สังคมไทยมีความเลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจเป็นจุดเริ่มต้น...
ความเลื่อมล้ำทางอื่นก็ตามๆกันมา ไม่ว่าทางสังคมความเป็นอยู่ ทางการศึกษา หรือทางการรักษาพยาบาล ฯลฯ
การที่รัฐบาลจัดให้ลงทะเบียนคนยากจนหรือผู้มีรายได้น้อยในประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุน ไม่ใช่ออกมาเพื่อแบ่งชนชั้น
แต่ทำเพื่อช่วยเหลือให้ถูกทาง ตรงถึงมือคนจน
ใครที่คิดว่าเป็นการแบ่งชนชั้นนั้น ไม่ใช่แน่นอนเพราะเห็นว่าคนมีเงินบางคนแอบไปลงทะเบียนแย่งคนจนเสียอีก ไม่ได้กล้วแบ่งชนชั้นกันเลย...
การที่รัฐบาลช่วยเหลือคนจนก็เพราะเห็นถึงความเลื่อมล้ำทางสังคม ที่คนจนไม่มีโอกาสจะดิ้นรนให้ขึ้นมาเท่าเทียมคนรวยได้ การช่วยเหลือแบ่งเบาภาระสวัสดิการต่างๆจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ เขาได้มีโอกาสพัฒนาชีวิตขึ้นมา ให้มีช่องว่างคนรวยคนจนแคบลงบ้าง
คิดว่า..มาตรการช่วยเหลือต่างๆจะออกมาอีกเรื่อยๆ จากความช่วยเหลือของรัฐบาลนี้ ต้องขอชื่นชมล่ะค่ะ ว่าลงมือทำได้ดีทีเดียว
มาอ่านข่าวกันค่ะ...
วานนี้ (9ก.พ.) ที่สยามสมาคม กรุงเทพฯ องค์การอ็อกแฟม (Oxfam)ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรม“เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน?”โดยมีการเปิดเผย “รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย” พร้อมเสวนาในหัวข้อ‘เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน’ โดยมีการเชิญหลายภาคส่วนมาร่วมแลกแปลี่ยนความคิดเห็น
นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานด้านนโยบายและรณรงค์ อ็อกแฟม เผยว่า ความเหลื่อมล้ำในไทย ไม่จำกัดเพียงแค่ด้านศก.เท่านั้น แต่รวมถึงภาคอื่นๆของสังคมด้วย อาทิ วิถีชีวิต การศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องทำในทุกภาคส่วนพร้อมกัน โดยเริ่มจากการปฏิรูปในภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจให้เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการผลักดันมาตรการลดความเหลื่อมล้ำจากภาครัฐ
สำหรับรายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ซึ่ง อ็อกแฟมประเทศไทย จัดทำและรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนก.ค.59 พบว่า รายได้ 1 ปีของคนรวยที่สุดในไทยสามารถนำมาใช้ลดความยากจนของคนทั้งประเทศได้ โดยคนรวยที่สุด10% แรก มีรายได้มากกว่าคนที่จนที่สุด 10% สุดท้ายถึง 35 เท่า
"ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีระดับพันล้านของไทย เพิ่มขึ้นเป็น 28 คนจาก 5 คน และทั้งหมดมีทรัพย์สินรวมกันถึง 9,142,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประชากรของไทย 7 ล้านคน ยังอยู่ใต้เส้นความยากจน นอกจากนี้ยังพบว่า คนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79%ของประเทศ และ 5 ปีที่ผ่านมา คนรวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนที่เหลือทั้งประเทศรวมกัน" รายงานระบุ
นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดความมุ่งมั่นต่อการลดความเหลื่อมล้ำไทย อยู่ในลำดับที่ 122 จาก 155 ประเทศ คนงานนอกระบบ 25 ล้านคน หรือ 64% ของแรงงานทั้งหมดไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม สิทธิด้านสหภาพแรงงานในไทย ยังห่างไกลจากมาตรฐานสากล คนทำงานในเมืองได้ค่าจ้างที่สูงกว่าคนทำงานนอกเมือง เกษตรกร 2.2 ล้านคน มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดย 40% ไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง และ 37% ไม่มีโฉนดที่ดิน ที่เหลือที่ดินไม่พอทำกิน
นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า การเป็นคนยากจนที่อยู่ในเมือง มักถูกตัดสินในแง่ลบจากคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้ชีวิตในสลัม ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่มีใครไม่อยากได้โอกาสในชีวิต แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่โอกาสจะมาถึงคนจน โดยเฉพาะในแง่ของการศึกษา ซึ่งจะช่วยยกระดับชีวิตของคนได้จริงๆ นอกจากนี้เมื่อเอ่ยถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำ มีเรื่องหนึ่งที่ตนเป็นกังวลมากคือ เรื่องที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของคนจน
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม กล่าวว่า หน้าที่ของภาครัฐมี 2 ส่วนสำคัญ 1 . คือสร้างความเจริญให้ประเทศ 2.นำความเจริญนั้นมากระจายให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาเราเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในแง่ของ GDP แต่ไม่ได้ดูรายได้ประชาชน ซึ่งรัฐจะต้องกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับคนในประเทศ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ ต้องเห็นความสำคัญของชีวิตคนอื่นด้วยว่า มีความสำคัญไม่ต่างจากเรา ความชินชากับความเหลื่อมล้ำที่เจอเป็นเรื่องที่อันตราย ซึ่งคงต้องฝากความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่
http://m.manager.co.th/Daily/detail/9600000014090
((มาลาริน)) ^_^ ไทยเหลื่อมล้ำเหลือหลาย เมื่อไหร่ถึงเท่ากัน.....✏ คนรวย10%ครองทรัพย์สิน79%
ความเลื่อมล้ำทางอื่นก็ตามๆกันมา ไม่ว่าทางสังคมความเป็นอยู่ ทางการศึกษา หรือทางการรักษาพยาบาล ฯลฯ
การที่รัฐบาลจัดให้ลงทะเบียนคนยากจนหรือผู้มีรายได้น้อยในประเทศ เป็นเรื่องที่ต้องสนับสนุน ไม่ใช่ออกมาเพื่อแบ่งชนชั้น
แต่ทำเพื่อช่วยเหลือให้ถูกทาง ตรงถึงมือคนจน
ใครที่คิดว่าเป็นการแบ่งชนชั้นนั้น ไม่ใช่แน่นอนเพราะเห็นว่าคนมีเงินบางคนแอบไปลงทะเบียนแย่งคนจนเสียอีก ไม่ได้กล้วแบ่งชนชั้นกันเลย...
การที่รัฐบาลช่วยเหลือคนจนก็เพราะเห็นถึงความเลื่อมล้ำทางสังคม ที่คนจนไม่มีโอกาสจะดิ้นรนให้ขึ้นมาเท่าเทียมคนรวยได้ การช่วยเหลือแบ่งเบาภาระสวัสดิการต่างๆจะช่วยเพิ่มรายได้ให้ เขาได้มีโอกาสพัฒนาชีวิตขึ้นมา ให้มีช่องว่างคนรวยคนจนแคบลงบ้าง
คิดว่า..มาตรการช่วยเหลือต่างๆจะออกมาอีกเรื่อยๆ จากความช่วยเหลือของรัฐบาลนี้ ต้องขอชื่นชมล่ะค่ะ ว่าลงมือทำได้ดีทีเดียว
มาอ่านข่าวกันค่ะ...
