เศรษฐกิจไทย ต้อง พึ่งพาตนเองได้ ไม่ใช่รออ้าปากให้ต่างชาติมาป้อน

ไทย ต้องหันมาเป็น closed economy ที่เน้นพึ่งพาตัวเองทุกขนาน ปลีกวิเวกตัวเองออกจากสารบบเศรษฐกิจโลก หรือเรียกสั้นๆว่า เศรษฐกิจแบบปิด ใจความคือ ลดความสำคัญทางการค้าระหว่างประเทศ เงินลงทุนต่างชาติ และนักท่องเที่ยว รวมไปถึง เทคโนโลยีของต่างชาติ และต้อง ยกเลิก FTA ทุกฉบับ ช่วงแรกอาจจะหนักหน่อย แต่ฟ้าหลังฝนย่อมมีเสมอ เพราะพอเริ่มตั้งลำได้ จะได้เปรียบประเทศอื่นอย่างมาก ต่อให้เศรษฐกิจโลกพืนาศขนาดไหน เราก็ยังอยู่ได้ดี อาจจะต้องนำเข้าบางอย่าง เช่น เชื้อเพลิงและแร่ธาตุ ที่ผลิตเองไม่ได้จริงๆ ที่ผ่านมา การเป็น export oriented economy ที่เน้นส่งออก ดึงดูดนักท่องเที่ยวให้ได้เยอะที่สุด ดึงดูด FDI ให้ได้เยอะที่สุด ได้พิสูจน์แล้วว่า ไม่ตอบโจทย์การพัฒนาประเทศ ในหลายๆด้านๆ รายได้ประชาชนยังโตช้า มีแต่นายทุนโรงงาน เจ้าของกิจการที่รวย คนส่วนใหญ่แทบไม่รู้สึก และที่สำคัญคือ โลกเรา ก็กำลังเข้าสู่ภาวะ deglobalization แบบเต็มตัว เหมือนย้อนกลับไปยุคเริ่มปฎิวัติอุตสาหกรรมที่ แต่ละประเทศก็ต่างกีดกันสินค้านำเข้า เพื่อให้สินค้าตัวเองขายออก ดังนั้น เหล่าประเทศที่หวังจะรวยด้วยการค้า การลงทุน นี่โคตรพลาด

อันนี้ คือแนวทางเศรษฐกิจที่เจ้าของกระทู้เสนอ 3 แนวทาง ขอเรียกว่า เศรษฐกิจแบบ PNG ทฤษฎีนี้เจ้าของกระทู้คิดค้นเอง เผื่อมี สมาชิกพรรคการเมืองไหน หลงเข้ามาเจออยากเอาไปปรับใช้ เมื่อได้เป็นรัฐบาลแล้ว

1.P คือ Protectionism หรือ ลัทธิปกป้อง กล่าวคือ ต้องยกเลิก สนธิสัญญาทางการค้าที่ทำกับประเทศอื่นทุกฉบับ เพื่อ เริ่มการ กีดกันทางการค้าอย่างเต็มตัว ไม่สนหน้าสิ่วหน้าขวาน แม้แต่สินค้าจากประเทศเพื่อนบ้านใกล้ ต้องถูกเก็บภาษีให้สูงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ถ้าไม่ยอมเข้ามาตั้งโรงงานผลิต แต่ จะส่งสินค้าเข้ามาขายเท่านั้น ก็เจอภาษีนำเข้าแบบหนักๆไปซะ เราอาจจะได้ใช้ iphone เครื่องละ 2 แสน หรือ nike รุ่นกากๆ คู่ละ 2 หมื่น ซึ่งแน่นอนว่า นายทุนต่างชาติอาจจะไม่สนใจ กำแพงภาษีนี้ อารมณ์ประมาณว่า gu ไม่สร้างโรงงานในประเทศ mueng หรอก คนรับกรรมคือ คนในประเทศ mueng ที่ต้องซื้อของ Gu แพงๆ แต่ไม่เป็นไร ระหว่างนี้ รัฐบาลต้อง ส่งเสริมอุตสาหกรรมภายในประเทศ เพื่อผลิตสินค้าขายแข่ง ชิ้นส่วนวัตถุดิบทุกอย่าง ต้องมาจากในประเทศให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะไปเป็นได้ และต้องมีคุณภาพดีด้วย แต่ให้คนไทยบ้าแบรนด์ขนาดไหน แต่เจอ ไอโฟน เครื่องละ 2 แสน เทียบกับโทรศัพท์ที่ผลิตเองโดยบริษัทคนไทย เครื่องละ 5 พัน คุณภาพคล้ายกัน ยังไงก็ต้องเลือก 5 พัน

