คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 19
สธ. แจง ข้อมูลฉีดวัคซีน mRNA มาก เพิ่มความเสี่ยงติด "โควิด"
ใช้กับไทยไม่ได้เพราะบริบทแตกต่างกัน
ย้ำ !! ฉีด 4 เข็มทุก 4 เดือน ลดโอกาสป่วยหนักหรือเสียชีวิต
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11) กล่าวถึงกรณีมีข่าวรายงานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ระบุเรื่องการรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโรคโควิด 19 ซ้ำ ว่า จากการตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลงานวิจัยของแผนกโรคติดเชื้อ คลีฟแลนด์คลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินรับรองจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยังไม่ได้รับการยอมรับให้เผยแพร่ตามมาตรฐานวิชาการ ประเด็นที่พบเป็นเพียงการนำเสนอจากข้อมูลที่มีอยู่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่สำคัญ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมการป้องกันโรค และประวัติการติดเชื้อร่วมกับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อหรือการติดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งสำคัญคือ ต้องร่วมกับพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีในการป้องกันโรค เช่น การสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะหรือที่มีผู้คนแออัดจำนวนมาก การล้างมือ และการเว้นระยะห่าง ดังนั้น ผลงานวิจัยดังกล่าวจึงขาดความน่าเชื่อถืออย่างมาก
ที่สำคัญ ข้อมูลงานวิจัยดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ด้านระบาดวิทยา และพฤติกรรมสุขภาพของประชากร โดยสหรัฐอเมริกาไม่ได้เน้นมาตรการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย เหมือนประเทศไทย รวมถึงระบบการรักษาพยาบาล การควบคุมโรค และสายพันธุ์ของเชื้อที่ระบาดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นมากกว่า 3 เข็มในสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง จึงมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LtzSYvRWh1xgLViYLP5NsgdaHhZaEyScmPUFZNKyuSmgqD9DQHGQd6cGU4yRjXiSl
นายกฯ กล่าวถึง มาตรการโควิดรองรับนักท่องเที่ยวจีน
“หลายประเทศก็มีการรับมือของเขาอยู่แล้ว
บางอย่างอาจเหมือนกัน บางอย่างอาจไม่เหมือน...
ของเราก็ถือว่าเป็นเกรด A ฉะนั้นก็ต้องเชื่อมั่นตรงนี้”
ที่มา สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02pSQaqLvyxJyaZEQjuXukW4zVnsS4PjchWsk7BN5DpRXPRMesSrxuHo6QaG7eBbmJl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข เปิดให้บริการแล้ว ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เริ่ม 5 มกราคม 2566 เป็นต้นไป เวลา 09.00 -14.00 น.
ณ โถงอาคาร 3 ชั้น1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
https://web.facebook.com/nvikm/posts/pfbid02hqWvinq966wMbUBAjkzAkFuGcytm9oFJZp8rinYLpbd1u1Q8zSxkjY9AhPuqjtdvl
“จากตัวอย่างการถอดรหัสไวรัสในประเทศจีน ขณะนี้เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้รุนแรงกว่าสายพันธ์ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก ดังนั้นการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อโดยธรรมชาติ จากสายพันธุ์ที่ล้ำหน้ากว่าที่ระบาดอยู่ในจีน จึงทำให้เกิดความเบาใจว่าจะไม่มีการระบาดที่รุนแรง จากนักท่องเที่ยวชาวจีน”
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
31 ธ.ค. 65
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0RJeqAbA5SAfSM2yTXNVPLv51jLrBv5uG7huucc4MqWsT7gmSPj8r7XtzvEs3wAkal&id=100068069971811
“การที่นักท่องเที่ยวจากจีนจะเดินทางเข้าไทยไม่ต้องตระหนกมาก เพราะเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน เป็นสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ระบาดไม่รุนแรงมาก ดังนั้นมาตรการที่ไทยเตือนไว้เหมาะสมแล้วที่กำหนดให้นักท่องเที่ยวจากจีน ต้องมีประกันสุขภาพตรวจหาเชื้อก่อนเข้าประเทศ 48 ชั่วโมงและต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์”
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 ม.ค. 66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0EQDZLwVDFQzWErAiBdxj7P6XQYKn66uxLeed9cSHGE6fytxzjeohUbjE2YMckopjl&id=100068069971811
“คนจีนนำรายได้เข้าประเทศเราไม่น้อย ดังนั้นสิ่งที่เราควรระวังไม่ใช่ระวังเขา แต่เรา ต้องลดความเสี่ยง ใส่หน้ากาก เว้นระยะ ล้างมือบ่อยๆ ยังทำได้ไม่ว่ากับโควิด 19 สายพันธ์ุไหน วัคซีนยังมีอยู่ให้รีบไปฉีดเลย ไม่ต้องรอ”
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2 ม.ค. 66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0dZB2Fupha2uHKLcNPJYxnccYyxzJ6UGFgsdis2moFRcySqTUuYkkBic7MR45Qrt5l&id=100068069971811
