@@@@ ธนาคารโลกชื่นชมนโยบายการคลัง @@@@

ธนาคารโลก (World Bank) จัดทำรายงานสถานการณ์เศรษฐกิจไทย “รายงานตามติดเศรษฐกิจไทย: นโยบายการคลังเพื่อสังคมที่เสมอภาค และพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลง ธันวาคม 2565” ระบุว่า

ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด-19 ประเทศไทยสามารถลดความยากจนได้อย่างต่อเนื่อง โดยความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลง ระหว่างปี 2533 ถึง 2562 อัตราความยากจนตามเกณฑ์สากลลดลง จากร้อยละ 65 เป็นร้อยละ 6.2 ตั้งแต่ปี 2558 เป็นต้นมา ความเหลื่อมล้ำสามารถบั่นทอนความก้าวหน้าในการสะสมทุนมนุษย์ และมีแนวโน้มที่จะลดความเร็วและ ความยั่งยืนของการเติบโตทางเศรษฐกิจ รวมถึงการลดความยากจน

นโยบายการคลังเป็นเครื่องมือสำคัญในการลดความยากจนและความเหลื่อมล้ำ ซึ่งจะเห็นได้จากมาตรการให้ความ ช่วยเหลือทางสังคมของประเทศไทยเพื่อบรรเทาผลกระทบจากโควิด-19 ได้ช่วยชดเชยการสูญเสียรายได้และบรรเทาปัญหา ความยากจนที่เพิ่มขึ้น ซึ่งหากไม่มีมาตรการดังกล่าว ความยากจนอาจสูงถึงร้อยละ 8.1 ในปี 2564 (สูงกว่าระดับคาดการณ์ ร้อยละ 27) ในขณะที่ความเหลื่อมล้ำอาจสูงกว่าในระดับปัจจุบันมากกว่าร้อยละ 40

นโยบายการคลังสามารถช่วยบรรเทา ปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำในระยะสั้นผ่านมาตรการทางภาษี เงินช่วยเหลือ และการอุดหนุนรายได้ครัวเรือน รวมทั้งช่วยสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจและการลดปัญหาความยากจนในระยะยาวผ่านการใช้จ่ายด้านสาธารณสุข การศึกษา และโครงสร้างพื้นฐาน

ในช่วงก่อนการระบาดของโควิด–19 ผลกระทบของระบบการคลังไทยเพื่อการลดปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำ มีประสิทธิภาพกว่าประเทศอื่น ครัวเรือนจ่ายภาษีและได้รับประโยชน์จากเงินช่วยเหลือโดยตรงจากมาตรการให้ความช่วยเหลือทางสังคม นอกจากนี้ ยังได้รับประโยชน์จากการใช้จ่ายภาครัฐในรูปแบบสวัสดิการด้านสุขภาพและการศึกษา

รูปแบบที่ก้าวหน้าของระบบการคลังของประเทศไทย ได้ช่วยลดความเหลื่อมล้ำและบรรเทาปัญหา โดยดัชนีจีนี (Gini Index) ของประเทศไทยอยู่ที่ร้อยละ 37.5 และลดลงเหลือร้อยละ 28.6 หลังหักภาษี เงิน ช่วยเหลือ และสวัสดิการต่าง ๆ แสดงให้เห็นว่า นโยบายการคลังสามารถลดความเหลื่อมล้ำได้

สำหรับผลกระทบของภาษีและเงินช่วยเหลือที่มีต่อการลดความเหลื่อมล้ำนั้น น้อยกว่าผลกระทบของการใช้จ่ายของภาครัฐใน รูปแบบสวัสดิการด้านสาธารณสุขและการศึกษา จึงกล่าวได้ว่า การใช้จ่ายภาครัฐในรูปแบบสวัสดิการดังกล่าวมีส่วนสำคัญใน การกระจายรายได้ของประเทศไทย

#ธนาคารโลก #แก้จน #ความยากจน #ความเหลื่อมล้ำ
#สร้างไทยไปด้วยกัน #ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง
#PMOC #ศูนย์ปฏิบัติการนายกรัฐมนตรี

อ้างอิง
- ธนาคารโลก, “December 2022: Thailand Economic Monitor - Fiscal Policy for a Resilient and Equitable Future”, https://documents1.worldbank.org/curated/en/099245012132249289/pdf/P1797380511f390920aab30472d7e1f8276.pdf
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่