ธนาคารกลางญี่ปุ่นพลิกประวัติศาสตร์การเงิน ประกาศนโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นครั้งแรกที่ -0.1 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และบีบให้คนฝากเงินน้อยลงและนำเงินออกมาจับจ่ายมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเงินฝืด และถดถอยมากว่า 2 ทศวรรษ
[Analysis]
BOJ ดำเนินมาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลออยู่ที่ 0.2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% อยู่มาก อีกทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2015 ที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ การดำเนินนโยบายของ BOJ จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะจูงให้เกิดการขยายตัวของการลง ทุนและการบริโภค และส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อต่อไป
•ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดการถือครองเงินสดส่วนเกินและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การที่ BOJ กำหนดอัตราดอกเบี้ยติดลบสำหรับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นที่ฝากไว้กับ BOJ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในญี่ปุ่นมีแรงจูงใจในการเก็บเงินสดลดลง ซึ่งธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นน่าจะมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปพร้อมกันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีเงินสดในมือน้อยลง
•อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Japan Government Bond Yield : JGB Yield) มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก JGB Yield ในระยะสั้นมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยที่ BOJ กำหนด การลดอัตราดอกเบี้ยของ BOJ จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนของ JGB ในระยะสั้นลดลง ในขณะที่ปริมาณเงินที่เพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจก็จะกดดันต่อ JGB Yield ในระยะยาวให้มีแนวโน้มลดลงด้วย การปรับลดลงของ JGB Yield ในทุกช่วงอายุคงเหลือนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้น
•BOJ อาจมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมอีกในอนาคตซึ่งอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หรือการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อ JGB โดย BOJ น่าจะประเมินประสิทธิผลของรูปแบบของการดำเนินนโยบายว่านโยบายแบบใดให้ผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ดี และจะประกาศนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมในลักษณะนั้นหรือทั้งสองแบบพร้อมๆ กันต่อไป
[Implication]
•อีไอซีคาดการณ์ว่าเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่า ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ BOJ อาจมีการออกมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางเงินเพิ่มเติม เงินเยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD-JPY) จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้เล็กน้อยในปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่มีรายได้ในรูปเงินเยนอาจพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
•ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นจากทิศทางที่แตกต่างกันของการดำเนินนโยบายทางการเงิน ( Monetary Policy Divergence ) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ Fed มีทิศทางการดำเนินนโยบายในลักษณะเข้มงวดขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปยังมีความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขยายมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม อีกทั้งธนาคารกลางจีน (People's Bank of China : PBOC) อาจปรับลดค่าเงินหยวนลงอีก ผลจากทิศทางของนโยบายทางการเงินโลกมีความหลากหลายเช่นนี้ จะนำมาซึ่งความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดการเงินทั่วโลก
