.
.
ภาพในกระทู้นี้เป็นของ Christian Ziegler
(ยกเว้นบางภาพที่ค้นหาจาก Google.com)
.
.
Christian Ziegler นักชีววิทยาเขตร้อน
เกิดความสนใจเป็นช่างภาพ
จึงได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเขตป่าฝนของโลก
สถานที่พิเศษยิ่งที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่อยู่อย่างสวยงามและสลับซับซ้อน
พร้อมแบ่งปันเรื่องราวกับภาพถ่าย
ที่ได้เดินทางสำรวจในบอร์เนียว Borneo
ได้พบเห็นเรื่องราวความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ระหว่างต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
กับบรรดาสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบ ๆ ต้นไม้นี้
พวกเราส่วนมากแทบไม่สนใจในเรื่องพืชเลย
เพราะเมื่อให้ลองสังเกตธรรมชาติแล้ว
คนเราส่วนมากมักจะสนใจพวกสัตว์มากกว่า
แม้ว่าอาณาจักรพืชจะยังมีอีกมากมาย
วิธีการแสดงออกของพืชบางชนิด
มีพฤติกรรมที่นอกเหนือไปจากที่คนเราจะคาดคิดได้
.
.
.
Nepenthes biclacarata (หม้อข้าวหม้อแกงลิง) ในสภาพธรรมชาติ
ที่ป่าพรุ Dipterocrap ในเขตพื้นที่ราบลุ่มของ Broneo
.
.
ผมมีความสนใจเกี่ยวกับพืชกินแมลงในรูปเหยือกของเอเซีย
(ในกระทู้บางคำจะใช้คำว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่เรียกกันคุ้นเคยแล้วในภาษาไทย)
ในปี 2013 ผมใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์
ใน Borneo เพื่อสำรวจเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงในเอเซีย
มีมากกว่า 240 สายพันธุ์ ในสกุล Nepenthes
เป็นสายพันธุ์ห่างไกลกับพืชกินแมลงใบรูปเหยือก
sun dews และ Venus fly traps ในอเมริกาเหนือ
ต้นไม้เหล่านี้ต่างสวยงามและมีรูปร่างเหมือนเหยือกน้ำ
ข้างในมีของเหลวที่เป็นกลเม็ดเด็ดพลายของต้นไม้ชนิดนี้
บางต้นเล็กขนาดปลอกสวมนิ้วสำหรับจับเข็มเย็บผ้า
และบางต้นที่มีขนาดใหญ่มากจนจุน้ำได้
มากกว่า 1/2 แกลลอน (1 US Gallon = 3.785 ลิตร)
.
.
.
.
.
กบน้อยกำลังไต่ลงไปในกระเปาะ
ของ Nepenthes tentaculata เพื่อวางไข่ข้างใน
กบบางชนิดพัฒนาให้ไข่กบ/ลูกอ้อด
มีภูมิคุ้มกันทนต่อของเหลวในกระเปาะ
ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้
กบ/พืชชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างหายาก
ไม่ค่อยพบเห็นตามแนวลาดชันของพื้นที่ภูเขา
.
.
บอร์เนียว Borneo คือ ศูนย์กลางพืชกินแมลง
ใบรูปเหยือกที่หลากหลายสายพันธุ์
ผมเดินทางเข้าไปในป่าพรุของบอร์เนียว Borneo
พื้นที่ป่าราบลุ่มผืนป่าสุดท้าย
ที่ยังไม่ถูกหักล้างถางพงให้กลายเป็นสวนปาล์มน้ำมัน
และผมยังเดินทางไปยัง Mount Kinabalu
ภูเขาที่สูงสุดในเอเซียอาคเนย์
ที่มีความสูงถึง 13,435 ฟุต(4,095 เมตร)
และยังเป็นที่อยู่ของพืชกินแมลงใบรูปเหยือก
จำนวน 25 สายพันธุ์ และบางสายพันธุ์
ที่มีอยู่เฉพาะถิ่นในภูเขาแห่งนี้
การสำรวจของผมได้รับแรงบันดาลใจ
จากผลงานวิจัยล่าสุดที่ตั้งข้อสังเกตว่า
พืชกินแมลงใบรูปเหยือก
มีวิธีการหาอาหารแบบพิเศษเฉพาะจำนวนมาก
พืชกินแมลงได้มีพัฒนาการอย่างหลากหลาย
ในเขตพื้นที่ที่ต้องพึ่งพาตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่
ที่ขาดแคลนธาตุอาหารมาก
(ดินไม่ดี/ไร้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืช)
วิธีการที่พืชจะได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติม
จีงมีการพัฒนาการจนถึงล่าสุด
กระเปาะทั้งหมดที่คิดว่า จับแมลงกิน
กลับไม่ใช่สำหรับทุกสายพันธุ์ทั้งหมดแล้ว
บางสายพันธุ์ที่เป็นอีกกรณีหนึ่ง
มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ
สายพันธุ์ใหม่ในรูปแบบที่ไม่คาดคิด
เพราะกระเปาะของพืชอยู่รอดได้
ด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับสัตว์รอบข้าง
.
