How Wolves Change Rivers
ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่ากวาง
หมาป่าท่ามกลางหิมะ
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดเรื่องหนึ่ง
ในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
คือปรากฏการณ์น้ำตกห่วงโซ่อาหาร
ในพื้นที่หลายแห่งที่แตกต่างกันอย่างมาก
น้ำตกห่วงโซ่อาหาร หรือ trophic cascade
คือ กระบวนการนิเวศวิทยา
ที่เกิดขึ้นที่ยอดบนสุดของพีระมิดห่วงโซ่อาหาร
ที่ส่งผลกระทบลงมาตั้งแต่จากบนสุดลงมาสู่ด้านล่างสุด
ตัวอย่างกรณีศึกษาที่ดีที่สุด คือ
กรณีอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน สหรัฐอเมริกา
เริ่มตั้งแต่การปล่อยหมาป่าคืนสู่ป่าในปี พ.ศ. 2538
เราทุกคนรู้ว่าหมาป่าฆ่าสัตว์หลายชนิด
แต่บางทีเราอาจจะไม่ตระหนักว่า
พวกมันยังให้ชีวิตแก่สัตว์ชนิดอื่นด้วยเช่นกัน
ก่อนที่นักอนุรักษ์จะคืนหมาป่ากลับสู่เยลโลว์สโตน
พวกมันได้ถูกมนุษย์ล่าจนหายสาปสูญไป
จากพื้นที่นี้เป็นเวลายาวนานถึง 70 ปี
จนจำนวนกวางในอุทยานฯ เพิ่มสูงขึ้น ๆ จำนวนมาก
ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามหาทางควบคุมจำนวนกวางอย่างไร
แต่ฝูงกวางก็ยังสามารถลดจำนวนปริมาณพืชพันธุ์ไม้
จนแทบไม่เหลืออะไรอีกเลย
เพราะพวกมันแทะเล็มกินไปจนเกือบหมด
แต่ทันทีที่ฝูงหมาป่ากลับคืนมา
แม้ว่าพวกมันจะมีจำนวนน้อยนิด
แต่พวกมันเริ่มส่งผลกระทบอย่างน่าอัศจรรย์
แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เกิดขึ้นคือ
หมาป่าฆ่ากวางกิน
แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลัก
ประเด็นสำคัญที่สุดคือ
พวกมันเปลี่ยนพฤติกรรมของกวาง
ฝูงกวางเริ่มหลีกเลี่ยงพื้นที่บางแห่งในวนอุทยานฯ
อยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ปลอดภัย
พื้นที่ที่ฝูงกวางจะไม่โดน
หมาป่าไล่ต้อนให้จนมุมได้โดยง่าย
ทำให้ป่าไม้บริเวณหุบเขาและโตรกเขา
พื้นที่เหล่านี้ก็เริ่มฟื้นฟูขึ้นมาทันที
บางแห่งต้นไม้สูงขึ้นถึง 5 เท่า
ภายในเวลาเพียงแค่ 6 ปี
ตามเขตหุบเขาที่เคยเป็นพื้นที่โล่งเตียน
ได้ฟื้นฟูคืนชีพเป็นป่าอีกครั้ง
เต็มไปด้วย ต้นแอสเปิน หลิว และคอตตอนวูด
ที่เติบโตงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว
นกอินทรี
นกอินทรีหัวขาว กำลังกินอาหารร่วมกับ กา
เมื่อป่าฟื้นขึ้น นกก็เริ่มเข้ามา
จำนวนนกเพลง นกอพยพ เพิ่มขึ้นมากมาย
จำนวนตัวบีเวอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย
ตามมาด้วยหมาป่าที่มาล่าตัวบีเวอร์
บีเวอร์กัดกินต้นไม้/เป็นวิศวกร
ผู้สร้างระบบนิเวศ มันสร้างสรรค์ที่ทางให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น
ฝายที่มันสร้างบนแม่น้ำ
