สวัสดีครับ ผมเป็นแค่คนธรรมดา ไม่ใช่พระภิกษุ ไม่ใช่พระอริยะ วันนี้ผมอยากมาแชร์ประสบการณ์ และความรู้(ที่พอจะมีบ้าง จาก นส.ธรรมะที่เขาแจก) ในเรื่องของศาสนาพุทธ ตามหัวข้อกระทู้เลยครับ
สติ
หลายๆท่านคงรู้ว่า หนึ่งในมรรค 8 ก็คือสัมมาสติ หนึ่งในอินทรีย์พละ 5 ก็คือสติ การภาวนา ก็เรียกกันว่า เจริญสติ และประโยคยอดฮิตที่ได้ยินกัน ก็คือ
"สติมา ปัญญาเกิด"
เราต่างคุ้นเคยกับคำว่า "สติ" แต่ว่าหลายๆคน รวมถึงตัวผมเอง มักจะขาดสติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
ผมเห็นคนไม่น้อย ทำสมาธิมาเยอะ ทำมาหลายปี นุ่งขาวห่มขาว แต่สุดท้าย พอออกจากสมาธิมาใช้ชีวิตจริง กลับเป็นคนขี้นินทา เป็นคนที่โมโหร้าย ชอบตัดสินคนอื่น แถมยังถือตนว่ารู้ดีกว่าคนอื่น มีคุณธรรมสูงกว่าคนอื่น เรียกได้ว่า เข้าวัดไป แต่ความเป็นมนุษย์ลุง มนุษย์ป้า ไม่ได้ลดลงเลย บางคนถึงกับทำตัวเป็นใหญ่ในวัด ทำตัวใหญ่ใส่คนนุ่งขาวห่มขาวหน้าใหม่ ก็มีให้เห็น
ผมสงสัยมานานครับ ว่าทำไมถึงเกิดอะไรแบบนี้ขึ้น นั่งสมาธิ ฟังธรรม แล้วทำไมยังทำตัวแย่แบบนี้ จนวันนึง เมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสไปวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เป็นครั้งแรก แล้วทางเข้าวัด มันมีป้ายติดไว้ เป็นรูปหลวงพ่อจรัญ มีกลอน ตัวใหญ่ๆ เขียนว่า
" ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิดมัวหมองไม่ผ่องใส ถ้าตั้งถูกผุดผ่องไม่หมองใจ สติใช้คุมจิตไม่ผิดนา"
(ไม่รู้เอาออกไปรึยังนะครับ ครั้งล่าสุดที่ผมไป ก็ 6-7 ปีมาแล้ว)
คือ ถ้ามันเป็นป้ายตรงต้นไม้ ที่มันอยู่เกลื่อนกลาดในวัด ผมก็คงแค่อ่านแล้วปล่อยมันไปเฉยๆ แต่ ผมคิดในใจ เฮ้ย! มันติดหน้าวัดตั้งตัวเบ้อเริ่ม มันต้องสำคัญสิ!
แล้ว สติ มันสำคัญขนาดไหน? ทุกคนก็คงรู้ ว่าถ้าขาดสติ อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น, การขาดสติ จะทำให้คุมอารมณ์ไม่ได้ แล้วไปทำเรื่องที่ผิดพลาด สติ
มันสำคัญขนาดที่ สิ่งที่พระพุทธเจ้าพูดเป็นคำสุดท้าย ก็คือเรื่องสติ(ความไม่ประมาท)
แต่ว่า มันสำคัญกว่าที่ผมเคยเข้าใจแบบทั่วๆไปอีกครับ เพราะมันเกี่ยวข้องกับสมาธิ มากๆ และมันก็ให้คำตอบผม ว่าทำไม คนที่ทำสมาธิ ฟังธรรมมามาก แต่ยังเป็นคนไม่มีธรรมะ
ในส่วนต่อไปครับ
สมาธิ
การทำสมาธิผิดวิธี ส่งผลเสียมากกว่าผลดี
เคยมั้ยครับ ที่
- เดินๆอยู่ มองท้องฟ้า มองของรอบตัว แล้วสะดุดล้ม
- ยืนหั่นผัก ร้องเพลงเพลินๆ แล้วดันทำมีดบาดมือ
นั่นละครับ คือตัวอย่างที่เข้าใจง่าย ของการที่เรามีสมาธิกับอะไรมากๆ แต่ขาดสติ สุดท้ายแล้ว มันก็ส่งผลเสียขึ้น
