วิวัฒนาการของมดเป็นเวลาล้านปีล่วงมานั้น มดได้พัฒนาความสัมพันธ์และเอื้อประโยชน์ต่อพืชหลายชนิดในหลายประการ แม้โดยทั่วไปมักจะพบว่า มดได้รับผลประโยชน์จากพืชโดยใช้ส่วนต่างๆ ของพืชทั้งที่ยังสดหรือแห้ง เช่น ส่วนต่างๆ ของพืช หรือโพรงในต้นหรือกิ่งที่มีเศษดินและฝุ่นสะสมอยู่เป็นที่ทำรัง หรือแม้ใต้พื้นดินมดจะใช้รากพืชที่แห้งตายเป็นช่องทางเดินอาหาร ซึ่งเป็นความสัมพันธ์ที่มดได้ประโยชน์ฝ่ายเดียว โดยไม่ทำประโยชน์หรือโทษให้กับพืชนั้นๆ จากการสำรวจในบริเวณที่ราบลุ่มเปรู-อเมซอน ( Peru s Amazon) ปรากฏว่ามีมด 72 ชนิด อาศัยอยู่กับต้นไม้เพียงต้นเดียว
พืชที่มีความสัมพันธ์กับมดเรียกว่า พืชมด (ant plant) ซึ่งมีตัวอย่างของการพัฒนาร่วมกันระหว่างมดและพืชในด้านต่างๆ
ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Pitcher plant) กับมดตระกูล Calobopsis
ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Pitcher plant) มีลักษณะเป็นกระเปาะและมีน้ำย่อยบรรจุในกระเปาะ เพื่อใช้ดักแมลงและสัตว์เล็กๆ ที่ตกลงไปเป็นอาหาร ในส่วนก้านของกระเปาะหรือระยางค์ (tendril) พบว่ามีมดตระกูล Calobopsis อาศัยอยู่ภายใน
มดซึ่งอาศัยอยู่ในระยางค์ของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะเสี่ยงภัยโดยดำลงน้ำย่อยของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง และว่ายไปทั่วดอกเพื่อทำความสะอาด โดยรวบรวมเหยื่อที่ถูกย่อยจากน้ำย่อยในดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งจำเป็นต้องใช้มดงานจำนวนมากเพื่อลากดึงเหยื่อ ซึ่งอาจมีน้ำหนักและขนาดใหญ่ เช่น จิ้งหรีด ให้มาติดกับผนังด้านในของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง และใช้เป็นอาหารของมด
ปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นการช่วยทำประโยชน์ให้กับดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง เพราะซากของเหยื่อขนาดใหญ่ดังกล่าวถูกทิ้งทับถมไว้ในดอกและเริ่มเน่า จะทำให้น้ำย่อยที่อยู่ในดอกนั้นเสื่อมสภาพไม่สามารถย่อยอาหารจากเหยื่อได้ อีก แม้มด Calobopsis จะช่วยเคลื่อนย้ายซากแมลงที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้ แต่ยังไม่มีใครทราบว่า มดจะไต่ผนังดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงออกมาภายนอกได้หรือไม่
ต้นเฟริ์น (Dan Janyen) กับมดในตระกูล Philidris
Cr.ภาพ
http://www.livingdd.com (Ant Plant / Dischidia )
บนเกาะบอร์เนียว มีภูเขาหินปูนซึ่งขาดแคลนธาตุอาหารสำหรับพืช แต่มดในตระกูล Philidris ซึ่งทำหน้าที่เสมือนระบบรากเคลื่อนที่ของพืชโดยนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโตมาให้ต้นเฟริ์น (Dan Janyen) ส่วนเฟริ์นจะผลิตสปอร์สีส้มเพื่อให้เป็นอาหารของมด โดยมดจะอาศัยอยู่ในร่องก้านใบของเฟริ์น ร่องก้านใบนี้จะเป็นทางระบายเศษอาหารจากมด ซึ่งเป็นซากอินทรียวัตถุให้กับเฟริ์น