#NOW26 #MoneyWise & #SCBS
*** ญี่ปุ่นหลังชนฝา!! BOJ ประกาศอัตราดอกเบี้ยติดลบ กดดันเยนอ่อนค่า***
ธนาคารกลางญี่ปุ่นพลิกประวัติศาสตร์การเงิน ประกาศนโยบายดอกเบี้ยติดลบเป็นครั้งแรกที่ -0.1 % เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจ และบีบให้คนฝากเงินน้อยลงและนำเงินออกมาจับจ่ายมากขึ้น หลังจากเศรษฐกิจญี่ปุ่นอยู่ในภาวะเงินฝืด และถดถอยมากว่า 2 ทศวรรษ
[Analysis]
BOJ ดำเนินมาตรการดังกล่าวเพื่อกระตุ้นการขยายตัวทางเศรษฐกิจและอัตราเงินเฟ้อ โดยในเดือนธันวาคม อัตราเงินเฟ้อทั่วไปชะลออยู่ที่ 0.2% ซึ่งต่ำกว่าเป้าหมายของ BOJ ที่ 2% อยู่มาก อีกทั้งผลผลิตอุตสาหกรรมเดือนธันวาคม 2015 ที่ลดลงกว่าที่คาดการณ์ไว้ การดำเนินนโยบายของ BOJ จะเป็นการเพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจซึ่งจะจูงให้เกิดการขยายตัวของการลง ทุนและการบริโภค และส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจและการเร่งขึ้นของอัตราเงินเฟ้อต่อไป
•ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีแนวโน้มลดการถือครองเงินสดส่วนเกินและปล่อยสินเชื่อมากขึ้น การที่ BOJ กำหนดอัตราดอกเบี้ยติดลบสำหรับเงินฝากของธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นที่ฝากไว้กับ BOJ ทำให้ธนาคารพาณิชย์ต่างๆ ในญี่ปุ่นมีแรงจูงใจในการเก็บเงินสดลดลง ซึ่งธนาคารพาณิชย์ญี่ปุ่นน่าจะมีการปล่อยสินเชื่อมากขึ้น หรืออาจปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินฝากไปพร้อมกันเพื่อให้ธนาคารพาณิชย์ในญี่ปุ่นมีเงินสดในมือน้อยลง
•อัตราผลตอบแทนพันธบัตรรัฐบาลญี่ปุ่น (Japan Government Bond Yield : JGB Yield) มีแนวโน้มลดลง เนื่องจาก JGB Yield ในระยะสั้นมีความสัมพันธ์กับอัตราดอกเบี้ยที่ BOJ กำหนด การลดอัตราดอกเบี้ยของ BOJ จึงกดดันให้อัตราผลตอบแทนของ JGB ในระยะสั้นลดลง ในขณะที่ปริมาณเงินที่เพิ่มเข้ามาในระบบเศรษฐกิจก็จะกดดันต่อ JGB Yield ในระยะยาวให้มีแนวโน้มลดลงด้วย การปรับลดลงของ JGB Yield ในทุกช่วงอายุคงเหลือนี้น่าจะเป็นการกระตุ้นให้ราคาสินทรัพย์ทางการเงินประเภทอื่นๆ ปรับตัวสูงขึ้น
•BOJ อาจมีการผ่อนคลายนโยบายทางการเงินเพิ่มเติมอีกในอนาคตซึ่งอาจเป็นการลดอัตราดอกเบี้ยเพิ่มเติม หรือการเพิ่มวงเงินการเข้าซื้อ JGB โดย BOJ น่าจะประเมินประสิทธิผลของรูปแบบของการดำเนินนโยบายว่านโยบายแบบใดให้ผลในการสนับสนุนการฟื้นตัวของเศรษฐกิจญี่ปุ่นได้ดี และจะประกาศนโยบายการเงินผ่อนคลายเพิ่มเติมในลักษณะนั้นหรือทั้งสองแบบพร้อมๆ กันต่อไป
[Implication]
•อีไอซีคาดการณ์ว่าเงินเยนมีแนวโน้มอ่อนค่า ในขณะที่ธนาคารกลางสหรัฐฯ (Fed) ยังมีแนวโน้มที่จะปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบายในปีนี้ BOJ อาจมีการออกมาตรการผ่อนคลายนโยบายทางเงินเพิ่มเติม เงินเยนเทียบกับดอลลาร์สหรัฐฯ (USD-JPY) จึงมีแนวโน้มอ่อนค่าลงได้เล็กน้อยในปีนี้ ซึ่งผู้ประกอบการที่มีรายได้ในรูปเงินเยนอาจพิจารณาป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน
•ตลาดการเงินโลกมีแนวโน้มผันผวนมากขึ้นจากทิศทางที่แตกต่างกันของการดำเนินนโยบายทางการเงิน ( Monetary Policy Divergence ) การฟื้นตัวของเศรษฐกิจสหรัฐฯ ทำให้ Fed มีทิศทางการดำเนินนโยบายในลักษณะเข้มงวดขึ้น ในขณะที่เศรษฐกิจยุโรปยังมีความไม่แน่นอนซึ่งอาจทำให้ธนาคารกลางยุโรป (ECB) ขยายมาตรการผ่อนคลายเพิ่มเติม อีกทั้งธนาคารกลางจีน (People's Bank of China : PBOC) อาจปรับลดค่าเงินหยวนลงอีก ผลจากทิศทางของนโยบายทางการเงินโลกมีความหลากหลายเช่นนี้ จะนำมาซึ่งความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินทุนในตลาดการเงินทั่วโลก
#NOW26 #MoneyWise & #SCBS