อีสานโพล เผย คนอีสาน เลือก 'อุ๊งอิ๊ง' เป็นนายกฯ ทิ้งห่าง 'ประยุทธ์' ลิบ
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7539174
อีสานโพล เผย คนอีสาน เลือก ‘อุ๊งอิ๊ง’ เป็นนายกฯ ทิ้งห่าง ‘ประยุทธ์’ ลิบ ชี้ให้ความสำคัญนโยบายขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ รองลงมาคือนโยบายการแก้หนี้-พักหนี้
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 2 มี.ค.2566 รศ.ดร.
สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน หรือ ECBER คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยผลสำรวจเรื่องนโยบายเศรษฐกิจที่ใช่ของคนอีสาน จากการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน โดยผลสำรวจพบว่า 5 นโยบายเศรษฐกิจเด่น ที่คนอีสานให้ความสำคัญช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง คือ นโยบายขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ ,นโยบายแก้หนี้ ,พักหนี้ ,เติมทุน นโยบายบำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ ,นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ ,คนละครึ่ง และ นโยบายการลดค่าน้ำมัน,ค่าแก๊ส,ค่าไฟ,หนุนโซล่าเซลล์
รศ.ดร.
สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล กล่าวว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจที่คนอีสานให้ความสำคัญ และความนิยมของพรรคการเมือง จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,200 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด โดยเริ่มจากคำถามที่ว่าท่านให้ความสำคัญกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจในประเด็นใดมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อการเลือก ส.ส. หรือสนับสนุนพรรคการเมือง (เลือกได้เพียงข้อเดียว)
และสอบถามต่อว่า นโยบายเศรษฐกิจที่ท่านให้ความสำคัญ ของพรรคการเมืองใด จะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวท่านมากที่สุด และทำการประมวลผลว่านโยบายใดถูกให้ความสำคัญมากที่สุดและนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองใดสามารถดึงฐานเสียงหรือสร้างการตอบรับได้มากน้อยเพียงใด
“คำถามดังกล่าวเป็นการอิงตามนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองที่อัดแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง 5 นโยบายแรก พบว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ เป็นสิ่งที่คนอีสานชื่นชอบมากถึงร้อยละ 15.7 รองลงมาคือ นโยบายการแก้หนี้,พักหนี้และเติมทุน ที่คะแนนร้อยละ 13.9 นโยบายบำนาญหรือเบี้ยงผู้สูงอายุ ได้คะแนนร้อยละ 11.1
นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐและคนละครึ่งได้คะแนนร้อยละ 9 และนโยบายลดค่าน้ำมัน,ค่าก๊าซหุงต้ม,ค่าไฟและหนุนโซลาเซลล์ได้คะแนนร้อยละ 8.3 โดยนโยบายเรื่องการจัดการน้ำแล้งและน้ำท่วมได้คะแนนต่ำที่สุดคือร้อยละ 1.1 เท่านั้น
ขณะที่นโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจที่ถกให้ความสำคัญที่สุด อันดับแรกหรือพรรคเพื่อไทยด้วยคะแนนร้อยละ 14.5 รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 6.3”
รศ.ดร.
สุทิน กล่าวต่ออีกว่า สำหรับคำถามที่ว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. บัญชีรายชื่อให้พรรคใด ซึ่งผลสำรวจพบว่าอันดับที่ 1 คนอีสานเลือกพรรคเพื่อไทย มากถึงร้อยละ 33.4 รองลงมาพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 16.0 อันดับ 3 พรรคก้าวไกล ร้อยละ14.6 ตามมาด้วย พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 11.1 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 5.7 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.5 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.9
และถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดพบว่าอันดับ 1 เป็นของ น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 30.1 รองลงมา คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 17.1 อันดับ 3 นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 14.5 อันดับ 4 พล.อ.
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.2 อันดับที่ 5 นาย
อนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 10.8 และ อันดับที่ 6 คือ พล.อ.
ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 5.3
คนปัตตานี โวย 'บัตรคนจน' จนจริงแต่ไม่ได้ ผู้พิการ โพสต์ถาม ทำไมไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7538989
คนปัตตานี โวย ‘บัตรคนจน’ จนจริงแต่ไม่ได้ อยากรู้ใช้เกณฑ์อะไรชี้วัด ผู้พิการ โพสต์ตั้งคำถาม ทำไมไม่ได้ ทั้งๆที่พิการมาแต่กำเนิดและไม่มีรายได้
วันที่ 2 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ธนาคารกรุงไทย ปัตตานี เกือบทุกสาขาเต็มไปด้วยประชาชนเข้ามาใช้บริการยืนยันบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเนืองแน่นเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันมีประชาชนหลายคนต้องผิดหวัง หลังถูกปฏิเสธจากระบบที่รัฐออกแบบมา ทั้งที่ประชาชนเป็นคนยากจน บางคนไม่มีที่ดินแม้จะซุกหัวนอน แต่ยังถูกปฏิเสธ มีการตั้งคำถามจากประชาชนมากมายว่ารัฐใช้อะไรเป็นเกณฑ์ เป็นตัวชี้วัดอะไรที่ยืนยันความยากจนของประชาชนที่สมควรได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ล่าสุด นาย
กูพัครูรอซี กูโน นักกิจกกรรมช่วยเหลือสังคมคนพิการในพื้นที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี โพสต์ข้อความ ด้วยความน้อยใจกับความสิ้นหวังหลังถูกปฏิเสธจากระบบ ความว่า
ขอโทษที่พูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาเราเคยเดินดินสร้างโอกาสให้คนในสังคมมากมาย ทั้งๆที่รู้ว่าเราเป็นคนที่พิการตั้งเเต่กำเนิดอยู่เเล้ว จากที่เราเคยเป็นคนให้เสมอมา เเละเเล้วพอกลับทางเดินเราเองกลับไม่ได้รับโอกาสต่างๆ
บางครั้งอาจจะน้อยใจ ผิดหวัง ต่างๆนานา การถูกจำกัดสิทธิต่างๆด้วยข้ออ้างของคนบางคนจนทำให้เราอยู่ยากขึ้น เราไม่ได้เรียกร้องอะไรเลยขอเเค่เรานั้นได้รับสิทธิตามที่เราควรได้รับตามกฎแห่งความเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติก็พอ
ทุกส่วนที่เรามองจากมุมเล็กๆมุมหนึ่งที่เขาอาจจะย่อมมองข้ามไปในเเละทับสิทธิ์ของคนที่ด้อยกว่าเสมอไป บางสิ่งเราคนทุกคนได้รับ เเต่กลับตรงข้ามกันที่เราควรได้เเต่กลับมามองตนเองเสมอไป คำพูดเเละความคิดของคนเเต่ละคนย่อมเเตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง ความหมาย ความคิดของมนุษย์มีหลายเเบบ ที่เราพบเจอ ข้อมูลในระบบเเค่ข้อมูลที่อาจจะไม่เห็นถึงความเดือดร้อน ความลำบาก ในเชิงลึกเรามีความลำบากจริงเเต่เราถูกมองข้าม เเละ ถูกเลือกปฏิบัติโดยข้อมูล
ข้อมูลเป็นเกณฑ์ที่เหนือกว่าความเมตตาธรรม มันก็คลาดเคลื่อนไปตามระบบ ในเชิงลึกที่เรามองเห็นเรานั้นอาจจะดูเเค่ภายนอก แต่ภายในความรู้สึกล่ะครับก็เหมือนกับน้อยใจ ผิดหวังมากในความรู้สึกของเราเอง
https://www.facebook.com/Tuanphakrurosi.kuno/posts/pfbid0aJwKL4mMzRLTpuUhjLWdxJMWRu5XokhTQ8wf4kECzhDxX3cgqsyBdfVFYxfbmkul
ศก.ชะลอตัวทำส่งออก ม.ค. 66 ติดลบ 4.5% ร่วงต่อเนื่อง 4 เดือนติด
https://www.matichon.co.th/economy/news_3852538
นาย
สินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมกราคม 2566 ภาคการส่งออกไทย มีมูลค่าอยู่ที่ 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่า 700,127 ล้านบาท ติดลบ 4.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ถือเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยหากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย จะติดลบ 3.0 % ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.5% ขาดดุลการค้าที่ 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