2. N คือ Nationalization หรือ การเวนคืนเป็นของรัฐ ในที่นี้ คือ รัฐบาลไทย ต้องรวบกิจการของเอกชน ที่เป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ ที่จำเป็นต่อคนส่วนใหญ่ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยส่วนต่างใดๆ และ บริษัทของต่างชาติใดๆก็ตามที่เห็นว่าสมควรถูกเวนคืน เช่น พลังงาน สาธารณูโภค อุปโภค การรักษาพยาบาล การศึกษา และ consumer good บางอย่างเช่น น้ำมัน ก๊าซ อาหาร รัฐบาลจะมีหน้าที่ผลิต และ แจกจ่ายในราคาสมเหตุสมเหตุ ทั้งต้นทุนและระดับรายได้ของประชาชนในกระเป๋าขณะนั้น ไม่ใช่อยากจะขึ้นราคาก็ขึ้น แล้วอ้างว่าต้นทุนเพิ่ม ทั้งๆที่ความจริงก็คือ พวกนั้นกลัวกำไรน้อยลงก็แค่นั้นแหละ และ เอกชนห้ามเป็นเจ้าของอุตสาหกรรมเหล่านี้ 

3.G คือ Government spending หรือ การใช้จ่ายของรัฐบาล ที่ผ่านมาเจ้าของกระทู้คิดว่า อีกสาเหตุหลักๆที่เศรษฐกิจไทยโตช้าเช่นนี้ เพราะ รัฐบาลเราใช้จ่ายน้อยเกินไป ลงทุนน้อยเกินไป ซึ่งการจะรอแต่ให้เอกชนลงทุน มันก็ไม่ได้ และก็ขัดกับข้อ 2 ที่ ไม่ส่งเสริมให้เอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนเศรษฐกิจ ส่วนวิธีการ คือ รัฐบาลต้องตั้งงบประมาณแผ่นดินให้ได้ 50 % ของ GDP คิดง่ายๆคือ GDP ไทยตอนนี้ คือ 17 ล้านๆ บาท ดังนั้นงบประมาณแผ่นดินต้องอยู่ที่ 8-9 ล้านๆบาท ส่วนคำภามที่ตามมาว่า แล้วจะเอาเงินจากไหน ง่ายมากๆ เก็บภาษีเพิ่ม แต่ให้เก็บเฉพาะบริษัทข้ามชาติ และ คนรวย ภาษีบริโภคและภาษีเงินได้บุคคล ยังเท่าเดิม หรืออาจจะเพิ่มเล็กน้อย และ พิมพ์เงินใช้เองบางส่วน ซึ่งการพิมพ์เงินเนี่ย ไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากนัก ต่อเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ เหมือนที่หลายๆคนเข้าใจกัน หลายประเทศก็ทำเพื่ออัดฉีด เศรษฐกิจ ซึ่งสาเหตุหลักๆของเงินเฟ้อ ก็คือ ต้นทุนราคาสินค้าสูงขึ้น ( ตรงนี้รัฐบาลต้องใช้มาตรากลไกควบคุมราคาอย่างเข้มงวดที่สุด ) และเงินมีในระบบมากเกินไป มากกว่าจำนวนสินค้าและบริการที่มีอยู่ ดังนั้น วิธีแก้ไขและป้องกันเงินเฟ้อ ก็อยู่รวมใน การใช้จ่ายของรัฐบาลที่จะกล่าวดังต่อไปนี้ คือ งบประมาณส่วนหนึ่ง แน่นอนว่า ต้องจัดเป็น รัฐสวัสดิการให้ประชาชน แต่ส่วนใหญ่คือ การที่รัฐบาลจะต้องลงทุนด้วยตัวเองให้หนักที่สุด กีดกันเอกชนออกไปจากสารบบ เพื่อป้องกันการแสวงหากำไรเกินควร เช่น เมกกะโปรเจค โครงสร้างพื้นฐาน และการลงทุนผลิตสินค้า ถ้า productivity อยู่ เหนือ inflation ต่อให้ inflation 100 % ก็ไม่มีปัญหาอะไร

นี่คือ สาระสำคัญทั้งหมด ของ เศรษฐกิจ แบบ PNG ทั้งหมด
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่