พระราชบัญญัติคุ้มครองผู้บริโภค พ.ศ. ๒๕๒๒ และที่แก้ไขเพิ่มเติม มาตรา ๓๐ บัญญัติให้สินค้าที่ผลิตเพื่อขายโดยโรงงานตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานและสินค้าที่สั่งหรือนำเข้ามาในราชอาณาจักร
เพื่อขาย เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากมีลักษณะตามมาตรา ๓๑ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้การกำหนดข้อความและรูปแบบลักษณะของฉลากสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า อันเป็นสาระสำคัญประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคนั้น สอดคล้องกับสภาพการณ์ ในปัจจุบัน ซึ่งฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากมีข้อแตกต่าง ดังนี้
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ โดยผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือผู้นำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลาก เป็นผู้จัดทำฉลากให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก่อนขาย หากผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้สั่ง
หรือผู้นำเข้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชั่น OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่ สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด
ความแตกต่างระหว่างประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของ ฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๑) และ (ฉบับที่ ๓)
เพื่อขาย เป็นสินค้าที่ควบคุมฉลาก โดยฉลากของสินค้าที่ควบคุมฉลากมีลักษณะตามมาตรา ๓๑ คณะกรรมการว่าด้วยฉลาก จึงได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๔๑ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก ได้ออกประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๓) พ.ศ. ๒๕๖๕ ยกเลิกความในข้อ ๒ แห่งประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๑) พ.ศ. ๒๕๔๑ เพื่อให้การกำหนดข้อความและรูปแบบลักษณะของฉลากสินค้าเพื่อให้ผู้บริโภคได้รับทราบข้อมูลเกี่ยวกับสินค้า อันเป็นสาระสำคัญประกอบการตัดสินใจในการเลือกซื้อสินค้าของผู้บริโภคนั้น สอดคล้องกับสภาพการณ์ ในปัจจุบัน ซึ่งฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลากมีข้อแตกต่าง ดังนี้
ประกาศคณะกรรมการว่าด้วยฉลาก เรื่อง ลักษณะของฉลากสินค้าที่ควบคุมฉลาก (ฉบับที่ ๓)
พ.ศ. ๒๕๖๕ มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ ๑๘ มิถุนายน ๒๕๖๖ โดยผู้ประกอบธุรกิจซึ่งเป็นผู้ผลิต ผู้สั่งหรือผู้นำเข้าสินค้ามาในราชอาณาจักรเพื่อขายซึ่งสินค้าที่ควบคุมฉลาก เป็นผู้จัดทำฉลากให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดก่อนขาย หากผู้ใดขายสินค้าที่ควบคุมฉลากโดยไม่มีฉลากหรือมีฉลากแต่ฉลากหรือการแสดงฉลากนั้นไม่ถูกต้อง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๖ เดือน หรือปรับไม่เกิน๑๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ กรณีเป็นผู้สั่ง
หรือผู้นำเข้า ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน ๑ ปี หรือปรับไม่เกิน ๒๐๐,๐๐๐ บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
หากผู้บริโภคถูกเอารัดเอาเปรียบหรือไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการซื้อสินค้าดังกล่าวสามารถร้องเรียนผ่านช่องทางต่าง ๆ ไม่ว่าจะเป็นทางแอปพลิเคชั่น OCPB Connect พูดคุยสอบถามกับ Chat Bot พี่ปกป้องได้ตลอด ๒๔ ชั่วโมง ทางเว็บไซต์ www.ocpb.go.th โดยผู้บริโภคสามารถร้องเรียนออนไลน์ ได้สะดวก ประหยัดเวลา หรือโทรมาสอบถามข้อมูลที่ สายด่วน สคบ. ๑๑๖๖ หรือมาด้วยตนเองที่ศูนย์ราชการฯ อาคารรัฐประศาสนภักดี หรืออาคารบี ถนนแจ้งวัฒนะ เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร หรือต่างจังหวัดสามารถร้องเรียนได้ที่สำนักงานคณะอนุกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคประจำจังหวัด ทุกจังหวัด