นอกจากเฟริ์นแล้ว ยังมีพืชชั้นต่ำตระกูล Dischidia ขึ้นปะปนอยู่กับเฟริ์นและมีความสัมพันธ์กับมด Philidris โดยเมื่อผ่าใบของ Dischidia จะพบรังของมด Philidris ซึ่งมีตัวอ่อนและไข่อยู่ตามบริเวณรากอ่อนสีขาวของ Dischidia อยู่ในตำแหน่งที่ประหลาด คืออยู่ภายในใบ ราก จึงดูดซึมอาหารและแร่ธาตุจากซากแมลงที่มีมด Philidris นำมาเป็นอาหาร นอกจากเฟริ์นและ Dischidia ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งคือ Hydnophytum ซึ่งเจริญเติบโตโดยเกาะติดกับต้นไม้ และมด Philidris จะใช้ Hydnophytum ทำรัง และในทำนองเดียวกัน Hydnophytum จะได้รับแร่ธาตุอาหารจากมด
ต้นปาล์มหวาย (rattan palm) กับมดPachycoudyla goeldii
Cr.ภาพ
https://en.wikipedia.org
ในสิงคโปร์บนต้นปาล์มหวาย (rattan palm) จะมีมดอยู่มากมายเพื่อทำหน้าที่ป้องกัน แม้ต้นปาล์มจะมีหนามที่ยาวแหลมป้องกันตัวเองแล้วก็ตาม และในอเมริการใต้จะมีมดที่ดุร้ายชนิดหนึ่งคือ Pachycoudyla goeldii จะเข้าทำร้ายสิ่งที่ผ่านเข้ามาบริเวณรังเพื่อป้องกันพืชที่มดใช้ทำรัง และส่วนที่สำรองอาหาร (garden) ซึ่งมดสร้างไว้อย่างบอบบางนั้นไม่ถุกฝนชะพังด้วย
มด P. goeldii นอกจากจะขยันและปกป้องภัยให้กับพืชอย่างซื่อสัตย์แล้ว ยังสร้างรังและส่วนที่สำรวจอาหารทั่วทั้งต้นที่อาศัยอยู่ ใน French Guiana นักวิจัย (Bruno corbara) ศึกษาเกี่ยวกับอาหารของมดชนิดนี้ และพบว่ามดจะคาบเมล็ด authurium กลับเข้ามาในรัง และกินส่วนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของเมล็ดเป็นอาหารและนำเมล็ดไปทิ้งไว้ในส่วน ที่สำรองอาหาร เพื่อให้เมล็ดงอกและใช้เป็นอาหารต่อไป
ที่มา : ไพศาล ศุภางคเสน วารสารกีฏและสัตววิทยา
Cr.
http://www.ezathai.org/?p=246
สาหร่าย กับ Mint sauce
'หนอนซอส' สีเขียวสดใส (Symsagittifera roscoffensis) พบได้ในน้ำตื้นบนหาดทรายที่มีที่กำบังในบางพื้นที่บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกรวมถึงชายฝั่งของเวลส์และหมู่เกาะแชนเนล หนอนตัวเต็มวัยมีชีวิตรอดได้โดยสมบูรณ์เมื่อได้รับสารอาหารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในร่างกายของพวกมันจึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "พืชสัตว์"
หนอนที่มีความยาว 3 มิลลิเมตรอาบแดดบนชายหาดเมื่อน้ำขึ้นและฝังตัวอยู่ในทราย การเพิ่มความหนาแน่นของพวกมันก่อตัวเป็น flotillas ขนาดเล็กและจากนั้นก็วนล้อมเป็นวงกลม การมีปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ในที่สุดนำไปสู่แผ่นฟิล์มชีวภาพที่สังเกตเห็นได้บนหาดทรายที่ปกคลุมด้วยแสงอาทิตย์บางแห่งของมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออก โครงสร้างเหล่านี้อาจช่วยหนอนให้เกิดความปลอดภัยในด้านจำนวนและเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับวิถีชีวิตที่ผิดปกติของพวกมัน
Cr.
