JJNY : 5in1 ลดงบสถาบัน หวังช่วยปชช.│เจาะทีละพรรค│จับผิดเปิดตัวประยุทธ์│ตรุษจีน สมุยไม่คึกคัก│‘สหรัฐ-อียู’เสริมยูเครน

กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 'ลดงบสถาบันฯ' หวังช่วยวิกฤติ 'ค่าครองชีพ' ประชาชน
https://prachatai.com/journal/2023/01/102370
 
 
กษัตริย์ชาร์ลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรทรงมีพระราชประสงค์ ‘ลดงบสถาบันฯ’ โดยขอให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์นำเงินจำนวน 1,000 ล้านปอนด์ ซึ่งเป็นกำไรจากโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานลมแห่งใหม่ทั้งหมด 6 แห่งที่สำนักงานทรัพย์สินฯ ถือหุ้น ไปใช้เพื่อ ‘สาธารณะประโยชน์’ หลังประชาชนในประเทศเผชิญกับวิกฤตพลังงานและค่าครองชีพอย่างรุนแรง
 
20 ม.ค. 2566 สำนักข่าวบีบีซีของอังกฤษรายงานเมื่อวันที่ 19 ม.ค. ที่ผ่านมาว่าสมเด็จพระเจ้าชาลส์ที่ 3 แห่งสหราชอาณาจักรทรงมีพระราชประสงค์ให้นำเงินกำไรที่ได้จากโรงงานผลิตไฟฟ้าพลังงานลมซึ่งสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ (Crown Estate) เป็นผู้ดูแล ไปใช้เพื่อ ‘ประโยชน์สาธารณะ’ แทนการนำเงินไปเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับสถาบันกษัตริย์
 
เว็บไซต์ The National News ระบุว่า สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของอังกฤษเป็นเจ้าของโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลมจำนวน 6 แห่ง ซึ่งทำสัญญาร่วมลงทุนกับบริษัทเอกชนข้ามชาติด้านพลังงานหลายแห่ง อาทิ BP ของอังกฤษ, TotalEnergies ของฝรั่งเศส และ RWE ของเยอรมนี โดยควาซี ควาร์เทง (Kwasi Kwarteng) รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุทธศาสตร์ธุรกิจ พลังงานและอุตสาหกรรม ในสมัยของนายกรัฐมนตรีบอริส จอห์นสัน เป็นผู้อนุมัติให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ทำสัญญาร่วมลงทุนในธุรกิจดังกล่าวเมื่อเดือน ก.ค. 2565
 
โรงไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 6 แห่งที่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ของอังกฤษเป็นเจ้าของตั้งอยู่บริเวณชายฝั่งในเขตนอร์ทเวลส์ คัมเบรีย แลงคาเซอร์ ยอร์กเชอร์ ลินคอล์นเชอร์ และทะเลเหนือ มีกำลังการผลิตไฟฟ้ารวม 8 กิกะวัตต์ สามารถจำหน่ายกระแสไฟฟ้าครอบคลุมกว่า 7 ล้านครัวเรือน สัญญาการลงทุนดังกล่าวระบุว่ากำไรที่ได้จากการผลิตไฟฟ้าจำนวน 1,000 ล้านปอนด์/ปี จะถูกส่งมอบให้กับสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ผ่านทางกระทรวงการคลัง
 
สำนักข่าวบีบีซี ระบุว่า เงินรายปี (Sovereign Grant) ซึ่งเป็นค่าใช้จ่ายที่รัฐบาลอังกฤษจัดสรรและถวายให้แก่สถาบันกษัตริย์ ขณะนี้มีสัดส่วนอยู่ที่ 25 เปอร์เซ็นต์ของกำไรที่ได้จากการลงทุนในธุรกิจต่างๆ ของสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ตามข้อตกลงในปี 2560 ที่รัฐบาลอังกฤษยินยอมเพิ่มส่วนแบ่งเงินรายปีให้แก่สถาบันกษัตริย์ชั่วคราวเป็นเวลา 10 ปีเพื่อนำไปใช้บูรณะพระราชวังบักกิงแฮม จากเดิมที่ก่อนหน้านี้ สถาบันกษัตริย์อังกฤษได้รับเงินรายปี 15 เปอร์เซ็นต์ของกำไรจากการลงทุนของสำนักงานทรัพยสินส่วนพระมหากษัตริย์ สำหรับกำไรส่วนที่เหลือทั้งหมดจะเป็นของกระทรวงการคลัง โดยในปีงบประมาณ 2564-65 สถาบันกษัตริย์อังกฤษได้รับเงินรายปีจำนวน 86.3 ล้านปอนด์ เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณก่อนหน้า 400,000 ปอนด์