กลายเป็นแหล่งที่พักอาศัย/ที่หากิน
ของ นาก มัสแครต เป็ด ปลา
สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
หมาป่ายังฆ่าไคโยตี
เพราะไคโยตีเป็นสัตว์นักล่าตัวฉกาจกับกระต่ายและหนู
ส่งผลให้จำนวนกระต่ายและหนูเพิ่มขึ้น
นั้นตามมาด้วยการเพิ่มจำนวนของเหยี่ยวนักล่าขนาดกลาง
วีเซิล หมาจิ้งจอก แบดเจอร์ กาและอินทรีหัวขาว
ต่างก็มากินซากสัตว์ที่หมาป่าเหลือทิ้งไว้
รวมทั้งหมีก็ได้กินซากเช่นกัน
ทำให้จำนวนประชากรหมีเพิ่มขึ้นด้วย
เพราะมีผลไม้จำพวกเบอร์รีมากขึ้น
จากไม้พุ่มที่ฟื้นตัวขึ้นมา
และหมีก็มีบทบาทเช่นเดียวกับหมาป่า
ด้วยการฆ่าลูกกวางจำนวนหนึ่งด้วย
มัสเครต ที่มาของภาพ wikipedia.org
วีเซิล
หมาจิ้งจอก
แบตเจอร์
ฝูงหมีกำลังกัดกินซากสัตว์
แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ
หมาป่าได้เปลี่ยนพฤติกรรมของแม่น้ำ
(ทิศทาง/กระแสน้ำที่ไหล)
จากที่เคยไหลบ่ากระจัดกระจาย
มันเริ่มตวัดคดเคี้ยวน้อยลง
กัดเซาะน้อยลง ลำน้ำแคบลง
เกิดวังน้ำมากขึ้น เกิดช่วงแก่งน้ำมากขึ้น
ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นถิ่นอาศัยหากิน
สำหรับชีวิตป่าหลากหลายชนิด
แม่น้ำปรับเปลี่ยนตอบสนองหมาป่า
เพราะป่าฟื้นฟูขึ้นมายึดริมฝั่งน้ำ
มันจึงไม่ทลายลงบ่อยๆ เหมือนเดิม
ลำน้ำเริ่มไหลตามร่องคงตัวมากขึ้น
ผนวกกับการที่ฝูงกวางถูกไล่ล่าออกไปจากบางพื้นที่
ดงพืชบนไหล่ทางฟื้นตัวขึ้นมาได้
หน้าดินก็ถูกกัดเซาะน้อยลง
เพราะมีพืชยึดเอาไว้
แม่น้ำที่มีพุ่มไม้ข้างลำน้ำเกาะยึดที่ดินไว้
ด้วยประการฉะนี้ หมาป่าจำนวนน้อยนิด
จึงไม่เพียงแต่แปรเปลี่ยนระบบนิเวศ
ในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลของอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
หากยังรวมไปถึงกายภาพของภูมิประเทศนี้ด้วย
Credit :
สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ http://goo.gl/hkcPbQ
ไคโยตี หรือ ไคโยต (สำเนียงอเมริกัน: /kaɪˈoʊt̬i/, kaɪˈoʊt
หรือ โคโยตี สำเนียงบริเตน: /kɔɪˈəʊti/
จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เป็นสุนัขป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลสุนัขใกล้เคียงกับสุนัขบ้าน
ไคโยตมักจะออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจจะพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ
ช่วงชีวิตของไคโยตประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ
ไคโยตถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และแถบคอสตาริกา
ซึ่งภายหลังไคโยตได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ
ชื่อ ไคโยตี เป็นภาษาสเปนคำว่า โคโยเต coyote ที่มาจากประเทศเม็กซิโก