https://tha.sciences-world.com
Duroia hirsuta และมด
หนึ่งในสายพันธุ์ของมด Amazonian (Myrmelachista schumanni) ด้วยความช่วยเหลือของ "สารกำจัดวัชพืชธรรมชาติ" ที่ตั้งใจทำลายต้นไม้เล็ก ๆ บนดินแดนของทั้งหมด แต่ชนิดของต้นไม้หนึ่งที่พวกมดชอบจะมีมดเหล่านี้ใช้เป๋นที่อยู่อาศัย
ในป่าดิบชื้นของอเมซอนพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะมีพืชนี้เติบโตขึ้น ชาวเปรูเรียกสถานที่ดังกล่าวว่า "สวนของปีศาจ" "Devil's Garden" ซึ่งในป่าฝนอเมซอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเปรู ประกอบด้วยต้นไม้นี้เพียงสายพันธุ์เดียว โดยไม่มีพืชใดเติบโตขึ้นที่นี่ เจ้าของสวนฆ่าพืชชนิดอื่นโดยใช้ยาปฏิชีวนะ alleleopathicAllelopathy ซึ่งเป็นสารคัดหลั่งจากสิ่งมีชีวิตบางชนิดของสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
แต่มีต้น Myrmelachista schumanni ซึ่งมีรสมะนาวเปรี้ยวเนื่องจากมีส่วนผสมของกรดฟอร์มิกและฟีโรโมนที่มีรสเปรี้ยวซึ่งเป็นต้นไม้ที่มดชอบสามารถขึ้นอยู่ได้ ในก้านใบของใบหรือลำต้นของพืชเหล่านี้จะมีการขยายตัวเป็นกลวงเล็ก ๆ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกันโดยผ่านลำต้นกลวงที่มดใช้เป็นที่อาศัยและตั้งเป็นอาณานิคมอย่างเต็มรูปแบบภายในลำต้นนี้
Cr.
https://th.sciencenetnews.com
Amorphophallus titanum และแมลงวัน
Cr.ภาพ
http://kooiudl.blogspot.com/
Amorphophallus titanum ( titan arum) มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง รองจากดอกบัวผุด ภายในโคนดอก ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายใน โดยดอกตัวผู้อยู่ด้านบนของดอกตัวเมีย กล่าวได้ว่าดอก Titan Arum เป็นดอกรวมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ดอกเดี่ยวใหญ่ที่สุดในโลก คือดอกบัวผุด) มีต้นใบเดี่ยวใหญ่มากเช่นกัน ดอกของมันจะสูงถึง 3 เมตร กลีบของดอกไม้ศพด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีแดงอมม่วง มีช่อดอกสูงชะลูดห่อหุ้มเกสร ดอกที่ทั้งใหญ่และเหม็นมากนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดอกไม้ศพ
Amorphophallus titanum เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Amorphophallus titanum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย
Titan Arum หรือ บุกยักษ์ มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียวในโลก ในป่าดิบชื้นพื้นล่างในเกาะสุมาตราตอนกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus titanum อยู่ในวงศ์ Araceae ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ ในเมืองไทย มีสวนนงนุชได้นำเข้ามาจากสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor the botanic garden) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อมาทดลองปลูกภายในสวนเมื่อห้าปีก่อน แต่หลังจากบุกยักษ์ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว นักพฤกษศาสตร์ไม่อาจตอบได้ว่า อีกกี่ปีบุกยักษ์ต้นนั้นจึงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่ง
Cr.
