ส่งออกไทยยังทรง ค่าไฟแพงซ้ำฉุดแข่งขัน
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_511546/
แม้ว่าบรรยากาสของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้จะเริ่มดูสดใสขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว
แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมในเรื่องของส่งออกนั้นยังอยู่ในช่วงทรงตัว แม้ความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้น แต่ยอดการส่งออกก็ยังไม่ดีมากนัก รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีปัญหาเช่นกัน
โดย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ภาคอุตสาหกรรมภาพรวมยังทรงๆ เนื่องจากการส่งออกลดลง การผลิตต่างๆ ก็ทรงๆ ไม่เพิ่ม ไม่ลด
ทั้งนี้ นายเกรียงไกร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของค่าไฟก็ยังเป็นปัญหาของประเทศไทยอยู่ ก็เป็นแรงกดดันที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้การขายสินค้า ผลิตสินค้า ต้นทุนของเราสูงกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้การไปแข่งขันในตลาดลำบากขึ้น
จากนี้ต่อไปคงต้องติดตามสถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมของไทยและเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป
วิกฤตหนัก!คนไทย 25 ล้านคนมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล-บัตรเครดิตมากสุด คาดอีก10ปีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
https://siamrath.co.th/n/428398
วันที่ 6 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) เปิดบทวิจัยเรื่อง "
หนี้ครัวเรือนไทย วิกฤติแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม" ว่า หนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาคู่สังคมไทยที่หลายคนคงคุ้นหูกันอยู่แล้ว แต่ถามว่าปัญหาหนี้ของบ้านเราน่ากังวลหรือไม่ คงต้องมาดูใน 2 เรื่องหลัก
ซึ่งประกอบไปด้วย
1. คนไทยมีหนี้เยอะแค่ไหน
และ 2. สถานการณ์หนี้คนไทยรุนแรงแค่ไหน
โดยจากข้อมูลสินเชื่อในระบบที่อยู่ในเครดิตบูโร ณ เดือนมีนาคม 2565 มีคนที่มีหนี้สูงถึง 37% หรือราว 1 ใน 3 ของประชากรไทย หรือราว 25 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่สัดส่วนอยู่ที่ 30% และสัดส่วนคนที่มีหนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ คนไทยยังมีหนี้ในปริมาณสูง โดยประมาณ 57% ของคนไทย ที่มีหนี้ มีหนี้เกิน 100,000 บาท และกลุ่มที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาท มีถึง 14% โดยมูลค่าหนี้เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 520,000 บาท และในภาพรวมมูลค่าหนี้ของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หากดดูสัดส่วนคนมีหนี้แยกตามจำนวนบัญชีหนี้ที่มี พบว่า คนไทยที่มีหนี้โดยเฉลี่ย 3 บัญชีต่อคน และ 32% ของคนไทยที่มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป และหากดูสัดส่วนบัญชีหนี้ แยกตามผลิตภัณฑ์ พบว่า คนไทยมีหนี้แยกตามผลิตภัณฑ์ ดังนี้ สินเชื่อส่วนบุคคล 39% บัตรเครดิต 29% การเกษตร 12% รถยนต์ 10% บ้าน 4% ธุรกิจ 2% มอเตอร์ไซค์ 2% โดย 2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนทั้งหมดของไทย อาจเป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้ ประกอบด้วย สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต ขณะที่หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ หรือความมั่งคั่งอย่างหนี้เพื่อธุรกิจและหนี้บ้านกลับมีสัดส่วนจำนวนบัญชีเพียงอย่างละ 4% เท่านั้นจากบัญชีทั้งหมด