ที่ยืมต่อมาจาก ภาษา Náhuatl ของชาวแอซเทค
คำว่า cóyotl [ˈkojoːtɬ] ที่หมายถึง สุนัขร้องเพลง
ที่มา
http://goo.gl/6jE3Gk
เมื่อตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่น
ผมใช้เวลาถึงหกปีไปกับ
การผจญภัยท่องเที่ยวในเขตป่าฝนเมืองร้อน
ผมทำงานเป็นสื่อมวลชนที่คอยเฝ้าสังเกต
พื้นที่ที่มีเสน่ห์อย่างมากแห่งหนึ่งของโลก
ผมค่อนข้างจะบ้าบิ่นและทำตัวโง่เขลาในบางครั้ง
ตามประสาพวกวัยรุ่น ที่พวกผู้ชายก็มักจะทำเช่นนั้น
นี่ก็คือเหตุผลอีกอย่างหนึ่งว่า
ทำไมถึงมีการสู้รบกันเป็นจำนวนมก
และกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในโลกใบนี้
ต่อมา ผมรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่รอดต่อไปน่าจะดีกว่า
เที่ยวทำเรื่องราวแบบโง่ ๆ เหมือนที่เคยทำมาในอดีต
เมื่อผมกลับบ้านเกิดแล้ว
ผมพบว่าความใฝ่ฝันแสนงาม
ในชีวิตผมค่อย ๆ จางหายไป
จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง
ผมพบว่าการใส่จานลงไปในเครื่องล้างจาน
เป็นเรื่องที่ท้าทายความน่าสนใจของผมมากกว่า
ผมค้นพบตนเองว่า
บาดแผลในใจและประสบการณ์ในอดีตของผม
คือการที่ผมพยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกมากเกินไป
ผมยังอยู่ ผมยังเชื่อ ในเรื่องรากเง่าระบบนิเวศวิทยา
นกร้องเพลง songbird มีมากกว่าสี่พันสายพันธ์ ที่มาของภาพ wikipedia.org
ฝูงนกอพยพย้ายถิ่นในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
ทุกวันนี้คนเราได้พัฒนาความรู้ในเรื่องระบบนิเวศ
ที่ค่อนข้างท้าทายมากกว่าในอดีต
ในโลกของสัตว์ป่า
บรรดาสัตว์มีเขา เขี้ยว งา และกรงเล็บ
บางคนยังกลัว แต่บางคนกลับกล้าหาญ
แล้วเที่ยวรุกรานกับสัตว์พวกนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ที่ผ่านมาในอดีต การสำรวจสัตว์ต่าง ๆ
เพราะคนเราต้องการความสะดวกสบาย
และความรู้สึกว่าตนเองต้องปลอดภัยด้วย
คนเราจึงได้จำกัดเขตพื้นที่สัตว์ป่า
ตามแนวเขตที่ระบุไว้ในแผนที่เท่านั้น
(ทั้งที่บรรดาสัตว์อาจจะออกนอกเขตแผนที่)
ทำให้คนเรามีโอกาสน้อยมาก
ในการบริหารจัดการบรรดาสัตว์ป่า
โดยไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ
หรือการที่ทัคนเข้าเกี่ยวข้องด้วย
ทำให้มีข้อจำกัด
ในการจัดเรียงลำดับความสำคัญของระบบนิเวศ
ที่ผมค้นพบเพิ่มเติมด้วยตนเอง
บีเวอร์กำลังคาบไม้ไปสร้างฝายกั้นน้ำ
บีเวอร์อยู่ระหว่างการดำน้ำในแม่น้ำ
เพื่อที่จะเอาชนะความไม่แน่นอน
เพื่อจะรู้ว่า อะไรที่จะตามมาในภายหลัง
นั่นคือ เป้าหมายของระบบทุนนิยม
ที่โดดเด่นที่สุดของสังคมอุตสาหกรรม
คือการไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