นาย
สินิตย์ กล่าวว่า สินค้าหมวดส่งออกหลัก ได้แก่ สินค้าเกษตร มีมูลค่าที่ 1,814.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 62,734 ล้านบาท ลดลง 2.2% แต่ยังมีสินค้าเกษตรบางตัวที่ขยายตัวได้ อาทิ ข้าว ขยายตัวในรอบ 3 เดือน บวก 72.3% มีมูลค่า 412.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 14,277 ล้านบาท ไก่สดแช่แข็งหรือเย็น สามารถขยายตัวได้ 8 เดือนต่อเนื่อง บวก 40% มีมูลค่า 103.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,566 ล้านบาท ผลไม้สด ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง บวก2.5% มีมูลค่า 156.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5,403 ล้านบาท เฉพาะทุเรียน มีการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน บวก 53.3% มีมูลค่า 72.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,509 ล้านบาท สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าที่ 1,585.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 54,829 ล้านบาท ลดลง 3.3% และสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 16,053.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 555,046 ล้านบาท ลดลง 5.4%
ทั้งนี้ ตลาดที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2566 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.ซาอุดีอาระเบีย บวก 68.8% 2.อิรัก บวก 57.7% 3.อิตาลี 51.5% 4.บรูไน 495% 5.แอฟริกาใต้ 47.9% 6.สิงคโปร์ 27.3% 7.เม็กซิโก 16.4% 8.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 14.4% 9.บังกลาเทศ 6.9% 10.อินเดีย 5.3%
นาย
ชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ช่วงปลายปี 2565 ตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นมา เห็นการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและขาดความเชื่อมั่นในตลาดโลก ทำให้เดือนมกราคม ที่ผ่านมา ไม่น่าแปลกใจที่การส่งออกชะลอตัวลง และมีความชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้มองเห็นปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการส่งออกไทย มีการขยับตัวและมีสัญญาณที่ดีขึ้น ได้แก่ 1.ดัชนีพีเอ็มไอของสหรัฐ หรือจีน เริ่มมีการคงที่และขยับตัวดีขึ้น สะท้อนถึงภาคการผลิต โดยเฉพาะจีน เศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะการเร่งฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะมีผลอย่างมากต่อการส่งออกของไทย โดยคาดการณ์ว่าไตรมาส 2/2566 เศรษฐกิจจีนจะปรับตัวขึ้นแบบเป็นรูปเป็นร่าง
นาย
ชัยชาญ กล่าวว่า 2.ต้นปี 2565 มีการขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบหลายตัว ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการตุนสินค้าเพิ่มเติม เป็นตัวเร่งการส่งออกมากขึ้น โดยครึ่งปี 2565 มีการส่งออกเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 24,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมาก เมื่อเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง 2565 หดตัว ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงเหลือ 22,900 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่างการส่งออกและปริมาณความต้องการในตลาดโลก จทำให้เกิดภาวะสินค้าคงคลังมีมากขึ้น ผู้นำเข้าไม่ได้นำเข้าเพิ่มเติมเพื่อการผลิต แต่มองว่าอาจดีขึ้นในไตรมาส 2 นี้ 3.สินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว ถือเป็นสินค้าที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออก รวมถึงรถยนต์ที่เห็นปริมาณการส่งออกในเดือนมกราคม 2566 ค่อนข้างสูง สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนซิปที่หมดลงแล้ว
นาย
ชัยชาญ กล่าวว่า 4.ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือในปี 2566 คาดว่าไม่น่าจะเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้ว ระบบการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีปัญหาแน่นอน รวมถึงค่าระวางเรือกลับสู่ภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2562 หรืออยู่ต่ำกว่าปกติในบางประเทศด้วย โดยปี 2565 เห็นการส่งออกไปตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น 23.7% เฉพาะซาอุดิอาระเบีย ที่โต 68.8% สะท้อนถึงประเทศยุทธศาสตร์ในการทำการค้านั้น ไม่ใช่เลือกเพียงประเทศหลัก แต่ต้องประเมินประเทศรอง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และ 5.ค่าเงินบาท ช่วงต้นปี 2566 เคลื่อนไหวอยู่ที่ 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่กล้าเจรจาการค้ามากนัก แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถือเป็นแรงสนับสนุนให้การส่งออกไทยมีแต้มต่อมากขึ้น และเป็นไปตามทิศทางของคู่ค้าและคู่แข่งด้วย
JJNY : 6in1 อีสานโพลเผย│คนปัตตานีโวย'บัตรคนจน'│ส่งออกติดลบ│ณัฐวุฒิสวนตู่│“นิติพล”รับหนังสือ│ทำไมรัสเซียต้องการ“บัคมุต”
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7539174
อีสานโพล เผย คนอีสาน เลือก ‘อุ๊งอิ๊ง’ เป็นนายกฯ ทิ้งห่าง ‘ประยุทธ์’ ลิบ ชี้ให้ความสำคัญนโยบายขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ รองลงมาคือนโยบายการแก้หนี้-พักหนี้
เมื่อเวลา 13.00 น. วันที่ 2 มี.ค.2566 รศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการสำรวจอีสานโพล ศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน หรือ ECBER คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยผลสำรวจเรื่องนโยบายเศรษฐกิจที่ใช่ของคนอีสาน จากการลงพื้นที่สำรวจกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่ 20 จังหวัดภาคอีสาน โดยผลสำรวจพบว่า 5 นโยบายเศรษฐกิจเด่น ที่คนอีสานให้ความสำคัญช่วงหาเสียงเลือกตั้งที่กำลังจะมาถึง คือ นโยบายขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ ,นโยบายแก้หนี้ ,พักหนี้ ,เติมทุน นโยบายบำนาญหรือเบี้ยผู้สูงอายุ ,นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐ ,คนละครึ่ง และ นโยบายการลดค่าน้ำมัน,ค่าแก๊ส,ค่าไฟ,หนุนโซล่าเซลล์
รศ.ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพล กล่าวว่า การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานเกี่ยวกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจที่คนอีสานให้ความสำคัญ และความนิยมของพรรคการเมือง จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,200 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด โดยเริ่มจากคำถามที่ว่าท่านให้ความสำคัญกับนโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจในประเด็นใดมากที่สุด ซึ่งส่งผลต่อการเลือก ส.ส. หรือสนับสนุนพรรคการเมือง (เลือกได้เพียงข้อเดียว)