“ถึงเวลาที่เราต้องอยู่ร่วมกับโควิด 19 อย่างมีสติ เชื้อมีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง สามารถเกิดขึ้นในประเทศไหนก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะจีน”
"เราต้องเตรียมตัวเองให้ดี เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สรา้งสุขนิสัยที่ดี สวมหน้ากาก เมื่ออยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี เว้นระยะห่างและหมั่นล้างมือ"
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์
หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
2 ม.ค.66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid031vUnZR4S5UM7TEEbFP2Pm9LFAfGQDFikgZHkuNzZatgivtLyer4M2CgrnUAZ2Vxcl&id=100068069971811
สธ. แจง “งานวิจัยฉีด mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด” ยังขาดความน่าเชื่อถือ
กรณีข่าวรายงานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ระบุเรื่องการรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ซ้ำได้นั้น
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยว่าตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นข้อมูลงานวิจัยของแผนกโรคติดเชื้อ คลีฟแลนด์คลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยยัง “ไม่ได้รับการประเมินรับรอง” จากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยัง “ไม่ได้รับการยอมรับให้เผยแพร่” ตามมาตรฐานวิชาการ
ที่สำคัญข้อมูลงานวิจัยดังกล่าว “ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้” เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ด้านระบาดวิทยา และพฤติกรรมสุขภาพของประชากร
ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าว ยังมีประโยชน์ในแง่สนับสนุนให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นอย่างรอบด้านมากขึ้น เพื่อเป็นข้อสรุปที่สำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
สธ. จึงขอเชิญชวน ปชช. ให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น อย่างน้อย 4 เข็ม หากเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ต้องฉีดเข็มกระตุ้น ตามข้อแนะนำด้านวิชาการในปัจจุบันของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63336
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid09tSWm9PRwpUsYoHSdeuKGE3JbHV3Bn31rLKJWNRPKZtf6eNA291EqaLqHAvv8tQjl
5 ม.ค. นี้ “อนุทิน” เตรียมนั่งหัวโต๊ะ ประชุมมาตรการรับผู้เดินทางจากประเทศจีน
วันที่ 5 ม.ค. 66 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข จะประชุมเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการต่างประเทศ
โดยจะหารือถึงมาตรการต่างๆ ที่แต่ละหน่วยงานได้เตรียมการ กรณีที่จะมีผู้เดินทางมาจากจีนมากขึ้นภายหลังทางการจีนได้มีนโยบายทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 เป็นต้นไป การประชุมจะหารือเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานอย่างรอบด้านและรัดกุม ให้ประเทศไทยสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง ไปพร้อมกับการสามารถเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การประชุมที่จะเกิดขึ้น มีการพิจารณาในหลายหัวข้อ อาทิ กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางจากประเทศจีน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ จะเตรียมความพร้อมแต่ละด้าน ประกอบด้วยการะทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานถึงการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และ แนวทางการให้ความช่วยเหลือกรณีนักท่องเที่ยวจีนติดเชื้อโควิด-19
ด้าน กระทรวงคมนาคม จะรายงานถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทยของผู้เดินทางจากประเทศจีนผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะช่องทางท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นช่องทางหลักของการเดินทางเข้าประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศ จะรายงานถึงการเตรียมระบบรองรับการขอวีซ่าของนักท่องเที่ยวจีน และแนวทางการขยายเวลาอนุญาตการเข้าราชอาณาจักร กรณีติดเชื้อโควิด-19 ก่อนกลับประเทศ
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02wDTJ7WamKAaSbCtzELGXKwViVPCsdAJ3HevhdhKJmAHoijeTKsjJ9nJr3xarHEYkl
“นพ.ยง” แนะนำ‼️การเปิดรับ นทท.โดยเฉพาะชาวจีน ควรเน้นสกัดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 หลังคาดไทยน่าจะหนีไม่พ้นในอนาคต
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเฟซบุ๊ก [ 3 ม.ค.66 ] กรณีโควิด-19 กับการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ระบุว่า จากการศึกษา วิเคราะห์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์อังกฤษ หรือ อัลฟา เริ่มจากอังกฤษ ปลายปี 2563 แม้ปิดประเทศกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 14 วัน แต่สายพันธุ์นี้ก็มาระบาดในไทย เดือนมีนาคม 2564 เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์เดลต้า เริ่มที่อินเดีย ระบาดในยุโรปและอเมริกา เข้าสู่ไทยหลังจากการระบาดในประเทศทางตะวันตก แม้จะมีการกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ สายพันธุ์ โอมิครอน ก็เช่นเดียวกัน
