Attila the Hun บุกกรุงโรมเพราะความอดอยาก/พื้นที่เกษตรแห้งแล้ง




ภาพวาดสีน้ำมันโดย Ulpiano Checa แสดงถึง
Attila the Hun กำลังขี่ม้าถือหอกเข้ากรุงโรม
© Heritage Image Partnership Ltd
ผ่าน Alamy Stock Photo



การรุกรานที่รุนแรงที่สุดของอนารยชน
ผู้สร้างความน่าอับอายให้กับคนยุโรป
เกิดขึ้นเพราะหลายปีที่มีฤดูร้อนที่แห้งแล้งมาก

Attila the Hun ได้รับการพรรณนาว่า
เป็นอนารยชนกระหายเลือด
ที่มี ความกระหายทองคำอย่างไม่มีที่สิ้นสุด
และบ้าอำนาจอย่างแรงในอดีต
แต่ผลการศึกษาใหม่ได้เสนอคำอธิบายว่า
ทำไมจึงมีการรุกรานที่รุนแรงของ Attila

Attila ทำการจู่โจมอย่างสิ้นหวัง
เพื่อช่วยผู้คนของชนเผ่าฮั่นจากความแห้งแล้ง
และความอดอยากที่แสนยาวนาน






© Dreamstime



ข้อมูลภูมิอากาศสองพันปีที่บันทึกไว้
ในวงแหวน/วงปีของต้นโอ๊กที่พบรอบ
ที่ราบน้ำท่วมถึงในยุโรปตอนกลาง
แถวแม่น้ำ Danube และแม่น้ำ Tisza
บ่งชี้แสดงให้เห็นว่า Attila the Hun
ได้ทำการโจมตีครั้งใหญ่ที่สุด
ในช่วงปีที่แห้งแล้งมาก
ซึ่งเป็นช่วงที่ผลผลิตพืชผล/ทุ่งหญ้าไร้ผลผลิต
มาจากการโจมตีจากความสิ้นหวัง
และความอดอยากของชนเผ่าที่ยาวนาน

นักวิจัยได้เผยแพร่การค้นพบ
ในวันที่ 14 ธันวาคม 2022
ในวารสารโบราณคดีโรมัน 
Journal of Roman Archaeology






ในปี ค.ศ.370
เชื่อกันว่า พวกชาวฮั่นได้ข้ามจากเอเชีย
ไปยังยุโรปตะวันออกและยุโรปกลาง
ก่อนที่จะตั้งตัวบนที่ราบ Great Hungarian Plain
(ส่วนหนึ่งของแอ่ง Carpathian Basin ที่กว้าง)
ทางตะวันออกของแม่น้ำ Danube

เพียง 60 ปีต่อมา
การผสมผสานระหว่างอาวุธยุทโธปกรณ์ขั้นสูง
ทักษะการขี่ม้าที่ไม่มีใครเทียบได้
และยุทธวิธีการรบที่ซับซ้อน
พวกชาวฮั่นได้พิชิตยุโรปกลางส่วนใหญ่
ทำให้กลายเป็นสมาพันธ์ของชนเผ่ายูเรเชีย
ที่มีพวกชาวฮั่นเป็นชนขั้นปกครองสูงสุด
เมื่อถึงจุดสูงสุดแล้ว
จักรวรรดิ์ Hunnic แผ่ขยายจากทะเลดำ
ไปยังภาคกลางของเยอรมนี

ในปี ค.ศ. 434
Attila และ Bleda (น้องชาย) เถลิงขึ้นสู่อำนาจ
ก็พบว่าพวกตนเองอยู่ที่หน้าประตูของ
อาณาจักรโรมันที่แยกออกเป็นสองฝั่ง
(โรมในอิตาลี กับ คอนแสตนติลโนเปิล ในตุรกี)
การล่มสลายของ Huns เป็นเรื่องที่สำคัญมาก

“ แหล่งข่าวทางประวัติศาสตร์บอกเราว่า
การเจรจาต่อรองระหว่างชาวโรมัน
กับชาวฮั่นนั้นสลับซับซ้อนมาก
ในเบื้องต้นเกี่ยวข้องกับการเตรียมการ
ที่เป็นผลประโยชน์ร่วมกันทั้งสองฝ่าย
ส่งผลให้ชนชั้นสูงของชาวฮั่น
สามารถได้รับทองคำจำนวนมหาศาล
[แลกกับการไม่โจมตีจักรวรรดิโรม]
ระบบการทำงานร่วมกันนี้
พังทลายลงในทศวรรษที่ 440
นำไปสู่การจู่โจมดินแดนโรมันเป็นประจำ
และความต้องการที่เพิ่มขึ้นสำหรับ ทองคำ

