ปลาดาวทะเล นักล่าบนสุดของห่วงโซ่อาหาร

.
.
.


นอกเหนือจากหมีขั้วโลก
ยังมีนักล่าชั้นนำอีกชนิดหนึ่ง
ที่อาศัยอยู่ตามชายฝั่งอาร์กติก
จากผลการศึกษาใหม่
พบว่า ปลาดาวทะเล บางชนิด
เป็นคู่แข่งที่สูสีกับหมีขั้วโลก
ในฐานะนักล่าที่แข็งแกร่งและอยู่ด้านบนสุด
ของห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศชายฝั่งอาร์กติก

ในระบบนิเวศชายฝั่งรอบคาบสมุทรอาร์กติก 
หมีขั้วโลกเป็นสัตว์นักล่าอันดับต้น ๆ มาช้านาน
แต่ผลการศึกษาใหม่ได้ชี้ให้เห็นว่า
ปลาดาวทะเลอาจเป็นคู่แข่งที่น่าประหลาดใจ
ที่จะแข่งขันกับหมีขาวที่โด่งดัง
อยู่บนห่วงโซ่สูงสุดของอาหารท้องถิ่น
(หมีขั้วโลกหนึ่งบนบก
ปลาดาวทะเลหนึ่งในน้ำ)
.

.

.
.


ห่วงโซ่อาหารเป็นแผนที่ ที่แผ่กิ่งก้านสาขา
ความเชื่อมโยงทางนิเวศวิทยา
ที่รวมห่วงโซ่อาหารที่แตกต่างกันทั้งหมด
ภายในระบบนิเวศวิทยา
ห่วงโซ่อาหารที่มีผู้ผลิตขั้นต้น
จะได้รับพลังงานจากดวงอาทิตย์
หรือโดยการรีไซเคิลวัสดุอินทรีย์ที่ตายแล้ว

ผู้บริโภคด้านบนสุด คือ ผู้กินผู้บริโภครองลงมา
และจากนั้นผู้บริโภคขั้นที่สองหรือขั้นที่สาม
ที่กินเหยื่อผู้บริโภคทั้งหมดที่อยู่ข้างใต้สุด
แต่สิ่งมีชีวิตในห่วงโซ่อาหารชนิดหนึ่ง
จะมีที่อยู่ในอีกห่วงโซ่หนึ่งหรือหลายห่วงโซ่ได้

วิธีที่ดีที่สุดในการดูว่าระบบนิเวศทำงานอย่างไร
คือ การเชื่อมโยงห่วงโซ่เหล่านี้เข้าด้วยกัน

ในห่วงโซ่อาหารทางทะเล 
นักวิจัยมักจะมุ่งเน้นไปที่ทะเล/แหล่งน้ำเปิด 
ห่วงโซ่อาหารที่มีแพลงก์ตอนขนาดเล็ก
อาศัยอยู่บนผิวน้ำ เป็นตัวท้ายสุดของระบบ
ไล่ไปจนถึงสัตว์นักล่าขนาดใหญ่ เช่น
หมีขั้วโลก (Ursus maritimus)
จะอยู่ด้านบนสุดของอาหารหลากหลาย

แต่ด้านบนสุดของห่วงโซ่อาหาร
สัตว์น้ำในทะเล/หน้าดินก้นทะเล
มักถูกมองข้ามไปจากสายใยห่วงโซ่อาหาร
เพราะนักวิทยาศาสตร์มักจะเชื่อว่า
ยังไม่พบว่ามีสัตว์นักล่าชั้นแนวหน้าอย่างแท้จริง
.

.

.

.
.




แต่ในการศึกษาใหม่ซึ่งตีพิมพ์
เมื่อวันที่ 27 ธันวาคม 2022 ในวารสาร Ecology
นักวิจัยได้พิจารณาในเชิงลึกมากขึ้น
เกี่ยวกับระบบนิเวศทางทะเลชายฝั่ง
ในแถบอาร์กติกของแคนาดา
และพบว่าสัตว์หน้าดินในภูมิภาคนี้
ห่วงโซ่อาหารที่ยังไม่ได้รับการยอมรับอย่างมาก

ทีมนักวิจัยได้สร้างแผนที่โดยละเอียด
ของห่วงโซ่อาหารต่าง ๆ รอบ
บริเวณปากอ่าว Hudson Bay
แถวเกาะ Southampton Island
และเขตปกครอง Canada's Nunavut territory
และพบว่า ส่วนหน้าดินของห่วงโซ่อาหาร
มีความเชื่อมโยงพอ ๆ เทียบเท่ากับ
หมีขั้วโลก คือ ปลาดาวทะเล
.