ขณะนี้ไทยเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 โดยยุโรปและอเมริกาได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว และขณะนี้ทางอเมริกาและตะวันตกกำลังทั่วโลกมีแนวโน้มจะเข้าสู่สายพันธุ์ BQ.1, BQ.1.1 คาดว่าต่อไปไทยก็คงระบาดตามมา สายพันธุ์ดังกล่าวจะดื้อต่อภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
ในขณะที่การระบาดในประเทศจีนขณะนี้ ยังเป็น BA.5 และลูกของ BA.5 คือ BF.7 ที่มีความคล้ายคลึงกับ BA.5 ที่ไทยระบาดผ่านพ้นไปแล้ว หรือ จีนตามหลังเรา คนไทยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะมีภูมิต้านทานต่อตัวนี้แล้วเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ประเทศจีน โดยเฉพาะถ้ามีการระบาดในผู้ป่วยจำนวนมาก โอกาสจะเกิดสายพันธุ์ใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้ด้วย
จากเหตุผลตามสายพันธุ์ จะให้ตรวจหรือป้องกัน ขณะนี้เราควรป้องกันสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 ที่ไทยได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ประเทศต้นทางที่น่าจะตรวจ เพื่อป้องกันสายพันธุ์ใหม่ของเรา ควรจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีในประเทศไทย เพื่อป้องกันการระบาดในประเทศไทยให้ช้าที่สุด อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ทั้งหมดก็ยังเป็น โอมิครอน ที่ความรุนแรงน้อย และทั่วโลกก็ยอมรับว่า สายพันธุ์นี้ยังระบาดอยู่ทั่วโลก
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/8746947445347795
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid033mPxKpwnxCHAKv22GdPzdXmB8iuPjLdCRY517xjSdkzJjCNhqAvqoQNp72YFSAz1l
สธ. แจง ข้อมูลฉีดวัคซีน mRNA มาก เพิ่มความเสี่ยงติด "โควิด"
ใช้กับไทยไม่ได้เพราะบริบทแตกต่างกัน
ย้ำ !! ฉีด 4 เข็มทุก 4 เดือน ลดโอกาสป่วยหนักหรือเสียชีวิต
นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ หัวหน้าที่ปรึกษาระดับกระทรวง (นายแพทย์ทรงคุณวุฒิระดับ 11) กล่าวถึงกรณีมีข่าวรายงานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ระบุเรื่องการรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโรคโควิด 19 ซ้ำ ว่า จากการตรวจสอบพบว่าเป็นข้อมูลงานวิจัยของแผนกโรคติดเชื้อ คลีฟแลนด์คลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งยังไม่ได้รับการประเมินรับรองจากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยังไม่ได้รับการยอมรับให้เผยแพร่ตามมาตรฐานวิชาการ ประเด็นที่พบเป็นเพียงการนำเสนอจากข้อมูลที่มีอยู่ ขาดการวิเคราะห์และสรุปข้อมูล โดยเฉพาะข้อมูลด้านระบาดวิทยาที่สำคัญ พฤติกรรมเสี่ยง พฤติกรรมการป้องกันโรค และประวัติการติดเชื้อร่วมกับการฉีดวัคซีน เนื่องจากการฉีดวัคซีนโควิด 19 เพียงอย่างเดียวไม่สามารถควบคุมการแพร่ระบาดของเชื้อหรือการติดเชื้อได้อย่างมีนัยสำคัญ สิ่งสำคัญคือ ต้องร่วมกับพฤติกรรมด้านสุขภาพที่ดีในการป้องกันโรค เช่น การสวมหน้ากากอนามัยในสถานที่สาธารณะหรือที่มีผู้คนแออัดจำนวนมาก การล้างมือ และการเว้นระยะห่าง ดังนั้น ผลงานวิจัยดังกล่าวจึงขาดความน่าเชื่อถืออย่างมาก
ที่สำคัญ ข้อมูลงานวิจัยดังกล่าวไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้ เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ด้านระบาดวิทยา และพฤติกรรมสุขภาพของประชากร โดยสหรัฐอเมริกาไม่ได้เน้นมาตรการ เช่น การสวมหน้ากากอนามัย เหมือนประเทศไทย รวมถึงระบบการรักษาพยาบาล การควบคุมโรค และสายพันธุ์ของเชื้อที่ระบาดมีความแตกต่างกัน อีกทั้งผู้ที่ฉีดวัคซีนโควิด 19 เข็มกระตุ้นมากกว่า 3 เข็มในสหรัฐอเมริกา เป็นกลุ่มผู้มีพฤติกรรมเสี่ยงสูง จึงมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้มากกว่ากลุ่มที่ไม่ได้รับการฉีดเข็มกระตุ้น
ที่มา : กระทรวงสาธารณสุข
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02LtzSYvRWh1xgLViYLP5NsgdaHhZaEyScmPUFZNKyuSmgqD9DQHGQd6cGU4yRjXiSl
นายกฯ กล่าวถึง มาตรการโควิดรองรับนักท่องเที่ยวจีน
“หลายประเทศก็มีการรับมือของเขาอยู่แล้ว
บางอย่างอาจเหมือนกัน บางอย่างอาจไม่เหมือน...
ของเราก็ถือว่าเป็นเกรด A ฉะนั้นก็ต้องเชื่อมั่นตรงนี้”
ที่มา สำนักข่าว กรมประชาสัมพันธ์
https://web.facebook.com/informationcovid19/posts/pfbid02pSQaqLvyxJyaZEQjuXukW4zVnsS4PjchWsk7BN5DpRXPRMesSrxuHo6QaG7eBbmJl
ศูนย์ฉีดวัคซีนกระทรวงสาธารณสุข เปิดให้บริการแล้ว ทุกวันอังคารและวันพฤหัสบดี เริ่ม 5 มกราคม 2566 เป็นต้นไป เวลา 09.00 -14.00 น.
