ผมตั้งข้อสังเกตว่า ขั้นตอนการคำนวณ สส บัญชีรายชื่อ ยังไม่มีช่องโหว่ที่ข้อ 4

กระทู้คำถาม
จากเวบไซต์ของ กกต มีลิงค์ข่าวสาร เปิดสูตรการคำนวณ สส บัญชีราย
ลงวันที่ 7 พฤษภาคม 2566


ลิงค์ข่าวตามนี้ครับ
[เวบ กกต.] เลือกตั้ง 2566 : วิธีการคำนวณ ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ จำนวน 100 คน

โดยผิวเผินเราอาจจะคิดแบบที่เวบ ilaw แสดงเป็นตัวอย่างก็จะได้ ตามภาพนี้
ท่านจะเห็นว่า นับทศนิยมจากทุกพรรค เลย และจนได้ลำดับตามฟอนส์สีแดงในภาพ
 
ลิงค์แสดงตัวอย่างการคำนวณจาก ilaw ครับ
[เวบ ilaw] เลือกตั้ง 66: คิดให้ดูทีละขั้น!! เปิดสูตรคำนวณ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคปัดเศษยังมีลุ้นได้ที่นั่ง

----------

แล้วทำไมผมถึงคิดว่า มีช่องโหว่ ??
ก็เพราะในประกาศข่าวของ กกต. ไม่ได้บอกว่าจะใช้ทศนิยมจาก "ทุกพรรค" เหมือนที่ ilaw แสดงตัวอย่างการคำนวณ !!

ถ้าผมจะตีความอีกแบบ ผมจะตีความดังนี้ครับ

 ... ให้พรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์ที่เป็นเศษโดยไม่มีจํานวนเต็ม และพรรคการเมืองที่มีเศษหลังจากการคํานวณตามข้อ 3 ...

ให้พรรคการเมืองที่มีผลลัพธ์ที่เป็นเศษโดยไม่มีจํานวนเต็ม = เงื่อนไขที่ 1*
และ
พรรคการเมืองที่มีเศษหลังจากการคํานวณตามข้อ 3 = เงื่อนไขที่ 2**

ประพจน์เชื่อม "และ" , ประพจน์ย่อยต้องเป็นจริงทั้งคู่ ประโยครวมถึงจะเป็นจริงตามเงื่อนไข

ดังนั้น  พรรคที่ 1-11 จะไม่เข้า เงื่อนไขที่ 1* แล้วนะครับ !!! เพราะพรรคเหล่านั่น มีจำนวนเต็ม !!!
ส่วนพรรคที่ 12-20 จะเข้าเงื่อนไขที่ 1* แบบชัดๆ เป๊ะๆ
และเข้าเงื่อนไขที่ 2** ด้วย

ดังนั้น ถ้าตีความแบบ ใช้ช่องโหว่ ตาราง ilaw จะถูกแก้ใหม่ดังนี้ครับ



นี่ไงครับ +9 ที่นั่ง จากพรรคเล็ก !!!!!  โดยการตีความ จากช่องโหว่นั่น !!!!

หยอกเย้า

ปล.อยากแท็กห้องคณิตศาสตร์จัง แต่ มันเกี่ยวข้องแค่บรรทัดปัญหานั้น บรรทัดเดียว เลยไม่แท็กดีกว่า
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
คิดอย่างนั้นจะไม่มีสส.บัญชีรายชื่อตามข้อ 4 ครับ
เพราะ ช่วงแรกหมายถึงพรรคที่ไม่มีจำนวนเต็ม ช่วงหลังหมายถึงพรรคที่มีจำนวนเต็มแล้วเหลือเศษ
พรรคที่ไม่มีจำนวนเต็ม ไม่อยู่ในเงื่อนไขในข้อ 3
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่