ตัวอย่างที่ผมยกมา มันเป็นแค่สมาธิในชีวิตประจำวัน เป็นสมาธิที่ไม่ได้ลึกอะไรมาก แต่ถ้าเกิดการขาดสติ ตอนที่เราตั้งใจทำสมาธิ ถ้าขาดสติ ตอนที่เจริญภาวนา มันจะส่งผลเสียมากขนาดไหน ลองคิดดูครับ
คนที่เป็นบ้า เพราะทำสมาธิผิดวิธี ก็มีมาแล้วครับ
สมาธิ มันคือการจดจ่อ Focus , Concentrate กับอะไรสักอย่าง, การทำสมาธิ มันก็คือการที่เราจดจ่อกับอะไรสักอย่าง จนอารมณ์ จนจิตของเรามันนิ่ง มันเป็นภวังค์
วิธีการทำสมาธิ มีหลายวิธี การเพ่ง ก็เพ่งได้หลายอย่าง ไม่ว่าอนุสสติ กสิณ ต่างๆนานา มากมาย
ศาสนาพุทธ มีคำว่า สัมมาสมาธิ สมาธิที่ถูกที่ควร พูดง่ายๆ มันก็คือ การเพ่งให้ถูกนั่นละครับ
- การเพ่ง ถ้าเอาอารมณ์อกุศลเป็นที่ตั้ง เอาความโกรธ ความอาฆาต เป็นที่ตั้ง เอาความอยากเป็นที่ตั้ง มันก็ทำให้เกิดสมาธิได้ครับ แต่มัน เป็นมิจฉาสมาธิ
สุดท้าย สิ่งที่ได้มา มันคือจิตใจด้านลบที่มากขึ้น เป็นสมาธิที่ผิดวิธี
- แต่ ต่อให้จะเพ่งด้วยวิธีที่ถูกต้อง เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งพุทธานุสสติ เพ่งกสิณ เพ่งอสุภะ แต่ถ้าระหว่างเพ่ง ขาดสติ มันก็ถือเป็นมิจฉาสมาธิเช่นกันครับ คนที่หลงไปกับสมาธิ ไม่มีสติ ย่อมไม่มีวันบรรลุธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรม ต้องใช้ปัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดับทุกข์
ศีล เป็นตัวช่วยเสริม เมื่อมีศีล แปลว่ามีวินัย เมื่อมีวินัย แปลว่าจิตใจแข็งแกร่ง
เมื่อจิตใจแข็งแกร่ง ย่อมมีสมาธิได้ง่าย และเมื่อมีสมาธิมาก แปลว่าจิตมีกำลังมาก
เมื่อจิตมีกำลัง ก็จะสามารถใช้กำลังนั้น กำจัดกิเลสไปได้
จุดประสงค์ของการทำสมาธิ ก็คือการทำให้จิตมีกำลังครับ แต่ตัวที่เป็นตัวกำจัดกิเลส มันไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปัญญา
ซึ่งจะมีปัญญาได้ ก็ต้องมีสติ ก่อน
ปัญญา ในที่นี้ ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากสมอง ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกโลกีย์ แต่เป็นปัญญาในทางจิต ทางอารมณ์ ทางโลกุตระ
ถ้านึกภาพไม่ออก ผมขอยกตัวอย่างคือ เวลาที่เรามีอารมณ์โกรธ แล้วลงมือทำอะไรไม่ดีไปสักอย่าง แล้วอารมณ์โกรธนั้น ความหน้ามืดนั้น มันก็หายไปทันที กลายเป็นตาสว่าง เพราะได้เห็นความพินาศของสิ่งที่เรากระทำลงไป
แต่ว่าสำหรับคนที่ฝึกสติ ฝึกจิตมาระดับหนึ่ง เขาจะสามารถ "ตาสว่าง" และกำจัดความโกรธนั้นไปได้ โดยแทบจะในทันที ไม่ทันต้องลงมือกระทำอะไร ความโกรธนั้น ก็แค่เหมือนลม ที่พัดมา แล้วก็ไปในทันที (ผมเคยเข้าวัดปฏิบัติธรรมเดือนนึง แล้วช่วงใหม่ๆที่ออกมา ก็เกือบถึงระดับนี้ครับ ผมไม่ได้กำจัดมันได้ทันที แต่กำจัดมันได้ ก่อนที่จะพลั้งมือ หรือพลั้งปากไป