ณ โถงอาคาร 3 ชั้น1 สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี
https://web.facebook.com/nvikm/posts/pfbid02hqWvinq966wMbUBAjkzAkFuGcytm9oFJZp8rinYLpbd1u1Q8zSxkjY9AhPuqjtdvl
“จากตัวอย่างการถอดรหัสไวรัสในประเทศจีน ขณะนี้เป็นสายพันธุ์ที่ไม่ได้รุนแรงกว่าสายพันธ์ที่ระบาดอยู่ทั่วโลก ดังนั้นการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อโดยธรรมชาติ จากสายพันธุ์ที่ล้ำหน้ากว่าที่ระบาดอยู่ในจีน จึงทำให้เกิดความเบาใจว่าจะไม่มีการระบาดที่รุนแรง จากนักท่องเที่ยวชาวจีน”
นพ.เฉลิมชัย บุญยะลีพรรณ
รองประธานกรรมาธิการการสาธารณสุข วุฒิสภา
31 ธ.ค. 65
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0RJeqAbA5SAfSM2yTXNVPLv51jLrBv5uG7huucc4MqWsT7gmSPj8r7XtzvEs3wAkal&id=100068069971811
“การที่นักท่องเที่ยวจากจีนจะเดินทางเข้าไทยไม่ต้องตระหนกมาก เพราะเชื้อโควิด 19 สายพันธุ์ย่อยของโอมิครอนที่เกิดขึ้นที่ประเทศจีน เป็นสายพันธุ์ที่มีอยู่ทั่วโลก ระบาดไม่รุนแรงมาก ดังนั้นมาตรการที่ไทยเตือนไว้เหมาะสมแล้วที่กำหนดให้นักท่องเที่ยวจากจีน ต้องมีประกันสุขภาพตรวจหาเชื้อก่อนเข้าประเทศ 48 ชั่วโมงและต้องใช้มาตรการที่เหมาะสมกับสถานการณ์”
ศ.นพ.ธีรวัฒน์ เหมะจุฑา
ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทย์ศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
2 ม.ค. 66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0EQDZLwVDFQzWErAiBdxj7P6XQYKn66uxLeed9cSHGE6fytxzjeohUbjE2YMckopjl&id=100068069971811
“คนจีนนำรายได้เข้าประเทศเราไม่น้อย ดังนั้นสิ่งที่เราควรระวังไม่ใช่ระวังเขา แต่เรา ต้องลดความเสี่ยง ใส่หน้ากาก เว้นระยะ ล้างมือบ่อยๆ ยังทำได้ไม่ว่ากับโควิด 19 สายพันธ์ุไหน วัคซีนยังมีอยู่ให้รีบไปฉีดเลย ไม่ต้องรอ”
ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา
ที่ปรึกษาคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล
2 ม.ค. 66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0dZB2Fupha2uHKLcNPJYxnccYyxzJ6UGFgsdis2moFRcySqTUuYkkBic7MR45Qrt5l&id=100068069971811
“ถึงเวลาที่เราต้องอยู่ร่วมกับโควิด 19 อย่างมีสติ เชื้อมีการกลายพันธุ์ต่อเนื่อง สามารถเกิดขึ้นในประเทศไหนก็ได้ ไม่ใช่เฉพาะจีน”
"เราต้องเตรียมตัวเองให้ดี เร่งฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น สรา้งสุขนิสัยที่ดี สวมหน้ากาก เมื่ออยู่ในที่แออัด อากาศถ่ายเทไม่ดี เว้นระยะห่างและหมั่นล้างมือ"
นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์
หัวหน้าโรคระบบทางเดินหายใจ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ
2 ม.ค.66
https://web.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid031vUnZR4S5UM7TEEbFP2Pm9LFAfGQDFikgZHkuNzZatgivtLyer4M2CgrnUAZ2Vxcl&id=100068069971811
สธ. แจง “งานวิจัยฉีด mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโควิด” ยังขาดความน่าเชื่อถือ
กรณีข่าวรายงานข้อมูลด้านวิทยาศาสตร์ระบุเรื่องการรับวัคซีน mRNA หลายครั้ง เพิ่มความเสี่ยงติดโรคโควิด-19 ซ้ำได้นั้น
กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เผยว่าตรวจสอบเบื้องต้นพบว่าเป็นข้อมูลงานวิจัยของแผนกโรคติดเชื้อ คลีฟแลนด์คลินิก ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยยัง “ไม่ได้รับการประเมินรับรอง” จากผู้เชี่ยวชาญก่อนการเผยแพร่ในวารสารวิชาการ และยัง “ไม่ได้รับการยอมรับให้เผยแพร่” ตามมาตรฐานวิชาการ
ที่สำคัญข้อมูลงานวิจัยดังกล่าว “ไม่สามารถนำมาใช้กับประเทศไทยได้” เนื่องจากมีความแตกต่างกันในด้านสถานการณ์ มาตรการป้องกันควบคุมโรค ด้านระบาดวิทยา และพฤติกรรมสุขภาพของประชากร
ทั้งนี้ ผลการศึกษาดังกล่าว ยังมีประโยชน์ในแง่สนับสนุนให้มีการศึกษาเพิ่มเติมเรื่องการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็มกระตุ้นอย่างรอบด้านมากขึ้น เพื่อเป็นข้อสรุปที่สำคัญในการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น โดยเฉพาะในกลุ่มเสี่ยงที่เป็นผู้สูงอายุหรือมีโรคประจำตัว