หรือ เกือบไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้
คนเราต่างเริ่มยอมรับกันว่า
ความต้องการที่แท้จริงของเรา
คือ เราอยากจะได้รับสิทธิพิเศษ
ด้านความมั่นคงปลอดภัย
มากกว่าเรียนรู้จากประสบการณ์/การทำงานหนัก
การที่คนเราได้รับสิทธิพิเศษเหล่านั้นมากขึ้น
ทำให้ผมคิดว่า เรากำลังสูญเสียอะไรบางอย่างเช่นกัน
ฝูงหมาป่ากำลังกัดกินโคโยตี
กระต่าย
หนูป่า
ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกไม่อยากรู้อยากเห็น
ช่วงเวลาวิวัฒนาการของสัตว์ป่าแล้ว
เพราะผมพบว่า
ภายในช่วงชีวิตของสัตว์นักล่า
วาระสุดท้ายของพวกมันก็คือ
การต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง
ที่ต้องฆ่าอีกฝ่ายให้ตายลง
ระหว่างคนกับสัตว์นักล่า
ในช่วงเวลาที่ผมกำลังคิดอยู่นี้
ผมได้ลองย้อนความคิดกลับไป
ตั้งแต่ยุคโบราณที่คนนำหินมาทำเป็นปลายหอก
แล้วออกตามล่ากระทิงป่าตัวยักษ์ที่ดุร้าย
แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำนายผลการล่าสัตว์ในครั้งนั้นได้
หรือบางทีเรื่องแบบนี้อาจจะไม่ตรงประเด็นนัก
กับเรื่องที่ผมกำลังค้นหาและคิดอยู่
แต่แล้วผมกลับค้นพบว่า
ไม่มีประโยชน์อย่างใดเลย
การที่จะทำให้แนวความคิดของผม
ทำให้คนอื่นจะเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ผมอาจจะต้องการเป็นคนร่ำรวย
หรือผมอาจจะเป็นคนอ่อนหัดกับชีวิตมาก
กับการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศอังกฤษ
ที่คนจำนวนมากสามารถใช้ชีวิตส่วนใหญ่
อยู่ในโลกทุนนิยมได้อย่างมั่นคง
สิ่งที่ผมพบโดยบังเอิญ คือ
คำศัพท์ที่ผมไม่คุ้นเคย
แต่แล้วผมเริ่มจะเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังค้นหา
และโดยฉับพลันที่ผมค้นพบคำศัพท์นั้น
ผมตั้งใจว่าจะอุทิศชีวิตที่เหลือให้กับมัน
rewilding คือ ทำให้ผืนป่ากลับมาอีกครั้ง
คำว่า rewilding เป็นคำศัพท์ใหม่
แต่มันมีนัยสำคัญสองประการ
หมาป่าเปลี่ยนแม่น้ำได้อย่างไร
How Wolves Change Rivers
ฝูงหมาป่ากำลังไล่ล่ากวาง
หมาป่าท่ามกลางหิมะ
การค้นพบทางวิทยาศาสตร์ที่น่าตื่นเต้นที่สุดเรื่องหนึ่ง
ในช่วงระยะเวลา 50 ปีที่ผ่านมา
คือปรากฏการณ์น้ำตกห่วงโซ่อาหาร
ในพื้นที่หลายแห่งที่แตกต่างกันอย่างมาก
น้ำตกห่วงโซ่อาหาร หรือ trophic cascade
คือ กระบวนการนิเวศวิทยา
ที่เกิดขึ้นที่ยอดบนสุดของพีระมิดห่วงโซ่อาหาร
ที่ส่งผลกระทบลงมาตั้งแต่จากบนสุดลงมาสู่ด้านล่างสุด
ตัวอย่างกรณีศึกษาที่ดีที่สุด คือ
กรณีอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน สหรัฐอเมริกา
เริ่มตั้งแต่การปล่อยหมาป่าคืนสู่ป่าในปี พ.ศ. 2538
เราทุกคนรู้ว่าหมาป่าฆ่าสัตว์หลายชนิด
แต่บางทีเราอาจจะไม่ตระหนักว่า
