JJNY : 5in1 ‘ไอลอว์’กลัวเสียสิทธิ│เศรษฐาย้ำต้องลงพื้นที่มากขึ้น│แนะพท.ชูนโยบาย│สัมภาษณ์“กาย ณัฐชา”│หวังสหรัฐฯส่งแพทริออต

‘ไอลอว์’ กลัวเสียสิทธิ ลิสต์ฮาวทู ‘เช็กให้ชัด’ ก่อนกา แง้มเว็บส่องประวัติงูเห่าย้ายพรรค
https://www.matichon.co.th/election66/news_3929682
 
 
‘ไอลอว์’ ห่วงโดนตัดสิทธิ ลิสต์ฮาวทู เช็กทะเบียนบ้าน-เขตเลือกตั้งให้ชัด แง้มช่องส่องประวัติงูเห่าย้ายพรรค
 
เมื่อวันที่ 16 เมษายน โครงการอินเทอร์เน็ตเพื่อกฎหมายประชาชน หรือไอลอว์ (iLaw) ย้ำเตือนประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ให้ดำเนินการตรวจสอบรายชื่อของตนก่อนถึงวันใช้สิทธิเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม 2566 เนื่องจากหากมีรายชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านกลาง จะไม่สามารถเลือกตั้งได้ตามปกติ
  
ไอลอว์ระบุว่า ก่อนไปหย่อนบัตร ประชาชนทุกคนจะต้องตรวจสอบว่าตนเองเป็นผู้มีสิทธิเลือกตั้งในหน่วยเลือกตั้งใด ผู้มีสิทธิเลือกตั้งแต่ละคนจะมีชื่ออยู่ในหน่วยเลือกตั้งใดขึ้นอยู่กับว่าภูมิลำเนาหรือที่อยู่ตามทะเบียนบ้านของบุคคลนั้นๆ จะอยู่ในพื้นที่ของเขตเลือกตั้งใด แม้การมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านดูจะเป็นเรื่องธรรมดาสามัญ แต่ก็มีประชาชนจำนวนไม่น้อยที่ไม่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านปกติ แต่ไปมีชื่ออยู่ใน “ทะเบียนบ้านกลาง” ซึ่งจะไม่สามารถเข้าถึงสิทธิขั้นพื้นฐานบางประการ รวมถึงสิทธิในการเลือกตั้งด้วย
 
โดยกลุ่มที่อาจถูกใส่ชื่อใน “ทะเบียนบ้านกลาง” อาทิ

1.นักศึกษาที่ย้ายทะเบียนบ้านเข้ามหาวิทยาลัย แล้วพ้นสภาพแต่ไม่ย้ายออก
2.คนไทยที่ไปอยู่ต่างประเทศนานแล้ว
3.คนที่มีชื่อในทะเบียนแต่ไม่ได้อยู่บ้านจริง จนเจ้าบ้านย้ายชื่อออก
4.คนถูกหมายจับแล้วหลบหนีเกิน 180 วัน
อย่างไรก็ดี วันที่ 18 เมษายนนี้ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เตรียมเปิดเว็บไซต์ให้ตรวจสอบสิทธิเลือกตั้ง โดยหากมีชื่อในทะเบียนบ้านกลาง ให้รีบไปดำเนินการย้ายออก ซึ่งถ้าย้ายออกก่อน 90 วันสามารถไปเลือกตั้งที่ใหม่ได้ แต่หากไม่ถึง 90 วัน ให้ไปเลือกตั้งตามที่อยู่เดิมที่เคยอยู่ติดต่อกันเกิน 90 วัน

