กรุงเทพโพลล์เผย พรปีใหม่ที่คนไทยอยากขอมากสุด ‘ขอให้เศรษฐกิจปังๆ’
https://www.matichon.co.th/economy/news_3752009
กรุงเทพโพลล์เผย พรปีใหม่ที่คนไทยอยากขอมากสุด ‘ขอให้เศรษฐกิจปังๆ’
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “พรปีใหม่ 2566 ที่คนไทยอยากขอ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,141 คน พบว่าเมื่อถามว่า “
หากขอพร 1 ข้อ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวาระขึ้นปีใหม่ 2566 ปีเถาะ จะขออะไร ให้กับคนไทย ประเทศไทย”
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 ขอให้ธุรกิจ เศรษฐกิจในประเทศปังๆ
รองลงมาคือขอให้คนไทยสุขภาพดีแข็งแรงไม่มีโรคภัย คิดเป็นร้อยละ 48.1
ขอให้บ้านเมืองสงบสุข คนไทยรักและสามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 46.9
ขอให้โควิด-19 หมดไปจากประเทศไทยเสียที คิดเป็นร้อยละ 41.9
และขอให้ข้าวของไม่แพง ค่าครองชีพไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 35.9
ทั้งนี้ เมื่อถามความเห็นว่าปีเถาะ ในภาพรวมประเทศไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปีที่ 65 ที่กำลังผ่านมา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ โรคระบาดโรคติดต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.0 เห็นว่า จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนร้อยละ 32.8 เห็นว่า พอๆ กับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 15.2 เห็นว่า แย่กว่าปีที่ผ่านมา
“อ๋อย” หวัง ปีนี้จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตดีกว่าที่ผ่านมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3752094
“อ๋อย” หวัง ปีนี้จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตดีกว่าที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 นาย
จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เพื่ออวยพรปีใหม่ โดยระบุว่า
“ขอให้มีความสุขสมความปรารถนาทุกท่านครับ
ขอให้ปีใหม่นี้เป็นปีที่เรามาช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตของเราดีกว่าที่ผ่านมา
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวง
มีชีวิตที่สดใสงดงามครับ”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid023KjMfFHR26tLnBPv9JeewqfrzExT2jd4tYSzw1JRzQhHeU5h34amHAPXHDR6Gh7Xl
'ชวน'ชี้ ลต.ซื้อเสียงกระจุย ธุรกิจการเมือง ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ฉะ'รธน.60'ไม่ปราบโกงสมชื่อ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7439966