วานนี้ (9ก.พ.) ที่สยามสมาคม กรุงเทพฯ องค์การอ็อกแฟม (Oxfam)ประเทศไทย ได้จัดกิจกรรม“เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน?”โดยมีการเปิดเผย “รายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย” พร้อมเสวนาในหัวข้อ‘เท่าไหร่ (ถึง) เท่ากัน’ โดยมีการเชิญหลายภาคส่วนมาร่วมแลกแปลี่ยนความคิดเห็น
นายจักรชัย โฉมทองดี ผู้ประสานงานด้านนโยบายและรณรงค์ อ็อกแฟม เผยว่า ความเหลื่อมล้ำในไทย ไม่จำกัดเพียงแค่ด้านศก.เท่านั้น แต่รวมถึงภาคอื่นๆของสังคมด้วย อาทิ วิถีชีวิต การศึกษา สวัสดิการด้านสุขภาพ ซึ่งการแก้ปัญหาจะต้องทำในทุกภาคส่วนพร้อมกัน โดยเริ่มจากการปฏิรูปในภาคเอกชนในการประกอบธุรกิจให้เป็นธรรม ควบคู่ไปกับการผลักดันมาตรการลดความเหลื่อมล้ำจากภาครัฐ
สำหรับรายงานเบื้องต้นว่าด้วยความเหลื่อมล้ำในประเทศไทย ซึ่ง อ็อกแฟมประเทศไทย จัดทำและรวบรวมข้อมูล ตั้งแต่เดือนก.ค.59 พบว่า รายได้ 1 ปีของคนรวยที่สุดในไทยสามารถนำมาใช้ลดความยากจนของคนทั้งประเทศได้ โดยคนรวยที่สุด10% แรก มีรายได้มากกว่าคนที่จนที่สุด 10% สุดท้ายถึง 35 เท่า
"ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมา เศรษฐีระดับพันล้านของไทย เพิ่มขึ้นเป็น 28 คนจาก 5 คน และทั้งหมดมีทรัพย์สินรวมกันถึง 9,142,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขณะที่ประชากรของไทย 7 ล้านคน ยังอยู่ใต้เส้นความยากจน นอกจากนี้ยังพบว่า คนรวยที่สุด 10% เป็นเจ้าของทรัพย์สิน 79%ของประเทศ และ 5 ปีที่ผ่านมา คนรวยที่สุด 1% เป็นเจ้าของความมั่งคั่งมากกว่าคนที่เหลือทั้งประเทศรวมกัน" รายงานระบุ
นอกจากนี้ดัชนีชี้วัดความมุ่งมั่นต่อการลดความเหลื่อมล้ำไทย อยู่ในลำดับที่ 122 จาก 155 ประเทศ คนงานนอกระบบ 25 ล้านคน หรือ 64% ของแรงงานทั้งหมดไม่ได้รับความคุ้มครองจากประกันสังคม สิทธิด้านสหภาพแรงงานในไทย ยังห่างไกลจากมาตรฐานสากล คนทำงานในเมืองได้ค่าจ้างที่สูงกว่าคนทำงานนอกเมือง เกษตรกร 2.2 ล้านคน มีปัญหาเรื่องที่ดินทำกิน โดย 40% ไม่มีที่ดินทำกินของตัวเอง และ 37% ไม่มีโฉนดที่ดิน ที่เหลือที่ดินไม่พอทำกิน
นางนุชนารถ แท่นทอง ประธานเครือข่ายสลัม 4 ภาค กล่าวว่า การเป็นคนยากจนที่อยู่ในเมือง มักถูกตัดสินในแง่ลบจากคนอื่นเสมอ โดยเฉพาะเมื่อใช้ชีวิตในสลัม ซึ่งจริงๆแล้ว ไม่มีใครไม่อยากได้โอกาสในชีวิต แต่ไม่ใช่เรื่องง่ายที่โอกาสจะมาถึงคนจน โดยเฉพาะในแง่ของการศึกษา ซึ่งจะช่วยยกระดับชีวิตของคนได้จริงๆ นอกจากนี้เมื่อเอ่ยถึงประเด็นความเหลื่อมล้ำ มีเรื่องหนึ่งที่ตนเป็นกังวลมากคือ เรื่องที่อยู่อาศัย และที่ทำกินของคนจน
ด้านนายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีต รมว.คมนาคม กล่าวว่า หน้าที่ของภาครัฐมี 2 ส่วนสำคัญ 1 . คือสร้างความเจริญให้ประเทศ 2.นำความเจริญนั้นมากระจายให้คนส่วนใหญ่ของประเทศ ที่ผ่านมาเราเน้นการเติบโตทางเศรษฐกิจในแง่ของ GDP แต่ไม่ได้ดูรายได้ประชาชน ซึ่งรัฐจะต้องกระจายโอกาสเพื่อลดความเหลื่อมล้ำให้กับคนในประเทศ ดังนั้นต้องให้ความสำคัญเรื่องนี้ ต้องเห็นความสำคัญของชีวิตคนอื่นด้วยว่า มีความสำคัญไม่ต่างจากเรา ความชินชากับความเหลื่อมล้ำที่เจอเป็นเรื่องที่อันตราย ซึ่งคงต้องฝากความหวังไว้ที่คนรุ่นใหม่
http://m.manager.co.th/Daily/detail/9600000014090