คนที่ขาดทุนหุ้นหนักๆ/มือใหม่ มักจะทำแบบนี้

จากการที่ผมทำงานอยู่ในบริษัทหลักทรัพย์แห่งหนึ่งแต่ละวันเจอคนหลากหลายประเภท ซึ่งผมได้ลิสต์จากการที่ได้สังเกตมาเป็นข้อๆดังนี้ มาแชร์ดังนี้ครับ

1.เชื่อมาร์เก็ตติ้งมากเกินไป 
คุณลองดูหุ้นรายตัวในตลาดมี 700 กว่าตัวคุณคิดว่าเค้าจะสามารถเข้าใจมันหมดได้ไหม ?
มาร์เก็ตติ้งไม่ได้รู้ทุกเรื่อง แต่เขาพูด หาเหตุผลมาพูดให้คุณเชื่อได้ เพราะว่าเขามี conflict of interest
เช่น วันนี้ตลาดจะลง ก็ต้องถามว่าถ้าเขาสามารถรู้ได้ขนาดนั้น ทำไมไม่ short ดัชนีไปเลยล่ะ? แต่มาร์เก่งๆมากๆก็มีนะครับ
แต่เสียดายเวลาส่วนใหญ่เขาไม่ค่อยว่างมาเชียร์คุณซื้อๆขายๆหรอก ใช้เวลาหมดไปกับการวิเคราะห์หุ้น และอีกอย่างเรื่องการแนะนำหุ้น สมมติว่ามาร์คนเก่งคนนี้มีสามารถวิเคราะห์หุ้นไดัเป็นเด้ง แต่มันมักจะเป็นหุ้นนอกกระแสหรือคนส่วนใหญ่ไม่รู้จัก แต่เท่าที่สอบถามเขาก็มักจะมีกรอบการกระทำในการเชียร์หุ้นมหาชนที่ทุกคนรู้จัก เพราะการขาดทุนจาก CPALL หรือ KBANK ย่อมเซฟกว่า โดนบ่นเล็กน้อยกว่าการเชียร์หุ้นนอกกระแสที่เขาวิเคราะห์ ว่าแบบเฮ้ย! คุณแนะนำอะไรผมมาเนี่ยหากเกิดการขาดทุน ประโยคที่ผมมักได้ยินบ่อยๆที่คือ”หุ้น........(ชื่อหลักทรัพย์)ก็ทุกคนรู้จักกันดีซื้อได้ครับ” ซึ่งมันไม่เกี่ยวกันเลยว่าหุ้นตัวนี้ทุกคนรู้จักแล้วคุณจะไม่ขาดทุนถ้าคุณซื้อบนความคาดหวังที่สูงลิ่วแล้วไม่เป็นไปตามนั้นคุณก็เจ็บหนักได้เหมือนกัน
 

2.เสพสื่อ/เชื่อข่าวเยอะเกินไป 
มีคนกำลังปั่นหัวคุณอยู่ การพูดถึงแก่นการลงทุนมันน่าเบื่อ พวกข่าวส่วนใหญ่ก็จะเป็นประเภทเร้าอารมณ์เพื่อให้ algorithm ของ social media มันผลัก contents ออกไป (ต้องเข้าใจสำนักข่าว เพราะว่าเขาได้ประโยชน์จากการที่คนมา engagement เยอะๆ) บางทีข่าวมันไม่เกี่ยวอะไรกับตัวหุ้นเลย คนก็เอาไปโยงกันได้
ส่วนใหญ่จะเป็นข่าวประเภท ชิ_หายแล้ว ข่าวประเภทนี้คนชอบอ่าน ซึ่งบางทีมันไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรเลย หรือส่งผลกระทบ แต่เป็นสัดส่วนการดำเนินงานที่น้อยมากของบริษัทเช่น 4% ของรายได้ คนก็โยงกันไปว่าชิ_หายแล้ว สติแตกทั้งๆที่ไม่เคยเข้าไปดูโครงสร้างรายได้ของบริษัท คำแนะนำของผมสำหรับมือใหม่ ข่าวที่ควรให้น้ำหนักคือ ข่าวที่ส่งผลกระทบอย่างถาวรกับรายได้บริษัท อันนั้นน่ะค่อยน่าสนใจขึ้นมาหน่อย
 

3.ไม่เข้าใจเรื่องราคามูลค่า ยึดติดกับราคา
เช่น เราเคยซื้อหุ้นตัวหนึ่งอดีต 10 บาท ตอนนี้ 25 บาทเราบอกว่าแพง
หรือ ดัชชีตอนนี้ 1,300 จุดแพงกว่า 1,100 จุดแต่จริงๆแล้วตอน 25 บาท หรือดัชนี 1,100 จุดอาจจะแพงกว่าก็ได้เพราะว่า ราคาก็คือราคา ไม่ได้บอกว่าถูกหรือแพง การจะบอกว่าถูกหรือแพงต้องมีตัวเปรียบเทียบกัน เช่น p/e , p/bv
 

4.เปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นจนทำให้หลงลืมจุดยืนของตัวเอง กลยุทธ์ของตัวเอง
อย่างเช่น คุณเห็นคนๆนึงเป็นนักเก็งกำไรโพสต์ว่าได้กำไรบานเลย 200-300% ภายใน 2 เดือน คุณก็อาจจะตาลุกวาว
ทั้งๆที่คุณไม่เคยรู้มาก่อนว่าเขาผ่านอะไรมาบ้าง,ความเสี่ยงที่เขา take,การทำการบ้านของเขา,คุณไม่เห็นอันที่เขาขาดทุน ซึ่งมันเป็น confirmation bias มากๆ คุณก็อาจจะคิดเปรียบเทียบกับตัวเองทำให้คุณที่ถนัดการลงทุนแบบ fundamentals ลองไปเล่นแบบเก็งกำไรซึ่งผลสุดท้ายคุณได้การขาดทุนกลับมาเพราะคุณไม่เข้าใจมัน กลับกันหากสมมติคุณเป็นนักลงทุนเก็งกำไร คุณเห็นคนที่เล่น fundamental ได้กำไรจากการถือหลายเด้ง คุณก็อาจจะลองบ้างแต่สุดท้ายคุณก็ได้การขาดทุนกับมา เพราะคุณไม่เข้าใจมัน สุดท้ายแล้วผลตอบแทนการลงทุน ขึ้นอยู่กับความสามารถ ไม่ใช่เครื่องมือ ทุกๆการลงทุนมีคนประสบความสำเร็จหมด ทั้งเก็งกำไร fundamental momentum ไม่ว่าจะซื้อ พันธบัตร หุ้น ทองคำหรืออะไรก็ตามแต่ เล่นบนเกมที่คุณถนัดใช้เครื่องมือนั้น ฝึกฝน เชื่อในเครื่องมือของคุณ ไม่งั้นคุณก็จะวนอยู่ในอ่าง หาตัวเองให้เจอสายไหน
ถ้าอยากแชร์อะไรเดี๋ยวผมจะมาเขียนต่อ

แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่