“ชวน”ชี้ ลตซื้อเสียงกระจุย กลายเป็น “ธุรกิจการเมือง” ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ฉะ “รธน.60”ไม่ปราบโกงสมชื่อ ซัดคนแห่ลงใต้ หวังผลซื้อของถูก แนะ ปชช.กาคนดีเข้าสภาฯ ไปปกครองบ้านเมือง
1 ม.ค. 66 – ที่รัฐสภา นาย
ชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ธุรกิจการเมือง ว่า ตนขอใช้คำว่าน่าจะใช้เงินหนักกว่าเดิม ตนจึงให้คำขวัญวันเด็ก ปี 2566 ว่า “
ประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต” และ สภาฯ จึงทำโครงการบ้างเมืองสุจริต ที่ผ่านมาได้ทำโพลกับชาวบ้าน ปกติชาวบ้านจะอยากให้แก้ไขเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่หนึ่ง
แต่ช่วงหลังเสนอให้แก้เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่หนึ่ง และเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่สอง เพราะคนรู้สึกว่าเป็นอันตราย ถ้าการเมืองสุจริต สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิด แต่ถ้าเป็นธุรกิจการเมือง ผลที่ตามมาคือสังคมที่มีการแสวงหาประโยชน์ในทางไม่ชอบ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง
“
ถ้าส.ส.ใช้เงิน แล้วส.ส.เอาเงินมาจากไหน เราทุกคนตอบได้ว่า เมื่อต้องใช้เงินก็ต้องมีผู้ให้เงิน ใครที่รวยพอที่จะเอารายได้หรือมรดกส่วนตัวมาจ่าย ฉะนั้นเราต้องช่วยกันรณรงค์ และย้ำให้คนได้เห็นว่า หากอยากได้รัฐบาลดี ต้องได้ส.ส.ที่ดี อยากได้รัฐบาลที่ซื่อสัตย์ ก็ต้องได้ส.ส.ที่ซื่อสัตย์ เพราะในระบบนี้ฝ่ายนิติบัญญัติ คือผู้ตั้งรัฐบาลด้วยเสียงข้างมาก ถ้าเลือกประเภทโกงเข้ามา ก็ได้รัฐบาลโกง แน่นอนที่สุดปัญหาจะตกกับชาวบ้านและประเทศชาติ
ผมไม่อยากให้ประเด็นนี้ทำให้เกิดการท้อแท้ เพราะปัญหากับบ้านเมืองเป็นของคู่กัน ถ้าปัญหานี้มาก็อย่ายอมรับ และร่วมกันไม่เลือกนักการเมืองที่โกง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งหน้าใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จึงต้องไม่เลือกพรรคการเมือง และนักการเมืองที่โกง เราจึงจะได้ผู้แทนฯ ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ถ้าคนเหล่านี้มีเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล น่าจะเป็นรัฐบาลที่มาอย่างไร ก็ไปอย่างนั้น” นาย
ชวนกล่าว
นาย
ชวน กล่าวต่อว่า เรื่องนี้มีหน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เราจึงต้องไปถามกกต.ด้วย เมื่อต้องดูรายงานของแต่ละองค์กรที่ส่งมาสภาฯ เป็นไปในทางบวก แต่ในชีวิตจริงก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งบางทีเจ้าหน้าที่ตามคนใช้เงินไม่ถึง หรือเจ้าหน้าเองที่ไม่สุจริต สมัยก่อนช่วงคืนก่อนเลือกตั้ง หมาหอนจนเสียงแหบ แต่เดี๋ยวนี้หมาไม่ได้หอนแล้ว เพราะมีกระบวนการก่อนล่วงหน้า โดยภาพรวมที่รัฐสภาครบรอบ 90 ปี หรือ 90 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สรุปว่าบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งขึ้น ประชาชนมีความเชื่อมั่นในประชาธิปไตย และหวงแหนประชาธิปไตยมากขึ้น