https://sites.google.com
ความสัมพันธ์ของพืชและสัตว์ที่น่าทึ่ง
พืชที่มีความสัมพันธ์กับมดเรียกว่า พืชมด (ant plant) ซึ่งมีตัวอย่างของการพัฒนาร่วมกันระหว่างมดและพืชในด้านต่างๆ
ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Pitcher plant) กับมดตระกูล Calobopsis
ดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง (Pitcher plant) มีลักษณะเป็นกระเปาะและมีน้ำย่อยบรรจุในกระเปาะ เพื่อใช้ดักแมลงและสัตว์เล็กๆ ที่ตกลงไปเป็นอาหาร ในส่วนก้านของกระเปาะหรือระยางค์ (tendril) พบว่ามีมดตระกูล Calobopsis อาศัยอยู่ภายใน
มดซึ่งอาศัยอยู่ในระยางค์ของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงจะเสี่ยงภัยโดยดำลงน้ำย่อยของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง และว่ายไปทั่วดอกเพื่อทำความสะอาด โดยรวบรวมเหยื่อที่ถูกย่อยจากน้ำย่อยในดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง ซึ่งจำเป็นต้องใช้มดงานจำนวนมากเพื่อลากดึงเหยื่อ ซึ่งอาจมีน้ำหนักและขนาดใหญ่ เช่น จิ้งหรีด ให้มาติดกับผนังด้านในของดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง และใช้เป็นอาหารของมด
ปรากฏการณ์เช่นนี้ เป็นการช่วยทำประโยชน์ให้กับดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิง เพราะซากของเหยื่อขนาดใหญ่ดังกล่าวถูกทิ้งทับถมไว้ในดอกและเริ่มเน่า จะทำให้น้ำย่อยที่อยู่ในดอกนั้นเสื่อมสภาพไม่สามารถย่อยอาหารจากเหยื่อได้ อีก แม้มด Calobopsis จะช่วยเคลื่อนย้ายซากแมลงที่มีขนาดใหญ่ดังกล่าวได้ แต่ยังไม่มีใครทราบว่า มดจะไต่ผนังดอกหม้อข้าวหม้อแกงลิงออกมาภายนอกได้หรือไม่
ต้นเฟริ์น (Dan Janyen) กับมดในตระกูล Philidris
Cr.ภาพ http://www.livingdd.com (Ant Plant / Dischidia )
บนเกาะบอร์เนียว มีภูเขาหินปูนซึ่งขาดแคลนธาตุอาหารสำหรับพืช แต่มดในตระกูล Philidris ซึ่งทำหน้าที่เสมือนระบบรากเคลื่อนที่ของพืชโดยนำสิ่งที่เป็นประโยชน์ต่อการ เจริญเติบโตมาให้ต้นเฟริ์น (Dan Janyen) ส่วนเฟริ์นจะผลิตสปอร์สีส้มเพื่อให้เป็นอาหารของมด โดยมดจะอาศัยอยู่ในร่องก้านใบของเฟริ์น ร่องก้านใบนี้จะเป็นทางระบายเศษอาหารจากมด ซึ่งเป็นซากอินทรียวัตถุให้กับเฟริ์น
นอกจากเฟริ์นแล้ว ยังมีพืชชั้นต่ำตระกูล Dischidia ขึ้นปะปนอยู่กับเฟริ์นและมีความสัมพันธ์กับมด Philidris โดยเมื่อผ่าใบของ Dischidia จะพบรังของมด Philidris ซึ่งมีตัวอ่อนและไข่อยู่ตามบริเวณรากอ่อนสีขาวของ Dischidia อยู่ในตำแหน่งที่ประหลาด คืออยู่ภายในใบ ราก จึงดูดซึมอาหารและแร่ธาตุจากซากแมลงที่มีมด Philidris นำมาเป็นอาหาร นอกจากเฟริ์นและ Dischidia ยังมีพืชอีกชนิดหนึ่งคือ Hydnophytum ซึ่งเจริญเติบโตโดยเกาะติดกับต้นไม้ และมด Philidris จะใช้ Hydnophytum ทำรัง และในทำนองเดียวกัน Hydnophytum จะได้รับแร่ธาตุอาหารจากมด
