 ลำ แต่ขณะนี้อุตสาหกรรมการบินกลับมาฟื้นตัว ปริมาณผู้โดยสารเดินทางมากขึ้น จึงมีแนวคิดที่จะนำเครื่องบินที่รอการขาย คือ แอร์บัส A 330 และโบอิ้ง 777-200ER รวม 8 ลำมาปรับปรุงให้บริการ
ขณะเดียวกันในปีนี้รอส่งมอบเครื่องบินเช่า เพื่อนำมาเสริมบริการอีก 9 ลำ ประกอบด้วย แอร์บัส A 350 จำนวน 6 ลำ และเครื่องบินลำตัวกว้างอีก 3 ลำ ที่รอการเจรจาเข้ามาประจำฝูงบิน โดยคาดว่าการรับมอบฝูงบินใหม่จะทยอยเข้ามาตั้งแต่เดือน เม.ย.เป็นต้นไปจนถึงกลางปี 66
ส่งผลให้ภายในปี 66 จะมีเครื่องบินในฝูงบินให้บริการรวมกว่า 58 ลำ ไม่รวมเครื่องบินไทยสมายล์ รุ่นแอร์บัส A 320 อีก 20 ลำ ขณะที่แผนดำเนินงานในปี 3-5 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับการเติบโตของธุรกิจ และทดแทนเครื่องบินที่ปลดระวางรอการขายรวมกว่า 22 ลำ
เนื่องจากมีอายุการใช้งานเฉลี่ยกว่า 20 ปีประกอบด้วย แอร์บัส A380 จำนวน 6 ลำ, แอร์บัส A340-500 จำนวน 2 ลำ, แอร์บัส A340-600 จำนวน 2 ลำ, โบอิ้ง B777-300 จำนวน 6 ลำ และโบอิ้ง B777-200 จำนวน 6 ลำ
วางแผนจัดหาเช่าเครื่องบินเพื่อเสริมบริการเพิ่มเติมกว่า 20 ลำ ซึ่งเป็นแผนที่ไม่เร่งด่วนอยู่ระหว่างศึกษาความเหมาะสมของประเภทเครื่องบิน
นายชาย กล่าวด้วยว่า ส่วนแผนจำหน่ายสินทรัพย์ จากสถานการณ์ขณะนี้ ยืนยันว่าไม่มีความจำเป็นที่จะเร่งขายสินทรัพย์ประเภทอสังหาริมทรัพย์ และอาคารสำนักงานของการบินไทยที่มีอยู่ หากไม่ได้รับข้อเสนอด้านราคาที่เหมาะสม
โดยมีอสังหาริมทรัพย์ทั้งไทยและต่างประเทศ ประกอบด้วย อาคารสำนักงานใหญ่การบินไทย และอาคารสำนักงานครัวการบินไทย ท่าอากาศยานดอนเมือง ที่มีมูลค่ารวมกว่า 12,000 ล้านบาท
และอาคารสำนักงานขายจังหวัดเชียงใหม่ อาคารสำนักงานขายจังหวัดพิษณุโลก สำนักงานขายและบ้านพักลอนดอน,อินโดนีเซีย และฮ่องกง ที่มีมูลค่ารวมหลักพันล้านบาท.
_________
#ทีมข่าวนวัตกรรมขนส่งเดลินิวส์
#การบินไทย