Myrmecophyte คือกลุ่มพืชหนึ่ง ที่แปลตรงตัวก็คือ พืชมด
พืชมด พบได้เป็นหลักที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็มีบ้างที่ เอเชียใต้ รวมถึง ออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง
พืชมด เป็น Epiphyte หรือก็คือพืชที่เติบโตบนต้นไม้อื่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้ไม่ใช่ พืชกาฝาก (Parasitic plant) นะครับ
พืชกาฝาก คือพืชที่ชอนไชรากเข้าไปในเปลือกไม้ของต้นไม้ใหญ่ เพื่อชะลอการเติบโตของต้นไม้ใหญ่ เป็นประโยชน์ต่อพืชชั้นพื้นดิน เพื่อจะได้โอกาสเข้าถึงแสงแดดมากขึ้น
แต่ Epiphyte หรือที่รู้จักกันว่าเป็น พืชอากาศ (Air plant) นั้น ไม่ได้ทำร้ายต้นไม้ใหญ่แต่อย่างใด
มันเพียงใช้ต้นไม้ใหญ่เป็นซัพพอร์ตเท่านั้น แล้วหาน้ำจากฝนหรือแหล่งน้ำใกล้เคียง
Epiphyte จึงพบได้ตามระบบนิเวศ ป่าดิบชื้น ป่าโกงกาง และ Paperbark forest (หาชื่อไทยไม่เจอครับแต่มีรูปแนบ)
ส่วนอาหาร ก็หาเอาจากสภาพแวดล้อมด้วยหลากหลายวิธี
ตัวอย่างของ Epiphyte เช่น กล้วยไม้ สับปะรดสี เฟิร์น มอส หม้อข้าวหม้อแกงลิง
ส่วนใหญ่แล้ว Epiphyte ก็พึ่งพาเจ้ามดนี่แหละครับในการหาอาหารมาให้ แบบได้ประโยชน์ร่วมกัน และเราเรียกกลุ่มที่พึ่งพามดนี้ว่า พืชมด (Myrmecophyte)
แต่มีพืชมด รูปแบบหนึ่งที่พิเศษกว่าใครเพื่อน เพราะมีการออกแบบตัวมันเองให้เป็นเขาวงกตเลยทีเดียว เพื่อเป็นรังมดกึ่งสำเร็จรูปให้มด
โดยพืชจะให้ที่อยู่และที่หลบภัยแก่มด ส่วนมดก็มอบขยะ ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสารอาหารชั้นเลิศสำหรับพืช
แต่มีอยู่สปีชี่ส์หนึ่ง ที่พิเศษและน่าสนใจกว่าใครเพื่อน
แถมยังเป็นต้นแบบของการทำอนุกรมวิธาน พืชมด (
Myrmecophyte) เลยทีเดียว
และมันคือ
Myrmecodia beccarii เป็นที่รู้จักในนาม ต้นไม้รังมด (Ant-house plant)
ก็คือถ้าพูดถึง ต้นรังมด ก็จะนึกถึงไอนี่เลยครับ
ส่วนต้นอื่น เค้าจะเรียกแบบอื่นแม้จะมีรังมดอยู่
ต้นไม้รังมดเติบโตบนต้น Paperbark
และมักเป็นสายพันธุ์ Broad-leaf paperbark (
Melaleuca viridiflora)
ภายในตุ่มกระเปาะ (Bulbous chamber) ของต้นไม้นี้ก็คือเครือข่ายรังมดของ มดทอง (Golden ant,
Philidris cordata)
ในกระเปาะจะมีโพรงแบบเรียบกับแบบขรุขระ
มดจะอยู่ในแบบเรียบ ส่วนแบบขรุขระจะมีอวัยวะสำหรับดูดซึม ซึ่งมดจะขนขยะ (มูล เศษซากแมลงที่มันล่า ศพมด) ไปไว้ในนั้น
ความน่าประหลาดใจยังไม่จบเพียงเท่านี้
เพราะนี่คือ ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกันที่เกิดขึ้นโดย 3 สายพันธุ์เลยทีเดียว
อีกหนึ่งสายพันธุ์คือ ผีเสื้ออัญมณีอพอลโล่ (Apollo jewel butterfly,
Hypochrysops apollo apollo)
หลังจากผีเสื้อวางไข่ มดจะเอาไข่ไปไว้ในเขาวงกตเพื่อให้ปลอดภัย
เมื่อไข่ฟักออกมา หนอนผีเสื้อจะกินใบของต้นรังมด และคอยขับน้ำหวานออกมาทางก้นให้มดเป็นการตอบแทน
เป็นความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกันที่มีคู่ ต้นไม้-มด กับ มด-ผีเสื้อ
CREDIT
https://capeyorknrm.com.au/knowledge-hub/biodiversity/ant-plant
https://www.wettropics.gov.au/rainforest_explorer/Resources/Documents/factsheets/AntPlants.pdf