และสอบถามต่อว่า นโยบายเศรษฐกิจที่ท่านให้ความสำคัญ ของพรรคการเมืองใด จะเป็นประโยชน์ต่อครอบครัวท่านมากที่สุด และทำการประมวลผลว่านโยบายใดถูกให้ความสำคัญมากที่สุดและนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองใดสามารถดึงฐานเสียงหรือสร้างการตอบรับได้มากน้อยเพียงใด
“คำถามดังกล่าวเป็นการอิงตามนโยบายของแต่ละพรรคการเมืองที่อัดแคมเปญหาเสียงเลือกตั้ง 5 นโยบายแรก พบว่า นโยบายการขึ้นค่าแรงและเงินเดือนขั้นต่ำ เป็นสิ่งที่คนอีสานชื่นชอบมากถึงร้อยละ 15.7 รองลงมาคือ นโยบายการแก้หนี้,พักหนี้และเติมทุน ที่คะแนนร้อยละ 13.9 นโยบายบำนาญหรือเบี้ยงผู้สูงอายุ ได้คะแนนร้อยละ 11.1
นโยบายเพิ่มเงินบัตรประชารัฐและคนละครึ่งได้คะแนนร้อยละ 9 และนโยบายลดค่าน้ำมัน,ค่าก๊าซหุงต้ม,ค่าไฟและหนุนโซลาเซลล์ได้คะแนนร้อยละ 8.3 โดยนโยบายเรื่องการจัดการน้ำแล้งและน้ำท่วมได้คะแนนต่ำที่สุดคือร้อยละ 1.1 เท่านั้น
ขณะที่นโยบายหาเสียงด้านเศรษฐกิจที่ถกให้ความสำคัญที่สุด อันดับแรกหรือพรรคเพื่อไทยด้วยคะแนนร้อยละ 14.5 รองลงมาคือพรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 6.3”
รศ.ดร.สุทิน กล่าวต่ออีกว่า สำหรับคำถามที่ว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. บัญชีรายชื่อให้พรรคใด ซึ่งผลสำรวจพบว่าอันดับที่ 1 คนอีสานเลือกพรรคเพื่อไทย มากถึงร้อยละ 33.4 รองลงมาพรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 16.0 อันดับ 3 พรรคก้าวไกล ร้อยละ14.6 ตามมาด้วย พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 11.1 พรรครวมไทยสร้างชาติ ร้อยละ 11.1 พรรคพลังประชารัฐ ร้อยละ 5.7 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.5 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.9
และถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุดพบว่าอันดับ 1 เป็นของ น.ส. แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 30.1 รองลงมา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 17.1 อันดับ 3 นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 14.5 อันดับ 4 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.2 อันดับที่ 5 นายอนุทิน ชาญวีรกูล ร้อยละ 10.8 และ อันดับที่ 6 คือ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ ร้อยละ 5.3
คนปัตตานี โวย 'บัตรคนจน' จนจริงแต่ไม่ได้ ผู้พิการ โพสต์ถาม ทำไมไม่ได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7538989
คนปัตตานี โวย ‘บัตรคนจน’ จนจริงแต่ไม่ได้ อยากรู้ใช้เกณฑ์อะไรชี้วัด ผู้พิการ โพสต์ตั้งคำถาม ทำไมไม่ได้ ทั้งๆที่พิการมาแต่กำเนิดและไม่มีรายได้
วันที่ 2 มี.ค.2566 ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศที่ธนาคารกรุงไทย ปัตตานี เกือบทุกสาขาเต็มไปด้วยประชาชนเข้ามาใช้บริการยืนยันบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเนืองแน่นเหมือนทุกครั้งที่ผ่านมา