ไอลอว์ เปิดเผยวิธีย้ายชื่อออกจากทะเบียนบ้านกลาง เข้าทะเบียนบ้านปกติ รักษาสิทธิเลือกตั้ง โดยสรุปเป็น 5 ขั้นตอนดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ผู้ที่มีชื่ออยู่ทะเบียนบ้านกลาง นัดแนะกับเจ้าบ้านที่ต้องการจะย้ายชื่อเข้าไปยังทะเบียนบ้านนั้น เตรียมเอกสารสามอย่าง 1.เอกสารยืนยันตัวตนตัวจริงของผู้ที่จะย้ายเข้า (บัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง) 2.เอกสารยืนยันตัวตนตัวจริงของของเจ้าบ้าน (บัตรประชาชน ใบขับขี่ หรือหนังสือเดินทาง) 3.เล่มทะเบียนบ้านจริงที่จะย้ายเข้า ไปที่สำนักงานเขตในกรณีกรุงเทพฯ และสำนักทะเบียนอำเภอหรือสำนักทะเบียนท้องถิ่นกรณีต่างจังหวัด
ขั้นตอนที่ 2: แจ้งย้ายเข้าทะเบียนบ้านที่โต๊ะหน้าของกองทะเบียนราษฎร ยื่นเอกสารทั้งหมดให้เจ้าหน้าที่ตรวจสอบและรับบัตรคิว
ขั้นตอนที่ 3: รอเรียกคิวและยื่นเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการย้ายชื่อเข้าทะเบียนบ้านให้
ขั้นตอนที่ 4: จ่ายค่าธรรมเนียม 20 บาท อย่าลืมพกเงินสดติดตัวไปด้วยเพื่อความรวดเร็ว
ขั้นตอนที่ 5: รับทะเบียนบ้านคืน แค่นี้ก็มีสิทธิเลือกตั้งแล้ว ใช้เวลาไม่นาน ไม่เกิน 15 นาที (หากคิวไม่ยาว)

กรณีที่เจ้าบ้านไม่สะดวกมาดำเนินการด้วยตัวเอง สามารถเขียนหนังสือมอบหมายและยินยอมให้ดำเนินการแทน พร้อมแนบสำเนาบัตรประชาชนเซ็นรับรองมาให้ดำเนินการแทนได้
ดาวน์โหลด : หนังสือมอบหมายและยินยอมให้ดำเนินการแทน
อ่านรายเอียดเพิ่มเติมเกี่ยวกับ การย้ายทะเบียนบ้านกลางในกรณีอื่นๆ เช่น อาศัยอยู่ต่างประเทศ, ผู้ทุพพลภาพหรือพิการ
 
ทั้งนี้ การเลือกตั้งปี 2566 เปลี่ยนแปลงไปมาก เนื่องจากเป็นการเลือกตั้งด้วยระบบใหม่ที่แบ่งเขตใหม่หมดทั้งประเทศ ไอลอว์จึงชวนตรวจสอบทะเบียนบ้านของตัวเองว่านับเป็นเขตการเลือกตั้งที่เท่าไหร่ เพียงกรอกจังหวัด อำเภอ ตำบล ผ่านทางเว็บไซต์ vote62.com
 
นอกจากนี้ ไอลอว์ ยังทำโพลสำรวจความเห็นผ่านช่องทางออนไลน์ โดยสอบถามประชาชนว่า “คุณรู้หรือยังว่า บ้านของตัวเองนับว่าเป็นเขตที่เท่าไร การแบ่งเขตครั้งใหม่ทำให้ต้องเลือกผู้สมัครคนไหนบ้าง?
 
โดยมีผู้ร่วมโหวต แบ่งเป็น 1.รู้ เขตเปลี่ยน เช็กแล้ว 42.5 % 2.รู้เหมือนเดิมตลอด ไม่ยาก 27.7 % 3.ไม่รู้เขตเปลี่ยน ต้องเช็ก 21.7 % และ 4.ไม่รู้ ไม่เคยจำอยู่แล้ว 8 %
 
ล่าสุด ไอลอว์ชวนสำรวจชุดข้อมูล DEMO Thailand ที่จะเผยให้เห็นว่าใครเป็นใครในสนามการเลือกตั้ง 66 ใครบ้านใหญ่บ้านเล็ก? ใครหน้าเก่าหน้าใหม่?
โดยคลิกเลือกจังหวัดสำรวจพื้นที่บ้านตัวเอง ก่อนตัดสินใจว่าปีนี้จะเลือกพรรคไหน ผ่านทาง
เว็บไซต์ https://demothailand.rocketmedialab.co/politician-database

