1.GDP ไทยปี 65 โต 2.6% ผิดคาด หลังตัวเลข Q4/65 โตชะลอ
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ ระบุว่า การที่เศรษฐกิจไทยในปี 65 ขยายตัวได้เพียง 2.6% จากที่สภาพัฒน์เคยคาดไว้ที่ 3.2% นั้น เป็นเพราะเดิมสภาพัฒน์มองว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปี 66 แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 4/65 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีส่วนทำให้การส่งออกของไทยหดตัวแรงในช่วงไตรมาส 4/65 ด้วยเช่นกัน จึงทำให้การประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 คลาดเคลื่อนไปมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลสำคัญจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9660000015743
2.‘ไทยรั้งท้าย’ GDP ปี 2022 โตต่ำสุด! เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอาเซียน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของประเทศไทย ปี 2022 ขยายตัว 2.6% จากปีก่อน นับเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในหมู่ 6 เศรษฐกิจอาเซียน เหตุการส่งออกสินค้าและการอุปโภคภาครัฐปรับตัวลดลง แม้อุปโภค-บริโภคและการลงทุนของเอกชนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนภาครัฐปรับตัวดีขึ้น
https://thestandard.co/thailand-gdp-last-2022/
3.เปิด 8 ข้อเท็จจริง ของการเป็น “หนี้”ของคนไทย
ธปท. ชี้ให้เห็นว่า หนี้ครัวเรือนไทย เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ตั้งแต่ปี2563 หนี้ครัวเรือนเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 90%ต่อจีดีพี จากระดับ 60%ในปี 2553 นับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ภายในเวลาเพียง10ปี
และแม้ล่าสุด หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 3ปี 2565 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 87%ต่อจีดีพี แต่ระยะข้างหน้า “หนี้ครัวเรือนไทย” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/1053898
4.ประเทศไทยยังไงดี? ประชาชนเกือบครึ่ง ‘รายได้’ น้อยกว่า ‘ค่าครองชีพ’ ที่ต้องแบกแต่ละเดือน
ช่วงที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 18,145 บาท ในเดือนพฤศจิกายน 2565 จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และที่สำคัญคือรายจ่ายกว่า 45% ไปกองอยู่ที่ “ค่าที่พักอาศัยและพลังงาน” กับ “ค่าโดยสารและโทรศัพท์”
สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ครัวเรือนไทยเกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่าค่าครองชีพเฉลี่ย เพราะกว่า 40% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 16,852 บาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายนที่ 18,146 บาท
https://brandinside.asia/almost-half-of-thai-people-have-less-income-than-expense-in-2022/
ตอนนี้เศรษฐกิจไทย เป็นแบบไหนในสายตาของพวกคุณ
นายดนุชา พิชยนันท์ เลขาธิการสภาพัฒน์ ระบุว่า การที่เศรษฐกิจไทยในปี 65 ขยายตัวได้เพียง 2.6% จากที่สภาพัฒน์เคยคาดไว้ที่ 3.2% นั้น เป็นเพราะเดิมสภาพัฒน์มองว่าเศรษฐกิจโลกจะเริ่มชะลอตัวลงในช่วงปี 66 แต่ปรากฏว่าเศรษฐกิจโลกเริ่มชะลอตัวตั้งแต่ไตรมาส 4/65 ซึ่งเร็วกว่าที่คาดการณ์ไว้ และมีส่วนทำให้การส่งออกของไทยหดตัวแรงในช่วงไตรมาส 4/65 ด้วยเช่นกัน จึงทำให้การประมาณการเศรษฐกิจไทยในปี 65 คลาดเคลื่อนไปมาก ส่วนหนึ่งเป็นผลสำคัญจากความผันผวนของเศรษฐกิจโลก
https://mgronline.com/stockmarket/detail/9660000015743
2.‘ไทยรั้งท้าย’ GDP ปี 2022 โตต่ำสุด! เมื่อเทียบกับเพื่อนบ้านอาเซียน
สำนักงานสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานตัวเลข GDP ของประเทศไทย ปี 2022 ขยายตัว 2.6% จากปีก่อน นับเป็นการขยายตัวที่ต่ำที่สุดในหมู่ 6 เศรษฐกิจอาเซียน เหตุการส่งออกสินค้าและการอุปโภคภาครัฐปรับตัวลดลง แม้อุปโภค-บริโภคและการลงทุนของเอกชนยังขยายตัวอยู่ในเกณฑ์ดี การลงทุนภาครัฐปรับตัวดีขึ้น
https://thestandard.co/thailand-gdp-last-2022/
3.เปิด 8 ข้อเท็จจริง ของการเป็น “หนี้”ของคนไทย
ธปท. ชี้ให้เห็นว่า หนี้ครัวเรือนไทย เป็นปัญหาที่สะสมมานาน ตั้งแต่ปี2563 หนี้ครัวเรือนเร่งตัวขึ้นมาอยู่ที่ 90%ต่อจีดีพี จากระดับ 60%ในปี 2553 นับเป็นการเพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดด ภายในเวลาเพียง10ปี
และแม้ล่าสุด หนี้ครัวเรือนไทย ณ ไตรมาส 3ปี 2565 ปรับลดลงมาอยู่ที่ 87%ต่อจีดีพี แต่ระยะข้างหน้า “หนี้ครัวเรือนไทย” มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่องในระยะข้างหน้า
https://www.bangkokbiznews.com/news/detail/1053898
4.ประเทศไทยยังไงดี? ประชาชนเกือบครึ่ง ‘รายได้’ น้อยกว่า ‘ค่าครองชีพ’ ที่ต้องแบกแต่ละเดือน
ช่วงที่ผ่านมา ค่าใช้จ่ายของครัวเรือนไทยโดยเฉลี่ยอยู่ที่ 18,145 บาท ในเดือนพฤศจิกายน 2565 จากข้อมูลของสำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า และที่สำคัญคือรายจ่ายกว่า 45% ไปกองอยู่ที่ “ค่าที่พักอาศัยและพลังงาน” กับ “ค่าโดยสารและโทรศัพท์”
สิ่งที่น่ากังวลก็คือ ครัวเรือนไทยเกือบครึ่งมีรายได้น้อยกว่าค่าครองชีพเฉลี่ย เพราะกว่า 40% มีรายได้เฉลี่ยไม่เกิน 16,852 บาท น้อยกว่าค่าใช้จ่ายเฉลี่ยเดือนพฤศจิกายนที่ 18,146 บาท
https://brandinside.asia/almost-half-of-thai-people-have-less-income-than-expense-in-2022/