สำนักข่าวบีบีซีคาดว่าการลงทุนในธุรกิจการผลิตไฟฟ้าพลังงานลมทั้ง 6 แห่งจะทำให้สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์มีกำไรรวมเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ ซึ่งสวนทางกับแรงกดดันของสาธารณชนที่ต้องการลดงบสถาบันกษัตริย์ เพราะสัญญาการลงทุนระบุว่าบริษัทเอกชนผู้ร่วมลงทุนต้องมอบเงินกำไรจำนวน 1,000 ล้านปอนด์แก่สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ในระยะเวลา 3 ปีแรกเป็นอย่างน้อย ทั้งนี้ สำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ถือหุ้นอยู่ในโรงไฟฟ้าพลังงานลมรอบชายฝั่งสหราชอาณาจักรอยู่แล้วจำนวน 36 แห่ง
 
สำนักพระราชวังบักกิงแฮมได้ประกาศว่า สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงมีพระราชประสงค์ให้นำส่วนแบ่งกำไรที่ได้จากโรงผลิตไฟฟ้าพลังงานลม 6 แห่งใหม่ออกจากเงินรายปี ซึ่งบีบีซีตั้งข้อสังเกตว่าในสุนทรพจน์วันคริสต์มาสปีที่แล้ว สมเด็จพระเจ้าชาร์ลส์ที่ 3 ทรงมีพระราชดำรัสเกี่ยวกับวิกฤตค่าครองชีพที่ประชาชนชาวสหราชอาณาจักรกำลังเผชิญอยู่ และทรงมีท่าทีพยายามลดแรงกระทบกระทั่งจากกรณีที่เงินรายปีของสถาบันฯ เพิ่มสูงขึ้นซึ่งสวนทางกับสภาพเศรษฐกิจของประเทศและพระราชดำรัสของพระองค์ ขณะที่เซอร์ไมเคิล สตีเฟนส์ ผู้อำนวยการพระคลังข้างที่ (Privy Purse) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่ดูแลเงินส่วนพระองค์ของกษัตริย์อังกฤษได้ส่งจดหมายถึงนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังขอให้ “ตัดลบงบในสัดส่วนที่เหมาะสม” เพราะในขณะนี้ กระทรวงการคลังอยู่ในระหว่างการหารือกับสำนักงานทรัพย์ส่วนพระมหากษัตริย์เพื่อจัดทำงบสถาบันฯ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งในการจัดทำงบประมาณประจำปีของประเทศ
 
เรียบเรียงจาก
 
• King Charles to divert Crown Estate windfall to 'public good'
• Six new British wind farms set to power seven million homes
• Financial Reports 2021-22


 
‘ธำรงศักดิ์’ เจาะทีละพรรค ใครทำได้จริง ? ลั่น ไม่เชื่อใจอดีตรบ. มาจากรปห.- เคยโกหกคำโต หาเสียงไว้ไม่ทำ
https://www.matichon.co.th/politics/news_3781359

‘ธำรงศักดิ์’ เจาะทีละพรรค นโยบายเศรษฐกิจของใครทำได้จริง ? ลั่น ไม่เชื่อใจอดีตรัฐบาล มาจากการรัฐประหาร เคยโกหกคำโต หาเสียงแล้วไม่ทำ
 
เมื่อวันที่ 20 มกราคม สืบเนื่องกรณีพรรคการเมืองต่างๆ ทยอยออกนโยบายหาเสียง มุ่งแก้ปัญหาเศรษฐกิจปากท้องของประชาชน อาทิ พรรคเพื่อไทย ชูแรงงานขั้นต่ำวันละ 600 บาท, พรรคพลังประชารัฐ ปรับขึ้นเงินบัตรคนจนเดือนละ 700 บาท, พรรคภูมิใจไทย มีนโยบายพักหนี้ 3 ปี หยุดต้น ปลอดดอกเบี้ย คนละไม่เกิน 1 ล้าน, พรรคก้าวไกล จัดสวัสดิการก้าวหน้า ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ ดันนโยบายประกันรายได้สินค้าเกษตร ชาวนารับ 30,000 บาทต่อครัวเรือน เป็นต้น
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ ม.รังสิต ให้สัมภาษณ์ ‘มติชน’ ถึงมุมมองที่มีต่อนโยบายดังกล่าวว่า นโยบายหาเสียงออกมาตอนนี้ ตนคิดว่าน่าจะแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่เคยเป็นรัฐบาลแล้ว หรือกำลังเป็นรัฐบาลอยู่ 2.กลุ่มที่เป็นฝ่ายค้าน
 