ดังนั้นถ้าหากเทียบสัดส่วนมูลค่าหนี้บ้านของไทยและประเทศต่างๆ พบว่า ไทยมีสัดส่วนประมาณ 35% ญี่ปุ่น 62% สหรัฐฯ 73% แคนนาดา 73% และสหราชอาณาจักร 91% อย่างไรก็ดี ถึงแม้สัดส่วนหนี้บ้านของไทยจะเป็น 35% ของมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกลับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีใกล้เคียงกับไทย จะเห็นว่ามูลค่าหนี้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้นเป็นหนี้บ้าน
ขณะเดียวกัน หากดูสัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เสีย จากคนไทยที่เป็นหนี้ พบว่า 1 ใน 5 ของคนไทยเป็นหนี้เสีย โดย 20% ของคนไทยที่เป็นหนี้ในเครดิตบูโรกำลังประสบปัญหาเป็นหนี้เสีย และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มต่างๆ พบว่า เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เป็น 2 กลุ่มผู้ที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูง โดยกลุ่มเกษตรมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้อยู่ที่ 34% และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 41% ซึ่งเป็น 2 กลุ่มสำคัญที่ปัญหาหนี้อยู่ในระดับที่น่ากังวล
รุกฆาต! ฝ่ายค้านล่าชื่อส่งศาล รธน.วินิจฉัย"ศักดิ์สยาม"เพิ่มอีกหนึ่งคำร้อง"ตัดสิทธิ"ลงเลือกตั้ง
https://siamrath.co.th/n/428392
จากกรณีที่ นาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเรื่อง หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น จนนำมาสู่การยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลได้มีคำสั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่การเป็น รมว.คมนาคม ดังที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด วันที่ 6 มี.ค. 2566 นาย
ปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เป็นผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ นาย
ศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ก็มีการติดต่อพูดคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วยกัน โดยห็นพ้องกันว่า ควรจะมีการล่าชื่อส.ส.ฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีของนาย
ศักดิ์สยาม อีกหนึ่งคำร้องเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีและสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของ นาย
ศักดิ์สยาม สิ้นสุดลง และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กรณีอาจละเมิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 (บทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี)
ทั้งนี้ นาย
ปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า การยื่นคำร้องดังกล่าว ต้องมี ส.ส.ฝ่ายค้านร่วมลงชื่อด้วยขั้นต่ำหนึ่งในสิบของจำนวน ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตอนนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบยอดตัวเลข ส.ส.ปัจจุบัน พบว่า หนึ่งในสิบก็คือ สี่สิบคน ในการร่วมลงชื่อ แต่ปัญหาคือตอนนี้สภาปิดสมัยประชุมแล้ว และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ แต่ฝ่ายค้านก็จะพยายามรวบรวมรายชื่อให้ได้ก่อนที่จะมีการยุบสภา โดยใจจริงก็อยากทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้เลย แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้ครบหรือไม่ ซึ่งหลังได้รายชื่อแล้ว ก็จะยื่นตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเลย ไม่ต้องผ่านประธานสภาฯ
สำหรับคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่ได้มีเรื่องของการตัดสิทธิการเมือง เพราะเป็นการยื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี ฯ ที่เป็นเรื่องการให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีและการให้เว้นวรรคจากการเป็นรัฐมนตรีสองปี แต่คำร้องที่จะยื่นใหม่ จะเป็นการยื่นตามช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 144 ที่มีเรื่องของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วย
JJNY : ค่าไฟแพงซ้ำฉุดแข่งขัน│25 ล.คนมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล-บัตรเครดิตมากสุด│ล่าชื่อส่งศาลรธน.│สำรวจดินแดนของมอลโดวา
https://www.innnews.co.th/video/general-news-clips/news_511546/
แม้ว่าบรรยากาสของเศรษฐกิจไทยในปี 2566 นี้จะเริ่มดูสดใสขึ้นจากภาคการท่องเที่ยว ที่มีนักท่องเที่ยวกลับเข้ามาในประเทศไทยอย่างมากมาย ส่งผลให้เศรษฐกิจการท่องเที่ยวเริ่มฟื้นตัว
แต่สำหรับภาคอุตสาหกรรมในเรื่องของส่งออกนั้นยังอยู่ในช่วงทรงตัว แม้ความเชื่อมั่นจะเพิ่มขึ้น แต่ยอดการส่งออกก็ยังไม่ดีมากนัก รวมถึงเศรษฐกิจโลกที่ยังคงมีปัญหาเช่นกัน
โดย นายเกรียงไกร เธียรนุกุล ประธานสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย หรือ ส.อ.ท.เปิดเผยสำนักข่าวไอ.เอ็น.เอ็น.ว่า ภาคอุตสาหกรรมภาพรวมยังทรงๆ เนื่องจากการส่งออกลดลง การผลิตต่างๆ ก็ทรงๆ ไม่เพิ่ม ไม่ลด
ทั้งนี้ นายเกรียงไกร ยังได้กล่าวเพิ่มเติมว่า ในส่วนของค่าไฟก็ยังเป็นปัญหาของประเทศไทยอยู่ ก็เป็นแรงกดดันที่ทำให้ความสามารถในการแข่งขันของเราเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ทำให้การขายสินค้า ผลิตสินค้า ต้นทุนของเราสูงกว่าเพื่อนบ้าน ทำให้การไปแข่งขันในตลาดลำบากขึ้น
จากนี้ต่อไปคงต้องติดตามสถานการณ์ภาคอุตสาหกรรมของไทยและเศรษฐกิจโลกในปีนี้จะเป็นไปในทิศทางใดต่อไป
วิกฤตหนัก!คนไทย 25 ล้านคนมีหนี้สินเชื่อส่วนบุคคล-บัตรเครดิตมากสุด คาดอีก10ปีเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า
https://siamrath.co.th/n/428398
วันที่ 6 มีนาคม 2566 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) และสถาบันวิจัยเศรษฐกิจป๋วย อึ๊งภากรณ์ (PIER) เปิดบทวิจัยเรื่อง "หนี้ครัวเรือนไทย วิกฤติแค่ไหน ทำไมถึงไม่ควรมองข้าม" ว่า หนี้ครัวเรือน เป็นปัญหาคู่สังคมไทยที่หลายคนคงคุ้นหูกันอยู่แล้ว แต่ถามว่าปัญหาหนี้ของบ้านเราน่ากังวลหรือไม่ คงต้องมาดูใน 2 เรื่องหลัก
ซึ่งประกอบไปด้วย
1. คนไทยมีหนี้เยอะแค่ไหน
และ 2. สถานการณ์หนี้คนไทยรุนแรงแค่ไหน
โดยจากข้อมูลสินเชื่อในระบบที่อยู่ในเครดิตบูโร ณ เดือนมีนาคม 2565 มีคนที่มีหนี้สูงถึง 37% หรือราว 1 ใน 3 ของประชากรไทย หรือราว 25 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปี 2560 ที่สัดส่วนอยู่ที่ 30% และสัดส่วนคนที่มีหนี้ก็เพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ
นอกจากนี้ คนไทยยังมีหนี้ในปริมาณสูง โดยประมาณ 57% ของคนไทย ที่มีหนี้ มีหนี้เกิน 100,000 บาท และกลุ่มที่มีหนี้เกิน 1 ล้านบาท มีถึง 14% โดยมูลค่าหนี้เฉลี่ยต่อคนอยู่ที่ 520,000 บาท และในภาพรวมมูลค่าหนี้ของคนไทยเพิ่มขึ้นเป็นเกือบ 2 เท่าในช่วง 10 ปีที่ผ่านมา
ทั้งนี้ หากดดูสัดส่วนคนมีหนี้แยกตามจำนวนบัญชีหนี้ที่มี พบว่า คนไทยที่มีหนี้โดยเฉลี่ย 3 บัญชีต่อคน และ 32% ของคนไทยที่มีหนี้ 4 บัญชีขึ้นไป และหากดูสัดส่วนบัญชีหนี้ แยกตามผลิตภัณฑ์ พบว่า คนไทยมีหนี้แยกตามผลิตภัณฑ์ ดังนี้ สินเชื่อส่วนบุคคล 39% บัตรเครดิต 29% การเกษตร 12% รถยนต์ 10% บ้าน 4% ธุรกิจ 2% มอเตอร์ไซค์ 2% โดย 2 ใน 3 ของบัญชีหนี้ครัวเรือนทั้งหมดของไทย อาจเป็นสินเชื่อที่ไม่สร้างรายได้ ประกอบด้วย สินเชื่อส่วนบุคคล และสินเชื่อบัตรเครดิต ขณะที่หนี้ที่สามารถสร้างรายได้ หรือความมั่งคั่งอย่างหนี้เพื่อธุรกิจและหนี้บ้านกลับมีสัดส่วนจำนวนบัญชีเพียงอย่างละ 4% เท่านั้นจากบัญชีทั้งหมด