พวกมันยังให้ชีวิตแก่สัตว์ชนิดอื่นด้วยเช่นกัน
ก่อนที่นักอนุรักษ์จะคืนหมาป่ากลับสู่เยลโลว์สโตน
พวกมันได้ถูกมนุษย์ล่าจนหายสาปสูญไป
จากพื้นที่นี้เป็นเวลายาวนานถึง 70 ปี
จนจำนวนกวางในอุทยานฯ เพิ่มสูงขึ้น ๆ จำนวนมาก
ไม่ว่ามนุษย์จะพยายามหาทางควบคุมจำนวนกวางอย่างไร
แต่ฝูงกวางก็ยังสามารถลดจำนวนปริมาณพืชพันธุ์ไม้
จนแทบไม่เหลืออะไรอีกเลย
เพราะพวกมันแทะเล็มกินไปจนเกือบหมด
แต่ทันทีที่ฝูงหมาป่ากลับคืนมา
แม้ว่าพวกมันจะมีจำนวนน้อยนิด
แต่พวกมันเริ่มส่งผลกระทบอย่างน่าอัศจรรย์
แน่นอนว่าสิ่งแรกที่เกิดขึ้นคือ
หมาป่าฆ่ากวางกิน
แต่นี่ไม่ใช่ประเด็นหลัก
ประเด็นสำคัญที่สุดคือ
พวกมันเปลี่ยนพฤติกรรมของกวาง
ฝูงกวางเริ่มหลีกเลี่ยงพื้นที่บางแห่งในวนอุทยานฯ
อยู่เฉพาะในเขตพื้นที่ปลอดภัย
พื้นที่ที่ฝูงกวางจะไม่โดน
หมาป่าไล่ต้อนให้จนมุมได้โดยง่าย
ทำให้ป่าไม้บริเวณหุบเขาและโตรกเขา
พื้นที่เหล่านี้ก็เริ่มฟื้นฟูขึ้นมาทันที
บางแห่งต้นไม้สูงขึ้นถึง 5 เท่า
ภายในเวลาเพียงแค่ 6 ปี
ตามเขตหุบเขาที่เคยเป็นพื้นที่โล่งเตียน
ได้ฟื้นฟูคืนชีพเป็นป่าอีกครั้ง
เต็มไปด้วย ต้นแอสเปิน หลิว และคอตตอนวูด
ที่เติบโตงอกงามขึ้นอย่างรวดเร็ว
นกอินทรี
นกอินทรีหัวขาว กำลังกินอาหารร่วมกับ กา
เมื่อป่าฟื้นขึ้น นกก็เริ่มเข้ามา
จำนวนนกเพลง นกอพยพ เพิ่มขึ้นมากมาย
จำนวนตัวบีเวอร์ก็เพิ่มขึ้นด้วย
ตามมาด้วยหมาป่าที่มาล่าตัวบีเวอร์
บีเวอร์กัดกินต้นไม้/เป็นวิศวกร
ผู้สร้างระบบนิเวศ มันสร้างสรรค์ที่ทางให้กับสิ่งมีชีวิตอื่น
ฝายที่มันสร้างบนแม่น้ำ
กลายเป็นแหล่งที่พักอาศัย/ที่หากิน
ของ นาก มัสแครต เป็ด ปลา
สัตว์เลื้อยคลาน และสัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก
หมาป่ายังฆ่าไคโยตี
เพราะไคโยตีเป็นสัตว์นักล่าตัวฉกาจกับกระต่ายและหนู
ส่งผลให้จำนวนกระต่ายและหนูเพิ่มขึ้น
นั้นตามมาด้วยการเพิ่มจำนวนของเหยี่ยวนักล่าขนาดกลาง
วีเซิล หมาจิ้งจอก แบดเจอร์ กาและอินทรีหัวขาว
ต่างก็มากินซากสัตว์ที่หมาป่าเหลือทิ้งไว้
รวมทั้งหมีก็ได้กินซากเช่นกัน
ทำให้จำนวนประชากรหมีเพิ่มขึ้นด้วย
เพราะมีผลไม้จำพวกเบอร์รีมากขึ้น
จากไม้พุ่มที่ฟื้นตัวขึ้นมา
และหมีก็มีบทบาทเช่นเดียวกับหมาป่า
ด้วยการฆ่าลูกกวางจำนวนหนึ่งด้วย
มัสเครต ที่มาของภาพ wikipedia.org
วีเซิล
หมาจิ้งจอก
แบตเจอร์
ฝูงหมีกำลังกัดกินซากสัตว์
แต่ที่น่าสนใจที่สุดคือ
หมาป่าได้เปลี่ยนพฤติกรรมของแม่น้ำ
(ทิศทาง/กระแสน้ำที่ไหล)
จากที่เคยไหลบ่ากระจัดกระจาย
มันเริ่มตวัดคดเคี้ยวน้อยลง
กัดเซาะน้อยลง ลำน้ำแคบลง
เกิดวังน้ำมากขึ้น เกิดช่วงแก่งน้ำมากขึ้น
ทั้งหลายทั้งปวงล้วนเป็นถิ่นอาศัยหากิน