.

.
.

.
ห่วงโซ่อาหารของเกาะเซาแธมป์ตัน 
ลูกศรสีน้ำเงินแสดงปฏิสัมพันธ์ของสัตว์ทะเล 
ลูกศรสีน้ำตาลแสดงปฏิสัมพันธ์สัตว์หน้าดิน 
และลูกศรสีเขียวแสดงปฏิสัมพันธ์ระหว่าง
ห่วงโซ่อาหารของสัตว์ทะเล/สัตว์หน้าดิน
©  Amiraux et al./University of Manitoba
.
.


" มันเป็นการเปลี่ยนแปลงในมุมมองของเรา
เกี่ยวกับวิธีการทำงานของห่วงโซ่อาหาร
ทางทะเลชายฝั่งอาร์กติก

เราพิสูจน์ได้แล้วว่า
สัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในน้ำทะเล
และสัตว์ที่อาศัยอยู่ในตะกอนท้องทะเลนั้น
ก่อตัวเป็นห่วงโซ่อาหารที่แตกต่างกันสองเส้น
แต่ทั้งสองเส้นนี้ต่างเชื่อมโยงถึงกัน "
ผู้เขียนนำการศึกษา Rémi Amiraux
นักนิเวศวิทยาทางทะเล
Laval University ใน Canada
ที่ทำงานวิจัยร่วมกับ
University of Manitoba

สัตว์ป่า คือ สัตว์ที่ไม่มีคนเลี้ยง
ตามกฎหมายอังกฤษ ศ.ประพนธ์ ศาตะมาน
.

.

.
.



นักวิจัยวิเคราะห์ข้อมูลเกี่ยวกับสัตว์ 1,580 ตัว
ที่อาศัยอยู่ในระบบนิเวศชายฝั่งเกาะเซาแธมป์ตัน
เพื่อสร้างห่วงโซ่อาหารใหม่   
พบว่าส่วนประกอบของ
สัตว์หน้าดินท้องทะเล/สัตว์ทะเลแต่ละชนิด
มีจำนวนขั้นบันไดหรือระดับโภชนาการ
ที่ใกล้เคียงกันในห่วงโซ่อาหารของพวกมัน

ปลาดาวทะเล คือ แนวหน้าที่สำคัญ
ของห่วงโซ่อาหารสัตว์หน้าดินท้องทะเล
ซึ่งมีระดับโภชนาการที่หลากหลาย
แต่วงศ์ Pterasteridae อยู่ในอันดับต้น ๆ
ของห่วงโซ่อาหารส่วนใหญ่อย่างต่อเนื่อง

นักวิจัยค้นพบว่า ปลาดาวทะเลเหล่านี้
กินผู้บริโภคลำดับที่สองซึ่งรวมถึงหอยสองฝา
ซึ่งเป็นกลุ่มของหอยที่ร่างกายได้รับการปกป้อง
ด้วยเปลือกบานพับ กินทั้ง ปลิงทะเล และฟองน้ำ

นั่นหมายความว่า ปลาดาวทะเล Pterastidae
อยู่ในระดับที่เทียบเท่ากับหมีขั้วโลก
ซึ่งกินวอลรัส นกนางนวล วาฬเบลูกา (Delphinapterus leucas)
และแมวน้ำวงแหวน (Pusa hispida)
แต่ความแตกต่างที่สำคัญระหว่าง
หมีขั้วโลก/ปลาดาวทะเล คือ ขนาดของเหยื่อ
.

.

.
ปลาดาวทะเลจากวงศ์ Pterasteridae 
บนพื้นทะเลของ Olympic Coast 
National Marine Sanctuary ในกรุงวอชิงตัน 
©  National Oceanic And Atmospheric Administration (NOAA)
.
.