.
.
มุมมองด้านข้างภายในกระเปาะ
พืชสายพันธุ์ราชา สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์
จะพบลูกน้ำ/ตัวอ่อนยุงที่พัฒนาการเป็นพิเศษ
ทนกับเอนไซม์ย่อยอาหารของพืชชนิดนี้
สายพันธุ์สกุลราชามีกระเปาะที่ใหญ่ที่สุด
ทำให้สามารถจุน้ำได้ถึง 3 ลิตร
เรื่องที่น่าแปลกใจเรื่องแรกที่พบในป่าพรุแห่งนี้คือ
เขตร้อนชื้นของป่าในบรูไน
มีสายพันธุ์ที่กลายเป็นพืชกินเจ (ไม่กินแมลง/สัตว์)
เพราะเมื่อมีการผ่าเปิดออกมาให้เห็นด้านใน
จะพบว่ากระเปาะข้างในที่ใช้เอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร
มีการแบ่งแยกประเภทพืช
หรือสัตว์บางประเภทออกจากกัน
หนึ่งในสายพันธุ์ที่พบเมื่อเร็ว ๆ นี้
คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
ค้างคาวขนาดเล็ก จะใช้กระเปาะพืช
เป็นที่หลับนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน
ค้างคาวจะอุจจาระและปัสสาวะ
ลงในกระเปาะพืชเพื่อให้สารอาหารกับพืช
.
.
.
มดกำลังไต่ออกมาจาก
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง Nepenthes biclacarata
มดช่างไม้ Camponotes schmitzi
มีความสัมพันธ์ที่พึ่งพาซึ่งกันและกันกับพืช
โดยพืชเป็นรัง/บ้านพักฝูงมดข้างใน
ที่ใช้กิ่งก้านต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากกว่า 30 กิ่ง
ฝูงมดจะให้สารอาหารกับพืช
ด้วยแมลงขนาดใหญ่ที่หากินได้
โดยการลากเหยื่อเข้ามาข้างในพืช
ให้ศพเหยื่อเน่าเปื่อยกลายเป็นสารอาหารกับพืช
.
.
ฝูงมดที่ยู่ภายในกิ่งก้านของพืช
ภาพตัดขวางจะพบเห็นฝูงมดภายใน
.
.
ที่ผืนที่ป่าแห่งนี้
เราสามารถหาพันธุ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่มีเหล่าบรรดาลูกเรือ(ฝูงมดงาน)
ทำความสะอาดภายในกระเปาะของพืช
ฝูงมดที่ทนทานต่อของน้ำย่อย
อาหารพืชที่อยู่ด้านในก้านกลวงของพืช
ในสภาพที่จริงแล้ว
มดสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้
โดยไม่จมลงในของเหลวภายในพืช
หรือตายเหมือนแมลงชนิดอื่นแต่อย่างใด
ทั้งยังทำหน้าที่ลากแมลงที่มีจำนวนมาก
จนมากเกินไปที่ตายภายในกระเปาะ
ออกมาจากกระเปาะก่อนที่จะรบกวนฝูงมด
หรือทำให้กระบวนการย่อยอาหารของพืชมีปัญหา
.
.
.