ต้นปาล์มหวาย (rattan palm) กับมดPachycoudyla goeldii
Cr.ภาพ https://en.wikipedia.org
ในสิงคโปร์บนต้นปาล์มหวาย (rattan palm) จะมีมดอยู่มากมายเพื่อทำหน้าที่ป้องกัน แม้ต้นปาล์มจะมีหนามที่ยาวแหลมป้องกันตัวเองแล้วก็ตาม และในอเมริการใต้จะมีมดที่ดุร้ายชนิดหนึ่งคือ Pachycoudyla goeldii จะเข้าทำร้ายสิ่งที่ผ่านเข้ามาบริเวณรังเพื่อป้องกันพืชที่มดใช้ทำรัง และส่วนที่สำรองอาหาร (garden) ซึ่งมดสร้างไว้อย่างบอบบางนั้นไม่ถุกฝนชะพังด้วย
มด P. goeldii นอกจากจะขยันและปกป้องภัยให้กับพืชอย่างซื่อสัตย์แล้ว ยังสร้างรังและส่วนที่สำรวจอาหารทั่วทั้งต้นที่อาศัยอยู่ ใน French Guiana นักวิจัย (Bruno corbara) ศึกษาเกี่ยวกับอาหารของมดชนิดนี้ และพบว่ามดจะคาบเมล็ด authurium กลับเข้ามาในรัง และกินส่วนที่อยู่ปลายด้านหนึ่งของเมล็ดเป็นอาหารและนำเมล็ดไปทิ้งไว้ในส่วน ที่สำรองอาหาร เพื่อให้เมล็ดงอกและใช้เป็นอาหารต่อไป
ที่มา : ไพศาล ศุภางคเสน วารสารกีฏและสัตววิทยา
Cr.http://www.ezathai.org/?p=246
สาหร่าย กับ Mint sauce
'หนอนซอส' สีเขียวสดใส (Symsagittifera roscoffensis) พบได้ในน้ำตื้นบนหาดทรายที่มีที่กำบังในบางพื้นที่บนชายฝั่งมหาสมุทรแอตแลนติกรวมถึงชายฝั่งของเวลส์และหมู่เกาะแชนเนล หนอนตัวเต็มวัยมีชีวิตรอดได้โดยสมบูรณ์เมื่อได้รับสารอาหารที่เกิดจากการสังเคราะห์แสงสาหร่ายที่อาศัยอยู่ในร่างกายของพวกมันจึงเป็นที่รู้จักในฐานะ "พืชสัตว์"
หนอนที่มีความยาว 3 มิลลิเมตรอาบแดดบนชายหาดเมื่อน้ำขึ้นและฝังตัวอยู่ในทราย การเพิ่มความหนาแน่นของพวกมันก่อตัวเป็น flotillas ขนาดเล็กและจากนั้นก็วนล้อมเป็นวงกลม การมีปฏิสัมพันธ์เหล่านี้ในที่สุดนำไปสู่แผ่นฟิล์มชีวภาพที่สังเกตเห็นได้บนหาดทรายที่ปกคลุมด้วยแสงอาทิตย์บางแห่งของมหาสมุทรแอตแลนติกตะวันออก โครงสร้างเหล่านี้อาจช่วยหนอนให้เกิดความปลอดภัยในด้านจำนวนและเงื่อนไขที่เหมาะสมสำหรับวิถีชีวิตที่ผิดปกติของพวกมัน
Cr.https://tha.sciences-world.com
Duroia hirsuta และมด
หนึ่งในสายพันธุ์ของมด Amazonian (Myrmelachista schumanni) ด้วยความช่วยเหลือของ "สารกำจัดวัชพืชธรรมชาติ" ที่ตั้งใจทำลายต้นไม้เล็ก ๆ บนดินแดนของทั้งหมด แต่ชนิดของต้นไม้หนึ่งที่พวกมดชอบจะมีมดเหล่านี้ใช้เป๋นที่อยู่อาศัย
ในป่าดิบชื้นของอเมซอนพื้นที่ทั้งหมดส่วนใหญ่จะมีพืชนี้เติบโตขึ้น ชาวเปรูเรียกสถานที่ดังกล่าวว่า "สวนของปีศาจ" "Devil's Garden" ซึ่งในป่าฝนอเมซอนในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของเปรู ประกอบด้วยต้นไม้นี้เพียงสายพันธุ์เดียว โดยไม่มีพืชใดเติบโตขึ้นที่นี่ เจ้าของสวนฆ่าพืชชนิดอื่นโดยใช้ยาปฏิชีวนะ alleleopathicAllelopathy ซึ่งเป็นสารคัดหลั่งจากสิ่งมีชีวิตบางชนิดของสารที่ยับยั้งการเจริญเติบโตหรือการสืบพันธุ์ของสิ่งมีชีวิตอื่น ๆ
