วิธีปฏิบัติเมื่อมีคนติเตียนหรือยกย่องพระรัตนตรัย
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา กล่าวติเตียนพระธรรมหรือกล่าวติเตียนพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรผูกอาฆาตแค้นเคืองขุ่นใจคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอโกรธเคืองหรือไม่พอใจพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตราย๒- เพราะความโกรธเคืองนั้นได้ อนึ่ง พวกเธอจะรู้ได้หรือว่าที่พวกเขาพูดนั้นถูกหรือผิด”
@เชิงอรรถ :
@๑ อาคารทรงกลม ใช้เป็นที่พักร้อน โดยปกติจะมีสระน้ำและสวนดอกไม้ล้อมรอบ (ที.สี.อ. ๓/๔๓)
@๒ อันตรายในที่นี้หมายถึง อุปสรรคต่อการบรรลุธรรมชั้นสูง (ที.สี.อ. ๖/๕๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒}
พวกภิกษุกราบทูลว่า “รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้เห็นชัดว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา’
( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร] จูฬศีล )
------
ที่มา
https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=09&siri=1
วิธีปฏิบัติเมื่อมีคนติเตียนหรือยกย่องพระรัตนตรัย
[๕] พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “ภิกษุทั้งหลาย ถึงคนพวกอื่นจะพึงกล่าวติเตียนเรา กล่าวติเตียนพระธรรมหรือกล่าวติเตียนพระสงฆ์ก็ตาม พวกเธอไม่ควรผูกอาฆาตแค้นเคืองขุ่นใจคนพวกนั้น ถ้าพวกเธอโกรธเคืองหรือไม่พอใจพวกเขา พวกเธอก็จะประสบอันตราย๒- เพราะความโกรธเคืองนั้นได้ อนึ่ง พวกเธอจะรู้ได้หรือว่าที่พวกเขาพูดนั้นถูกหรือผิด”
@เชิงอรรถ :
@๑ อาคารทรงกลม ใช้เป็นที่พักร้อน โดยปกติจะมีสระน้ำและสวนดอกไม้ล้อมรอบ (ที.สี.อ. ๓/๔๓)
@๒ อันตรายในที่นี้หมายถึง อุปสรรคต่อการบรรลุธรรมชั้นสูง (ที.สี.อ. ๖/๕๓)
{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : ๙ หน้า : ๒}
พวกภิกษุกราบทูลว่า “รู้ไม่ได้ พระพุทธเจ้าข้า”
พระผู้มีพระภาคตรัสว่า “คำติเตียนนั้น ถ้าเป็นเรื่องไม่จริง พวกเธอควรชี้แจงให้เห็นชัดว่า ‘เรื่องนี้เป็นเรื่องไม่จริง ไม่ถูกต้อง ไม่มี และไม่ปรากฏในพวกเรา’
( พระสุตตันตปิฎก ทีฆนิกาย สีลขันธวรรค [๑. พรหมชาลสูตร] จูฬศีล )
------
ที่มา https://84000.org/tipitaka/read/m_siri.php?B=09&siri=1