กระแตกำลังเลียน้ำหวานภายใน
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงราชา Nepenthes rajah
ที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน
กับ กระแต Tupaia montana
กับหนูที่หากินกลางคืนบางชนิด
โดยพืชจะมีน้ำหวานอยู่ภายในกระเปาะ
ให้สัตว์เหล่านี้ได้เลียกินในเวลากลางวัน
ในขณะที่สัตว์เหล่านี้เลียกินน้ำหวาน
พวกมันมักจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงที่พื้นดิน
กลายเป็นแหล่งธาตุอาหาร
ประเภทฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
ในการปีนเขา Mount Kinabalu
ผมได้ผ่านพื้นที่ป่าที่แตกต่างกัน
ผมได้พบต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลากหลายสายพันธุ์
ตั้งแต่สายพันธุ์ที่เป็นสถานที่หลบภัย
ที่วางไข่ของหอยทากหรือกบบางสายพันธุ์
ผมใช้เวลาในช่วงสัปดาห์สุดท้าย
ในการเดินทางด้วยการถ่ายภาพ
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสายพันธุ์ราชา Rajah’s pitcher
ที่มีความใกล้ชิดพึ่งพาซึ่งกันและกันกับกระแตภูเขา
กระเปาะของหม้อข้างหม้อแกงลิงราชา
ข้างใต้ฝาขนาดใหญ่ของกระเปาะ
ที่มีต่อมน้ำหวานอยู่ภายใน
เมื่อกระแตภูเขาเลียกินน้ำหวาน
อุจจาระ/ปัสสาวะของมัน
จะเป็นสารอาหารที่บำรุงสำหรับพืช
.
.
.
.
ผมจาก Borneo ด้วยความประทับใจ
ในความเยี่ยมยอดพฤติกรรมของ
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ผมได้พบเห็น
เป็นเรื่องราวที่ผมประหลาดใจอย่างมาก
ที่ได้สำรวจและค้นพบในอาณาจักรพืช
.
.
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/iQRZfC
http://goo.gl/XCPPZF
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://goo.gl/AMqxgv
http://goo.gl/UkQbNz
http://goo.gl/XzVMa1
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงในบอร์เนียว
.
ภาพในกระทู้นี้เป็นของ Christian Ziegler
(ยกเว้นบางภาพที่ค้นหาจาก Google.com)
.
Christian Ziegler นักชีววิทยาเขตร้อน
เกิดความสนใจเป็นช่างภาพ
จึงได้ใช้เวลาส่วนใหญ่ในเขตป่าฝนของโลก
สถานที่พิเศษยิ่งที่สร้างความตื่นเต้นเร้าใจ
ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่อยู่อย่างสวยงามและสลับซับซ้อน
พร้อมแบ่งปันเรื่องราวกับภาพถ่าย
ที่ได้เดินทางสำรวจในบอร์เนียว Borneo
ได้พบเห็นเรื่องราวความสัมพันธ์ที่น่าสนใจอย่างยิ่ง
ระหว่างต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
กับบรรดาสิ่งมีชีวิตที่อยู่รอบ ๆ ต้นไม้นี้
พวกเราส่วนมากแทบไม่สนใจในเรื่องพืชเลย
เพราะเมื่อให้ลองสังเกตธรรมชาติแล้ว
คนเราส่วนมากมักจะสนใจพวกสัตว์มากกว่า
แม้ว่าอาณาจักรพืชจะยังมีอีกมากมาย
วิธีการแสดงออกของพืชบางชนิด
มีพฤติกรรมที่นอกเหนือไปจากที่คนเราจะคาดคิดได้
.
.
Nepenthes biclacarata (หม้อข้าวหม้อแกงลิง) ในสภาพธรรมชาติ
ที่ป่าพรุ Dipterocrap ในเขตพื้นที่ราบลุ่มของ Broneo
.
ผมมีความสนใจเกี่ยวกับพืชกินแมลงในรูปเหยือกของเอเซีย
(ในกระทู้บางคำจะใช้คำว่า ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่เรียกกันคุ้นเคยแล้วในภาษาไทย)
ในปี 2013 ผมใช้เวลาถึง 6 สัปดาห์
ใน Borneo เพื่อสำรวจเรื่องนี้ให้มากขึ้น
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงในเอเซีย
มีมากกว่า 240 สายพันธุ์ ในสกุล Nepenthes
เป็นสายพันธุ์ห่างไกลกับพืชกินแมลงใบรูปเหยือก
sun dews และ Venus fly traps ในอเมริกาเหนือ
ต้นไม้เหล่านี้ต่างสวยงามและมีรูปร่างเหมือนเหยือกน้ำ
ข้างในมีของเหลวที่เป็นกลเม็ดเด็ดพลายของต้นไม้ชนิดนี้
บางต้นเล็กขนาดปลอกสวมนิ้วสำหรับจับเข็มเย็บผ้า
และบางต้นที่มีขนาดใหญ่มากจนจุน้ำได้
มากกว่า 1/2 แกลลอน (1 US Gallon = 3.785 ลิตร)
.