ผมเลยพอเข้าใจคำว่าสติมากขึ้น ) คือ มันไม่ใช่ความอดทน หรืออดกลั้นความโกรธเอาไว้ แต่ว่าความโกรธมันหายไปจริงๆครับ หายไปแบบเหมือนไม่เคยโกรธมาก่อนเลย ซึ่งผมก็คงบอกให้ทุกคนเข้าใจไม่ได้ ถ้าไม่เคยเจอกับตัวมันคงไม่เข้าใจ แน่นอนครับว่า ระดับที่สูงกว่านั้น พวกคนที่ปฏิบัติถึงขั้นจริงๆ เขาคงกำจัดอารมณ์ด้านลบได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น หรือไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่มีอารมณ์ด้านลบเลย ซึ่งนั่นก็เป็นระดับพระอริยะ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ แล้วละครับ
(แน่นอนว่า ตอนนี้ผมทำไม่ได้แล้วครับ พอออกจากวัด ผมก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอีกเลย สวดมนตร์ ไหว้พระ ก็แทบไม่มี ไม่ต้องพูดถึงการทำกรรมฐาน ถึงตามหลัก การเจริญสติมันจะทำได้ตลอดเวลา แต่แน่นอนว่า คนที่ขาดวินัยแบบผม ทำไม่ได้ครับ) แต่มันก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้ผมได้รู้ว่า พระธรรม มันมีจริง และ สติ มันสำคัญขนาดไหน
ที่ร่ายยาวมา ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมเพียงแค่จะสื่อให้เห็นว่า สติ มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำคัญยิ่งกว่าสิ่งไหน และสำคัญมากกว่าการเพ่งทำแต่สมาธิอย่างเดียว
เข้าประเด็น เรื่องสมาธิ
การที่เพ่งแต่การทำสมาธิอย่างเดียว โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสติ มันอันตรายมากครับ
การทำสมาธิ จะทำให้
- จิตใจมีพลังมากขึ้น
- ความอดทนสูงขึ้น
- หนักแน่นมากขึ้น
สิ่งที่อันตราย คือ ถ้าฝึกทำแต่สมาธิ แต่ขาดสติพ่วงไปด้วย จะทำให้
- อารมณ์รุนแรงขึ้น เพราะผู้ฝึกมีความชำนาญในการจดจ่อมากๆ แต่ไม่ได้ฝึกสติและการยั้งคิด ทำให้กำจัดอารมณ์ต่างๆไม่ได้ บางคนที่เดิมเป็นคนอ่อนไหว อาจอ่อนไหวมากขึ้น ร้องให้ง่าย บางคนขี้อิจฉา ก็จะอิจฉามากขึ้น บางคนนิสัยชอบโกรธ ก็จะโกรธรุนแรงขึ้น
- บางคน ความอดทนสูง ทำให้ไม่แสดงออกสิ่งต่างๆให้คนอื่นเห็น ไม่แม้แต่จะระบาย เมื่อมีอารมณ์จะเก็บกดมันเอาไว้
- แต่เมื่อทนไม่ไหว เวลาที่ปลดปล่อยมันออกมา จะน่ากลัว และเหมือนระเบิดลง
- จะมีทิฐิมานะ มีอีโก้สูงขึ้น เพราะได้สัมผัสสมาธิที่น้อยคนจะรู้จัก เลยรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น นั่นก็เป็นเหตุผลนึง ที่คนที่ทำสมาธิมามาก ฟังธรรมมาเยอะ ยังเป็นมนุษย์ลุง มนุษย์ป้าอยู่ นั่นเพราะเขาขาดสติในการมองตนเองครับ
- เวลาทำอะไร ตอนจดจ่อจะจดจ่อเกินจนทำให้ลืมสังเกตสิ่งรอบข้าง อาจทำให้เสียการได้