“
เพียงแต่มีสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาคือ การเมืองที่ไม่สุจริต และธุรกิจการเมือง ในอีกทางหนึ่งก็วิตกกังวลเรื่องทหารยึดอำนาจ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ธุรกิจการเมือง กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องพี่น้องประชาชนต้องมีส่วนร่วมแก้ไข และรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เรียกว่าฉบับปราบโกง แต่เราใช้มาตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ ก็ปราบไม่ได้ แนวโน้มโกงยังมากขึ้น เราจึงต้องส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง กฎหมายที่ดี กับคนที่ดีจึงต้องไปด้วยกัน แต่กฎหมายดีอย่างไร ถ้าคนที่ใช้ไม่ดีก็มีปัญหา” นาย
ชวน กล่าว
นาย
ชวน กล่าวต่อว่า นักการเมืองแต่ละคนเป็นหนึ่งในตองอู คือไม่ทำธรรมดา เพราะการชนะเลือกตั้งได้ ต้องมีศักยภาพไม่น้อย ไม่ว่าด้านความดี หรือด้านความร้าย ถ้าหากกฎหมายศักดิ์สิทธิ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก คนทำผิดก็ไม่กล้า แต่ถ้ากฎหมายย่อหย่อน คนเหล่านั้นก็ไม่กลัว จึงอยากให้กำลังใจคนปฏิบัติหน้าที่ ขอให้เอาจริงตามกฎหมาย อย่าละเว้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวทำให้บ้านเมืองอยู่รอด จะไปหวังที่คนก็ไม่แน่นอน
เมื่อถามว่า หากเงินซื้อเสียงมาถึงหน้าบ้าน ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไร ระหว่างปฏิเสธตั้งแต่ต้น กับรับเงินไว้ก่อนแต่ไม่เลือกพรรคการเมืองและผู้สมัครคนนั้นๆ นาย
ชวน กล่าวว่า
“ขอตอบว่าไม่รับเงิน เพราะเงินไม่ว่ากี่ร้อยไม่ได้ทำให้ชีวิตรุ่งเรือง ครั้งเดียวไม่ทำให้ใครที่ได้รับเงินเลือกตั้งกลายเป็นเศรษฐีร่ำรวย ยกเว้นหัวคะแนนที่ได้ประโยชน์ ตรงกันข้ามจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ติดอยู่ใจว่าเราไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง
“
ทำไมพรรคการเมืองถึงไปแย่งภาคใต้ คะแนนนิดเดียว ก็เพราะว่าเดิมภาคใต้ใช้ระบบ ไม่ใช้เงิน ยุคพวกผมไม่มี แต่ตอนหลังเงินเข้าไป แล้วฐานะของคนภาคใต้ก็เปลี่ยนไป เศรษฐกิจมีปัญหา รายได้ลด ผมเคยทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนเลือกตั้งปี64 ว่ารายได้คนภาคใต้ลดลงอย่างน่าตกใจ เช่น จ.ระนอง จ.ตรัง ตอนเลือกตั้งคราวโน้น รายได้ของคนใต้ลดลงหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตคนก็เปลี่ยน นักการเมืองที่ใช้เงินเริ่มได้ผล แต่ได้ผลแบบไปซื้อของถูก เพราะที่อื่นแพง
