วิธ๊ทำ จิตใจผ่องใส
ทำจิตใจให้ผ่องใส หมายถึง มีสติสัมปชัญญะทำจิตใจให้ระมัดระวังความชั่ว ความผิด
เพราะว่า ถ้าเราไปย่ำกรายกับความทุกข์เราย่อมเกิดทุกข์ เหตุเพราะว่าการทำอกุศลจะทำให้เกิดทุกข์ ผลก็คือทุกข์
และคำว่า "บริสุทธิ์" บริสุทธิ์จากความชั่ว ความคิดที่ชั่ว การกระทำที่ไม่ดี อกุศล
"ชำระจิตของตนให้ "สะอาด" "บริสุทธิ์" "ผ่องใส" ควรใช้ศัพท์นี้หรือไม่?
ทำจิตของตนให้สะอาด
คนทั่วไปก็จะคิดว่าจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือล้างด้วยซันไลน์
ควรใช้ศัพท์ว่า "ให้อภัยและให้โอกาส" จิตใจเราก็จะผ่องใสไหม? จิตใจของเราก็จะไม่เคียดแค้น ไม่จองเวร เราไม่จองอยู่ในมิจฉา
เราไม่ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส" หรือ "ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์"
ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติ"
ตามสโลแกนหัวใจของวันมาฆะบูชา ก็คือ
๑. ไม่ทำชั่ว
๒. ทำดี
๓. ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติต่อธรรม
ถ้าเราไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส เราก็จะอคติต่อธรรม เพราะว่าทุกคนเคยผิดพลาดมาทั้งนั้น นั่นชัดเจนเลยว่าเราควรทำอะไร
เพราะอะไรเราไม่ใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส หรือบริสุทธิ์" เพราะว่า "ผ่องใส" และ "บริสุทธิ์" เป็นศัพท์ที่กว้างเกินไป เป็นศัพท์ที่หลากหลายเกินไป พอพูดออกมาแล้ว ข้างในแปลได้ร้อยแปดพันเก้า คนก็จะงง เราจะต้องจี้ให้ชัดเจนไปเลย ตัวเดียวขอให้ทำให้ได้ไปเลย
"อคติ" แปลว่า ลำเอียง หรือ เข้าข้างตามใจตนเอง มี ๔ อย่างคือ
๑. ลำเอียงเพราะรัก
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะกลัว
๔. ลำเอียงเพราะหลง
เพราะเรามีความลำเอียง เราจึงไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส ถ้าเราไม่ลำเอียงเราก็ให้อภัยให้โอกาสได้
อย่าอคติต่อธรรม
คำว่า "ธรรม" นี้ หมายถึง ขบวนการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งในธรรม หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งธรรมชาติ ทั้งมนุษย์สรรสร้างและธรรมชาติสรรค์สร้าง คือ ธรรม ทุกสรรพสิ่งหนีไม่ออกจากธรรม
วิธ๊ทำ จิตใจผ่องใส
ทำจิตใจให้ผ่องใส หมายถึง มีสติสัมปชัญญะทำจิตใจให้ระมัดระวังความชั่ว ความผิด
เพราะว่า ถ้าเราไปย่ำกรายกับความทุกข์เราย่อมเกิดทุกข์ เหตุเพราะว่าการทำอกุศลจะทำให้เกิดทุกข์ ผลก็คือทุกข์
และคำว่า "บริสุทธิ์" บริสุทธิ์จากความชั่ว ความคิดที่ชั่ว การกระทำที่ไม่ดี อกุศล
"ชำระจิตของตนให้ "สะอาด" "บริสุทธิ์" "ผ่องใส" ควรใช้ศัพท์นี้หรือไม่?
ทำจิตของตนให้สะอาด
คนทั่วไปก็จะคิดว่าจะล้างด้วยผงซักฟอกหรือล้างด้วยซันไลน์
ควรใช้ศัพท์ว่า "ให้อภัยและให้โอกาส" จิตใจเราก็จะผ่องใสไหม? จิตใจของเราก็จะไม่เคียดแค้น ไม่จองเวร เราไม่จองอยู่ในมิจฉา
เราไม่ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส" หรือ "ชำระจิตของตนให้บริสุทธิ์"
ควรใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติ"
ตามสโลแกนหัวใจของวันมาฆะบูชา ก็คือ
๑. ไม่ทำชั่ว
๒. ทำดี
๓. ชำระจิตของตนให้ปราศจากอคติต่อธรรม
ถ้าเราไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส เราก็จะอคติต่อธรรม เพราะว่าทุกคนเคยผิดพลาดมาทั้งนั้น นั่นชัดเจนเลยว่าเราควรทำอะไร
เพราะอะไรเราไม่ใช้คำว่า "ชำระจิตของตนให้ผ่องใส หรือบริสุทธิ์" เพราะว่า "ผ่องใส" และ "บริสุทธิ์" เป็นศัพท์ที่กว้างเกินไป เป็นศัพท์ที่หลากหลายเกินไป พอพูดออกมาแล้ว ข้างในแปลได้ร้อยแปดพันเก้า คนก็จะงง เราจะต้องจี้ให้ชัดเจนไปเลย ตัวเดียวขอให้ทำให้ได้ไปเลย
"อคติ" แปลว่า ลำเอียง หรือ เข้าข้างตามใจตนเอง มี ๔ อย่างคือ
๑. ลำเอียงเพราะรัก
๒. ลำเอียงเพราะชัง
๓. ลำเอียงเพราะกลัว
๔. ลำเอียงเพราะหลง
เพราะเรามีความลำเอียง เราจึงไม่ให้อภัย ไม่ให้โอกาส ถ้าเราไม่ลำเอียงเราก็ให้อภัยให้โอกาสได้
อย่าอคติต่อธรรม
คำว่า "ธรรม" นี้ หมายถึง ขบวนการก่อเกิดทุกสรรพสิ่งในธรรม หรือทุกสิ่งทุกอย่าง ทั้งหลายทั้งปวง รวมทั้งธรรมชาติ ทั้งมนุษย์สรรสร้างและธรรมชาติสรรค์สร้าง คือ ธรรม ทุกสรรพสิ่งหนีไม่ออกจากธรรม