บางข้อบน มันคือประสบการณ์ตรงของผมเองครับ ผมฝึกสติมาด้วยก็จริง แต่พอห่างหายไป การใช้สติกำจัดอารมณ์ด้านลบ มันก็หายไปด้วย แต่ความอดทน และสมาธิ มันยังติดตัวอยู่นานมากกว่ากำลังของสติ จนเกิดผลเสียได้
กว่าผมจะเข้าใจความสำคัญของสติ ก็คือพลาดไปเยอะจริงๆแล้วครับ เมื่อก่อน ผมก็ปฏิบัติตามเขาสอน แต่ไม่ได้เข้าใจว่า สติ สำคัญแค่ไหน ทำถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่มีใครอธิบาย ที่สำคัญคือ เวลาปฏิบัติกับคนจำนวนมาก ไม่มีการสอบอารมณ์ตัวต่อตัว มันไม่มีทางรู้เลยว่า เราจะปฏิบัติถูกรึเปล่า กว่าผมจะเข้าใจ ก็ต้องมาอ่านเอาจากหนังสือ และตกผลึกเอาเอง ผมอยากแชร์ประสบการณ์ เป็นทางลัด ดีกว่าไปลองทำสมาธิ แล้วขาดสติ จนเสียเรื่องครับ
การภาวนา มีสองแบบ คือ สมถะ เน้นเพ่ง (สมาธิ) กับวิปัสสนา เน้นพิจารณา ดูสภาวะ กาย เวทนา จิต ธรรม (สติ-ปัญญา) แต่ทั้งสองแบบ มันไม่ได้แยกกันไปเลยครับ การทำสมถะ ก็ต้องมีสติประกอบด้วย และการวิปัสสนา ก็ต้องใช้สมาธิเป็นกำลังครับ
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอเข้าใจว่า สติ มันสำคัญขนาดไหน ในการปฏิบัติธรรม
แต่ ผมยังอยากฝากเรื่องสุดท้าย คือ สมาธิ กับ คนซึมเศร้าครับ
อย่างที่ผมได้บอกว่า การทำสมาธิ ที่ผิดวิธี และขาดสติ มันส่งผลเสียมากกว่าผลดี
คนคนนึงที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางจิต คือ บางครั้ง เขาไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของเขาได้ครับ มันมีความผิดปกติทั้งในเรื่องสารเคมีในสมอง และเรื่องจิตใจ การจะตั้งสติกับอะไรสักอย่าง มันยากกว่าคนทั่วไปมากครับ ผมเคยเจอคนที่เป็นแบบนี้ คือ เขามีความทุกข์ตลอดเวลาครับ ผมเคยแนะนำเขาเรื่องการทำสมาธิ คือ มันไม่ได้ช่วยเขาเท่าไหร่หน่ะครับ มันเหมือนแค่เอาสมาธิมากดทุกข์ไว้ แล้วพอหยุด ทุกอย่างก็กลับไปทุกข์อีก แม้แต่ตอนทำสมาธิ ยังอดเอาอารมณ์ทุกข์มาเป็นสมาธิไม่ได้เลยครับ
การจะส่งคนที่มีอาการทางจิต ไปฝึกทำสมาธิ มันอาจไม่ได้ผล และอาจทำให้อะไรๆ แย่กว่าเดิมก็ได้ครับ อย่าแก้ปัญหา ด้วยการส่งคนที่คุณรัก ไปฝึกทำสมาธิ โดยที่คุณยังไม่เข้าใจมันดีพอเลยครับ และถึงคุณจะเข้าใจมันดีพอ แต่คนที่เขาปฏิบัติเอง ก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ครับ
จิตแพทย์ ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ดีครับ
ธรรมะ การทำสมาธิ เจริญภาวนา เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ
การทำสมาธิ มันอาจไม่ได้เหมาะกับทุกคนครับ เพราะแต่ละคน มีความเข้าใจที่แตกต่างกัน มีความสามารถในการตั้งสติที่แตกต่างกัน กลวิธีในการกำจัดความทุกข์ ย่อมแตกต่างกัน ขนาดสมถะกรรมฐาน ยังมีตั้ง 40 กอง พระพุทธเจ้า ยังสอนคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน พระแต่ละท่าน ยังมีวิธีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน
แต่ สติ คือสิ่งสำคัญ มากๆ ครับ
ขอบคุณครับ
***ผมแท็กห้องจิตวิทยาด้วย เพราะผมเห็นว่า ประเด็นที่ผมพูด มันเกี่ยวกับเรื่องทางจิต และมันเป็นประสบการณ์ทางจิตใจของผมด้วยครับ ผมอาจไม่ได้พูดหนักในเชิงจิตวิทยา และใช้คำศัพท์ทางศาสนาไปมาก แต่คิดว่า มันน่าจะแท็กได้ เพราะประเด็นคือจิตใจ ไม่ใช่เรื่องโลกหน้า หรือนรก สวรรค์ ครับ
“สติ” สำคัญกว่าที่คุณคิด และ การทำสมาธิแบบผิดวิธี ส่งผลเสียมากกว่าผลดี
สติ
หลายๆท่านคงรู้ว่า หนึ่งในมรรค 8 ก็คือสัมมาสติ หนึ่งในอินทรีย์พละ 5 ก็คือสติ การภาวนา ก็เรียกกันว่า เจริญสติ และประโยคยอดฮิตที่ได้ยินกัน ก็คือ
"สติมา ปัญญาเกิด"
เราต่างคุ้นเคยกับคำว่า "สติ" แต่ว่าหลายๆคน รวมถึงตัวผมเอง มักจะขาดสติ ซึ่งเป็นสิ่งที่สำคัญมากๆ
ผมเห็นคนไม่น้อย ทำสมาธิมาเยอะ ทำมาหลายปี นุ่งขาวห่มขาว แต่สุดท้าย พอออกจากสมาธิมาใช้ชีวิตจริง กลับเป็นคนขี้นินทา เป็นคนที่โมโหร้าย ชอบตัดสินคนอื่น แถมยังถือตนว่ารู้ดีกว่าคนอื่น มีคุณธรรมสูงกว่าคนอื่น เรียกได้ว่า เข้าวัดไป แต่ความเป็นมนุษย์ลุง มนุษย์ป้า ไม่ได้ลดลงเลย บางคนถึงกับทำตัวเป็นใหญ่ในวัด ทำตัวใหญ่ใส่คนนุ่งขาวห่มขาวหน้าใหม่ ก็มีให้เห็น
ผมสงสัยมานานครับ ว่าทำไมถึงเกิดอะไรแบบนี้ขึ้น นั่งสมาธิ ฟังธรรม แล้วทำไมยังทำตัวแย่แบบนี้ จนวันนึง เมื่อหลายปีก่อน ผมมีโอกาสไปวัดอัมพวัน จ.สิงห์บุรี เป็นครั้งแรก แล้วทางเข้าวัด มันมีป้ายติดไว้ เป็นรูปหลวงพ่อจรัญ มีกลอน ตัวใหญ่ๆ เขียนว่า
" ประพฤติธรรมสำคัญอยู่ที่จิต ถ้าตั้งผิดมัวหมองไม่ผ่องใส ถ้าตั้งถูกผุดผ่องไม่หมองใจ สติใช้คุมจิตไม่ผิดนา"
(ไม่รู้เอาออกไปรึยังนะครับ ครั้งล่าสุดที่ผมไป ก็ 6-7 ปีมาแล้ว)
คือ ถ้ามันเป็นป้ายตรงต้นไม้ ที่มันอยู่เกลื่อนกลาดในวัด ผมก็คงแค่อ่านแล้วปล่อยมันไปเฉยๆ แต่ ผมคิดในใจ เฮ้ย! มันติดหน้าวัดตั้งตัวเบ้อเริ่ม มันต้องสำคัญสิ!
แล้ว สติ มันสำคัญขนาดไหน? ทุกคนก็คงรู้ ว่าถ้าขาดสติ อุบัติเหตุจะเกิดขึ้น, การขาดสติ จะทำให้คุมอารมณ์ไม่ได้ แล้วไปทำเรื่องที่ผิดพลาด สติ
มันสำคัญขนาดที่ สิ่งที่พระพุทธเจ้าพูดเป็นคำสุดท้าย ก็คือเรื่องสติ(ความไม่ประมาท)
แต่ว่า มันสำคัญกว่าที่ผมเคยเข้าใจแบบทั่วๆไปอีกครับ เพราะมันเกี่ยวข้องกับสมาธิ มากๆ และมันก็ให้คำตอบผม ว่าทำไม คนที่ทำสมาธิ ฟังธรรมมามาก แต่ยังเป็นคนไม่มีธรรมะ
ในส่วนต่อไปครับ
สมาธิ
การทำสมาธิผิดวิธี ส่งผลเสียมากกว่าผลดี
เคยมั้ยครับ ที่
- เดินๆอยู่ มองท้องฟ้า มองของรอบตัว แล้วสะดุดล้ม
- ยืนหั่นผัก ร้องเพลงเพลินๆ แล้วดันทำมีดบาดมือ