สธ. จึงขอเชิญชวน ปชช. ให้ฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้น อย่างน้อย 4 เข็ม หากเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน ต้องฉีดเข็มกระตุ้น ตามข้อแนะนำด้านวิชาการในปัจจุบันของประเทศไทย
อ่านเพิ่มเติม คลิก https://www.thaigov.go.th/news/contents/details/63336
https://web.facebook.com/ThaigovSpokesman/posts/pfbid09tSWm9PRwpUsYoHSdeuKGE3JbHV3Bn31rLKJWNRPKZtf6eNA291EqaLqHAvv8tQjl
5 ม.ค. นี้ “อนุทิน” เตรียมนั่งหัวโต๊ะ ประชุมมาตรการรับผู้เดินทางจากประเทศจีน
วันที่ 5 ม.ค. 66 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.สาธารณสุข จะประชุมเตรียมความพร้อมรับผู้เดินทางเข้าประเทศจากสาธารณรัฐประชาชนจีน โดยจะมีหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเข้าร่วม อาทิ กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม และกระทรวงการต่างประเทศ
โดยจะหารือถึงมาตรการต่างๆ ที่แต่ละหน่วยงานได้เตรียมการ กรณีที่จะมีผู้เดินทางมาจากจีนมากขึ้นภายหลังทางการจีนได้มีนโยบายทยอยผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิด-19 ที่จะเริ่มตั้งแต่วันที่ 8 ม.ค. 66 เป็นต้นไป การประชุมจะหารือเพื่อให้เกิดการบูรณาการการทำงานของแต่ละหน่วยงานอย่างรอบด้านและรัดกุม ให้ประเทศไทยสามารถอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทาง ไปพร้อมกับการสามารถเฝ้าระวังโรคอย่างมีประสิทธิภาพ
ทั้งนี้ การประชุมที่จะเกิดขึ้น มีการพิจารณาในหลายหัวข้อ อาทิ กระทรวงสาธารณสุขจะเสนอมาตรการด้านสาธารณสุขในการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับผู้เดินทางจากประเทศจีน ขณะที่หน่วยงานอื่นๆ จะเตรียมความพร้อมแต่ละด้าน ประกอบด้วยการะทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา รายงานถึงการเตรียมความพร้อมของภาคอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย และ แนวทางการให้ความช่วยเหลือกรณีนักท่องเที่ยวจีนติดเชื้อโควิด-19
ด้าน กระทรวงคมนาคม จะรายงานถึงการเตรียมพร้อมเพื่อรองรับการเดินทางเข้าประเทศไทยของผู้เดินทางจากประเทศจีนผ่านช่องทางต่างๆ โดยเฉพาะช่องทางท่าอากาศยาน ซึ่งเป็นช่องทางหลักของการเดินทางเข้าประเทศ และกระทรวงการต่างประเทศ จะรายงานถึงการเตรียมระบบรองรับการขอวีซ่าของนักท่องเที่ยวจีน และแนวทางการขยายเวลาอนุญาตการเข้าราชอาณาจักร กรณีติดเชื้อโควิด-19 ก่อนกลับประเทศ
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid02wDTJ7WamKAaSbCtzELGXKwViVPCsdAJ3HevhdhKJmAHoijeTKsjJ9nJr3xarHEYkl
“นพ.ยง” แนะนำ‼️การเปิดรับ นทท.โดยเฉพาะชาวจีน ควรเน้นสกัดสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 หลังคาดไทยน่าจะหนีไม่พ้นในอนาคต
ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ในเฟซบุ๊ก [ 3 ม.ค.66 ] กรณีโควิด-19 กับการรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ระบุว่า จากการศึกษา วิเคราะห์การระบาดของไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่สายพันธุ์อังกฤษ หรือ อัลฟา เริ่มจากอังกฤษ ปลายปี 2563 แม้ปิดประเทศกักตัวผู้เดินทางเข้าประเทศถึง 14 วัน แต่สายพันธุ์นี้ก็มาระบาดในไทย เดือนมีนาคม 2564 เช่นเดียวกันกับสายพันธุ์เดลต้า เริ่มที่อินเดีย ระบาดในยุโรปและอเมริกา เข้าสู่ไทยหลังจากการระบาดในประเทศทางตะวันตก แม้จะมีการกักตัวผู้เดินทางจากต่างประเทศ สายพันธุ์ โอมิครอน ก็เช่นเดียวกัน
ขณะนี้ไทยเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 โดยยุโรปและอเมริกาได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว และขณะนี้ทางอเมริกาและตะวันตกกำลังทั่วโลกมีแนวโน้มจะเข้าสู่สายพันธุ์ BQ.1, BQ.1.1 คาดว่าต่อไปไทยก็คงระบาดตามมา สายพันธุ์ดังกล่าวจะดื้อต่อภูมิต้านทานเพิ่มขึ้น
ในขณะที่การระบาดในประเทศจีนขณะนี้ ยังเป็น BA.5 และลูกของ BA.5 คือ BF.7 ที่มีความคล้ายคลึงกับ BA.5 ที่ไทยระบาดผ่านพ้นไปแล้ว หรือ จีนตามหลังเรา คนไทยส่วนใหญ่ที่ติดเชื้อจะมีภูมิต้านทานต่อตัวนี้แล้วเป็นจำนวนมาก แต่สิ่งที่ต้องคำนึงคือการกลายพันธุ์เป็นสายพันธุ์ใหม่ที่ประเทศจีน โดยเฉพาะถ้ามีการระบาดในผู้ป่วยจำนวนมาก โอกาสจะเกิดสายพันธุ์ใหม่ก็จะเพิ่มขึ้น เป็นสิ่งที่ต้องตระหนักไว้ด้วย