ภาคใต้ไม่เคยใช้เงินสักบาท พอเริ่มซื้อก็ซื้อแบบราคาถูก พรรคการเมืองเลยไปกันเยอะ ที่ซื้อถูกไม่ใช่เพราะค่าตัวเขาน้อย แต่เพราะในอดีตไม่มีการซื้อ แต่ที่อื่นมี ตอนผมเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้สมัครเราคนหนึ่งไม่ให้เงิน จนแพ้เลือกตั้ง ต่อมาครอบครัวมีปัญหา สุดท้ายฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องสะเทือนใจมาก ดังนั้น บ้านเมืองไม่มีวันไปดี หากนักการเมืองทุจริตโกงกิน ” นาย
ชวน กล่าว
JJNY : พรปีใหม่ที่คนไทยอยากขอ| “อ๋อย”หวังปีนี้จะช่วยกันเปลี่ยนแปลง| 'ชวน'ฉะ'รธน.60'ไม่ปราบโกงสมชื่อ|หนี้ค้ำคอ ระเบิดเวลา
https://www.matichon.co.th/economy/news_3752009
กรุงเทพโพลล์เผย พรปีใหม่ที่คนไทยอยากขอมากสุด ‘ขอให้เศรษฐกิจปังๆ’
เมื่อวันที่ 31 ธันวาคม กรุงเทพโพลล์ โดยมหาวิทยาลัยกรุงเทพ สำรวจความคิดเห็นประชาชนเรื่อง “พรปีใหม่ 2566 ที่คนไทยอยากขอ” โดยเก็บข้อมูลจากประชาชนทั่วประเทศ จำนวน 1,141 คน พบว่าเมื่อถามว่า “หากขอพร 1 ข้อ ต่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในวาระขึ้นปีใหม่ 2566 ปีเถาะ จะขออะไร ให้กับคนไทย ประเทศไทย”
ประชาชนส่วนใหญ่ร้อยละ 57.4 ขอให้ธุรกิจ เศรษฐกิจในประเทศปังๆ
รองลงมาคือขอให้คนไทยสุขภาพดีแข็งแรงไม่มีโรคภัย คิดเป็นร้อยละ 48.1
ขอให้บ้านเมืองสงบสุข คนไทยรักและสามัคคีกัน คิดเป็นร้อยละ 46.9
ขอให้โควิด-19 หมดไปจากประเทศไทยเสียที คิดเป็นร้อยละ 41.9
และขอให้ข้าวของไม่แพง ค่าครองชีพไม่สูง คิดเป็นร้อยละ 35.9
ทั้งนี้ เมื่อถามความเห็นว่าปีเถาะ ในภาพรวมประเทศไทยจะเป็นอย่างไร เมื่อเทียบกับปีที่ 65 ที่กำลังผ่านมา ทั้งเรื่องเศรษฐกิจ โรคระบาดโรคติดต่อ ชีวิตความเป็นอยู่ของประชาชน ส่วนใหญ่ร้อยละ 52.0 เห็นว่า จะดีขึ้นกว่าปีที่ผ่านมา ส่วนร้อยละ 32.8 เห็นว่า พอๆ กับปีที่ผ่านมา ขณะที่ร้อยละ 15.2 เห็นว่า แย่กว่าปีที่ผ่านมา
“อ๋อย” หวัง ปีนี้จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตดีกว่าที่ผ่านมา
https://www.matichon.co.th/politics/news_3752094
“อ๋อย” หวัง ปีนี้จะช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตดีกว่าที่ผ่านมา
เมื่อวันที่ 1 มกราคม 2566 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก เพื่ออวยพรปีใหม่ โดยระบุว่า
“ขอให้มีความสุขสมความปรารถนาทุกท่านครับ
ขอให้ปีใหม่นี้เป็นปีที่เรามาช่วยกันเปลี่ยนแปลงบ้านเมืองให้ชีวิตของเราดีกว่าที่ผ่านมา
ขอเป็นกำลังใจให้ทุกท่านฝ่าฟันอุปสรรคทั้งปวง
มีชีวิตที่สดใสงดงามครับ”
https://www.facebook.com/Chaturon.FanPage/posts/pfbid023KjMfFHR26tLnBPv9JeewqfrzExT2jd4tYSzw1JRzQhHeU5h34amHAPXHDR6Gh7Xl
'ชวน'ชี้ ลต.ซื้อเสียงกระจุย ธุรกิจการเมือง ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ฉะ'รธน.60'ไม่ปราบโกงสมชื่อ
