เวลามีคนมากล่าวร้ายดูหมิ่นคุณของพระรัตตรัย พระพุทธองค์ให้หลักปฏิบัติไว้อย่างไร

ในสมัยพุทธกาล
มีนักบวชนอกพระพุทธศาสนากลุ่มหนึ่ง
มากล่าวร้าย มาตำหนิติเตียน
คุณของพระพุทธ
ติพระธรรม ติพระสงฆ์
ว่าไม่ดีอย่างนั้นอย่างนี้
พระภิกษุที่ยังไม่หมดกิเลส
พอได้ยินได้ฟังคำตำหนินั้น
ก็รู้สึกไม่พอใจ แค้นใจ
และคิดอาฆาตต่อผู้ที่มากล่าวร้ายนั้น
เมื่อพระพุทธองค์ทราบเหตุที่เกิดขึ้นเช่นนี้
จึงให้โอวาทเพื่อเตือนสติ
แก่เหล่าภิกษุที่เกิดความรู้สึกไม่พอใจว่า
ดูก่อนภิกษุทั้งหลาย
คนเหล่าอื่นพึงกล่าวติเรา
ติพระธรรม ติพระสงฆ์ ก็ตาม
ถ้าเธอทั้งหลาย
จักขุ่นเคือง หรือจักน้อยใจในคนเหล่านั้น
ด้วยเหตุนั้น อันตรายจักพึงมี
แก่เธอทั้งหลายนี่แหละ
ภิกษุ...
คนเหล่าอื่นจะตำหนิติเตียนอย่างไรก็ตาม
ถ้าพวกเธอมัวแต่โกรธหรือขัดเขืองใจในคำพูดนั้นอยู่
พวกเธอจะได้รู้ จะได้ฟังคำที่เป็นสุภาษิต
ของคนเหล่าอื่นหรือ
ภิกษุ...
คนเหล่าอื่นจะตำหนิติเตียนอย่างไรก็ตาม
ในคำที่เขากล่าวตินั้น
คำที่ไม่จริง
เธอทั้งหลายควรแก้ให้เห็นโดยความเป็นจริงว่า
นั่นไม่จริง เรื่องจริงเป็นอย่างนี้
นั้นไม่แท้ ที่แท้เป็นอย่างนี้...
-----
สรุป
เมื่อมีคนมากล่าวร้ายดูหมิ่นคุณของพระรัตตรัย
เราไม่ควรไปถือโทษโกรธแค้นเคืองคนนั้น
และเราก็ควรตั้งใจฟังว่า
สิ่งที่เขาดูหมิ่นอยู่นั้น
ยังไม่ถูกต้องตรงไหน
ยังเข้าใจผิดในเรื่องใด
แล้วก็ชี้แจงในสิ่งที่ถูกให้เขาฟัง
ตามกำลังสติปัญญาที่พอจะรับฟังได้

ปล.อ่านเนื้อความเพิ่มเติมเรื่องนี้ได้ใน
"พรหมชาลสูตร"
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่