สตช.ทำหน้งสือฯขอขยายเวลาบังคับใช้ ‘พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานฯเฉพาะในหมวด 3 แต่สามนิ้วโยงมั่วว่านายกไม่มีความชอบธรรม

สตช. ทำหน้งสือถึงกระทรวงยุติธรรม ขอขยายเวลาบังคับใช้ ‘พ.ร.บ.ป้องกันซ้อมทรมานอุ้มหาย เฉพาะในหมวด 3

ส่วนหมวดอื่นๆ ยังมีผลบังคับใช้ตามวันที่กำหนดไว้

เมื่อ 6 ม.ค. 2566 สำนักงานตำรวจแห่งชาติ หรือ สตช. ทำหนังสือถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรม (โดยผ่านอธิบดีกรมคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ) เรื่อง ปัญหาข้อขัดข้องในการปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องกันและปราบปรามการทรมานและการกระทำให้บุคคลสูญหาย พ.ศ.2565 โดยมีพลตำรวจเอกดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) เป็นผู้ลงนาม 

เหตุผลที่สำนักงานตำรวจแห่งชาติยกขึ้นมา เพื่อขอเสนอขยายเวลาการบังคับใช้กฎหมายออกไปนั้น มีสามข้อหลักๆ ด้วยกัน
 
1. ด้านงบประมาณ กล้องสำหรับรองรับการปฏิบัติงานตามพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ยังไม่เพียงพอ โดยกล้องติดตัวเจ้าหน้าที่จะต้องจัดซื้ออีก 1.7 แสนตัว กล้องติดรถยนต์ควบคุมผู้ถูกตับอีก 1,578 ตัว และกล้องติดสถานที่ควบคุมผู้ถูกจับ 6,244 ตัว โดยจะต้องใช้งบประมาณดำเนินการ 3,473, ล้านบาท ทั้งนี้ ยังไม่รวมค่าใช้จ่ายเกี่ยวข้องกับการจัดระบบเก็บข้อมูลอีกด้วย ซึ่งงบประมาณดังกล่าว ไม่ได้อยู่ในแผนงบประมาณรายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 โดยจะต้องตั้งคำของบประมาณอย่างเร็วที่สุดคืองบประมาณปี พ.ศ. 2567 
 
2. ด้านการเตรียมความพร้อมบุคลากร เจ้าหน้าที่ตำรวจยังขาดความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานให้สอดคล้องกับพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ เนื่องจากเทคโนโลยีและอุปกรณ์บันทึกภาพและเสียงในปัจจุบันพัฒนาก้าวล้ำไปมาก ผลิตภัณฑ์มีหลายยี่ห้อ วิธีใช้งานแตกต่างกัน จำเป็นต้องใช้ระยะเวลาในการฝึกอบรมเพื่อให้ปฏิบัติหน้าที่ได้อย่างถูกต้อง
 
3. ปัญหาขัดข้องในการปฏิบัติงาน เนื่องจากความไม่ชัดเจนหรือคลุมเครือในบทกฎหมาย และยังไม่มีระเบียบหรือแนวทางการปฏิบัติอันเป็นมาตรฐานกลาง เพื่อให้หน่วยงานของรัฐที่มีอำนาจหน้าที่ในการจับกุมหรือควบคุมยึดถือปฏิบัติ

ข้อเสนอขยายเวลาบังคับใช้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ ของ สตช. ยังเป็นเพียง “ข้อเสนอ” เท่านั้น ยังไม่มีผลให้ พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ หมวด 3 ที่จะบังคับใช้ในวันที่ 22 ก.พ. 2566 ถูกขยายเวลาบังคับใช้ออกไปในทันที แต่ต้องมีการตัดสินใจจากฝ่ายบริหาร และมีการตรากฎหมาย เช่น พระราชกำหนด เพื่อมาแก้ไขพ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ มาตรา 2 ที่กำหนดระยะเวลาบังคับใช้ของกฎหมาย
 
ซึ่งผลสุดท้าย พ.ร.บ.ป้องกันการทรมานและการอุ้มหายฯ หมวด 3 จะถูกขยายเวลาบังคับใช้ออกไปหรือไม่ ก็ต้องติดตามกันต่อไป

https://prachatai.com/journal/2023/01/102250





แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่