https://www.khaosod.co.th/politics/news_7439966
“ชวน”ชี้ ลตซื้อเสียงกระจุย กลายเป็น “ธุรกิจการเมือง” ให้ทหารเข้ายึดอำนาจ ฉะ “รธน.60”ไม่ปราบโกงสมชื่อ ซัดคนแห่ลงใต้ หวังผลซื้อของถูก แนะ ปชช.กาคนดีเข้าสภาฯ ไปปกครองบ้านเมือง
1 ม.ค. 66 – ที่รัฐสภา นายชวน หลีกภัย ประธานสภาผู้แทนราษฎร กล่าวถึง ธุรกิจการเมือง ว่า ตนขอใช้คำว่าน่าจะใช้เงินหนักกว่าเดิม ตนจึงให้คำขวัญวันเด็ก ปี 2566 ว่า “ประเทศรุ่งเรือง เมื่อบ้านเมืองสุจริต” และ สภาฯ จึงทำโครงการบ้างเมืองสุจริต ที่ผ่านมาได้ทำโพลกับชาวบ้าน ปกติชาวบ้านจะอยากให้แก้ไขเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่หนึ่ง
แต่ช่วงหลังเสนอให้แก้เรื่องทุจริตคอร์รัปชั่นเป็นเรื่องที่หนึ่ง และเรื่องเศรษฐกิจเป็นเรื่องที่สอง เพราะคนรู้สึกว่าเป็นอันตราย ถ้าการเมืองสุจริต สิ่งเหล่านี้จะไม่เกิด แต่ถ้าเป็นธุรกิจการเมือง ผลที่ตามมาคือสังคมที่มีการแสวงหาประโยชน์ในทางไม่ชอบ ไม่ทางตรงก็ทางอ้อม เพื่อประโยชน์ในทางการเมือง
“ถ้าส.ส.ใช้เงิน แล้วส.ส.เอาเงินมาจากไหน เราทุกคนตอบได้ว่า เมื่อต้องใช้เงินก็ต้องมีผู้ให้เงิน ใครที่รวยพอที่จะเอารายได้หรือมรดกส่วนตัวมาจ่าย ฉะนั้นเราต้องช่วยกันรณรงค์ และย้ำให้คนได้เห็นว่า หากอยากได้รัฐบาลดี ต้องได้ส.ส.ที่ดี อยากได้รัฐบาลที่ซื่อสัตย์ ก็ต้องได้ส.ส.ที่ซื่อสัตย์ เพราะในระบบนี้ฝ่ายนิติบัญญัติ คือผู้ตั้งรัฐบาลด้วยเสียงข้างมาก ถ้าเลือกประเภทโกงเข้ามา ก็ได้รัฐบาลโกง แน่นอนที่สุดปัญหาจะตกกับชาวบ้านและประเทศชาติ
ผมไม่อยากให้ประเด็นนี้ทำให้เกิดการท้อแท้ เพราะปัญหากับบ้านเมืองเป็นของคู่กัน ถ้าปัญหานี้มาก็อย่ายอมรับ และร่วมกันไม่เลือกนักการเมืองที่โกง ซึ่งการเลือกตั้งครั้งหน้าใช้บัตรเลือกตั้ง 2 ใบ จึงต้องไม่เลือกพรรคการเมือง และนักการเมืองที่โกง เราจึงจะได้ผู้แทนฯ ที่มีคุณสมบัติตามที่ต้องการ ถ้าคนเหล่านี้มีเสียงข้างมากเป็นรัฐบาล น่าจะเป็นรัฐบาลที่มาอย่างไร ก็ไปอย่างนั้น” นายชวนกล่าว
นายชวน กล่าวต่อว่า เรื่องนี้มีหน่วยงานที่ดูแลคือ คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เราจึงต้องไปถามกกต.ด้วย เมื่อต้องดูรายงานของแต่ละองค์กรที่ส่งมาสภาฯ เป็นไปในทางบวก แต่ในชีวิตจริงก็เป็นอีกเรื่อง ซึ่งบางทีเจ้าหน้าที่ตามคนใช้เงินไม่ถึง หรือเจ้าหน้าเองที่ไม่สุจริต สมัยก่อนช่วงคืนก่อนเลือกตั้ง หมาหอนจนเสียงแหบ แต่เดี๋ยวนี้หมาไม่ได้หอนแล้ว เพราะมีกระบวนการก่อนล่วงหน้า โดยภาพรวมที่รัฐสภาครบรอบ 90 ปี หรือ 90 ปีของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง สรุปว่าบ้านเมืองเราเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ประชาธิปไตยมีความเข้มแข็งขึ้น ประชาชนมีความเชื่อมั่นในประชาธิปไตย และหวงแหนประชาธิปไตยมากขึ้น