ขณะเดียวกันมีประชาชนหลายคนต้องผิดหวัง หลังถูกปฏิเสธจากระบบที่รัฐออกแบบมา ทั้งที่ประชาชนเป็นคนยากจน บางคนไม่มีที่ดินแม้จะซุกหัวนอน แต่ยังถูกปฏิเสธ มีการตั้งคำถามจากประชาชนมากมายว่ารัฐใช้อะไรเป็นเกณฑ์ เป็นตัวชี้วัดอะไรที่ยืนยันความยากจนของประชาชนที่สมควรได้รับบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ
ล่าสุด นายกูพัครูรอซี กูโน นักกิจกกรรมช่วยเหลือสังคมคนพิการในพื้นที่ อ.มายอ จ.ปัตตานี โพสต์ข้อความ ด้วยความน้อยใจกับความสิ้นหวังหลังถูกปฏิเสธจากระบบ ความว่า
ขอโทษที่พูดถึงความจริงที่เกิดขึ้นที่ผ่านมาเราเคยเดินดินสร้างโอกาสให้คนในสังคมมากมาย ทั้งๆที่รู้ว่าเราเป็นคนที่พิการตั้งเเต่กำเนิดอยู่เเล้ว จากที่เราเคยเป็นคนให้เสมอมา เเละเเล้วพอกลับทางเดินเราเองกลับไม่ได้รับโอกาสต่างๆ
บางครั้งอาจจะน้อยใจ ผิดหวัง ต่างๆนานา การถูกจำกัดสิทธิต่างๆด้วยข้ออ้างของคนบางคนจนทำให้เราอยู่ยากขึ้น เราไม่ได้เรียกร้องอะไรเลยขอเเค่เรานั้นได้รับสิทธิตามที่เราควรได้รับตามกฎแห่งความเป็นพลเมืองที่เท่าเทียมกันโดยปราศจากการเลือกปฏิบัติก็พอ
ทุกส่วนที่เรามองจากมุมเล็กๆมุมหนึ่งที่เขาอาจจะย่อมมองข้ามไปในเเละทับสิทธิ์ของคนที่ด้อยกว่าเสมอไป บางสิ่งเราคนทุกคนได้รับ เเต่กลับตรงข้ามกันที่เราควรได้เเต่กลับมามองตนเองเสมอไป คำพูดเเละความคิดของคนเเต่ละคนย่อมเเตกต่างกันออกไปโดยสิ้นเชิง ความหมาย ความคิดของมนุษย์มีหลายเเบบ ที่เราพบเจอ ข้อมูลในระบบเเค่ข้อมูลที่อาจจะไม่เห็นถึงความเดือดร้อน ความลำบาก ในเชิงลึกเรามีความลำบากจริงเเต่เราถูกมองข้าม เเละ ถูกเลือกปฏิบัติโดยข้อมูล
ข้อมูลเป็นเกณฑ์ที่เหนือกว่าความเมตตาธรรม มันก็คลาดเคลื่อนไปตามระบบ ในเชิงลึกที่เรามองเห็นเรานั้นอาจจะดูเเค่ภายนอก แต่ภายในความรู้สึกล่ะครับก็เหมือนกับน้อยใจ ผิดหวังมากในความรู้สึกของเราเอง
https://www.facebook.com/Tuanphakrurosi.kuno/posts/pfbid0aJwKL4mMzRLTpuUhjLWdxJMWRu5XokhTQ8wf4kECzhDxX3cgqsyBdfVFYxfbmkul
ศก.ชะลอตัวทำส่งออก ม.ค. 66 ติดลบ 4.5% ร่วงต่อเนื่อง 4 เดือนติด
https://www.matichon.co.th/economy/news_3852538
นายสินิตย์ เลิศไกร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า สถานการณ์การค้าระหว่างประเทศของไทยเดือนมกราคม 2566 ภาคการส่งออกไทย มีมูลค่าอยู่ที่ 20,249.5 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือคิดเป็นมูลค่า 700,127 ล้านบาท ติดลบ 4.5% เทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2565 ถือเป็นการติดลบต่อเนื่องเป็นเดือนที่ 4 โดยหากหักสินค้าเกี่ยวเนื่องกับน้ำมัน ทองคำ และยุทธปัจจัย จะติดลบ 3.0 % ส่วนการนำเข้า มีมูลค่า 24,899.1 ล้านเหรียญสหรัฐ ขยายตัว 5.5% ขาดดุลการค้าที่ 4,649.6 ล้านเหรียญสหรัฐ
นายสินิตย์ กล่าวว่า สินค้าหมวดส่งออกหลัก ได้แก่ สินค้าเกษตร มีมูลค่าที่ 1,814.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 62,734 ล้านบาท ลดลง 2.2% แต่ยังมีสินค้าเกษตรบางตัวที่ขยายตัวได้ อาทิ ข้าว ขยายตัวในรอบ 3 เดือน บวก 72.3% มีมูลค่า 412.9 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 14,277 ล้านบาท ไก่สดแช่แข็งหรือเย็น สามารถขยายตัวได้ 8 เดือนต่อเนื่อง บวก 40% มีมูลค่า 103.1 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 3,566 ล้านบาท ผลไม้สด ขยายตัว 3 เดือนต่อเนื่อง บวก2.5% มีมูลค่า 156.3 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 5,403 ล้านบาท เฉพาะทุเรียน มีการส่งออกขยายตัวต่อเนื่อง 3 เดือน บวก 53.3% มีมูลค่า 72.6 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 2,509 ล้านบาท สินค้าอุตสาหกรรมเกษตร มีมูลค่าที่ 1,585.8 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 54,829 ล้านบาท ลดลง 3.3% และสินค้าอุตสาหกรรม มีมูลค่า 16,053.4 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือ 555,046 ล้านบาท ลดลง 5.4%