 ทั้งนี้ ข้อมูลบนเว็บไซต์นี้แบ่งผู้สมัครออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่
1. สัญลักษณ์ ‘วงกลม’ หมายถึงผู้สมัคร ส.ส.ที่มาจากพรรคการเมืองเดิม
2. สัญลักษณ์ ‘สี่เหลี่ยม’ หมายถึง ผู้สมัคร ส.ส.ที่มาจากการย้ายพรรค โดยมีข้อมูลว่าย้ายมาจากพรรคใด
3. สัญลักษณ์ ‘สามเหลี่ยม’ หมายถึง ผู้สมัคร ส.ส.หน้าใหม่
 
นอกจากการแยกประเภทผู้สมัครแล้ว ไอลอว์ยังชวนติดตาม @rocketmedialab บทวิเคราะห์รายพรรค รายประเด็นว่าแต่ละพรรคมีผู้สมัคร ส.ส.มาจากไหน พรรคเดิม ย้ายพรรค หรือหน้าใหม่ เป็นสัดส่วนเท่าไร และข้อมูลที่ละเอียดลงไปอีกว่า คนที่ย้ายพรรค ย้ายมาจากพรรคไหนบ้าง เป็นอดีต ส.ส. ย้ายพรรคจำนวนเท่าไร



เศรษฐา มั่นใจคะแนนเสียง กทม. ย้ำต้องลงพื้นที่มากขึ้น เตรียมติวผู้สมัครขยายนโยบายให้ชัด
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7615272

“เศรษฐา” มั่นใจ คะแนนเสียงพื้นที่ กทม. แต่ต้องลงพื้นที่มากขึ้น เตรียมติวผู้สมัครขายนโยบายให้ชัด ยังอุบจับมือใครหลังเลือกตั้ง ยันไม่กลัวเป็นรัฐบาลถูกรัฐประหารซ้ำ เชื่อรู้ผลเสียกันแล้ว
 
16 เม.ย. 66 – ที่ห้างสรรพสินค้าเซ็นทรัล เฟสติวัล อีสต์วิลล์ นายเศรษฐา ทวีสิน แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคเพื่อไทย พร้อมด้วยนางพวงเพ็ชร ชุนละเอียด ประธานคณะกรรมการประสานงานด้านการเมืองพื้นที่ กทม.
  
นายพลภูมิ วิภัติภูมิประเทศ อดีตส.ส.กทม. พรรคเพื่อไทย ผู้สมัคร ส.ส.เขตเลือกตั้งที่ 15 บึงกุ่ม ลงพื้นที่ช่วยน.ส.สกาวใจ พูนสวัสดิ์ ผู้สมัคร ส.ส.เขตเลือกตั้งที่ 13 ลาดพร้าว หาเสียง โดยได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนที่มาจับจ่ายซื้อของ ต่างเข้าไปขอถ่ายภาพทั้งนายเศรษฐา น.ส.สกาวใจ เป็นที่ระลึก
  
จากนั้น นายเศรษฐา ให้สัมภาษณ์ถึงความมั่นใจในพื้นที่ กทม.ว่า เรามีความมั่นใจ แต่ผู้สมัครทุกคนและแคนดิเดตนายกฯ ของพรรค ยังต้องลงพื้นที่เยอะๆ เพื่อสื่อสารนโยบาย และตอบข้อสงสัยกับประชาชน เพื่อผลักดันนโยบายของพรรคให้เข้าถึงประชาชน
 
ส่วนเวลาที่เหลือก่อนการเลือกตั้ง ทางพรรคมีทีมดูเรื่องตัวเลขอยู่ หลังจากนี้พรรคเพื่อไทยจะเน้นลงพื้นที่ที่สูสี หรือที่คะแนนตามอยู่ โดยเราต้องทำงานหนัก บางวันอาจมี 4-5 เวที เราไม่กลัวงานหนัก
 
