ก็โดยสมัยนั้นแล พวกนักเลงหญิงหลายคนพากันไปเที่ยวรื่นเริงในสวน
ได้ส่ง ชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาคนหนึ่งว่า ขอให้นางมา
พวกเราจักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวน หญิงแพศยานั้นได้ตอบไปอย่างนี้ว่า
ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า พวกท่านเป็นใคร หรือเป็น พรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไป
นอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้ ครั้นแล้วชายสื่อนั้นได้แจ้งเรื่องนั้น แก่นักเลงหญิงเหล่านั้น
เมื่อชายสื่อแจ้งอย่างนั้นแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะนักเลงเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย พวกท่านไปอ้อนวอนหญิงแพศยานั้นทำไม ควรบอกท่านพระอุทายีมิดีหรือ
ท่านพระอุทายีจักส่ง มาให้เอง เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
อุบาสกคนหนึ่งได้กล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า คุณอย่าได้พูด อย่างนั้น
การกระทำเช่นนั้นไม่สมควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ท่านพระอุทายีจักไม่ ทำเช่นนั้น เมื่ออุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
นักเลงหญิงเหล่านั้น ได้พะนันกันว่า ท่านพระอุทายี จักทำหรือไม่ทำ
แล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พวกข้าพเจ้าพากัน
ไปเที่ยวรื่นเริงในสวนนี้ ได้ส่งชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาชื่อโน้นว่า
ขอให้นางมา พวกเรา จักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวน นางตอบอย่างนี้ว่า
ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า ท่านทั้งหลายเป็น ใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง
ดิฉันไปไม่ได้ ข้าแต่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าได้โปรดส่งหญิงแพศยา
นั้นไปให้สำเร็จประโยชน์ด้วยเถิด ขอรับ ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยานั้น
ครั้นแล้วได้ถามหญิงแพศยานั้นดังนี้ ว่า ทำไมเธอจึงไม่ไปหาคนเหล่านี้เล่า?
หญิงแพศยานั้นตอบว่า ดิฉันไม่ทราบว่า คนเหล่านี้เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งตัวมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง
ดิฉันไปไม่ได้ เจ้าค่ะ
อุ. จงไปหาคนเหล่านี้เถิด คนเหล่านี้ฉันรู้จัก
ญ. ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันจะไป เจ้าค่ะ ครั้งนั้น นักเลงหญิงเหล่านั้น
ได้พาหญิงแพศยานั้นไปเที่ยวสวน จึงอุบาสกนั้นเพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่ง เล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า
แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค..............
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ ...
คำว่า ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ความว่า ถูกสตรีวานไปในสำนักบุรุษ หรือถูกบุรุษวานไป ในสำนักสตรี
คำว่า บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรีก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของชายแก่ หญิงก็ดี
คำว่า บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรีก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของหญิงแก่ ชายก็ดี
คำว่า ในความเป็นเมียก็ตาม คือ บอกว่า เธอจักเป็นเมีย
คำว่า ในความเป็นชู้ก็ตาม คือ บอกว่า เธอจักเป็นชู้
คำว่า โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยาชั่วคราว
คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน มีความว่า ละอโคจรมีหญิงแพศยา
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในหญิง
แพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
๙. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรี ก็ดี
บอกความประสงค์ของสตรีแก่บุรุษก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ ฉะนี้