นั่นละครับ คือตัวอย่างที่เข้าใจง่าย ของการที่เรามีสมาธิกับอะไรมากๆ แต่ขาดสติ สุดท้ายแล้ว มันก็ส่งผลเสียขึ้น
ตัวอย่างที่ผมยกมา มันเป็นแค่สมาธิในชีวิตประจำวัน เป็นสมาธิที่ไม่ได้ลึกอะไรมาก แต่ถ้าเกิดการขาดสติ ตอนที่เราตั้งใจทำสมาธิ ถ้าขาดสติ ตอนที่เจริญภาวนา มันจะส่งผลเสียมากขนาดไหน ลองคิดดูครับ
คนที่เป็นบ้า เพราะทำสมาธิผิดวิธี ก็มีมาแล้วครับ
สมาธิ มันคือการจดจ่อ Focus , Concentrate กับอะไรสักอย่าง, การทำสมาธิ มันก็คือการที่เราจดจ่อกับอะไรสักอย่าง จนอารมณ์ จนจิตของเรามันนิ่ง มันเป็นภวังค์
วิธีการทำสมาธิ มีหลายวิธี การเพ่ง ก็เพ่งได้หลายอย่าง ไม่ว่าอนุสสติ กสิณ ต่างๆนานา มากมาย
ศาสนาพุทธ มีคำว่า สัมมาสมาธิ สมาธิที่ถูกที่ควร พูดง่ายๆ มันก็คือ การเพ่งให้ถูกนั่นละครับ
- การเพ่ง ถ้าเอาอารมณ์อกุศลเป็นที่ตั้ง เอาความโกรธ ความอาฆาต เป็นที่ตั้ง เอาความอยากเป็นที่ตั้ง มันก็ทำให้เกิดสมาธิได้ครับ แต่มัน เป็นมิจฉาสมาธิ
สุดท้าย สิ่งที่ได้มา มันคือจิตใจด้านลบที่มากขึ้น เป็นสมาธิที่ผิดวิธี
- แต่ ต่อให้จะเพ่งด้วยวิธีที่ถูกต้อง เช่น เพ่งลมหายใจ เพ่งพุทธานุสสติ เพ่งกสิณ เพ่งอสุภะ แต่ถ้าระหว่างเพ่ง ขาดสติ มันก็ถือเป็นมิจฉาสมาธิเช่นกันครับ คนที่หลงไปกับสมาธิ ไม่มีสติ ย่อมไม่มีวันบรรลุธรรมได้ เพราะการบรรลุธรรม ต้องใช้ปัญญา เป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดในการดับทุกข์
ศีล เป็นตัวช่วยเสริม เมื่อมีศีล แปลว่ามีวินัย เมื่อมีวินัย แปลว่าจิตใจแข็งแกร่ง
เมื่อจิตใจแข็งแกร่ง ย่อมมีสมาธิได้ง่าย และเมื่อมีสมาธิมาก แปลว่าจิตมีกำลังมาก
เมื่อจิตมีกำลัง ก็จะสามารถใช้กำลังนั้น กำจัดกิเลสไปได้
จุดประสงค์ของการทำสมาธิ ก็คือการทำให้จิตมีกำลังครับ แต่ตัวที่เป็นตัวกำจัดกิเลส มันไม่ใช่สมาธิ แต่เป็นปัญญา
ซึ่งจะมีปัญญาได้ ก็ต้องมีสติ ก่อน
ปัญญา ในที่นี้ ไม่ใช่ความรู้ที่เกิดจากสมอง ไม่ใช่ปัญญาในทางโลกโลกีย์ แต่เป็นปัญญาในทางจิต ทางอารมณ์ ทางโลกุตระ
ถ้านึกภาพไม่ออก ผมขอยกตัวอย่างคือ เวลาที่เรามีอารมณ์โกรธ แล้วลงมือทำอะไรไม่ดีไปสักอย่าง แล้วอารมณ์โกรธนั้น ความหน้ามืดนั้น มันก็หายไปทันที กลายเป็นตาสว่าง เพราะได้เห็นความพินาศของสิ่งที่เรากระทำลงไป