การอาศัยอยู่บนทุ่งหญ้าสเตปป์ยูเรเชีย
ระหว่างปี ค.ศ. 420 ถึง 450 
มีผลทำให้ชาวฮั่นต้องเผชิญกับ
สภาพอากาศที่เลวร้ายและแปรปรวน
ตามด้วยความแห้งแล้งหลายครั้ง
ทำให้ต้องเร่ร่อนไปมาสลับกัน
ระหว่างการทำฟาร์มในพื้นที่ถาวร
และการต้อนสัตว์ไปยังทุ่งหญ้าสีเขียว

หากการขาดแคลนทรัพยากรรุนแรงเกินไป
คนที่ตั้งถิ่นฐานอาจถูกบังคับให้ต้องย้ายถิ่นฐาน
ปรับตัวและสลับไปมาระหว่างการทำฟาร์ม
และการเลี้ยงสัตว์เคลื่อนที่ให้หาอาหารได้
เรื่องเหล่านี้อาจเป็นกลยุทธ์
การปรับตัวและปกป้องปากท้องที่สำคัญ
ในช่วงที่สภาพอากาศตกต่ำ/ภัยแล้งที่เกิดขึ้น

แต่ผลการปรับตัวแบบนี้
อาหารที่ไม่สมดุลและมีเสถียรภาพเพียงพอ
ทำให้มีเวลาที่อดอยากที่ยาวนาน
และเพิ่มความสิ้นหวังมากขึ้นในไม่ช้า
ในช่วงหลายปีที่เกิดภัยแล้งรุนแรง
เมื่อพวกชาวฮั่นเผชิญกับความอดอยาก
ทำให้กลายเป็นผู้บุกรุกที่ไร้ความปรานี
หลั่งไหลทะลักออกมาจากแอ่งคาร์เพเทียน
เพื่อปล้นสะดมและปล้นสะดม
ไปทั่วยุโรปตะวันตกและยุโรปใต้

ข้อเท็จจริง การรุกรานของพวกชาวฮั่น
ที่ร้ายแรงที่สุดเกิดขึ้นในปี
ค.ศ. 447, 451 และ 452
ซึ่งทั้งหมดมีฤดูร้อนที่แห้งแล้งแสนยาวนานมาก
และการจู่โจมในช่วงปีค.ศ. เหล่านี้
ซึ่งครั้งหนึ่งเคยถูกมองว่ามาจาก
แรงขับเคลื่อนด้วยความปรารถนา
ในเรื่องทรัพย์สินเงินทองและอำนาจ
แต่อาจเกี่ยวข้องกับการหาอาหารเป็นหลัก

แต่ถึงอย่างไรก็ตาม
ทองคำก็มีประโยชน์อย่างมาก
ในการรักษาความจงรักภักดีของขุนศึก Attila

การหยุดชะงักทางเศรษฐกิจ
ที่เกิดจากสภาพอากาศที่เลวร้ายอย่างแรง
อาจทำให้ Attila และคนอื่น ๆ ที่มีตำแหน่งสูง
ต้องปล้นทองคำจากจังหวัดต่าง ๆ ของโรมัน
เพื่อรักษากลุ่มสงครามและรักษาความภักดี
ระหว่างชนชั้นสูง แบบมีเงินมีทองยัดปาก

ในปี ค.ศ. 451
อดีตคนเลี้ยงสัตว์ขี่ม้ากลายเป็นผู้บุกรุก 
ภายใต้การบังคับบัญชาของ Attila the Hun
พวกฮั่นได้รุกรานจังหวัดกอล (Gaul)
ของโรมันตะวันตก (ตั้งอยู่ในฝรั่งเศสในปัจจุบัน)
และทางตอนเหนือของอิตาลี
ยึดเมืองมิลาน และนำเงินจำนวนมหาศาล
จากจักรวรรดิโรมันตะวันตกที่ปิดล้อม
เพื่อยอมแลกเปลี่ยนกับการไม่โจมตีของชาวฮั่น
นอกจากนี้ Attila ยังเรียกร้องพื้นที่กว้างขวาง
ใช้เวลาเดินทาง 5 วัน เลียบแม่น้ำ Danube
ซึ่งอาจรับประกันพื้นที่เลี้ยงสัตว์
แก่ผู้บุกรุกแม้ในช่วงฤดูแล้งที่เลวร้ายที่สุด