สำหรับชีวิตป่าหลากหลายชนิด
แม่น้ำปรับเปลี่ยนตอบสนองหมาป่า
เพราะป่าฟื้นฟูขึ้นมายึดริมฝั่งน้ำ
มันจึงไม่ทลายลงบ่อยๆ เหมือนเดิม
ลำน้ำเริ่มไหลตามร่องคงตัวมากขึ้น
ผนวกกับการที่ฝูงกวางถูกไล่ล่าออกไปจากบางพื้นที่
ดงพืชบนไหล่ทางฟื้นตัวขึ้นมาได้
หน้าดินก็ถูกกัดเซาะน้อยลง
เพราะมีพืชยึดเอาไว้
แม่น้ำที่มีพุ่มไม้ข้างลำน้ำเกาะยึดที่ดินไว้
ด้วยประการฉะนี้ หมาป่าจำนวนน้อยนิด
จึงไม่เพียงแต่แปรเปลี่ยนระบบนิเวศ
ในพื้นที่กว้างใหญ่ไพศาลของอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
หากยังรวมไปถึงกายภาพของภูมิประเทศนี้ด้วย
Credit : สรณรัชฎ์ กาญจนะวณิชย์ http://goo.gl/hkcPbQ
ไคโยตี หรือ ไคโยต (สำเนียงอเมริกัน: /kaɪˈoʊt̬i/, kaɪˈoʊt
หรือ โคโยตี สำเนียงบริเตน: /kɔɪˈəʊti/
จัดอยู่ในไฟลัมสัตว์มีแกนสันหลัง ชั้นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนม
เป็นสุนัขป่าชนิดหนึ่ง ในตระกูลสุนัขใกล้เคียงกับสุนัขบ้าน
ไคโยตมักจะออกล่าเหยื่อเดี่ยว และในบางครั้งอาจจะพบเจออยู่เป็นกลุ่มเล็ก ๆ
ช่วงชีวิตของไคโยตประมาณ 6 ปี อยู่อาศัยบริเวณทุ่งราบ และพบได้ในทวีปอเมริกาเหนือ
ไคโยตถูกพบเจอครั้งแรกบริเวณตะวันตกเฉียงใต้ของสหรัฐอเมริกา และแถบคอสตาริกา
ซึ่งภายหลังไคโยตได้ขยายดินแดนขึ้นมาทางอเมริกาเหนือ
ชื่อ ไคโยตี เป็นภาษาสเปนคำว่า โคโยเต coyote ที่มาจากประเทศเม็กซิโก
ที่ยืมต่อมาจาก ภาษา Náhuatl ของชาวแอซเทค
คำว่า cóyotl [ˈkojoːtɬ] ที่หมายถึง สุนัขร้องเพลง
ที่มา http://goo.gl/6jE3Gk
เมื่อตอนที่ผมยังเป็นวัยรุ่น
ผมใช้เวลาถึงหกปีไปกับ
การผจญภัยท่องเที่ยวในเขตป่าฝนเมืองร้อน
ผมทำงานเป็นสื่อมวลชนที่คอยเฝ้าสังเกต
พื้นที่ที่มีเสน่ห์อย่างมากแห่งหนึ่งของโลก
ผมค่อนข้างจะบ้าบิ่นและทำตัวโง่เขลาในบางครั้ง
ตามประสาพวกวัยรุ่น ที่พวกผู้ชายก็มักจะทำเช่นนั้น
นี่ก็คือเหตุผลอีกอย่างหนึ่งว่า
ทำไมถึงมีการสู้รบกันเป็นจำนวนมก
และกิดขึ้นบ่อยครั้งมากในโลกใบนี้
ต่อมา ผมรู้สึกว่าการมีชีวิตอยู่รอดต่อไปน่าจะดีกว่า
เที่ยวทำเรื่องราวแบบโง่ ๆ เหมือนที่เคยทำมาในอดีต
เมื่อผมกลับบ้านเกิดแล้ว
ผมพบว่าความใฝ่ฝันแสนงาม
ในชีวิตผมค่อย ๆ จางหายไป
จนกระทั่งเช้าวันหนึ่ง
ผมพบว่าการใส่จานลงไปในเครื่องล้างจาน
เป็นเรื่องที่ท้าทายความน่าสนใจของผมมากกว่า
ผมค้นพบตนเองว่า
บาดแผลในใจและประสบการณ์ในอดีตของผม
คือการที่ผมพยายามเข้าไปยุ่งเกี่ยวกับเรื่องทางโลกมากเกินไป
ผมยังอยู่ ผมยังเชื่อ ในเรื่องรากเง่าระบบนิเวศวิทยา
นกร้องเพลง songbird มีมากกว่าสี่พันสายพันธ์ ที่มาของภาพ wikipedia.org
ฝูงนกอพยพย้ายถิ่นในอุทยานแห่งชาติเยลโลว์สโตน
ทุกวันนี้คนเราได้พัฒนาความรู้ในเรื่องระบบนิเวศ
