"ธนกิจการเมือง"คืออะไร?....อยากให้เข้าใจก่อนการเลือกตั้ง....
ความหมาย
“ธนกิจการเมือง” มาจากคำว่า “Money Politics” และในบางครั้งยังใช้ในความหมายว่า “การเมืองแบบเงินตรา” หรือ “ธุรกิจการเมือง” เป็นต้น ทั้งนี้ ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ให้ความหมายคำว่า “ธนกิจการเมือง” (Money Politics) ว่าคือ กระบวนการที่นักการเมืองหรือนักธุรกิจใช้เงินตราไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการให้ตนเองได้รับการเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาด้วยการซื้อเสียง หรือการร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มก๊วนเพื่อเข้าถึงอำนาจ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรีที่สามารถดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อธุรกิจของตนเองหรือธุรกิจของพวกพ้อง ทั้งในรูปแบบของการฟื้นฟูการลงทุนไปจนกระทั่งการหากำไรจากการได้รับค่าเช่าและรายได้จากค่าเช่าต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาต การสัมปทานหรือการอุดหนุน เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ได้รับกลับมาจะสูงกว่าภายใต้สภาวะของการแข่งขันปกติ นอกจากนี้ ยังมีการแสวงหาสินบนและการปรับใช้งบประมาณปกติเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ถึงที่สุดแล้ว ความมั่งคั่งและผลประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมเหล่านี้จะถูกนำกลับไปใช้ลงทุนในทางการเมืองเพื่อขยายเขตอำนาจของตนอีกต่อหนึ่ง กล่าวได้ว่า การเมืองในแนวนี้โดยตัวมันเองจึงเป็นแต่เพียงธุรกิจ อันหมายถึงวิถีทางในการแสวงหารายได้เท่านั้น [1]
โดยสรุปแล้ว “ธนกิจการเมือง” คือ การที่นักธุรกิจขนาดใหญ่ระดับนำเพียงไม่กี่คน ประสบความสำเร็จในการใช้เงินซื้อการเมือง และพยายามถอนทุนจากการมีอำนาจได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และประสบความสำเร็จในการบ่อนทำลายระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง หมายความว่าแทนที่รัฐสภาจะมีสมาชิกที่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมอย่างครอบคลุม กลับกลายเป็นเพียงตัวแทนของผลประโยชน์กลุ่มน้อยนิดของสังคมไทย คือ “นักธุรกิจ"
ที่มา:http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87
"ธนกิจการเมือง"คืออะไร?....อยากให้เข้าใจก่อนการเลือกตั้ง....
“ธนกิจการเมือง” มาจากคำว่า “Money Politics” และในบางครั้งยังใช้ในความหมายว่า “การเมืองแบบเงินตรา” หรือ “ธุรกิจการเมือง” เป็นต้น ทั้งนี้ ผาสุก พงษ์ไพจิตร ได้ให้ความหมายคำว่า “ธนกิจการเมือง” (Money Politics) ว่าคือ กระบวนการที่นักการเมืองหรือนักธุรกิจใช้เงินตราไปเพื่อให้ได้มาซึ่งอำนาจทางทางการเมือง ไม่ว่าจะเป็นการให้ตนเองได้รับการเลือกเป็นสมาชิกรัฐสภาด้วยการซื้อเสียง หรือการร่วมกันจัดตั้งเป็นกลุ่มก๊วนเพื่อเข้าถึงอำนาจ โดยมีจุดมุ่งหมายสำคัญเพื่อจัดตั้งคณะรัฐมนตรีที่สามารถดำเนินนโยบายที่เอื้อต่อธุรกิจของตนเองหรือธุรกิจของพวกพ้อง ทั้งในรูปแบบของการฟื้นฟูการลงทุนไปจนกระทั่งการหากำไรจากการได้รับค่าเช่าและรายได้จากค่าเช่าต่าง ๆ เช่น ใบอนุญาต การสัมปทานหรือการอุดหนุน เป็นต้น ซึ่งสิ่งที่ได้รับกลับมาจะสูงกว่าภายใต้สภาวะของการแข่งขันปกติ นอกจากนี้ ยังมีการแสวงหาสินบนและการปรับใช้งบประมาณปกติเพื่อประโยชน์ของตนเองและพวกพ้อง ถึงที่สุดแล้ว ความมั่งคั่งและผลประโยชน์ที่ได้รับจากกิจกรรมเหล่านี้จะถูกนำกลับไปใช้ลงทุนในทางการเมืองเพื่อขยายเขตอำนาจของตนอีกต่อหนึ่ง กล่าวได้ว่า การเมืองในแนวนี้โดยตัวมันเองจึงเป็นแต่เพียงธุรกิจ อันหมายถึงวิถีทางในการแสวงหารายได้เท่านั้น [1]
โดยสรุปแล้ว “ธนกิจการเมือง” คือ การที่นักธุรกิจขนาดใหญ่ระดับนำเพียงไม่กี่คน ประสบความสำเร็จในการใช้เงินซื้อการเมือง และพยายามถอนทุนจากการมีอำนาจได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และประสบความสำเร็จในการบ่อนทำลายระบอบรัฐสภาประชาธิปไตยอย่างสิ้นเชิง หมายความว่าแทนที่รัฐสภาจะมีสมาชิกที่เป็นตัวแทนของกลุ่มคนต่าง ๆ ในสังคมอย่างครอบคลุม กลับกลายเป็นเพียงตัวแทนของผลประโยชน์กลุ่มน้อยนิดของสังคมไทย คือ “นักธุรกิจ"
ที่มา:http://wiki.kpi.ac.th/index.php?title=%E0%B8%98%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%B4%E0%B8%88%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A1%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%87