รัชสมัยของฮั่นไม่ยาวนานนัก
ในปี ค.ศ. 453
หลังจาก Attila ดื่มหนัก
ในคืนวันแต่งงานครั้งสุดท้าย
(Attila มีภรรยาหลายคน)
บางตำนานว่า Pope ขี้ขลาด
ส่งนางกำนัลมาวางยาพิษ Attila
ผู้นำชาวฮั่นถูกพบว่าเสียชีวิต
เพราะสำลักเลือดกำเดาของตนเองจนตาย

พวกชาวฮั่น ต่างเริ่มพ่ายแพ้ในการต่อสู้
และในไม่ช้าก็แตกทัพเป็นเสี่ยง ๆ
ก่อนที่จะกระจายหายไปด้วยความสับสน
กรุงโรมไม่เคยฟื้นตัวเต็มที่อีกเลย
จากผลกระทบของการโจมตีของพวกชาวฮั่น
และแล้วจักรวรรดิโรมันตะวันตกก็ล่มสลาย
ในอีก 23 ปีต่อมา (ค.ศ.476)
โดยพวกอสูรสงคราม Barbarian
จริง ๆ คือ พวกชนเผ่า Germanics
นำทัพโดย Odoacer ล้มล้างอำนาจและปลด
จักรพรรดิ์ Romulus Augustulus
นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมาก็ไร้ราชันชาวโรม

การเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ
สามารถทำลายล้างแม้กระทั่งสังคมมนุษย์
ที่เคยประสบความสำเร็จมากที่สุด
สภาพอากาศเปลี่ยนแปลงสภาพแวดล้อม
ที่สามารถหาแนวทางแก้ไขทางอื่นได้
และสิ่งที่ทดแทนนี้สามารถนำไปสู่
การตัดสินใจที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
องค์กรทางสังคมและการเมืองของพวกชนเผ่า

การตัดสินใจดังกล่าวที่ไม่ตรงไปตรงมา
เป็นไปอย่างมีเหตุผล และผลที่ตามมา
ไม่จำเป็นต้องประสบความสำเร็จในระยะยาว

ตัวอย่างจากประวัติศาสตร์นี้
แสดงให้เห็นว่าผู้คนตอบสนองต่อ
ความเครียดจากสภาพภูมิอากาศ
ด้วยวิธีการที่ซับซ้อนและคาดเดาไม่ได้
และการแก้ปัญหาระยะสั้น
อาจจะส่งผลเสียในระยะยาว "

Susanne Hakenbeck
นักโบราณคดี  University of Cambridge
ของสหราชอาณาจักร กล่าวสรุปผลการศึกษา









เรียบเรียง/ที่มา


https://bit.ly/3GdcNdP
https://bit.ly/3FRHwvL





เรื่องเล่าไร้สาระ

สยามก็มีตำนานหลายเรื่องมาก
ที่ถึงกับต้องย้ายถิ่นที่อยู่เพราะภัยแล้ง
เช่น พระเจ้าอู่ทอง สมัยอยุธยา
ชาวอีศานในอดีตก็หลายกลุ่ม
สงขลาที่เป็นตำนานก็ชาวบ้านระโนฏ
(สะกดตามพงศาวดารรัชกาลที่ 3)
ย้ายมาที่อำเภอเมืองสงขลา/รอบนอก
เพราะภัยแล้งที่ยาวนานกว่า 2 ปี
พอได้งานได้อาชีพแล้ว มักจะไม่กลับถิ่นเดิม

ภาวะฝนแล้ง El Nino เด็กชายอ้วนตุ้ยนุ้ย
มาจากการพัดพากระแสคลื่นในทะเล
แบบฝนแล้งจัดบางพื้นที่ ตกหนักบางพื้นที่
(Action = Reaction)
นำพาความร้อนมาตามชายฝั่งทะเลทำให้ฝนแล้ง
แถวสตูล ตรัง พังงา ชาวประมง
จะจับปลาน้ำลึก หน้าตาแปลก ๆ มีหนวดยาวได้

ที่บ้านทุ่งหาดใหญ่ จขกท. เคยเจอกับฝนแล้ง
กินเวลายาวนานร่วม 3 เดือนหลังวันออกพรรษา
ปกติจะเริ่มต้นปลูกข้าวของทางใต้โสดล่างลงไป
ขนาดที่นี่ติดสองฝั่งทะเลมีฝนได้ง่ายกว่าภาคอื่น
แต่ปีนั้นเจอสภาวะ El Nino
น้ำในสระ อ่างเก็บน้ำ หลายแห่ง แห้งแจ๊กแจ๊ก
(แห้งจริงจริง ของแท้แน่นอน ไม่ลอกอ/มะละกอ
กลวงในไม่แน่นไปทั้งลูกแบบผลไม้อื่น)
มีฝนมาน้อยถึงน้อยมาก แบบไม่ตกนานนับวัน
แถวบ้านฝนไม่ตกสักวันใน 1-2 สัปดาห์
ชาวบ้านมักจะบอกว่าแล้งมากี่วันแล้ว
ปีนั้น ชาวนาหน้าซีดไปหลายคนเพราะขาดน้ำ