จากเหตุผลตามสายพันธุ์ จะให้ตรวจหรือป้องกัน ขณะนี้เราควรป้องกันสายพันธุ์ BQ มากกว่า BA.5 ที่ไทยได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้ว ด้วยเหตุผลทางวิทยาศาสตร์ ประเทศต้นทางที่น่าจะตรวจ เพื่อป้องกันสายพันธุ์ใหม่ของเรา ควรจะเป็นสายพันธุ์ที่ไม่มีในประเทศไทย เพื่อป้องกันการระบาดในประเทศไทยให้ช้าที่สุด อย่างไรก็ตาม สายพันธุ์ทั้งหมดก็ยังเป็น โอมิครอน ที่ความรุนแรงน้อย และทั่วโลกก็ยอมรับว่า สายพันธุ์นี้ยังระบาดอยู่ทั่วโลก
ที่มา : https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/8746947445347795
https://web.facebook.com/NBT2HDTV/posts/pfbid033mPxKpwnxCHAKv22GdPzdXmB8iuPjLdCRY517xjSdkzJjCNhqAvqoQNp72YFSAz1l
แสดงความคิดเห็น
🇹🇭🌿มาลาริน🍃🇹🇭การเปิดประเทศของจีนไม่มีความเสี่ยงต่อไทยค่ะ....หลังยกเลิก Zero-COVIDของจีน จะส่งผลกระทบต่อเราอย่างไร
นโยบาย Zero-COVID จะรวมถึงมาตรการทางสังคม เช่น การงดกิจกรรม การปิดสถานที่ การจำกัดการเดินทาง
เมื่อกลางปี 2022 การล็อกดาวน์ยังคงเป็นมาตรการหลักของจีน ประชาชน 25 ล้านคนในนครเซี่ยงไฮ้ต้องอยู่ภายใต้การล็อกดาวน์นานเกือบ 2 เดือนเพื่อควบคุมการระบาดของสายพันธุ์โอมิครอน โดยประชาชนถูกจำกัดกิจกรรมตามระดับความเสี่ยงของพื้นที่ โรงเรียน สถานที่ทำงาน และโรงงานหลายแห่งถูกปิด และมีการติดตั้งรั้วกั้นบนถนนเพื่อจำกัดการเดินทางของประชาชน
บทความของสำนักข่าวซินหัวเมื่อ 1 มกราคม 2023 อธิบายว่าตลอด 3 ปีที่ผ่านมา นโยบายนี้ของจีนสามารถจัดการการระบาดมากกว่า 100 เหตุการณ์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ และสามารถควบคุมอุบัติการณ์ อัตราป่วยรุนแรง และอัตราตายให้อยู่ในระดับต่ำสุดของโลก นอกจากนี้อายุขัยเฉลี่ยของประชากรยังคงเพิ่มขึ้นท่ามกลางการระบาดใหญ่ จาก 77.93 ปีในปี 2020 เป็น 78.2 ปีในปี 2021
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Our World in Data ระบุว่า ณ วันที่ 31 ตุลาคม จีนมีผู้ติดเชื้อสะสม 1.03 ล้านราย (724.3 รายต่อประชากรล้านคน) ในขณะที่ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อสะสมมากกว่า 660 ล้านราย (79,093.7 รายต่อประชากรล้านคน) เท่ากับว่าที่ผ่านมาจีนสามารถควบคุมการระบาดให้ต่ำกว่าทั่วโลกถึง 100 เท่า ก่อนที่จีนจะมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วง 2 เดือนสุดท้ายของปี 2022
มาตรการควบคุมโรคที่เปลี่ยนไป
จีนประกาศผ่อนคลายมาตรการควบคุมโควิดอย่างกะทันหันในวันที่ 7 ธันวาคม 2022 เพราะก่อนหน้านั้นเพียง 10 วัน จีนเพิ่งประกาศล็อกดาวน์เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของนครฉงชิ่ง พร้อมกับการตรวจหาเชื้ออย่างกว้างขวาง (Mass Testing) และการกักกันโรค ถึงแม้ว่าจีนจะไม่ได้กล่าวว่ายกเลิกนโยบาย Zero-COVID โดยตรง แต่ความเข้มงวดของมาตรการ TTIQ ลดลงอย่างชัดเจน กล่าวคือ.....👇
การตรวจหาเชื้อ: ไม่บังคับให้มีใบรับรองผลการตรวจเป็นลบ และไม่ตรวจสถานะสุขภาพ (Health Code) ยกเว้นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง สถานดูแลผู้สูงอายุ สถานพยาบาล ศูนย์เด็กเล็ก และโรงเรียน
การแยกกักโรค: ผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการหรืออาการเล็กน้อยให้แยกกักที่บ้าน และครบแยกกักเมื่อผลตรวจสารพันธุกรรมในวันที่ 6 และ 7 หากเป็นลบ 2 ครั้ง
การกักกันโรค: ผู้สัมผัสให้กักกันที่บ้าน และครบกักกันเมื่อผลตรวจสารพันธุกรรมในวันที่ 5 เป็นลบ
การล็อกดาวน์: ระบุพื้นที่เสี่ยงสูงในระดับอาคาร/ชั้น/ครัวเรือน ไม่ขยายเป็นระดับเขตที่พักอาศัย/ชุมชน และครบล็อกดาวน์พื้นที่เสี่ยงสูงเมื่อไม่พบผู้ติดเชื้อติดต่อกัน 5 วัน
การปิดสถานที่: ไม่ปิดสถานที่ในพื้นที่เสี่ยงต่ำ และเปิดโรงเรียนตามปกติ
จีนประกาศผ่อนคลายมาตรการอีกรอบในวันที่ 28 ธันวาคม โดยเปลี่ยนการเรียกชื่อ ‘โรคปอดอักเสบจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่’ เป็น ‘โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่’ และลดระดับการควบคุมโรคจากโรคติดเชื้อ ‘กลุ่ม B และจัดการแบบกลุ่ม A’ เป็น ‘กลุ่ม B และจัดการแบบกลุ่ม B’ (น่าจะคล้ายกับการลดระดับจากโรคติดต่ออันตรายเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังของไทย) กล่าวคือ