แต่ว่าสำหรับคนที่ฝึกสติ ฝึกจิตมาระดับหนึ่ง เขาจะสามารถ "ตาสว่าง" และกำจัดความโกรธนั้นไปได้ โดยแทบจะในทันที ไม่ทันต้องลงมือกระทำอะไร ความโกรธนั้น ก็แค่เหมือนลม ที่พัดมา แล้วก็ไปในทันที (ผมเคยเข้าวัดปฏิบัติธรรมเดือนนึง แล้วช่วงใหม่ๆที่ออกมา ก็เกือบถึงระดับนี้ครับ ผมไม่ได้กำจัดมันได้ทันที แต่กำจัดมันได้ ก่อนที่จะพลั้งมือ หรือพลั้งปากไป ผมเลยพอเข้าใจคำว่าสติมากขึ้น ) คือ มันไม่ใช่ความอดทน หรืออดกลั้นความโกรธเอาไว้ แต่ว่าความโกรธมันหายไปจริงๆครับ หายไปแบบเหมือนไม่เคยโกรธมาก่อนเลย ซึ่งผมก็คงบอกให้ทุกคนเข้าใจไม่ได้ ถ้าไม่เคยเจอกับตัวมันคงไม่เข้าใจ แน่นอนครับว่า ระดับที่สูงกว่านั้น พวกคนที่ปฏิบัติถึงขั้นจริงๆ เขาคงกำจัดอารมณ์ด้านลบได้ก่อนที่มันจะเกิดขึ้น หรือไม่ต้องทำอะไร ก็ไม่มีอารมณ์ด้านลบเลย ซึ่งนั่นก็เป็นระดับพระอริยะ โสดาบัน สกิทาคามี อนาคามี พระอรหันต์ แล้วละครับ
(แน่นอนว่า ตอนนี้ผมทำไม่ได้แล้วครับ พอออกจากวัด ผมก็ไม่ได้ปฏิบัติธรรมอีกเลย สวดมนตร์ ไหว้พระ ก็แทบไม่มี ไม่ต้องพูดถึงการทำกรรมฐาน ถึงตามหลัก การเจริญสติมันจะทำได้ตลอดเวลา แต่แน่นอนว่า คนที่ขาดวินัยแบบผม ทำไม่ได้ครับ) แต่มันก็เป็นช่วงเวลาหนึ่ง ที่ทำให้ผมได้รู้ว่า พระธรรม มันมีจริง และ สติ มันสำคัญขนาดไหน
ที่ร่ายยาวมา ไม่ใช่อะไรหรอกครับ ผมเพียงแค่จะสื่อให้เห็นว่า สติ มันเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด สำคัญยิ่งกว่าสิ่งไหน และสำคัญมากกว่าการเพ่งทำแต่สมาธิอย่างเดียว
เข้าประเด็น เรื่องสมาธิ
การที่เพ่งแต่การทำสมาธิอย่างเดียว โดยไม่ได้ให้ความสำคัญเรื่องสติ มันอันตรายมากครับ
การทำสมาธิ จะทำให้
- จิตใจมีพลังมากขึ้น
- ความอดทนสูงขึ้น
- หนักแน่นมากขึ้น
สิ่งที่อันตราย คือ ถ้าฝึกทำแต่สมาธิ แต่ขาดสติพ่วงไปด้วย จะทำให้
- อารมณ์รุนแรงขึ้น เพราะผู้ฝึกมีความชำนาญในการจดจ่อมากๆ แต่ไม่ได้ฝึกสติและการยั้งคิด ทำให้กำจัดอารมณ์ต่างๆไม่ได้ บางคนที่เดิมเป็นคนอ่อนไหว อาจอ่อนไหวมากขึ้น ร้องให้ง่าย บางคนขี้อิจฉา ก็จะอิจฉามากขึ้น บางคนนิสัยชอบโกรธ ก็จะโกรธรุนแรงขึ้น
- บางคน ความอดทนสูง ทำให้ไม่แสดงออกสิ่งต่างๆให้คนอื่นเห็น ไม่แม้แต่จะระบาย เมื่อมีอารมณ์จะเก็บกดมันเอาไว้
- แต่เมื่อทนไม่ไหว เวลาที่ปลดปล่อยมันออกมา จะน่ากลัว และเหมือนระเบิดลง
- จะมีทิฐิมานะ มีอีโก้สูงขึ้น เพราะได้สัมผัสสมาธิที่น้อยคนจะรู้จัก เลยรู้สึกว่าตนเองเหนือกว่าคนอื่น นั่นก็เป็นเหตุผลนึง ที่คนที่ทำสมาธิมามาก ฟังธรรมมาเยอะ ยังเป็นมนุษย์ลุง มนุษย์ป้าอยู่ นั่นเพราะเขาขาดสติในการมองตนเองครับ
- เวลาทำอะไร ตอนจดจ่อจะจดจ่อเกินจนทำให้ลืมสังเกตสิ่งรอบข้าง อาจทำให้เสียการได้
บางข้อบน มันคือประสบการณ์ตรงของผมเองครับ ผมฝึกสติมาด้วยก็จริง แต่พอห่างหายไป การใช้สติกำจัดอารมณ์ด้านลบ มันก็หายไปด้วย แต่ความอดทน และสมาธิ มันยังติดตัวอยู่นานมากกว่ากำลังของสติ จนเกิดผลเสียได้