ส่วน La Nina สาวน้อยเอวบางร่างน้อย
จะนำพาคลื่นความเย็นมามาก ทำให้ฝนชุกมาก
แต่บางพื้นที่จะแห้งแล้งเช่นกัน

คำแปล El Nino La Nina มาจากคุณจันทรำไพ
สตรีไทยแต่งงานกับผู้จัดการชาวไร่เอควาดอร์




วงแหวนของต้นไม้ หรือวงปีของต้นไม้
มาจากการเติบโตของไม้ที่ต้นไม้สร้างขึ้น
ตอนที่มันเติบโต วงแหวนแต่ละวงจะสอดคล้อง
กับการเจริญเติบโตภายใน 1 ปี
และขนาดวงแหวนจะขึ้นกับปัจจัยต่าง ๆ
เช่น ความพร้อมของน้ำ สารอาหาร(ปุ๋ย/จุลธาตุ)
ปริมาณแสงแดดที่ต้นไม้ได้รับและอายุต้นไม้

นักวิทยาศาสตร์ศึกษาวงแหวนต้นไม้
จะสามารถเรียนรู้เกี่ยวกับสภาวะต้นไม้
ที่ประสบตลอดช่วงอายุของต้นไม้
และใช้ข้อมูลนี้เพื่อทำความเข้าใจ
สภาพอากาศในอดีต ติดตามอายุต้นไม้
และศึกษารูปแบบการเจริญเติบโต
ของต้นไม้สายพันธุ์ต่าง ๆ

โดยปกติ วงแหวนต้นไม้จะมองเห็นได้
เมื่อต้นไม้ถูกตัด/เมื่อตรวจสอบส่วนตัดขวาง
ของลำต้นของต้นไม้ (ใช้ Scan หรือสว่านไช)
สามารถนับวงแหวนเพื่อกำหนดอายุต้นไม้
วัดความกว้างของวงแหวนเพื่อกำหนด
อัตราเจริญเติบโตของต้นไม้

วงแหวนต้นไม้ยังใช้ใน Dendrochronology
สาขาวิชาที่ใช้วงแหวนของต้นไม้
เพื่อสร้างสภาพอากาศ/สภาพแวดล้อมในอดีต








Attila the Hun มีหลายชาติ
มักจะอ้างอิงว่าเป็นบรรพบุรุษชาติตน
แบบยอมรับความยิ่งใหญ่เกรียงไกร
แต่มีข้อมูลทางประวัติศาสตร์คือ

ชาวฮั่นเป็นชนเผ่าเร่ร่อนที่อาศัย
อยู่ในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก
ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5
บางครั้งถูกเรียกว่า  ฮั่นแห่งอัตติลา
เพราะอัตติลาฮั่นเป็นผู้นำที่มีชื่อเสียง
และประสบความสำเร็จเป็นพิเศษของเผ่า
เป็นที่รู้จักในด้านความกล้าหาญทางทหาร
และความสามารถในการพิชิตศึก
และควบคุมดินแดนขนาดใหญ่โดยใช้กำลังทหาร
เชื่อกันว่า ขาวฮั่นมีต้นกำเนิดมาจากเอเชียกลาง
และบางครั้งก็มีความเกี่ยวข้องกับชาวมองโกล
ซึ่งเป็นชนเผ่าเร่ร่อนอีกกลุ่มหนึ่งจากภูมิภาคนี้

อย่างไรก็ตาม ทั้งสองกลุ่มนี้ไม่เหมือนกัน
เพราะชาวฮั่นและชาวมองโกล
ต่างมีวัฒนธรรม ประวัติศาสตร์
ประเพณี ที่แตกต่างกัน
ชาวฮั่นเป็นมหาอำนาจในยุโรป
ในช่วงศตวรรษที่ 4 และ 5

ในขณะที่ชาวมองโกล
เริ่มมีชื่อเสียงในศตวรรษที่ 13
และก่อตั้งอาณาจักรอันกว้างใหญ่
ที่ทอดยาวจากยุโรปถึงเอเชีย
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่