-ตรวจหาเชื้อตามความสมัครใจ
-ไม่มีการค้นหาผู้สัมผัส/แยกกักโรค/กักกันโรค
-ไม่มีการระบุพื้นที่เสี่ยงสูง/ต่ำ
-รักษาผู้ติดเชื้อตามระดับความรุนแรง
-ปรับความถี่และเนื้อหาของการรายงานข้อมูล
-ยกเลิกการกักกันผู้ที่เดินทางเข้าประเทศ แต่ยังต้องมีผลการตรวจสารพันธุกรรมเป็นลบภายใน 48 ชั่วโมงก่อนเดินทาง
สรุปคือไม่มีมาตรการ TTIQ อีกต่อไป และเปิดประเทศเกือบเต็มรูปแบบ เท่ากับว่าจีนได้ยกเลิกนโยบาย Zero-COVID ที่ดำเนินการมาตลอด 3 ปี ซึ่งจะมีผลในวันที่ 8 มกราคม 2023 ในระยะยาวการเปลี่ยนนโยบายครั้งนี้น่าจะเป็นข่าวดีสำหรับเศรษฐกิจโลก เพราะภาคอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวจะกลับสู่ภาวะปกติ แต่ในระยะสั้นจะต้องผ่านข่าวร้ายที่เป็นการระบาดรุนแรงในจีนไปก่อน
ความพร้อมสำหรับนโยบายใหม่
บทความของสำนักข่าวซินหัวเมื่อเร็วๆ นี้ย้ำว่าการเปลี่ยนนโยบายควบคุมโควิดของจีนมีการวางแผนและเป็นไปตามหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ อีกทั้งคำนึงถึงความจำเป็นทางเศรษฐกิจและสังคม โดยอธิบายว่ามีปัจจัยที่เหมาะสมหลายประการคือ ไวรัสที่มีความรุนแรงลดลง อัตราการฉีดวัคซีนที่สูง และประสบการณ์ที่สั่งสมมา ทำให้นโยบายป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดของจีนเข้าสู่ระยะใหม่
ในระยะนี้จีนได้เตรียมระบบสาธารณสุขของประเทศ ได้แก่ การเพิ่มบริการทางการแพทย์ การส่งเสริมระบบการวินิจฉัยและรักษา และการขยายบริการทางการแพทย์บนอินเทอร์เน็ต โดยจัดตั้งคลินิกไข้ (Fever Clinic) มากกว่า 15,000 แห่งในโรงพยาบาลทุติยภูมิขึ้นไป และคลินิกไข้หรือห้องให้คำปรึกษามากกว่า 35,000 แห่งในสถานพยาบาลปฐมภูมิ นั่นคือการรองรับการระบาดเป็นวงกว้าง
อย่างไรก็ตาม อีกปัจจัยที่น่าจะส่งผลต่อการตัดสินใจครั้งนี้คือการชุมนุมประท้วงนโยบาย Zero-COVID ในหลายเมืองช่วงปลายเดือนพฤศจิกายน รวมถึงที่กรุงปักกิ่ง ซึ่งมีจุดเริ่มต้นมาจากเหตุการณ์ไฟไหม้ในเมืองอุรุมชี แต่ทางหนีไฟถูกปิดเนื่องจากมาตรการล็อกดาวน์ (การผ่อนคลายมาตรการเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม กล่าวถึงการห้ามปิดทางหนีไฟและประตูทางเข้าอาคารเพื่อความปลอดภัยด้วย)
ทว่าการเปลี่ยนนโยบายอย่างกะทันเช่นนี้ทำให้มีความกังวลว่าจีนมีความพร้อมสำหรับนโยบายอยู่ร่วมกับโควิดมากน้อยแค่ไหน เพราะที่ผ่านมาจีนไม่เคยมีประสบการณ์ในการรับมือกับการระบาดเป็นวงกว้างทั่วประเทศ อัตราการฉีดวัคซีนที่สูงเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย และประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เคยติดเชื้อตามธรรมชาติ ทำให้อาจเกิดการระบาดรุนแรง ทั้งจำนวนผู้ป่วยและผู้เสียชีวิต
สำนักข่าว South China Morning Post รายงานเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2022 ว่ายาลดไข้ในประเทศจีนขาดตลาด ผู้ป่วยล้นห้องฉุกเฉินและโรงพยาบาล ผู้สูงอายุเสียชีวิตเพิ่มขึ้น และห้องเก็บศพเต็มไปด้วยศพผู้เสียชีวิต สาเหตุที่ยาลดไข้ขาดตลาด เนื่องจากมาตรการ Zero-COVID ไม่อนุญาตให้ประชาชนซื้อยาผ่านร้านขายยา ทำให้บริษัทยาลดกำลังการผลิต และร้านขายยาสำรองยาไว้จำกัด
ข้อมูลจากเว็บไซต์ Our World in Data ผู้ติดเชื้อโควิดในจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในเดือนพฤศจิกายน 2022 ทำสถิติสูงสุดนับตั้งแต่เริ่มระบาดมาที่มากกว่า 70,000 รายต่อวัน จากนั้นเริ่มลดลงในเดือนธันวาคมเหลือต่ำกว่า 10,000 รายต่อวัน ซึ่งน่าจะเป็นผลมาจากการยกเลิกการตรวจหาเชื้อ และหยุดรายงานยอดผู้ติดเชื้อมาตั้งแต่วันที่ 25 ธันวาคม ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตมีรายงานไม่เกิน 10 รายต่อวัน
ในขณะที่เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม หน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่นของเมืองชิงเต่าระบุว่าพบผู้ติดเชื้อ 490,000-530,000 รายต่อวัน แสดงว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจริงในจีนน่าจะมากกว่าที่รายงานหลายเท่า ซึ่งบริษัทวิจัย Airfinity ในสหราชอาณาจักรคาดการณ์ว่าน่าจะมีผู้ติดเชื้อมากกว่า 1 ล้านรายต่อวัน ผู้เสียชีวิตมากกว่า 5,000 รายต่อวัน และน่าจะระบาดถึงจุดสูงสุดในช่วงกลางเดือนมกราคม 2023