.
.
.
กบน้อยกำลังไต่ลงไปในกระเปาะ
ของ Nepenthes tentaculata เพื่อวางไข่ข้างใน
กบบางชนิดพัฒนาให้ไข่กบ/ลูกอ้อด
มีภูมิคุ้มกันทนต่อของเหลวในกระเปาะ
ของต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงได้
กบ/พืชชนิดนี้เป็นสายพันธุ์ที่ค่อนข้างหายาก
ไม่ค่อยพบเห็นตามแนวลาดชันของพื้นที่ภูเขา
.
บอร์เนียว Borneo คือ ศูนย์กลางพืชกินแมลง
ใบรูปเหยือกที่หลากหลายสายพันธุ์
ผมเดินทางเข้าไปในป่าพรุของบอร์เนียว Borneo
พื้นที่ป่าราบลุ่มผืนป่าสุดท้าย
ที่ยังไม่ถูกหักล้างถางพงให้กลายเป็นสวนปาล์มน้ำมัน
และผมยังเดินทางไปยัง Mount Kinabalu
ภูเขาที่สูงสุดในเอเซียอาคเนย์
ที่มีความสูงถึง 13,435 ฟุต(4,095 เมตร)
และยังเป็นที่อยู่ของพืชกินแมลงใบรูปเหยือก
จำนวน 25 สายพันธุ์ และบางสายพันธุ์
ที่มีอยู่เฉพาะถิ่นในภูเขาแห่งนี้
การสำรวจของผมได้รับแรงบันดาลใจ
จากผลงานวิจัยล่าสุดที่ตั้งข้อสังเกตว่า
พืชกินแมลงใบรูปเหยือก
มีวิธีการหาอาหารแบบพิเศษเฉพาะจำนวนมาก
พืชกินแมลงได้มีพัฒนาการอย่างหลากหลาย
ในเขตพื้นที่ที่ต้องพึ่งพาตนเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่
ที่ขาดแคลนธาตุอาหารมาก
(ดินไม่ดี/ไร้ปุ๋ยหรือธาตุอาหารพืช)
วิธีการที่พืชจะได้รับธาตุอาหารเพิ่มเติม
จีงมีการพัฒนาการจนถึงล่าสุด
กระเปาะทั้งหมดที่คิดว่า จับแมลงกิน
กลับไม่ใช่สำหรับทุกสายพันธุ์ทั้งหมดแล้ว
บางสายพันธุ์ที่เป็นอีกกรณีหนึ่ง
มีความสลับซับซ้อนมากขึ้น
นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบ
สายพันธุ์ใหม่ในรูปแบบที่ไม่คาดคิด
เพราะกระเปาะของพืชอยู่รอดได้
ด้วยการพึ่งพาซึ่งกันและกันกับสัตว์รอบข้าง
.
.
มุมมองด้านข้างภายในกระเปาะ
พืชสายพันธุ์ราชา สายพันธุ์ที่ใกล้สูญพันธุ์
จะพบลูกน้ำ/ตัวอ่อนยุงที่พัฒนาการเป็นพิเศษ
ทนกับเอนไซม์ย่อยอาหารของพืชชนิดนี้
สายพันธุ์สกุลราชามีกระเปาะที่ใหญ่ที่สุด
ทำให้สามารถจุน้ำได้ถึง 3 ลิตร
เรื่องที่น่าแปลกใจเรื่องแรกที่พบในป่าพรุแห่งนี้คือ
เขตร้อนชื้นของป่าในบรูไน
มีสายพันธุ์ที่กลายเป็นพืชกินเจ (ไม่กินแมลง/สัตว์)
เพราะเมื่อมีการผ่าเปิดออกมาให้เห็นด้านใน
จะพบว่ากระเปาะข้างในที่ใช้เอนไซม์ช่วยย่อยอาหาร
มีการแบ่งแยกประเภทพืช
หรือสัตว์บางประเภทออกจากกัน
หนึ่งในสายพันธุ์ที่พบเมื่อเร็ว ๆ นี้
คือ การอยู่ร่วมกันและพึ่งพาซึ่งกันและกัน
ค้างคาวขนาดเล็ก จะใช้กระเปาะพืช
เป็นที่หลับนอนพักผ่อนในเวลากลางวัน
ค้างคาวจะอุจจาระและปัสสาวะ
ลงในกระเปาะพืชเพื่อให้สารอาหารกับพืช
.