เรื่องพระอุทายี จบ
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส
เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มี
หญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
ไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
๒. สังกิตสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา ย่อมเป็นผู้คบ
หาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหา
ภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่
รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒
ว่าด้วยเรื่องนักเลงหญิง
ได้ส่ง ชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาคนหนึ่งว่า ขอให้นางมา
พวกเราจักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวน หญิงแพศยานั้นได้ตอบไปอย่างนี้ว่า
ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า พวกท่านเป็นใคร หรือเป็น พรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไป
นอกเมือง ดิฉันไปไม่ได้ ครั้นแล้วชายสื่อนั้นได้แจ้งเรื่องนั้น แก่นักเลงหญิงเหล่านั้น
เมื่อชายสื่อแจ้งอย่างนั้นแล้ว บุรุษคนหนึ่งได้กล่าวกะนักเลงเหล่านั้นว่า
ท่านทั้งหลาย พวกท่านไปอ้อนวอนหญิงแพศยานั้นทำไม ควรบอกท่านพระอุทายีมิดีหรือ
ท่านพระอุทายีจักส่ง มาให้เอง เมื่อบุรุษนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
อุบาสกคนหนึ่งได้กล่าวกะบุรุษผู้นั้นว่า คุณอย่าได้พูด อย่างนั้น
การกระทำเช่นนั้นไม่สมควรแก่พระสมณะเชื้อสายพระศากยบุตร
ท่านพระอุทายีจักไม่ ทำเช่นนั้น เมื่ออุบาสกนั้นกล่าวอย่างนี้แล้ว
นักเลงหญิงเหล่านั้น ได้พะนันกันว่า ท่านพระอุทายี จักทำหรือไม่ทำ
แล้วเข้าไปหาท่านพระอุทายีกล่าวดังนี้ว่า ข้าแต่พระคุณเจ้า พวกข้าพเจ้าพากัน
ไปเที่ยวรื่นเริงในสวนนี้ ได้ส่งชายสื่อไปในสำนักหญิงแพศยาชื่อโน้นว่า
ขอให้นางมา พวกเรา จักพากันเที่ยวรื่นเริงในสวน นางตอบอย่างนี้ว่า
ข้าแต่นาย ดิฉันไม่ทราบว่า ท่านทั้งหลายเป็น ใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งกายมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง
ดิฉันไปไม่ได้ ข้าแต่พระคุณเจ้า ขอพระคุณเจ้าได้โปรดส่งหญิงแพศยา
นั้นไปให้สำเร็จประโยชน์ด้วยเถิด ขอรับ ลำดับนั้น ท่านพระอุทายีเข้าไปหาหญิงแพศยานั้น
ครั้นแล้วได้ถามหญิงแพศยานั้นดังนี้ ว่า ทำไมเธอจึงไม่ไปหาคนเหล่านี้เล่า?
หญิงแพศยานั้นตอบว่า ดิฉันไม่ทราบว่า คนเหล่านี้เป็นใคร หรือเป็นพรรคพวกของใคร
อนึ่ง ดิฉันมีเครื่องแต่งตัวมาก มีเครื่องประดับเรือนมาก และจะต้องไปนอกเมือง
ดิฉันไปไม่ได้ เจ้าค่ะ
อุ. จงไปหาคนเหล่านี้เถิด คนเหล่านี้ฉันรู้จัก
ญ. ถ้าพระคุณเจ้ารู้จัก ดิฉันจะไป เจ้าค่ะ ครั้งนั้น นักเลงหญิงเหล่านั้น
ได้พาหญิงแพศยานั้นไปเที่ยวสวน จึงอุบาสกนั้นเพ่ง โทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนท่านพระอุทายีจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่ง เล่า
ภิกษุทั้งหลายได้ยินอุบาสกนั้นเพ่งโทษติเตียนโพนทะนาอยู่ บรรดาที่เป็นผู้มักน้อย
สันโดษ มีความละอาย มีความรังเกียจ ผู้ใคร่ต่อสิกขาต่างก็เพ่งโทษติเตียนโพนทะนาว่า
ไฉนท่านพระอุทายี จึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่ออันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า
แล้วกราบทูลเนื้อความนั้นแด่พระผู้มีพระภาค..............
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เหมาะ ไม่สม ไม่ควร ไม่ใช่กิจของสมณะ
ใช้ไม่ได้ ไม่ควรทำ ไฉน เธอจึงได้ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ อันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะหนึ่งเล่า
ดูกรโมฆบุรุษ การกระทำของเธอนั่น ไม่เป็นไปเพื่อความเลื่อมใส
ของชุมชนที่ยังไม่เลื่อมใส หรือเพื่อความเลื่อมใสยิ่งของชุมชนที่เลื่อมใสแล้ว โดยที่แท้
ดูกรภิกษุทั้งหลาย เพราะเหตุนั้นแล เราจักบัญญัติสิกขาบทแก่ภิกษุทั้งหลาย
อาศัยอำนาจ ประโยชน์ ๑๐ ประการ ...