“เพียงแต่มีสิ่งที่แปลกปลอมเข้ามาคือ การเมืองที่ไม่สุจริต และธุรกิจการเมือง ในอีกทางหนึ่งก็วิตกกังวลเรื่องทหารยึดอำนาจ เมื่อสถานการณ์เปลี่ยน ธุรกิจการเมือง กลายเป็นเงื่อนไขที่ทำให้ทหารเข้ามายึดอำนาจ ผมคิดว่าการเปลี่ยนแปลงบางเรื่องพี่น้องประชาชนต้องมีส่วนร่วมแก้ไข และรัฐธรรมนูญ 2560 ที่เรียกว่าฉบับปราบโกง แต่เราใช้มาตั้งแต่วันนั้นจนวันนี้ ก็ปราบไม่ได้ แนวโน้มโกงยังมากขึ้น เราจึงต้องส่งเสริมคนดีให้ปกครองบ้านเมือง กฎหมายที่ดี กับคนที่ดีจึงต้องไปด้วยกัน แต่กฎหมายดีอย่างไร ถ้าคนที่ใช้ไม่ดีก็มีปัญหา” นายชวน กล่าว
นายชวน กล่าวต่อว่า นักการเมืองแต่ละคนเป็นหนึ่งในตองอู คือไม่ทำธรรมดา เพราะการชนะเลือกตั้งได้ ต้องมีศักยภาพไม่น้อย ไม่ว่าด้านความดี หรือด้านความร้าย ถ้าหากกฎหมายศักดิ์สิทธิ ผิดเป็นผิด ถูกเป็นถูก คนทำผิดก็ไม่กล้า แต่ถ้ากฎหมายย่อหย่อน คนเหล่านั้นก็ไม่กลัว จึงอยากให้กำลังใจคนปฏิบัติหน้าที่ ขอให้เอาจริงตามกฎหมาย อย่าละเว้น ซึ่งเป็นวิธีเดียวทำให้บ้านเมืองอยู่รอด จะไปหวังที่คนก็ไม่แน่นอน
เมื่อถามว่า หากเงินซื้อเสียงมาถึงหน้าบ้าน ประชาชนควรปฏิบัติตัวอย่างไร ระหว่างปฏิเสธตั้งแต่ต้น กับรับเงินไว้ก่อนแต่ไม่เลือกพรรคการเมืองและผู้สมัครคนนั้นๆ นายชวน กล่าวว่า “ขอตอบว่าไม่รับเงิน เพราะเงินไม่ว่ากี่ร้อยไม่ได้ทำให้ชีวิตรุ่งเรือง ครั้งเดียวไม่ทำให้ใครที่ได้รับเงินเลือกตั้งกลายเป็นเศรษฐีร่ำรวย ยกเว้นหัวคะแนนที่ได้ประโยชน์ ตรงกันข้ามจะเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ติดอยู่ใจว่าเราไปทำอะไรที่ไม่ถูกต้อง
“ทำไมพรรคการเมืองถึงไปแย่งภาคใต้ คะแนนนิดเดียว ก็เพราะว่าเดิมภาคใต้ใช้ระบบ ไม่ใช้เงิน ยุคพวกผมไม่มี แต่ตอนหลังเงินเข้าไป แล้วฐานะของคนภาคใต้ก็เปลี่ยนไป เศรษฐกิจมีปัญหา รายได้ลด ผมเคยทำหนังสือถึง พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนเลือกตั้งปี64 ว่ารายได้คนภาคใต้ลดลงอย่างน่าตกใจ เช่น จ.ระนอง จ.ตรัง ตอนเลือกตั้งคราวโน้น รายได้ของคนใต้ลดลงหนึ่งหมื่นบาทต่อเดือน เมื่อรายได้เปลี่ยนแปลงไป ชีวิตคนก็เปลี่ยน นักการเมืองที่ใช้เงินเริ่มได้ผล แต่ได้ผลแบบไปซื้อของถูก เพราะที่อื่นแพง
ภาคใต้ไม่เคยใช้เงินสักบาท พอเริ่มซื้อก็ซื้อแบบราคาถูก พรรคการเมืองเลยไปกันเยอะ ที่ซื้อถูกไม่ใช่เพราะค่าตัวเขาน้อย แต่เพราะในอดีตไม่มีการซื้อ แต่ที่อื่นมี ตอนผมเป็นหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ มีผู้สมัครเราคนหนึ่งไม่ให้เงิน จนแพ้เลือกตั้ง ต่อมาครอบครัวมีปัญหา สุดท้ายฆ่าตัวตาย เป็นเรื่องสะเทือนใจมาก ดังนั้น บ้านเมืองไม่มีวันไปดี หากนักการเมืองทุจริตโกงกิน ” นายชวน กล่าว