กว่าผมจะเข้าใจความสำคัญของสติ ก็คือพลาดไปเยอะจริงๆแล้วครับ เมื่อก่อน ผมก็ปฏิบัติตามเขาสอน แต่ไม่ได้เข้าใจว่า สติ สำคัญแค่ไหน ทำถูกบ้าง ผิดบ้าง ไม่มีใครอธิบาย ที่สำคัญคือ เวลาปฏิบัติกับคนจำนวนมาก ไม่มีการสอบอารมณ์ตัวต่อตัว มันไม่มีทางรู้เลยว่า เราจะปฏิบัติถูกรึเปล่า กว่าผมจะเข้าใจ ก็ต้องมาอ่านเอาจากหนังสือ และตกผลึกเอาเอง ผมอยากแชร์ประสบการณ์ เป็นทางลัด ดีกว่าไปลองทำสมาธิ แล้วขาดสติ จนเสียเรื่องครับ
การภาวนา มีสองแบบ คือ สมถะ เน้นเพ่ง (สมาธิ) กับวิปัสสนา เน้นพิจารณา ดูสภาวะ กาย เวทนา จิต ธรรม (สติ-ปัญญา) แต่ทั้งสองแบบ มันไม่ได้แยกกันไปเลยครับ การทำสมถะ ก็ต้องมีสติประกอบด้วย และการวิปัสสนา ก็ต้องใช้สมาธิเป็นกำลังครับ
มาถึงตรงนี้ ทุกคนคงพอเข้าใจว่า สติ มันสำคัญขนาดไหน ในการปฏิบัติธรรม
แต่ ผมยังอยากฝากเรื่องสุดท้าย คือ สมาธิ กับ คนซึมเศร้าครับ
อย่างที่ผมได้บอกว่า การทำสมาธิ ที่ผิดวิธี และขาดสติ มันส่งผลเสียมากกว่าผลดี
คนคนนึงที่เป็นโรคซึมเศร้า หรือมีปัญหาทางจิต คือ บางครั้ง เขาไม่สามารถที่จะควบคุมอารมณ์ของเขาได้ครับ มันมีความผิดปกติทั้งในเรื่องสารเคมีในสมอง และเรื่องจิตใจ การจะตั้งสติกับอะไรสักอย่าง มันยากกว่าคนทั่วไปมากครับ ผมเคยเจอคนที่เป็นแบบนี้ คือ เขามีความทุกข์ตลอดเวลาครับ ผมเคยแนะนำเขาเรื่องการทำสมาธิ คือ มันไม่ได้ช่วยเขาเท่าไหร่หน่ะครับ มันเหมือนแค่เอาสมาธิมากดทุกข์ไว้ แล้วพอหยุด ทุกอย่างก็กลับไปทุกข์อีก แม้แต่ตอนทำสมาธิ ยังอดเอาอารมณ์ทุกข์มาเป็นสมาธิไม่ได้เลยครับ
การจะส่งคนที่มีอาการทางจิต ไปฝึกทำสมาธิ มันอาจไม่ได้ผล และอาจทำให้อะไรๆ แย่กว่าเดิมก็ได้ครับ อย่าแก้ปัญหา ด้วยการส่งคนที่คุณรัก ไปฝึกทำสมาธิ โดยที่คุณยังไม่เข้าใจมันดีพอเลยครับ และถึงคุณจะเข้าใจมันดีพอ แต่คนที่เขาปฏิบัติเอง ก็อาจจะไม่เข้าใจก็ได้ครับ
จิตแพทย์ ก็เป็นอีกทางเลือกนึงที่ดีครับ
ธรรมะ การทำสมาธิ เจริญภาวนา เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องอาศัยความเข้าใจที่ถูกต้องด้วยครับ
การทำสมาธิ มันอาจไม่ได้เหมาะกับทุกคนครับ เพราะแต่ละคน มีความเข้าใจที่แตกต่างกัน มีความสามารถในการตั้งสติที่แตกต่างกัน กลวิธีในการกำจัดความทุกข์ ย่อมแตกต่างกัน ขนาดสมถะกรรมฐาน ยังมีตั้ง 40 กอง พระพุทธเจ้า ยังสอนคนแต่ละคนไม่เหมือนกัน พระแต่ละท่าน ยังมีวิธีการปฏิบัติที่ไม่เหมือนกัน
แต่ สติ คือสิ่งสำคัญ มากๆ ครับ
ขอบคุณครับ
***ผมแท็กห้องจิตวิทยาด้วย เพราะผมเห็นว่า ประเด็นที่ผมพูด มันเกี่ยวกับเรื่องทางจิต และมันเป็นประสบการณ์ทางจิตใจของผมด้วยครับ ผมอาจไม่ได้พูดหนักในเชิงจิตวิทยา และใช้คำศัพท์ทางศาสนาไปมาก แต่คิดว่า มันน่าจะแท็กได้ เพราะประเด็นคือจิตใจ ไม่ใช่เรื่องโลกหน้า หรือนรก สวรรค์ ครับ