เมื่อถามว่า ช่วงที่ผ่านมาประเมินว่า การสื่อสารนโยบายของพรรคตรงเป้ามากน้อยอย่างไร นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่ว่าเราจะทำดีขนาดไหน ก็ยังไม่เพียงพออยู่ดี นโยบายที่ดีของพรรคเพื่อไทยมีเยอะมาก เราจะทยอยเผยแพร่ไปเรื่อยๆ
 
โดยวันที่ 17 เม.ย. จะประชุมกับผู้สมัคร ส.ส.กทม. เพื่อขยายนโยบายต่อ เพื่อเน้นบางนโยบายที่บางพื้นที่อาจยังอธิบายไม่ชัดเจน ตรงนี้ถือเป็นการปรับแผน และคงไม่เน้นนโบบายอะไรพิเศษเพิ่มเติมเพียงนโบบายเดียวในพื้นที่กทม.
 
เพราะทุกนโยบาย ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ พ.ร.บ.อากาศสะอาด การสมรสเท่าเทียม การสมรสเท่าเทียม สิทธิเสรีภาพในการเลือกเพศสภาพ และการแก้ปราบคอรัปชั่นที่กัดกร่อนสังคมไทยมานาน ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา การจัดดัชนีคอรัปชั่นของไทยตกต่ำลงอย่างมาก เรื่องนี้ถือเป็นเรื่องใหญ่ต้องขจัดให้พ้นจากสังคมไทย
 
เมื่อถามถึงกรณี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม ในฐานะแคนดิเดตนายกฯพรรครวมไทยสร้างชาติ ออกมาระบุการแจกเงิน ควรพุ่งเป้าไปสู่กลุ่มที่เขามีความเดือดร้อน ไม่ใช่จะหว่านไปทั่ว
 
นายเศรษฐา ตอบว่า “ถ้าคิดว่าตลอดเวลาที่ท่านอยู่มา 8 ปี ประชาชนทุกกลุ่มไม่ได้เดือดร้อนไปทุกหัวระแหง ก็ขอให้กลับไปดูหน่อย พยายามได้ยินเสียงที่ไม่อยากได้ยินบ้าง ท่านจะได้เข้าใจถ่องแท้ถึงความทุกข์ยากของพี่น้องประชาชน ซึ่งนโยบายของพรรคเพื่อไทยครอบคลุมทุกกลุ่มเพราะเรามั่นใจว่าเราคิดใหญ่ทำเป็น
 
เมื่อถามถึง กรณีผลสำรวจความคิดเห็นของหลายสำนักออกมาว่า คะแนนของพรรคก้าวไกล ตามพรรคเพื่อไทยมาแบบหายใจรดต้นคอแล้ว จะปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ที่ใช้หาเสียงหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า นโยบายเราชัดเจนอยู่แล้ว มั่นใจว่าครอบคลุมทั่วถึงและมีความหลากหลายผู้สมัครของพรรคทุกคนทุกเขต และแคนดิเดตนายกฯเราพร้อมที่จะลงพื้นที่ชี้แจงประชาชนต่อไป
 
เมื่อถามว่า นักวิชาการเสนอแนะให้พรรคเพื่อไทยประกาศจุดยืนให้ชัดเจนเหมือนพรรคก้าวไกลที่บอกไม่เอาฝ่ายตรงข้าม นายเศรษฐา กล่าวว่า ฝ่ายตรงข้ามของพรรคเพื่อไทยคือความยากจน ความไม่เท่าเทียม และความไม่เสมอภาคในสังคมไทย เพราะฉะนั้น เราจะเดินหน้าให้ได้คะแนนเสียงสูงสุดแล้วค่อยว่ากันจับมือใครไม่จับมือใคร
 