ที่ค่อนข้างท้าทายมากกว่าในอดีต
ในโลกของสัตว์ป่า
บรรดาสัตว์มีเขา เขี้ยว งา และกรงเล็บ
บางคนยังกลัว แต่บางคนกลับกล้าหาญ
แล้วเที่ยวรุกรานกับสัตว์พวกนี้ด้วยวิธีการต่าง ๆ
ที่ผ่านมาในอดีต การสำรวจสัตว์ต่าง ๆ
เพราะคนเราต้องการความสะดวกสบาย
และความรู้สึกว่าตนเองต้องปลอดภัยด้วย
คนเราจึงได้จำกัดเขตพื้นที่สัตว์ป่า
ตามแนวเขตที่ระบุไว้ในแผนที่เท่านั้น
(ทั้งที่บรรดาสัตว์อาจจะออกนอกเขตแผนที่)
ทำให้คนเรามีโอกาสน้อยมาก
ในการบริหารจัดการบรรดาสัตว์ป่า
โดยไม่ส่งผลกระทบกับระบบนิเวศ
หรือการที่ทัคนเข้าเกี่ยวข้องด้วย
ทำให้มีข้อจำกัด
ในการจัดเรียงลำดับความสำคัญของระบบนิเวศ
ที่ผมค้นพบเพิ่มเติมด้วยตนเอง
บีเวอร์กำลังคาบไม้ไปสร้างฝายกั้นน้ำ
บีเวอร์อยู่ระหว่างการดำน้ำในแม่น้ำ
เพื่อที่จะเอาชนะความไม่แน่นอน
เพื่อจะรู้ว่า อะไรที่จะตามมาในภายหลัง
นั่นคือ เป้าหมายของระบบทุนนิยม
ที่โดดเด่นที่สุดของสังคมอุตสาหกรรม
คือการไปให้ถึงเป้าหมายนั้น
หรือ เกือบไปถึงเป้าหมายนั้นให้ได้
คนเราต่างเริ่มยอมรับกันว่า
ความต้องการที่แท้จริงของเรา
คือ เราอยากจะได้รับสิทธิพิเศษ
ด้านความมั่นคงปลอดภัย
มากกว่าเรียนรู้จากประสบการณ์/การทำงานหนัก
การที่คนเราได้รับสิทธิพิเศษเหล่านั้นมากขึ้น
ทำให้ผมคิดว่า เรากำลังสูญเสียอะไรบางอย่างเช่นกัน
ฝูงหมาป่ากำลังกัดกินโคโยตี
กระต่าย
หนูป่า
ตอนนี้ผมเริ่มรู้สึกไม่อยากรู้อยากเห็น
ช่วงเวลาวิวัฒนาการของสัตว์ป่าแล้ว
เพราะผมพบว่า
ภายในช่วงชีวิตของสัตว์นักล่า
วาระสุดท้ายของพวกมันก็คือ
การต่อสู้กันอย่างถึงพริกถึงขิง
ที่ต้องฆ่าอีกฝ่ายให้ตายลง
ระหว่างคนกับสัตว์นักล่า
ในช่วงเวลาที่ผมกำลังคิดอยู่นี้
ผมได้ลองย้อนความคิดกลับไป
ตั้งแต่ยุคโบราณที่คนนำหินมาทำเป็นปลายหอก
แล้วออกตามล่ากระทิงป่าตัวยักษ์ที่ดุร้าย
แม้ว่าจะเป็นเรื่องยากที่จะทำนายผลการล่าสัตว์ในครั้งนั้นได้
หรือบางทีเรื่องแบบนี้อาจจะไม่ตรงประเด็นนัก
กับเรื่องที่ผมกำลังค้นหาและคิดอยู่
แต่แล้วผมกลับค้นพบว่า
ไม่มีประโยชน์อย่างใดเลย
การที่จะทำให้แนวความคิดของผม
ทำให้คนอื่นจะเข้าใจเรื่องนี้ได้เป็นอย่างดี
ผมอาจจะต้องการเป็นคนร่ำรวย
หรือผมอาจจะเป็นคนอ่อนหัดกับชีวิตมาก
กับการใช้ชีวิตประจำวันในประเทศอังกฤษ
ที่คนจำนวนมากสามารถใช้ชีวิตส่วนใหญ่
อยู่ในโลกทุนนิยมได้อย่างมั่นคง
สิ่งที่ผมพบโดยบังเอิญ คือ
คำศัพท์ที่ผมไม่คุ้นเคย
แต่แล้วผมเริ่มจะเข้าใจในสิ่งที่ผมกำลังค้นหา
และโดยฉับพลันที่ผมค้นพบคำศัพท์นั้น
ผมตั้งใจว่าจะอุทิศชีวิตที่เหลือให้กับมัน
rewilding คือ ทำให้ผืนป่ากลับมาอีกครั้ง
คำว่า rewilding เป็นคำศัพท์ใหม่
แต่มันมีนัยสำคัญสองประการ