ดังนั้นถ้าหากเทียบสัดส่วนมูลค่าหนี้บ้านของไทยและประเทศต่างๆ พบว่า ไทยมีสัดส่วนประมาณ 35% ญี่ปุ่น 62% สหรัฐฯ 73% แคนนาดา 73% และสหราชอาณาจักร 91% อย่างไรก็ดี ถึงแม้สัดส่วนหนี้บ้านของไทยจะเป็น 35% ของมูลค่าหนี้รวมทั้งหมด แต่เมื่อเทียบกลับกลุ่มประเทศพัฒนาแล้วที่มีสัดส่วนหนี้ต่อจีดีพีใกล้เคียงกับไทย จะเห็นว่ามูลค่าหนี้ส่วนใหญ่ของประเทศเหล่านั้นเป็นหนี้บ้าน
ขณะเดียวกัน หากดูสัดส่วนคนไทยที่มีหนี้เสีย จากคนไทยที่เป็นหนี้ พบว่า 1 ใน 5 ของคนไทยเป็นหนี้เสีย โดย 20% ของคนไทยที่เป็นหนี้ในเครดิตบูโรกำลังประสบปัญหาเป็นหนี้เสีย และเมื่อเปรียบเทียบกลุ่มต่างๆ พบว่า เกษตรกรและผู้มีรายได้น้อย เป็น 2 กลุ่มผู้ที่มีสัดส่วนภาระหนี้ต่อรายได้สูง โดยกลุ่มเกษตรมีสัดส่วนหนี้ต่อรายได้อยู่ที่ 34% และกลุ่มผู้มีรายได้น้อยอยู่ที่ 41% ซึ่งเป็น 2 กลุ่มสำคัญที่ปัญหาหนี้อยู่ในระดับที่น่ากังวล
รุกฆาต! ฝ่ายค้านล่าชื่อส่งศาล รธน.วินิจฉัย"ศักดิ์สยาม"เพิ่มอีกหนึ่งคำร้อง"ตัดสิทธิ"ลงเลือกตั้ง
https://siamrath.co.th/n/428392
จากกรณีที่ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม ถูกอภิปรายไม่ไว้วางใจ ในเรื่อง หจก.บุรีเจริญคอนสตรัคชั่น จนนำมาสู่การยื่นคำร้องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย และศาลได้มีคำสั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่การเป็น รมว.คมนาคม ดังที่เป็นข่าวไปแล้วนั้น
ล่าสุด วันที่ 6 มี.ค. 2566 นายปกรณ์วุฒิ อุดมพิพัฒน์สกุล ส.ส.ระบบบัญชีรายชื่อ พรรคก้าวไกล ที่เป็นผู้อภิปรายไม่ไว้วางใจ นายศักดิ์สยาม ชิดชอบ รมว.คมนาคม กล่าวต่อว่า หลังจากศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งดังกล่าวเมื่อวันศุกร์ที่ 3 มีนาคมที่ผ่านมา ก็มีการติดต่อพูดคุยกับพรรคร่วมฝ่ายค้านด้วยกัน โดยห็นพ้องกันว่า ควรจะมีการล่าชื่อส.ส.ฝ่ายค้านยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยกรณีของนายศักดิ์สยาม อีกหนึ่งคำร้องเพิ่มเติม ซึ่งจะเป็นการยื่นคำร้องเพื่อขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าความเป็นรัฐมนตรีและสมาชิกภาพความเป็น ส.ส.ของ นายศักดิ์สยาม สิ้นสุดลง และให้เพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง กรณีอาจละเมิดตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 144 (บทบัญญัติว่าด้วยวิธีพิจารณางบประมาณรายจ่ายประจำปี)
ทั้งนี้ นายปกรณ์วุฒิ กล่าวว่า การยื่นคำร้องดังกล่าว ต้องมี ส.ส.ฝ่ายค้านร่วมลงชื่อด้วยขั้นต่ำหนึ่งในสิบของจำนวน ส.ส. ที่ปฏิบัติหน้าที่อยู่ตอนนี้ ซึ่งจากการตรวจสอบยอดตัวเลข ส.ส.ปัจจุบัน พบว่า หนึ่งในสิบก็คือ สี่สิบคน ในการร่วมลงชื่อ แต่ปัญหาคือตอนนี้สภาปิดสมัยประชุมแล้ว และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ แต่ฝ่ายค้านก็จะพยายามรวบรวมรายชื่อให้ได้ก่อนที่จะมีการยุบสภา โดยใจจริงก็อยากทำให้เสร็จภายในสัปดาห์นี้เลย แต่ยังไม่รู้ว่าจะได้ครบหรือไม่ ซึ่งหลังได้รายชื่อแล้ว ก็จะยื่นตรงไปที่ศาลรัฐธรรมนูญเลย ไม่ต้องผ่านประธานสภาฯ
สำหรับคำร้องที่ศาลรัฐธรรมนูญ สั่งให้นายศักดิ์สยาม หยุดพักการปฏิบัติหน้าที่นั้น ไม่ได้มีเรื่องของการตัดสิทธิการเมือง เพราะเป็นการยื่นตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 187 ประกอบ พ.ร.บ.การจัดการหุ้นส่วนและหุ้นของรัฐมนตรี ฯ ที่เป็นเรื่องการให้พ้นจากตำแหน่งรัฐมนตรีและการให้เว้นวรรคจากการเป็นรัฐมนตรีสองปี แต่คำร้องที่จะยื่นใหม่ จะเป็นการยื่นตามช่องทางรัฐธรรมนูญมาตรา 144 ที่มีเรื่องของการเพิกถอนสิทธิสมัครรับเลือกตั้งด้วย