วิกฤตการณ์การล่มสลายของธนาคารใหญ่ถึงสามแห่งในสหรัฐฯ คือ Silvergate Bank, Silicon Valley Bank, และ Signature Bank เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ร่วมไปถึงที่ราคาหุ้น First Republic Bank ร่วงลงถึง 60% สิ่งนี้ได้สร้างความตื่นตระหนกและความสงสัยต่อความมั่นคงทางการเงินรวมถึงประสิทธิภาพของการธนาคารในปัจจุบันให้แก่ประเทศต่าง ๆ ทั่วโลก
โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม BillionMoney สื่อด้านการเงินการลงทุน ได้สัมภาษณ์ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนที่นำกลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และคุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน ในหัวข้อ “โดมิโน ธนาคารล้ม เราอยู่ในวิกฤติ แล้วหรือยัง ?” เพื่อพูดคุยเรื่องสถานการณ์การธนาคารในปัจจุบันว่าจะมีทิศทางไปในทางใด
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มองสถานการณ์การล่มสลายของธนาคารต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า ธนาคารต่าง ๆ “ดีจนกระทั่งมันเจ๊ง” สื่อว่า ธนาคารเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างพูดว่าดี จนกระทั่งวันหนึ่งธนาคารเหล่านั้นล่มสลายลง จากการที่ธนาคารต่างปกปิดข้อมูลไม่เผยเผยแก่สาธารณะ จนเมื่อข้อมูลเหล่านั้นหลุดออกมา ทำให้ผู้ใช้บริการตื่นตระหนกทำการแห่ถอนเงินอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธนาคารเหล่านั้นล้มในที่สุด
การล่มสลายของธนาคารทั้งสามแห่งในครั้งนี้ ยังเกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งนอกจากจะสร้างความกังวลให้แก่บริษัทและสตาร์ทอัพต่าง ๆ ว่าอาจทำกำไรได้ไม่มาก ยังทำให้ธนาคารแบกรับภาระจากการถือพันธบัตรจำนวนมากอีกด้วย จึงคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยลง ไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยมากเท่าที่ผ่านมาซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ลง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้ให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในครั้งนี้จะไม่ขยายตัวกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนในอดีต เนื่องจากธนาคารที่ล่มสลายในครั้งนี้ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารอื่น ๆ ในประเทศ เช่นเดียวกับคุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ ที่มองว่า สถานการณ์ยังคงสามารถควบคุมได้ ทำให้ไม่เกิดการลุกลามเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เว้นเสียแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นอีกครั้ง
คุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคการธนาคาร ทำให้ธนาคารกลาง จะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเอาไว้
สำหรับธนาคารไทย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กล่าวว่า การล่มสลายของธนาคารสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลต่อธนาคารไทยและหุ้นของธนาคารไทยมากนัก แม้ว่าหุ้นธนาคารไทยจะร่วงลงบ้างจากความกังวลของนักลงทุนในช่วงนี้ก็ตาม โดยจะส่งผลเพียงนักลงทุนเก็งกำไรและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
“ดร. นิเวศน์” กล่าวว่า “ธนาคารมันดีจนกระทั่งมันเจ๊ง” พร้อมชี้ธนาคารไทยยังปลอดภัย
โดยเมื่อวันที่ 14 มีนาคม BillionMoney สื่อด้านการเงินการลงทุน ได้สัมภาษณ์ ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร นักลงทุนที่นำกลยุทธ์การลงทุนแบบเน้นคุณค่ามาเผยแพร่ในประเทศไทย และคุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ ผู้ร่วมก่อตั้ง Finnomena บริษัทที่ปรึกษาการลงทุน ในหัวข้อ “โดมิโน ธนาคารล้ม เราอยู่ในวิกฤติ แล้วหรือยัง ?” เพื่อพูดคุยเรื่องสถานการณ์การธนาคารในปัจจุบันว่าจะมีทิศทางไปในทางใด
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร มองสถานการณ์การล่มสลายของธนาคารต่าง ๆ ในสหรัฐฯ ในครั้งนี้ โดยกล่าวว่า ธนาคารต่าง ๆ “ดีจนกระทั่งมันเจ๊ง” สื่อว่า ธนาคารเป็นสิ่งที่ทุกคนต่างพูดว่าดี จนกระทั่งวันหนึ่งธนาคารเหล่านั้นล่มสลายลง จากการที่ธนาคารต่างปกปิดข้อมูลไม่เผยเผยแก่สาธารณะ จนเมื่อข้อมูลเหล่านั้นหลุดออกมา ทำให้ผู้ใช้บริการตื่นตระหนกทำการแห่ถอนเงินอย่างรวดเร็ว ส่งผลให้ธนาคารเหล่านั้นล้มในที่สุด
การล่มสลายของธนาคารทั้งสามแห่งในครั้งนี้ ยังเกิดจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ ด้วย ซึ่งนอกจากจะสร้างความกังวลให้แก่บริษัทและสตาร์ทอัพต่าง ๆ ว่าอาจทำกำไรได้ไม่มาก ยังทำให้ธนาคารแบกรับภาระจากการถือพันธบัตรจำนวนมากอีกด้วย จึงคาดว่า ธนาคารกลางสหรัฐฯ จำเป็นต้องชะลอการขึ้นอัตราดอกเบี้ยลง ไม่กล้าขึ้นดอกเบี้ยมากเท่าที่ผ่านมาซ้ำเติมสถานการณ์ให้ย่ำแย่ลง
ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร ได้ให้ความเห็นว่า สถานการณ์ในครั้งนี้จะไม่ขยายตัวกลายเป็นวิกฤตเศรษฐกิจเหมือนในอดีต เนื่องจากธนาคารที่ล่มสลายในครั้งนี้ ไม่ได้มีความเกี่ยวข้องกับธนาคารอื่น ๆ ในประเทศ เช่นเดียวกับคุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ ที่มองว่า สถานการณ์ยังคงสามารถควบคุมได้ ทำให้ไม่เกิดการลุกลามเป็นวิกฤตครั้งใหญ่ เว้นเสียแต่ธนาคารกลางสหรัฐฯ ทำการปรับอัตราดอกเบี้ยให้สูงขึ้นอีกครั้ง
คุณ ชยนนท์ รักกาญจนันท์ กล่าวว่า การขึ้นอัตราดอกเบี้ยอย่างรวดเร็วของธนาคารกลางสหรัฐฯ ส่งผลต่อเศรษฐกิจของประเทศ โดยเฉพาะภาคการธนาคาร ทำให้ธนาคารกลาง จะยังคงรักษาอัตราดอกเบี้ยในระดับปัจจุบันเอาไว้
สำหรับธนาคารไทย ดร. นิเวศน์ เหมวชิรวรากร กล่าวว่า การล่มสลายของธนาคารสหรัฐฯ ในครั้งนี้ จะไม่ส่งผลต่อธนาคารไทยและหุ้นของธนาคารไทยมากนัก แม้ว่าหุ้นธนาคารไทยจะร่วงลงบ้างจากความกังวลของนักลงทุนในช่วงนี้ก็ตาม โดยจะส่งผลเพียงนักลงทุนเก็งกำไรและผู้ที่เกี่ยวข้องเท่านั้น