https://www.nimmaplants.com/antplants
https://www.dcceew.gov.au/environment/biodiversity/threatened/species/30-plants-by-2020/ant-plant
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Myrmecophyte
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Myrmecodia_beccarii
https://boic.org.au/brisbane/wp-content/uploads/2022/02/The-intriguing-Hypochrysops-apollo-John-Moss.pdf
สิ่งมีชีวิตสุดแปลกและน่าทึ่ง EP. 2 - ต้นไม้ที่สร้างตัวเองเป็น เขาวงกต ให้มดใช้ทำรัง
Myrmecophyte คือกลุ่มพืชหนึ่ง ที่แปลตรงตัวก็คือ พืชมด
พืชมด พบได้เป็นหลักที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่ก็มีบ้างที่ เอเชียใต้ รวมถึง ออสเตรเลียและบริเวณใกล้เคียง
พืชมด เป็น Epiphyte หรือก็คือพืชที่เติบโตบนต้นไม้อื่น
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
แต่มีพืชมด รูปแบบหนึ่งที่พิเศษกว่าใครเพื่อน เพราะมีการออกแบบตัวมันเองให้เป็นเขาวงกตเลยทีเดียว เพื่อเป็นรังมดกึ่งสำเร็จรูปให้มด
โดยพืชจะให้ที่อยู่และที่หลบภัยแก่มด ส่วนมดก็มอบขยะ ซึ่งเป็นแหล่งอุดมสารอาหารชั้นเลิศสำหรับพืช
แต่มีอยู่สปีชี่ส์หนึ่ง ที่พิเศษและน่าสนใจกว่าใครเพื่อน
แถมยังเป็นต้นแบบของการทำอนุกรมวิธาน พืชมด (Myrmecophyte) เลยทีเดียว
และมันคือ Myrmecodia beccarii เป็นที่รู้จักในนาม ต้นไม้รังมด (Ant-house plant)
ก็คือถ้าพูดถึง ต้นรังมด ก็จะนึกถึงไอนี่เลยครับ
ส่วนต้นอื่น เค้าจะเรียกแบบอื่นแม้จะมีรังมดอยู่
ต้นไม้รังมดเติบโตบนต้น Paperbark
และมักเป็นสายพันธุ์ Broad-leaf paperbark (Melaleuca viridiflora)
ภายในตุ่มกระเปาะ (Bulbous chamber) ของต้นไม้นี้ก็คือเครือข่ายรังมดของ มดทอง (Golden ant, Philidris cordata)
ในกระเปาะจะมีโพรงแบบเรียบกับแบบขรุขระ
มดจะอยู่ในแบบเรียบ ส่วนแบบขรุขระจะมีอวัยวะสำหรับดูดซึม ซึ่งมดจะขนขยะ (มูล เศษซากแมลงที่มันล่า ศพมด) ไปไว้ในนั้น
ความน่าประหลาดใจยังไม่จบเพียงเท่านี้
เพราะนี่คือ ความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกันที่เกิดขึ้นโดย 3 สายพันธุ์เลยทีเดียว
อีกหนึ่งสายพันธุ์คือ ผีเสื้ออัญมณีอพอลโล่ (Apollo jewel butterfly, Hypochrysops apollo apollo)
หลังจากผีเสื้อวางไข่ มดจะเอาไข่ไปไว้ในเขาวงกตเพื่อให้ปลอดภัย
เมื่อไข่ฟักออกมา หนอนผีเสื้อจะกินใบของต้นรังมด และคอยขับน้ำหวานออกมาทางก้นให้มดเป็นการตอบแทน
เป็นความสัมพันธ์แบบได้ประโยชน์ร่วมกันที่มีคู่ ต้นไม้-มด กับ มด-ผีเสื้อ
CREDIT
https://capeyorknrm.com.au/knowledge-hub/biodiversity/ant-plant
https://www.wettropics.gov.au/rainforest_explorer/Resources/Documents/factsheets/AntPlants.pdf
https://www.nimmaplants.com/antplants
https://www.dcceew.gov.au/environment/biodiversity/threatened/species/30-plants-by-2020/ant-plant
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Myrmecophyte
https://en.m.wikipedia.org/wiki/Myrmecodia_beccarii
https://boic.org.au/brisbane/wp-content/uploads/2022/02/The-intriguing-Hypochrysops-apollo-John-Moss.pdf