“ฉลากสินค้า” เป็นสิ่งแสดงข้อความหรือรายละเอียดที่สำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้นๆ เพื่อให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้านั้นและสามารถป้องกันหรือลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้ เนื่องจากสินค้าบางประเภทที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค เนื่องจากการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น เพราะฉะนั้น ฉลากสินค้าจึงต้องมีการระบุวิธีใช้ คำเตือน ข้อแนะนำการใช้ ซึ่งผู้บริโภคจะได้ทำความเข้าใจก่อนใช้งาน เพื่อป้องกันหรือทำให้ความเสี่ยงต่ออันตรายอันเนื่องมาจากสินค้านั้นหมดสิ้นไป
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลากสินค้าเป็นเรื่องที่รัฐออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก” รวมทั้งกรณีที่ปรากฏว่ามีสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจากการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือมีสินค้าที่ประชาชนใช้เป็นประจำ ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น และคณะกรรมการว่าด้วยฉลากมีอำนาจกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากเป็นการเฉพาะ ตามมาตรา ๓๐ วรรคสาม และกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้านั้น โดยผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัด ดังนั้น ข้อความที่ปรากฎในฉลาก กฎหมายกำหนดให้ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริงและไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และต้องระบุข้อความ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือของผู้นำเข้าเพื่อขาย สถานที่ผลิตหรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้า กรณีที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย และต้องระบุข้อความอันจำเป็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า ได้แก่ ราคา ขนาดหรือมิติหรือปริมาณหรือปริมาตรหรือน้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ คำเตือน วัน เดือน ปีที่ผลิต วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปีที่ควรใช้กรณี ในกรณีเป็นสินค้าที่หมดอายุได้หรือกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๖๕ และบัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดให้สินค้า ๘ ประเภทดังต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ได้แก่
๑.ประเภทของใช้ประจำบ้าน
๒.ประเภทของใช้ส่วนบุคคล
๓.ประเภทกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและเครื่องเขียน
๔.ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์
๕.ประเภทยานยนต์และอุปกรณ์
๖.ประเภทเกษตรกรรม
๗.ประเภทวัสดุก่อสร้าง และ ๘.ประเภทอื่นๆ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าว ต้องจัดทำฉลากสินค้าที่ระบุข้อความตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกระกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๔๑
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการจัดทำฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา ๓๐ โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้น ไม่ถูกต้อง โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่ สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
การควบคุมฉลากสินค้า
การคุ้มครองผู้บริโภคในด้านฉลากสินค้าเป็นเรื่องที่รัฐออกกฎหมายเพื่อให้ความคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคโดยบทบัญญัติแห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๐ วรรคหนึ่ง บัญญัติว่า “ให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก” รวมทั้งกรณีที่ปรากฏว่ามีสินค้าที่อาจก่อให้เกิดอันตรายแก่สุขภาพ ร่างกาย หรือจิตใจ เนื่องจากการใช้สินค้าหรือโดยสภาพของสินค้านั้น หรือมีสินค้าที่ประชาชนใช้เป็นประจำ ซึ่งการกำหนดฉลากของสินค้านั้นจะเป็นประโยชน์แก่ผู้บริโภคในการที่จะทราบข้อเท็จจริงในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้านั้น และคณะกรรมการว่าด้วยฉลากมีอำนาจกำหนดให้สินค้านั้นเป็นสินค้าที่ควบคุมฉลากเป็นการเฉพาะ ตามมาตรา ๓๐ วรรคสาม และกำหนดให้เป็นหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ประกอบธุรกิจที่จะต้องให้ข้อเท็จจริงอันเป็นสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้าเพื่อเป็นประโยชน์ต่อผู้บริโภคที่จะได้รับทราบข้อมูลข่าวสาร รวมทั้งคำพรรณนาคุณภาพที่ถูกต้องและเพียงพอเกี่ยวกับสินค้านั้น โดยผู้บริโภคสามารถใช้เป็นข้อมูลประกอบในการพิจารณาเลือกซื้อหรือใช้สินค้าได้อย่างปลอดภัย เป็นธรรมและประหยัด ดังนั้น ข้อความที่ปรากฎในฉลาก กฎหมายกำหนดให้ใช้ข้อความที่ตรงต่อความจริงและไม่มีข้อความที่อาจก่อให้เกิดความเข้าใจผิดในสาระสำคัญเกี่ยวกับสินค้า และต้องระบุข้อความ ชื่อเครื่องหมายการค้าของผู้ผลิตหรือของผู้นำเข้าเพื่อขาย สถานที่ผลิตหรือสถานที่ประกอบธุรกิจนำเข้า กรณีที่เป็นสินค้านำเข้าให้ระบุชื่อประเทศที่ผลิตด้วย และต้องระบุข้อความอันจำเป็นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับสินค้า ได้แก่ ราคา ขนาดหรือมิติหรือปริมาณหรือปริมาตรหรือน้ำหนัก วิธีใช้ ข้อแนะนำในการใช้หรือห้ามใช้ คำเตือน วัน เดือน ปีที่ผลิต วัน เดือน ปีที่หมดอายุ หรือวัน เดือน ปีที่ควรใช้กรณี ในกรณีเป็นสินค้าที่หมดอายุได้หรือกรณีอื่นตามหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่คณะกรรมการว่าด้วยฉลากกำหนด โดยประกาศในราชกิจจานุเบกษา ที่ผ่านมาสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๖๕ และบัญชีแนบท้ายประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง กำหนดประเภทของสินค้าให้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๖๕ กำหนดให้สินค้า ๘ ประเภทดังต่อไปนี้เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก ได้แก่
๑.ประเภทของใช้ประจำบ้าน
๒.ประเภทของใช้ส่วนบุคคล
๓.ประเภทกระดาษ ผลิตภัณฑ์กระดาษและเครื่องเขียน
๔.ประเภทเครื่องใช้ไฟฟ้าและอุปกรณ์
๕.ประเภทยานยนต์และอุปกรณ์
๖.ประเภทเกษตรกรรม
๗.ประเภทวัสดุก่อสร้าง และ ๘.ประเภทอื่นๆ โดยผู้ประกอบธุรกิจที่ผลิตและจำหน่ายหรือนำเข้าสินค้าประเภทดังกล่าว ต้องจัดทำฉลากสินค้าที่ระบุข้อความตามที่กฎหมายกำหนดตามมาตรา ๓๑ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ประกอบกระกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก พ.ศ. ๒๕๔๑
ทั้งนี้ หากผู้ประกอบธุรกิจไม่ดำเนินการจัดทำฉลากสินค้าให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนด จะมีความผิดตามมาตรา ๕๒ แห่งพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม ผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากตามมาตรา ๓๐ โดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้น ไม่ถูกต้อง โดยรู้หรือควรรู้อยู่แล้วว่าการไม่มีฉลากหรือการแสดงฉลากดังกล่าวนั้นไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหกเดือน หรือปรับไม่เกินหนึ่งแสนบาทถ้วน หรือทั้งจำทั้งปรับ ถ้าเป็นการกระทำของผู้ผลิตเพื่อขาย หรือสั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขาย ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองแสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชัน OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่ สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด