JJNY : นิด้าโพลครั้ง2 "อุ๊งอิ๊ง​-พิธา"│ดุสิตโพลมอง“อุ๊งอิ๊ง”นั่งนายกฯ│พท.เล็งยื่นเอกสาร 17 เม.ย.│คาบสมุทรเกาหลีตึงเครียด

ผลสำรวจนิด้าโพลครั้ง2 "อุ๊งอิ๊ง(เพื่อไทย)​-พิธา(ก้าวไกล)​" ยังนำอันดับ1-2
https://siamrath.co.th/n/439346
 
 
ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า) เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เรื่อง “ศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2” ทำการสำรวจระหว่างวันที่ 3-7 เมษายน 2566 จากประชาชนที่มีอายุ 18 ปีขึ้นไป กระจายทุกภูมิภาค ระดับการศึกษา อาชีพ และรายได้ ทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น จำนวน 2,000 หน่วยตัวอย่าง เกี่ยวกับศึกเลือกตั้ง 2566 ครั้งที่ 2 การสำรวจอาศัยการสุ่มตัวอย่างโดยใช้ความน่าจะเป็น จากบัญชีรายชื่อฐานข้อมูลตัวอย่างหลัก (Master Sample) ของ “นิด้าโพล” สุ่มตัวอย่างด้วยวิธีแบบง่าย (Simple Random Sampling) เก็บข้อมูลด้วยวิธีการสัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ โดยกำหนดค่าความเชื่อมั่น ร้อยละ 97.0
 
   จากการสำรวจเมื่อถามถึงบุคคลที่ประชาชนจะสนับสนุนให้เป็นนายกรัฐมนตรีในการเลือกตั้งครั้งนี้ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 35.70 ระบุว่าเป็น น.ส.แพทองธาร (อุ๊งอิ๊งค์) ชินวัตร (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 2 ร้อยละ 20.25 ระบุว่าเป็น นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ (พรรคก้าวไกล)  อันดับ 3 ร้อยละ 13.60 ระบุว่าเป็น พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา (พรรครวมไทยสร้างชาติ) อันดับ 4 ร้อยละ 6.10 ระบุว่า ยังหาคนที่เหมาะสมไม่ได้ อันดับ 5 ร้อยละ 6.05 ระบุว่าเป็น นายเศรษฐา ทวีสิน (พรรคเพื่อไทย) อันดับ 6 ร้อยละ 4.15 ระบุว่าเป็น คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ (พรรคไทยสร้างไทย) อันดับ 7 ร้อยละ 3.45 ระบุว่าเป็น พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส (พรรคเสรีรวมไทย) อันดับ 8 ร้อยละ 2.55 ระบุว่าเป็น นายอนุทิน ชาญวีรกูล (พรรคภูมิใจไทย) อันดับ 9 ร้อยละ 2.20 ระบุว่าเป็น นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ (พรรคประชาธิปัตย์) อันดับ 10 ร้อยละ 1.95 ระบุว่าเป็น นายกรณ์ จาติกวณิช (พรรคชาติพัฒนากล้า) อันดับ 11 ร้อยละ 1.45 ระบุว่าเป็น นพ.ชลน่าน ศรีแก้ว (พรรคเพื่อไทย) และร้อยละ 2.55 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ (พรรคพลังประชารัฐ) นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา (พรรคประชาชาติ) นายมงคลกิตติ์  สุขสินธารานนท์ (พรรคไทยศรีวิไลย์) น.ส.กัญจนา ศิลปอาชา (พรรคชาติไทยพัฒนา) นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค (พรรครวมไทยสร้างชาติ) นพ.วรงค์ เดชกิจวิกรม (พรรคไทยภักดี) นายเทวัญ ลิปตพัลลภ (พรรคชาติพัฒนากล้า) นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (พรรคประชาธิปัตย์) นายชวน หลีกภัย (พรรคประชาธิปัตย์) และนายบุญรวี ยมจินดา (พรรครวมใจไทย)
 
   สำหรับพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบแบ่งเขต พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.20 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.20 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 10.80 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.75 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.75 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.75 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 7 ร้อยละ 2.15 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 9 ร้อยละ 2.05 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 10 ร้อยละ 1.50 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.75 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท  
 