อัตราการฉีดวัคซีนในผู้สุงอายุ
ถึงแม้ไวรัสสายพันธุ์โอมิครอนจะมีความรุนแรงลดลง แต่ยังคงมีความรุนแรงในบางกลุ่ม เช่น ผู้สูงอายุ ผู้ที่มีโรคประจำตัว และผู้ที่ไม่เคยได้รับวัคซีน และถึงแม้อัตราการฉีดวัคซีนในจีนจะสูงถึง 90% แต่จีนเน้นฉีดวัคซีนให้กับกลุ่มวัยทำงานเป็นหลัก และวัคซีนที่ฉีดในประเทศเป็นชนิดเชื้อตาย นี่อาจเป็น 2 เหตุผลหลักที่ทำให้เกิดการระบาดรุนแรงหลังจีนยกเลิกมาตรการ Zero-COVID
สำนักข่าว BBC อ้างรายงานอัตราการฉีดวัคซีนของทางการจีนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2022 ว่าในกลุ่มผู้สูงอายุ 80 ปีขึ้นไป ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็ม 65.8% (จาก 50.7% ในเดือนเมษายนของปีเดียวกัน) และได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น 40.4% (จาก 19.7%) แสดงว่านโยบาย Zero-COVID ของจีนบังคับการตรวจหาเชื้อเป็นหลัก แต่ไม่ได้บังคับให้ประชาชนฉีดวัคซีนไปพร้อมกันด้วย
ทั้งนี้จีนพึ่งพาวัคซีน Sinovac หรือ Sinopharm ที่ผลิตในประเทศ ส่วนวัคซีนชนิด mRNA ไม่ได้รับการอนุมัติให้ใช้ในจีนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้การควบคุมให้ไม่เกิดการระบาดเลยมาตลอด ทำให้ประชาชนไม่มีภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ จนเกิดเป็นภูมิคุ้มกันผสม (Hybrid Immunity) ซึ่งป้องกันอาการรุนแรงได้ดีกว่าการฉีดวัคซีนหรือการติดเชื้อเพียงอย่างเดียว
ดังนั้นเมื่อจีนประกาศยกเลิกนโยบาย Zero-COVID แล้ว สิ่งที่ต้องรีบทำในขณะนี้คือการเร่งฉีดวัคซีนทั้ง 2 เข็มแรกและเข็มกระตุ้นให้กับประชาชน โดยควรอนุมัติวัคซีนชนิด mRNA เหมือนในฮ่องกง ซึ่งทางการจัดหาวัคซีน mRNA ที่ผลิตโดยบริษัท Fosun ของจีน ร่วมกับ BioNTech ของเยอรมนี และยังควรจัดหายาต้านไวรัสแพ็กซ์โลวิดและโมลนูพิราเวียร์ให้เพียงพอด้วย
สายพันธุ์ของไวรัสในจีน
ปัจจุบันการระบาดของโควิดยังคงเกิดขึ้นในหลายประเทศ เช่น เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น แต่การระบาดที่รวดเร็วและรุนแรงในจีนในขณะนี้เกิดจากสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหภาพยุโรป (ECDC) ระบุว่าตั้งแต่วันที่ 1-30 ธันวาคม 2022 จีนรายงานข้อมูลรหัสพันธุกรรมของไวรัสเข้าฐานข้อมูลระดับโลก (GISAID) มากขึ้น รวมทั้งหมด 592 ตัวอย่าง พบสายพันธุ์ดังนี้....👇
BA.5.2 (35%)
BF.7 (24%)
BQ.1 (18%)
BA.2.75 (5%)
XBB (4%)
BA.2 (2%)
ECDC ประเมินว่าสายพันธุ์ที่กำลังระบาดในจีนอยู่ในขณะนี้แพร่อยู่ในสหภาพยุโรปอยู่แล้ว และด้วยอัตราการฉีดวัคซีนที่สูง การระบาดที่เพิ่มขึ้นในประเทศจีนจึงไม่มีผลกระทบต่อสหภาพยุโรป
สำหรับประเทศไทย BA.5.2 เป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคม 2022 ส่วน BF.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ลูกของ BA.5.2 อีกที พบเพียง 1% และปัจจุบันมี BA.2.75 เป็นสายพันธุ์หลัก
ดังนั้นถ้าข้อมูลที่จีนรายงานเป็นตัวแทนของทั้งประเทศ การระบาดรุนแรงในขณะนี้น่าจะเป็นผลมาจากระดับภูมิคุ้มกันของประชาชนที่ไม่เพียงพอต่อการป้องกันการติดเชื้อหรืออาการรุนแรงของสายพันธุ์โอมิครอน ประเทศต่างๆ ที่ใช้นโยบายอยู่ร่วมกับโควิดอยู่ก่อนหน้านี้ (ส่งผลให้ยังมีการระบาดภายในประเทศอยู่) เช่น ไทย น่าจะไม่มีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นจากการเปิดประเทศของจีน
ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ กลุ่มเสี่ยงต่ออาการรุนแรง เช่น ผู้สูงอายุ ผู้มีโรคประจำตัว ควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นหากฉีดวัคซีนเข็มสุดท้ายนานเกิน 4 เดือน และลดความเสี่ยงต่อการติดเชื้อด้วยการสวมหน้ากากอนามัยเมื่อเข้าไปในสถานที่แออัด ส่วนกระทรวงสาธารณสุขต้องเฝ้าระวังสายพันธุ์ในนักท่องเที่ยวและอาชีพใกล้ชิดนักท่องเที่ยว และพร้อมปรับมาตรการให้ทันเวลา
https://thestandard.co/china-after-zero-covid/
ติดตามข่าวโควิดในสถานการณ์จีนเปิดประเทศกันนะคะ....
ข่าวดี จีนเปิดประเทศ เชื้อโควิดจากจีนไม่มีความเสี่ยงต่อไทยค่ะ.....