คำว่า ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ ความว่า ถูกสตรีวานไปในสำนักบุรุษ หรือถูกบุรุษวานไป ในสำนักสตรี
คำว่า บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรีก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของชายแก่ หญิงก็ดี
คำว่า บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรีก็ดี คือ แจ้งความปรารถนาของหญิงแก่ ชายก็ดี
คำว่า ในความเป็นเมียก็ตาม คือ บอกว่า เธอจักเป็นเมีย
คำว่า ในความเป็นชู้ก็ตาม คือ บอกว่า เธอจักเป็นชู้
คำว่า โดยที่สุด บอกแม้แก่หญิงแพศยาอันจะพึงอยู่ร่วมชั่วขณะ คือ บอกว่า เธอจักเป็นภรรยาชั่วคราว
คำว่า อาจารโคจรสมฺปนฺโน มีความว่า ละอโคจรมีหญิงแพศยา
ก็โดยสมัยนั้นแล พวกลิจฉวีกุมารในเมืองเวสาลี จับภิกษุให้ปฏิบัติผิดในหญิง
แพศยา ภิกษุยินดี พระวินัยธรพึงให้นาสนะภิกษุเสีย ภิกษุไม่ยินดี ไม่ต้องอาบัติ.
๙. ๕. อนึ่ง ภิกษุใด ถึงความเป็นผู้ชักสื่อ บอกความประสงค์ของบุรุษแก่สตรี ก็ดี
บอกความประสงค์ของสตรีแก่บุรุษก็ดี ในความเป็นเมียก็ตาม ในความเป็นชู้ ก็ตาม เป็นสังฆาทิเสส
ก็สิกขาบทนี้ ย่อมเป็นอันพระผู้มีพระภาคทรงบัญญัติแล้ว แก่ภิกษุทั้งหลายด้วยประการ ฉะนี้
เรื่องพระอุทายี จบ
บทว่า สังฆาทิเสส ความว่า สงฆ์เท่านั้นให้ปริวาสเพื่ออาบัตินั้น ชักเข้าหาอาบัติเดิม
ให้มานัต เรียกเข้าหมู่ ไม่ใช่คณะมากรูปด้วยกัน ไม่ใช่บุคคลรูปเดียว เพราะฉะนั้น จึงตรัส
เรียกว่า สังฆาทิเสส คำว่า สังฆาทิเสส เป็นการขนานนาม คือ เป็นชื่อของอาบัตินิกายนั้นแล
แม้เพราะเหตุนั้น จึงตรัสเรียกว่า สังฆาทิเสส.
ดูกรภิกษุทั้งหลาย อีกประการหนึ่ง กุลบุตรผู้เคยเป็นอัญญเดียรถีย์ ไม่เป็นผู้มี
หญิงแพศยาเป็นโคจร ไม่มีหญิงหม้ายเป็นโคจร ไม่มีสาวเทื้อเป็นโคจร ไม่มีบัณเฑาะก์เป็นโคจร
ไม่มีภิกษุณีเป็นโคจร แม้เช่นนี้ ก็ชื่อว่าเป็นผู้ปฏิบัติให้สงฆ์ยินดี.
๒. สังกิตสูตร
ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการ
ย่อมเป็นที่รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ธรรม ๕ ประการ
เป็นไฉน คือ ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมเป็นผู้คบหาหญิงแพศยา ย่อมเป็นผู้คบ
หาหญิงหม้าย ย่อมเป็นผู้คบหาสาวเทื้อ ย่อมเป็นผู้คบหาบัณเฑาะก์ ย่อมเป็นผู้คบหา
ภิกษุณี ดูกรภิกษุทั้งหลาย ภิกษุผู้ประกอบด้วยธรรม ๕ ประการนี้แล ย่อมเป็นที่
รังเกียจสงสัยว่าเป็นปาปภิกษุ แม้จะเป็นผู้มีอกุปปธรรม ฯ
จบสูตรที่ ๒