   ส่วนพรรคการเมืองที่ประชาชนจะเลือกให้เป็น ส.ส. แบบบัญชีรายชื่อ พบว่า อันดับ 1 ร้อยละ 47.00 ระบุว่าเป็น พรรคเพื่อไทย อันดับ 2 ร้อยละ 21.85 ระบุว่าเป็น พรรคก้าวไกล อันดับ 3 ร้อยละ 11.40 ระบุว่าเป็น พรรครวมไทยสร้างชาติ อันดับ 4 ร้อยละ 4.50 ระบุว่าเป็น พรรคประชาธิปัตย์ อันดับ 5 ร้อยละ 3.00 ระบุว่าเป็น พรรคภูมิใจไทย อันดับ 6 ร้อยละ 2.65 ระบุว่าเป็น พรรคเสรีรวมไทย อันดับ 7 ร้อยละ 2.35 ระบุว่า ยังไม่ตัดสินใจ อันดับ 8 ร้อยละ 2.10 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย อันดับ 9 ร้อยละ 1.80 ระบุว่าเป็น พรรคพลังประชารัฐ อันดับ 10 ร้อยละ 1.55 ระบุว่าเป็น พรรคชาติพัฒนากล้า และร้อยละ 1.80 ระบุอื่น ๆ ได้แก่ พรรคกล้า พรรคชาติไทยพัฒนา พรรคประชาชาติ พรรคไทยภักดี พรรคไทยศรีวิไลย์ พรรคสร้างอนาคตไทย และพรรคเทิดไท
 
    เมื่อพิจารณาลักษณะทั่วไปของตัวอย่าง พบว่า ตัวอย่าง ร้อยละ 8.60 มีภูมิลำเนาอยู่กรุงเทพฯ ร้อยละ 18.55 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคกลาง ร้อยละ 17.95 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคเหนือ ร้อยละ 33.45 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ร้อยละ 13.75 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคใต้ และร้อยละ 7.70 มีภูมิลำเนาอยู่ภาคตะวันออก ตัวอย่าง ร้อยละ 48.10 เป็นเพศชาย และร้อยละ 51.90 เป็นเพศหญิง
 
  ตัวอย่าง ร้อยละ 12.90 อายุ 18-25 ปี ร้อยละ 17.80 อายุ 26-35 ปี ร้อยละ 18.95 อายุ 36-45 ปี ร้อยละ 26.65 อายุ 46-59 ปี และร้อยละ 23.70 อายุ 60 ปีขึ้นไป ตัวอย่าง ร้อยละ 95.80 นับถือศาสนาพุทธ ร้อยละ 3.20 นับถือศาสนาอิสลาม และร้อยละ 1.00 นับถือศาสนาคริสต์และศาสนาอื่น ๆ
 
     ตัวอย่าง ร้อยละ 33.60 สถานภาพโสด ร้อยละ 64.35 สมรส และร้อยละ 2.05 หม้าย หย่าร้าง แยกกันอยู่ ตัวอย่าง ร้อยละ 25.20 จบการศึกษาประถมศึกษาหรือต่ำกว่า ร้อยละ 34.80 จบการศึกษามัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 8.80 จบการศึกษาอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ร้อยละ 26.65 จบการศึกษาปริญญาตรีหรือเทียบเท่า และร้อยละ 4.55 จบการศึกษาสูงกว่าปริญญาตรีหรือเทียบเท่า
 
  ตัวอย่าง ร้อยละ 9.75 ประกอบอาชีพข้าราชการ/ลูกจ้าง/พนักงานรัฐวิสาหกิจ ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพพนักงานเอกชน ร้อยละ 21.25 ประกอบอาชีพเจ้าของธุรกิจส่วนตัว/อาชีพอิสระ ร้อยละ 12.95 ประกอบอาชีพเกษตรกร/ประมง ร้อยละ 15.45 ประกอบอาชีพรับจ้างทั่วไป/ผู้ใช้แรงงาน ร้อยละ 18.90 เป็นพ่อบ้าน/แม่บ้าน/เกษียณอายุ/ว่างงาน และร้อยละ 6.25 เป็นนักเรียน/นักศึกษา
 
   ตัวอย่าง ร้อยละ 22.05 ไม่มีรายได้ ร้อยละ 20.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือนไม่เกิน 10,000 บาท ร้อยละ 27.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 10,001-20,000 บาท ร้อยละ 9.75 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 20,001-30,000 บาท ร้อยละ 4.60 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 30,001-40,000 บาท ร้อยละ 4.65 รายได้เฉลี่ยต่อเดือน 40,001 บาทขึ้นไป และร้อยละ 10.70 ไม่ระบุรายได้
 


ดุสิตโพลมอง “อุ๊งอิ๊ง” นั่งนายกฯแก้ ศก.-สังคม -พัฒนาประเทศ
https://www.innnews.co.th/news/politics/news_534179/

สวนดุสิตโพลมอง”อุ๊งอิ๊ง” นายกฯแก้ ศก.-สังคม -พัฒนาประเทศ ขณะ “บิ๊กตู่” ประสานงานทหาร-จรรโลศาสนา ขณะ”ประวิตร” แก้ขัดแย้ง
  