.
มดกำลังไต่ออกมาจาก
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง Nepenthes biclacarata
มดช่างไม้ Camponotes schmitzi
มีความสัมพันธ์ที่พึ่งพาซึ่งกันและกันกับพืช
โดยพืชเป็นรัง/บ้านพักฝูงมดข้างใน
ที่ใช้กิ่งก้านต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงมากกว่า 30 กิ่ง
ฝูงมดจะให้สารอาหารกับพืช
ด้วยแมลงขนาดใหญ่ที่หากินได้
โดยการลากเหยื่อเข้ามาข้างในพืช
ให้ศพเหยื่อเน่าเปื่อยกลายเป็นสารอาหารกับพืช
.
.
ฝูงมดที่ยู่ภายในกิ่งก้านของพืช
ภาพตัดขวางจะพบเห็นฝูงมดภายใน
.
ที่ผืนที่ป่าแห่งนี้
เราสามารถหาพันธุ์ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่มีเหล่าบรรดาลูกเรือ(ฝูงมดงาน)
ทำความสะอาดภายในกระเปาะของพืช
ฝูงมดที่ทนทานต่อของน้ำย่อย
อาหารพืชที่อยู่ด้านในก้านกลวงของพืช
ในสภาพที่จริงแล้ว
มดสามารถว่ายน้ำและดำน้ำได้
โดยไม่จมลงในของเหลวภายในพืช
หรือตายเหมือนแมลงชนิดอื่นแต่อย่างใด
ทั้งยังทำหน้าที่ลากแมลงที่มีจำนวนมาก
จนมากเกินไปที่ตายภายในกระเปาะ
ออกมาจากกระเปาะก่อนที่จะรบกวนฝูงมด
หรือทำให้กระบวนการย่อยอาหารของพืชมีปัญหา
.
.
กระแตกำลังเลียน้ำหวานภายใน
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงราชา Nepenthes rajah
ที่มีความสัมพันธ์แบบพึ่งพาซึ่งกันและกัน
กับ กระแต Tupaia montana
กับหนูที่หากินกลางคืนบางชนิด
โดยพืชจะมีน้ำหวานอยู่ภายในกระเปาะ
ให้สัตว์เหล่านี้ได้เลียกินในเวลากลางวัน
ในขณะที่สัตว์เหล่านี้เลียกินน้ำหวาน
พวกมันมักจะถ่ายอุจจาระหรือปัสสาวะลงที่พื้นดิน
กลายเป็นแหล่งธาตุอาหาร
ประเภทฟอสฟอรัสและไนโตรเจน
ในการปีนเขา Mount Kinabalu
ผมได้ผ่านพื้นที่ป่าที่แตกต่างกัน
ผมได้พบต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงหลากหลายสายพันธุ์
ตั้งแต่สายพันธุ์ที่เป็นสถานที่หลบภัย
ที่วางไข่ของหอยทากหรือกบบางสายพันธุ์
ผมใช้เวลาในช่วงสัปดาห์สุดท้าย
ในการเดินทางด้วยการถ่ายภาพ
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิง
ที่มีขนาดใหญ่ที่สุดสายพันธุ์ราชา Rajah’s pitcher
ที่มีความใกล้ชิดพึ่งพาซึ่งกันและกันกับกระแตภูเขา
กระเปาะของหม้อข้างหม้อแกงลิงราชา
ข้างใต้ฝาขนาดใหญ่ของกระเปาะ
ที่มีต่อมน้ำหวานอยู่ภายใน
เมื่อกระแตภูเขาเลียกินน้ำหวาน
อุจจาระ/ปัสสาวะของมัน
จะเป็นสารอาหารที่บำรุงสำหรับพืช
.
.
ผมจาก Borneo ด้วยความประทับใจ
ในความเยี่ยมยอดพฤติกรรมของ
ต้นหม้อข้าวหม้อแกงลิงที่ผมได้พบเห็น
เป็นเรื่องราวที่ผมประหลาดใจอย่างมาก
ที่ได้สำรวจและค้นพบในอาณาจักรพืช
.
.
เรียบเรียง/ที่มา
http://goo.gl/iQRZfC
http://goo.gl/XCPPZF
.
ข้อมูลเพิ่มเติม
http://goo.gl/AMqxgv
http://goo.gl/UkQbNz
http://goo.gl/XzVMa1