สำหรับ กลุ่มที่เคยเป็นรัฐบาล ประกอบด้วยพรรคพลังประชารัฐ (พปชร.) และพรรคที่แยกตัวใหม่อย่าง รวมไทยสร้างชาติ (รทสช.) ซึ่งผู้นำของเขาก็คือ ผู้นำ คสช. และมีพรรคภูมิใจไทย (ภท.) พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ซึ่ง 4 พรรคนี้เราจะเห็นได้ว่าในช่วงของการเป็นรัฐบาลมาเกือบ 4 ปี เราแทบไม่เห็นนโยบายตามที่หาเสียงไว้ในการเลือกตั้งปี 2562
 
ดังนั้น สิ่งที่เกิดขึ้นคือ เราจะไว้วางใจพรรคที่เป็นรัฐบาลมาก่อน ว่าจะทำตามนโยบายหาเสียงในการเลือกตั้งปี 2566 ได้หรือไม่ พฤติกรรมเหล่านั้นชี้ว่า เราไม่น่าจะเชื่อใจได้เลย เพราะการสร้างนโยบาย ก็คือการสร้างภาพและแรงจูงใจให้คนลงคะแนนเสียงให้กับพรรคนั้นๆ
 
แต่ตอนนี้ผมคิดว่า ประสบการณ์ของคนไทยที่เคยเลือกพรรคเหล่านี้จะเห็นข้อเท็จจริงอย่างสำคัญว่า พรรคเหล่านี้ไม่ได้ทำตามสิ่งที่ตนประกาศเป็นนโยบาย แถมยังมีหลายเรื่องที่เป็นคำโกหกคำโตด้วย ดังนั้น ผมจึงประเมินว่า เชื่อใจได้ยากต่อพรรคที่เคยเป็นรัฐบาลมาแล้ว” รศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าว
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวต่อว่า สำหรับพรรคที่ยังไม่เคยเป็นรัฐบาล หรือ ในส่วนของฝ่ายค้าน เราจะเห็นพรรคเพื่อไทย (พท.) และ พรรคก้าวไกล (ก.ก.) ซึ่งในกรณีของพรรคเพื่อไทย คนก็จะย้อนกลับไปมองถึงความเป็น ‘พรรคไทยรักไทย’ จากทรงจำที่พรรคไทยรักไทย สามารถผลักดันนโยบายหลายอย่างได้จริง เช่น 30 บาทรักษาทุกโรค ซึ่งตอนนี้ก็กลับมาในการหาเสียงอีกครั้งหนึ่งว่าจะยกระดับให้ดีขึ้น
 
ผมคิดว่าคนเชื่อมั่นจริงๆ จากการที่พรรคนี้เคยทำให้การเข้าถึงโรงพยาบาลที่เป็นไปอย่างยากลำบาก ทำได้ง่ายขึ้น และได้รับการบริการที่ดีขึ้นในช่วงชีวิต 20 ปีที่ผ่านมา คนก็มองเห็นว่าอย่างน้อยๆ ทีมของเพื่อไทย ก็คงเป็นทีมที่สามารถบริหารจัดการ ทำตามวัตถุประสงค์ได้ รวมทั้งเขยิบไปถึงเรื่องเงินเดือนของบัณฑิตจบใหม่ เรื่องของค่าแรงขั้นต่ำที่คนคาดหวังต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งเขาบอกแล้วว่า เขาไม่สามารถที่จะเปลี่ยนแปลงภายในชั่วข้ามวัน แต่เขาจะเตรียมการเพื่อเปลี่ยนแปลงในระยะกี่ปีข้างหน้า ที่จะค่อยๆ ยกระดับ จึงทำให้เราเห็นความหวังว่าเป็นไปได้” รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ชี้
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวต่อว่า ในขณะที่พรรคก้าวไกล ไปมุ่งเน้น ‘ต่อสู้กับอำนาจของรัฐทหาร’ เช่น เรื่องของการยกเลิกบังคับเกณฑ์ทหาร ซึ่งตนคิดว่าการรณรงค์ในรอบ 4 ปีของพรรคก้าวไกล จากที่ตนได้ทำการสำรวจทัศนคติของคนเจน Z กับ คนกรุงเทพฯ จะเห็นว่า คนเจน Z 85% ถูกยกระดับให้เห็นด้วยกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร ในขณะที่คนกรุงเทพฯ เกือบ 60% ซึ่งเป็นคนทุกระดับ ก็เห็นด้วยกับการยกเลิกเกณฑ์ทหาร
 