ทั้งนี้ ตลาดที่ขยายตัวในเดือนมกราคม 2566 10 อันดับแรก ได้แก่ 1.ซาอุดีอาระเบีย บวก 68.8% 2.อิรัก บวก 57.7% 3.อิตาลี 51.5% 4.บรูไน 495% 5.แอฟริกาใต้ 47.9% 6.สิงคโปร์ 27.3% 7.เม็กซิโก 16.4% 8.สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 14.4% 9.บังกลาเทศ 6.9% 10.อินเดีย 5.3%
นายชัยชาญ เจริญสุข ประธานสภาผู้ส่งสินค้าทางเรือแห่งประเทศไทย (สรท.) กล่าวว่า ช่วงปลายปี 2565 ตั้งแต่เดือนกันยายน เป็นต้นมา เห็นการชะลอตัวลงของเศรษฐกิจและขาดความเชื่อมั่นในตลาดโลก ทำให้เดือนมกราคม ที่ผ่านมา ไม่น่าแปลกใจที่การส่งออกชะลอตัวลง และมีความชะลอตัวอย่างต่อเนื่อง แต่ขณะนี้มองเห็นปัจจัยต่างๆ ที่ส่งผลต่อการส่งออกไทย มีการขยับตัวและมีสัญญาณที่ดีขึ้น ได้แก่ 1.ดัชนีพีเอ็มไอของสหรัฐ หรือจีน เริ่มมีการคงที่และขยับตัวดีขึ้น สะท้อนถึงภาคการผลิต โดยเฉพาะจีน เศรษฐกิจน่าจะปรับตัวดีขึ้นได้ ซึ่งถือเป็นตัวแปรที่สำคัญ เพราะการเร่งฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนจะมีผลอย่างมากต่อการส่งออกของไทย โดยคาดการณ์ว่าไตรมาส 2/2566 เศรษฐกิจจีนจะปรับตัวขึ้นแบบเป็นรูปเป็นร่าง
นายชัยชาญ กล่าวว่า 2.ต้นปี 2565 มีการขาดแคลนสินค้าและวัตถุดิบหลายตัว ทำให้ราคาปรับเพิ่มขึ้น รวมถึงมีการตุนสินค้าเพิ่มเติม เป็นตัวเร่งการส่งออกมากขึ้น โดยครึ่งปี 2565 มีการส่งออกเฉลี่ยคิดเป็นมูลค่าอยู่ที่ 24,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ซึ่งถือว่าสูงมาก เมื่อเศรษฐกิจในครึ่งปีหลัง 2565 หดตัว ทำให้มูลค่าส่งออกลดลงเหลือ 22,900 ล้านเหรียญสหรัฐเท่านั้น จึงเกิดความไม่สมดุลระหว่างการส่งออกและปริมาณความต้องการในตลาดโลก จทำให้เกิดภาวะสินค้าคงคลังมีมากขึ้น ผู้นำเข้าไม่ได้นำเข้าเพิ่มเติมเพื่อการผลิต แต่มองว่าอาจดีขึ้นในไตรมาส 2 นี้ 3.สินค้าสำคัญ อาทิ ข้าว ถือเป็นสินค้าที่ช่วยขับเคลื่อนการส่งออก รวมถึงรถยนต์ที่เห็นปริมาณการส่งออกในเดือนมกราคม 2566 ค่อนข้างสูง สะท้อนถึงปัญหาการขาดแคลนซิปที่หมดลงแล้ว
นายชัยชาญ กล่าวว่า 4.ปัญหาการขาดแคลนตู้คอนเทนเนอร์ และค่าระวางเรือในปี 2566 คาดว่าไม่น่าจะเกิดปัญหานี้ขึ้นแล้ว ระบบการขนส่งระหว่างประเทศไม่มีปัญหาแน่นอน รวมถึงค่าระวางเรือกลับสู่ภาวะปกติก่อนเกิดโควิด-19 ในปี 2562 หรืออยู่ต่ำกว่าปกติในบางประเทศด้วย โดยปี 2565 เห็นการส่งออกไปตะวันออกกลางเพิ่มขึ้น 23.7% เฉพาะซาอุดิอาระเบีย ที่โต 68.8% สะท้อนถึงประเทศยุทธศาสตร์ในการทำการค้านั้น ไม่ใช่เลือกเพียงประเทศหลัก แต่ต้องประเมินประเทศรอง แต่ต้องมีเป้าหมายที่ชัดเจน และ 5.ค่าเงินบาท ช่วงต้นปี 2566 เคลื่อนไหวอยู่ที่ 32 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ทำให้ผู้ประกอบการยังไม่กล้าเจรจาการค้ามากนัก แต่ปัจจุบันอยู่ที่ 35 บาทต่อเหรียญสหรัฐ ถือเป็นแรงสนับสนุนให้การส่งออกไทยมีแต้มต่อมากขึ้น และเป็นไปตามทิศทางของคู่ค้าและคู่แข่งด้วย