หนึ่งในผู้ล่าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
ในระบบนิเวศทั้งหมด คือ
ปลาดาวทะเล Pterasteridae
และ หมีขั้วโลก ต่างแบ่งปันความสามารถ
และความเต็มใจที่จะไล่ล่าสัตว์ต่าง ๆ
ซึ่งนักวิจัยเชื่อว่าทำให้ทั้งสองกลุ่มนี้
สามารถยิ่งใหญ่/เติบโตในแถบอาร์กติก

ปลาดาวทะเลฉวยโอกาสกินสิ่งมีชีวิตในทะเล
ที่ตายแล้วและจมลงสู่ก้นทะเล
ทำให้พวกมันออกไล่ล่าอาหารน้อยลง
หมีขั้วโลกกินปลาวาฬที่เกยตื้นตายได้
ทำให้อยู่ได้นานหลายสัปดาห์หรือหลายเดือน
ตามรายงานที่นักวิจัยเขียนไว้ในงานวิจัยนี้

ทีมงานวิจัยเชื่อว่า การค้นพบใหม่เน้นย้ำ
ถึงความสำคัญของห่วงโซ่อาหารใต้ท้องทะเล
กับห่วงโซ่อาหารทางทะเลอื่น ๆ

ปลาดาวทะเล Pterasteridae
พบได้ในระบบนิเวศทางทะเลเกือบทั้งหมด
และพวกมันประสบความสำเร็จในที่อื่น ๆ
เช่นเดียวกับในแถบอาร์กติก
พวกมันเป็นนักล่าที่ประสบความสำเร็จมากที่สุด
ชนิดหนึ่งในทะเล/มหาสมุทร นักวิจัยเขียนสรุป
.


เรียบเรียง/ที่มา

https://bit.ly/3QGWw4i
https://bit.ly/3ZGr2iO
.


เรื่องเล่าไร้สาระ


ฝรั่งเองก็ยังเรียกแบบเดิม ๆ
แม้ว่าจะรู้ว่าไม่ใช่ปลาแล้ว  เช่น
ปลาหมีกกระดอง = Cuttlefish
แมงกะพรุน = Jellyfish
กุ้งน้ำจืดชนิดหนึ่งมีลักษณะคล้ายกุ้งมังกร
= Crayfish หรือ Crawfish
ปลาดาว  = Starfish
ม้าน้ำ = Seahorse
สิงโตทะเล  = Sealion
.
.

ภาษา/ตัวอักษร คือ อำนาจชนิดหนึ่ง
ในการกดขี่บังคับคนที่ด้อยกว่าต้องยอมทำตาม
คนรู้หนังสือมักจะถือว่า มีอำนาจอภิสิทธิ์
เหนือกว่าคนไม่รู้หนังสือ ตั้งแต่ในยุคอดีต
แบบแต่ก่อนคนเรายังโง่ ไม่รู้หนังสือหนังหา
ศ. มิเชล ฟูโกต์ ราชบัณฑิตฝรั่งเศส
.
.

จิตร  ภูมิศักดิ์ ระบุเองว่า
ตัวอักษรขอม ยังแบ่งเป็น 3 ชนชั้น มี
พราหมณ์ กษัตริย์ ชาวบ้าน
และ พ่อขุนรามคำแหงพยายามสร้างตัวอักษร
ให้ใช้เฉพาะชนชั้นกษัตริย์ แต่ไม่สำเร็จ
ชาวไทแม่นรับบ่ได้  เพราะลายสือไทบ่ดีจริง
บ่มีผู้ใดใช้งานจริง ในยุคต่อ ๆ มา

สมัยพระนารายณ์มหาราช ติดต่อทางทูต
กับ Louis XIV พระราชสาส์นที่ยังมีอยู่ใน
หอสมุดแห่งชาติฝรั่งเศส
ทำไมตัวอักษรไทคล้ายแบบทุกวันนี้
.
.

ภาษาไทยที่ใช้ในชีวิตประจำวันยังมี 4 ชนชั้น
1. กษัตริย์ เจ้าฟ้า พระองค์เจ้า หม่อมเจ้า พระสังฆราช
2. ชนชั้นสูง อำมาตย์/เสนาบดี (คำเสนอ/ลงท้าย)
3. ชาวบ้าน เพื่อนผองน้องพี่ คนในวงการ
4. คนยากไร้/ต่ำต้อยกว่า (สรรพนาม/คำพูด)
.
.

ดังนั้น  ความพยายามของนักวิชาการบางคน
ที่พยายามยัดเยียดเปลี่ยนแนวความคิดนักเรียน
ไม่ให้ใช้คำว่า ปลาวาฬ ปลาดาว ปลาโลมา
สรุป คือ สัญลักษณ์เชิงอำนาจประเภทหนึ่ง
ที่พยายามยกตนข่มท่าน ทำตนเหนือกว่า
คิดว่าตนเองมีความรู้ดีกว่าคนยุคโบราณ
แต่ขาดความสามารถสร้างศัพท์คำใหม่ขึ้นมา
ข้อวิจารณ์ของนักวิชาการหลายท่านที่เสวนากัน
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่