กระบวนการทำงานของก้าวไกล ตีประเด็นที่ทำลายสิทธิเสรีภาพของประชาชนในทุกๆ ด้าน และได้รับการแพร่กระจาย ดังนั้นคิดว่า 4 ปีที่ผ่านมา คือการยกระดับที่ทำให้ประชาชนเห็นด้วยกับการเปลี่ยนแปลงสังคม เพราะฉะนั้น ถ้าก้าวไกลเป็นรัฐบาลเราก็จะเห็นว่า ต้องเป็นไปได้ นี่คือสิ่งที่ถ้าจะให้มอง ต้องมอง 2 ปีก คือปีกเพื่อไทยและปีกก้าวไกล ซึ่งถ้าเป็นรัฐบาลน่าเชื่อได้ว่าจะสามารถทำหลายนโยบายให้เป็นจริงได้ และจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงสังคมไทยอย่างมโหฬารแบบที่เราไม่เคยคาดคิดมาก่อน” รศ.ดร.ธำรงศักดิ์เผย
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวถึง นโยบายที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจปากท้องของพรรคพลังประชารัฐว่า การที่ พล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี และ หัวหน้าพรรคพปชร. จะให้เพิ่มบัตรคนจน 700 บาท แค่นี้ก็ตีกับ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีแล้ว ว่าเป็นของใครกันแน่
 
คำถามคือ แค่เพิ่มเป็น 700 บาท ทำไมไม่เพิ่มมาตั้งแต่คุณเป็นรัฐบาล เป็นมา 4 ปี 8 ปี ทำไมคุณไม่เพิ่ม พอมาถึงตอนนี้มาหาเสียงอย่างนี้อย่างนั้น เล็กน้อยเกินไป ฉะนั้น ในแง่หนึ่งของการบรรลุในทางเศรษฐกิจคนมองไปที่เพื่อไทย เพราะจากประสบการณ์คนเห็นแล้วว่า ภายใต้ 4 ปี หรือว่าต่อเนื่องเกือบ 9 ปีของ พล.อ.ประยุทธ์ เราเห็นแต่สภาพเศรษฐกิจที่ตกต่ำ คนทั้งประเทศก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่า สภาพเศรษฐกิจพังทลายหมด
 
ดังนั้น สภาพแบบนี้คนไม่เชื่อว่า พล.อ.ประวิตร หรือ พล.อ.ประยุทธ์จะเป็นฮีโร่ชั่วข้ามคืนได้ ในการที่จะทำให้บรรลุเป้าหมายทางเศรษฐกิจ เพราะ 2 คนนี้เขาก็ยอมรับแล้วว่า ไม่มีฝีไม้ลายมือ ในจดหมายเปิดผนึกของ พล.อ.ประวิตร เขายอมรับเองแล้วว่าเขาเป็นทหาร ไม่ใช่นักบริหารประเทศที่จะทำให้ประเทศมั่งคั่งร่ำรวยได้ ดังนั้น คุณต้องหันกลับไปมองแล้วว่า จะเป็นพรรคไหน” รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ระบุ
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์ชี้ว่า ถ้าเปรียบเทียบระหว่าง พรรคเพื่อไทย กับภูมิใจไทย ตนคิดว่าภูมิใจไทยแม้จะอยู่กับรัฐบาลมา 4 ปีแล้ว แต่ภูมิใจไทยก็ไม่ได้ทำตามที่ตัวเองหาเสียง กล่าวคือ นโยบายของภูมิใจไทยในปี 2562 ดีมาก แต่พอภูมิใจไทยเป็นรัฐบาลแล้วไม่ได้ทำอะไรเลย
 
มาทำกัญชาเสรีในช่วงปีสุดท้าย แถมยังไปไม่รอดด้วย คิดว่าคนก็ลดความน่าเชื่อถือให้น้อยลง เพราะฉะนั้น ภูมิใจไทยจึงเป็นแค่พรรคกลางๆ ที่ไม่โดดเด่นอะไร หัวหน้าพรรคก็ไม่ได้แสดงออกภาพลักษณ์ถึงการเป็นผู้นำที่น่าเชื่อถือได้ ถ้ามองอย่างนี้คนก็น่าจะให้น้ำหนักที่เพื่อไทย จากประสบการณ์ของทีมงานที่ผ่านมาและการมีทั้งยุทธศาสตร์และยุทธวิธีที่จะหาทางปรับ ตรงนี้ผมไม่ได้พูดถึงปัญหาทางการเมือง เป็นการพูดเรื่องใครจะทำได้จริง” รศ.ดร.ธำรงศักดิ์วิเคราะห์
 
รศ.ดร.ธำรงศักดิ์กล่าวเพิ่มเติมว่า ตอนนี้ทุกพรรค เราจะเห็นเรื่องการเพิ่มเงินช่วยเหลือ เป็นที่ยอมรับแล้วว่าสังคมไทยเป็นสังคมที่มีคนสูงวัยเยอะขึ้น อายุเลย 60 ปีมากขึ้น ซึ่งตรงนี้ก็เป็นฐานเสียงสำคัญ แต่คำถามคือเงินที่ให้คนชรา 600 บาทนั้น ใช้ได้จริงหรือไม่ในสังคมนี้ ตนคิดว่าอยู่ไม่ได้จริง ฉะนั้นนโยบายหลายพรรคที่
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่