แต่มีต้น Myrmelachista schumanni ซึ่งมีรสมะนาวเปรี้ยวเนื่องจากมีส่วนผสมของกรดฟอร์มิกและฟีโรโมนที่มีรสเปรี้ยวซึ่งเป็นต้นไม้ที่มดชอบสามารถขึ้นอยู่ได้ ในก้านใบของใบหรือลำต้นของพืชเหล่านี้จะมีการขยายตัวเป็นกลวงเล็ก ๆ ซึ่งมีการเชื่อมต่อกันโดยผ่านลำต้นกลวงที่มดใช้เป็นที่อาศัยและตั้งเป็นอาณานิคมอย่างเต็มรูปแบบภายในลำต้นนี้
Cr.https://th.sciencenetnews.com
Amorphophallus titanum และแมลงวัน
Cr.ภาพ http://kooiudl.blogspot.com/
Amorphophallus titanum ( titan arum) มีขนาดดอกใหญ่ที่สุดในโลกอย่างหนึ่ง รองจากดอกบัวผุด ภายในโคนดอก ประกอบด้วยดอกเล็กๆ จำนวนมากอยู่ภายใน โดยดอกตัวผู้อยู่ด้านบนของดอกตัวเมีย กล่าวได้ว่าดอก Titan Arum เป็นดอกรวมขนาดใหญ่ที่สุดในโลก (ดอกเดี่ยวใหญ่ที่สุดในโลก คือดอกบัวผุด) มีต้นใบเดี่ยวใหญ่มากเช่นกัน ดอกของมันจะสูงถึง 3 เมตร กลีบของดอกไม้ศพด้านนอกเป็นสีเขียว ส่วนด้านในเป็นสีแดงอมม่วง มีช่อดอกสูงชะลูดห่อหุ้มเกสร ดอกที่ทั้งใหญ่และเหม็นมากนี้ จึงมีชื่อเรียกอีกอย่างว่า ดอกไม้ศพ
Amorphophallus titanum เป็นพืชในเขตป่าร้อนชื้น ในพืชตระกูล "บัวผุด" (Rafflesia) เป็นดอกไม้เดี่ยวที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในอาณาจักรพืช พบขึ้นอยู่บนเกาะสุมาตรา ประเทศอินโดนีเซีย ลำพังตัวช่อดอกแทงยอดตั้งขึ้นไปกว่า 3 เมตร เรียกว่าสูงกว่าคนเสียอีก เป็นธรรมชาติที่พืชสร้างขึ้นมาเพื่อปกป้องตัวเองจากสัตว์บางชนิด ขณะเดียวกัน กลิ่นน่าสะอิดสะเอียนที่หึ่งไปทั่ว กลับเย้ายวนแมลงบางชนิดให้มาดูดน้ำหวาน และผสมเกสรให้มัน กล่าวกันว่ากลิ่นของดอก Amorphophallus titanum คล้ายกับเนื้อเน่าสำหรับคน แต่กลับเป็นกลิ่นหอมยั่วน้ำลายแมลงเต่าที่ชอบกินของเน่าและแมลงวันให้มาช่วย ผสมเกสร กลีบดอกสีแดงเข้มยังช่วยลวงตาให้สัตว์นึกว่าเป็นก้อนเนื้อขนาดใหญ่น่าตอม ด้วย
Titan Arum หรือ บุกยักษ์ มีถิ่นกำเนิดเพียงแห่งเดียวในโลก ในป่าดิบชื้นพื้นล่างในเกาะสุมาตราตอนกลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Amorphophallus titanum อยู่ในวงศ์ Araceae ชื่อวิทยาศาสตร์แปลเป็นภาษาไทยได้ความหมายว่า ต้น "ลึงค์ยักษ์แปลง" คือแปลงกายให้เหมือนลึงค์แต่ไม่ใช่ลึงค์ ในเมืองไทย มีสวนนงนุชได้นำเข้ามาจากสวนพฤกษศาสตร์โบกอร์ (Bogor the botanic garden) ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อมาทดลองปลูกภายในสวนเมื่อห้าปีก่อน แต่หลังจากบุกยักษ์ออกดอกเป็นครั้งแรกแล้ว นักพฤกษศาสตร์ไม่อาจตอบได้ว่า อีกกี่ปีบุกยักษ์ต้นนั้นจึงจะออกดอกอีกครั้งหนึ่ง
Cr.https://sites.google.com