“สวนดุสิตโพล” มหาวิทยาลัยสวนดุสิต สำรวจความคิดเห็นของประชาชนทั่วประเทศ กรณี “นายกรัฐมนตรีคนใหม่” ในสายตาประชาชน จำนวนทั้งสิ้น 1,274 คน ระหว่างวันที่ 11-14 เมษายน 2566 พบว่า เมื่อพิจารณาตามประเด็นต่าง ๆ คนที่เหมาะสมจะเป็นนายกรัฐมนตรีในความเห็นของประชาชน คือ
   
1.ช่วยแก้ปัญหาเศรษฐกิจ ร้อยละ 25.35 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร รองลงมาร้อยละ 19.06 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 12.91 ระบุ เศรษฐา ทวีสิน

2.ช่วยสร้างสังคมให้มีความสุข ร้อยละ 22.29 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร รองลงมาร้อยละ 19.68 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 13.91 ระบุ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
 
3.ช่วยปราบปรามยาเสพติด ร้อยละ 34.90 ระบุ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส รองลงมาร้อยละ 15.02 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 13.28 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร
 
4.ช่วยการแก้ปัญหาทุจริตคอรัปชั่น ร้อยละ 20.91 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รองลงมาร้อยละ 20.43 ระบุ พลตำรวจเอกเสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 14.84 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
5.ช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิต สวัสดิการประชาชน ร้อยละ 25.36 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร รองลงมาร้อยละ 23.37 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 12.88 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
6.ช่วยส่งเสริมพัฒนาด้านการศึกษา ร้อยละ 22.24 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ รองลงมาร้อยละ 14.14 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 13.74 ระบุ คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์
 
7.ช่วยแก้ปัญหาความขัดแย้ง ร้อยละ 19.42 ระบุ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองลงมาร้อยละ 17.74 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 10.59 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา
 
8.ช่วยประสานงานจัดตั้งรัฐบาลได้ราบรื่น ร้อยละ 19.24 ระบุ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ รองลงมาร้อยละ 18.21 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 11.80 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร
 
9.ประสานระหว่างประชาชนกับทหาร ร้อยละ 20.19 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาร้อยละ 17.64 ระบุ พลเอกประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 15.32 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร
 
10.ช่วยจรรโลงศาสนา ร้อยละ 16.24 ระบุ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา รองลงมาร้อยละ 16.16 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 14.15 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์
 
11.ช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า เพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันกับอารยประเทศ ร้อยละ 24.38 ระบุ แพทองธาร ชินวัตร รองลงมาร้อยละ 21.20 ระบุ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 12.19 ระบุ เศรษฐา ทวีสิน


 
พท. เล็งยื่นเอกสารเงินแจก 1 หมื่น ให้ กกต. 17 เม.ย. ก่อนเดดไลน์
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3928782
 
พท. เล็งยื่นเอกสารเงินแจก 1 หมื่น ให้ กกต. 17 เม.ย. ก่อนเดดไลน์
 
เมื่อวันที่ 15 เมษายน นายชูศักดิ์ ศิรินิล รองหัวหน้าพรรค และประธานคณะทำงานด้านกฎหมายพรรคเพื่อไทย (พท.) กล่าวถึงกรณีคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ขอให้ชี้แจงนโยบายเกี่ยวกับการใช้งบประมาณ ที่ยังขาดเรื่องข้อมูลการแจ้งที่มาของเงินและวงเงินที่จะใช้ ว่า ทางพรรคจะยื่นเอกสารและข้อมูลต่อ กกต.วันที่ 17 เมษายน เนื่องจากทาง กกต. ระบุไว้ว่า ต้องยื่นภายในวันที่ 18 เมษายน

ขณะนี้ได้จัดเตรียมเอกสารไว้เรียบร้อยแล้ว กำลังตรวจดูเพื่อให้เกิดความรอบคอบ เข้าใจว่ายื่นเอกสารชี้แจงทันภายในเวลาที่กำหนดไว้แน่นอน เนื่องจากได้จัดเตรียมไว้หมดแล้ว ทางพรรคยังไม่ได้เลือกว่าใครจะเป็นผู้เข้าไปยื่นเอกสารส่งให้กับทาง กกต. ซึ่งไม่ได้เลือกใครเป็นเฉพาะเจาะจง เนื่องจากเป็นเรื่องของธุรการ
 
นายไพบูลย์ นิติตะวัน รองหัวหน้าพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) ให้สัมภาษณ์ว่า เตรียมข้อมูลไว้หมดไว้แล้วทุกนโยบายที่มีการโฆษณาหาเสียงเลือกตั้งและมีส่วนเกี่ยวข้องกับการใช้งบประมาณ ไม่ว่าจะบัตรบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เพิ่มสวัสดิการผู้สูงอายุ นโยบายด้านพลังงาน เป็นต้น ทางพรรคจะยื่นเอกสารและข้อมูลทั้งหมดในวันที่ 18 เมษายน มั่นใจว่าไม่มีปัญหาอะไรทุกอย่างเรียบร้อยดี
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่