เมื่อถามอีกว่า หากพรรคเพื่อไทยได้เป็นรัฐบาล กลัวจะเกิดการทำรัฐประหารอีกหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า ช่วง 8 ปีที่ผ่านมา เป็นที่ประจักษ์แล้วว่า การรัฐประหาร ทำอะไรให้ประเทศบ้าง ซึ่งพรรคเพื่อไทยยึดหลักนิติธรรม ไม่คอร์รัปชั่น และนำเสนอโนบายเพื่อประชาชนจริงๆ
 
เมื่อถามต่อว่า หากเป็นรัฐบาลจะทำประชานิยมต่อเนื่องหรือไม่ นายเศรษฐา กล่าวว่า จะเรียกว่าอะไรก็ตาม แต่พรรคยึดโยงประชาชน หากยังเดือดร้อนเราก็จะเดินหน้าต่อ เราจะสร้างความมั่นคงทั้งด้านการเงิน และการคลัง ให้กับประชาชน และประเทศ
 
เมื่อถามว่า มีกระแสข่าวว่าในบางพื้นที่ พรรคเพื่อไทยเริ่มมีการแจกเงินซื้อเสียง นายเศรษฐา กล่าวว่า ไม่มีอยู่แล้ว
 
จากนั้น นายเศรษฐา และเดินทางไปยัง ตลาดหน้าการกีฬาแห่งประเทศไทย เพื่อช่วย นายพงศกร รัตนเรืองวัฒนา ผู้สมัคร ส.ส. เขตเลือกตั้งที่ 14 บางกะปิ หาเสียง ซึ่งได้รับการตอบรับที่ดีจากประชาชนในพื้นที่เช่นเดียวกัน



นักวิชาการ แนะ เพื่อไทย ชู นโยบาย-หาเสียง แยกให้ชัด ทำให้เกิดความต่างจาก ก้าวไกล
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7614974

นักวิชาการ แนะ เพื่อไทย ชูนโยบาย-หาเสียงให้ชัด ชี้ ก้าวไกล แยกชัด ไม่เอาฝั่งตรงข้าม ระบุ ฐานคะแนนกลุ่มเดียว ต้องทำให้เกิดความต่าง ดึงความสนใจประชาชน
 
นายพัฒนะ เรือนใจดี อาจารย์คณะนิติศาสตร์ ม.รามคำแหง กล่าวถึงผลโพลนายกรัฐมนตรี และพรรคการเมืองที่ประชาชนต้องการ ของมติชน ร่วมกับ เดลินิวส์ ว่า
  
ขอวิเคราะห์ในแง่มุมการเมือง โดยไม่ขอวิจารณ์ถึงหลักเกณฑ์ของการทำโพล จะเห็นได้ว่า คะแนนผลโพลที่สำรวจความเห็นประชาชน กว่า 8 หมื่นไอพี พบว่า ฝ่ายประชาธิปไตย ยังมีคะแนนนำอยู่ แต่สลับกันที่บุคคลที่อยากให้เป็นนายกฯ จากหลายโพลที่ผ่านๆ มา คือ น.ส.แพทองธาร ชินวัตร และนายเศรษฐา ทวีสิน กลายมาเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ เป็นอันดับหนึ่ง
 
และคะแนนที่ทิ้งกันไม่ห่าง ระหว่าง นายพิธา กับ น.ส.แพทองธาร ซึ่งเป็นคนกลุ่มเดียวกันคือ ไม่เอาเผด็จการ แม้ในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา น.ส.แพทองธาร และ พรรคเพื่อไทย มีคะแนนนำมาตลอด

ในภาพรวมถือว่า เป็นเรื่องดีกับฝ่ายประชาธิปไตย แต่ผลที่ออกมาเป็นข้อสังเกตที่ พรรคเพื่อไทย คงต้องให้ความสนใจ ต้องคิดและปรับกลยุทธ์ใหม่  เนื่องจากคะแนนที้ได้แสดงว่ามาจากเค้กก้อนเดียวกัน ที่แบ่งไปที่ก้าวไกล และพรรคเพื่อไทย อาจจะถูกตัดคะแนนตรงนี้ไป และส่งผลกระทบต่อส.ส.เขตได้
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่