(Rhine Bridge ของ Caesar โดย John Soane (1814))
เมื่อสามปีก่อนหน้าในช่วงต้นฤดูร้อนปี 55 ก่อนคริสต์ศักราช Julius Caesar ได้เข้าพิชิต Gaul (ดินแดนเก่าแก่ทางยุโรปตะวันตก)ได้แล้ว ในเวลานั้น
ชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่ทางชายแดนด้านตะวันออกที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไรน์ได้ทำการรุกรานไปทางทิศตะวันตก โดยเชื่อมั่นว่าแม่น้ำเป็นพรมแดนธรรมชาติที่ให้ความคุ้มครองจากการโจมตีใดๆ แต่อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำ ก็มีชนเผ่าที่เป็นพันธมิตรกับโรมเช่น อูเบียน (Ubians) โดยพวกเขาบอกกับ Caesar ว่าจะให้เรือแก่กองทหารที่จะข้ามแม่น้ำไรน์เพื่อโจมตีชนเผ่าดั้งเดิมที่รุกรานมา
อย่างไรก็ตาม Caesar ปฏิเสธข้อเสนอเรือและตัดสินใจที่จะสร้างสะพานแทน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาสนับสนุนพันธมิตร Ubian และส่งเสริมความสามารถของโรมในการทำสงครามเมื่อใดก็ตามที่ต้องการข้ามพรมแดน โดย Caesar เขียนบันทึกไว้ว่า " เรือนั้นไม่ปลอดภัยเพียงพอ และการสร้างสะพานน่าจะสมศักดิ์ศรีของเขาและของคนโรมันมากกว่า ดังนั้น แม้ว่าในการสร้างสะพานจะมีความยากลำบากอย่างมากที่สุด จากความกว้าง ความเร็ว และความลึกของแม่น้ำ เขาก็รู้สึกว่าควรจะลองด้วยตัวเอง หรือไม่ก็จะนำกองทัพของเขาไปในทางอื่น "
การก่อสร้างสะพานถูกดำเนินการระหว่างเมือง Andernach (ในปัจจุบัน) และ Neuwied (ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ ) ซึ่งอยู่ปลายน้ำจาก Koblenz
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แม่น้ำมีความลึกถึง 9 เมตร หอสังเกตการณ์ถูกสร้างขึ้นบนฝั่งทั้งสองเพื่อป้องกันทางเข้า และมีการวางเสาเข็มและสิ่งกีดขวางไว้เหนือน้ำเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการโจมตีและเศษซากที่เกิดจากกระแสน้ำ
ทหาร 40,000 คนของ Caesar สร้างสะพานในเวลาเพียง 10 วันทอดยาวกว่า 300 ฟุตข้ามแม่น้ำใหญ่ บนกองไม้ซุงสองชั้นที่ถูกตอกลงไปในแม่น้ำ โดยทิ้งก้อนหินขนาดใหญ่และหนักเพื่อนำร่องให้เสา ระบบการก่อสร้างและเทคนิคต่างๆช่วยให้มั่นใจได้ว่า แม้จะมีกระแสน้ำแรงสะพานก็ยิ่งยึดเข้าด้วยกันมากขึ้น
ภาพประกอบ Rhine Bridge ของ Caesar
จาก “History of Rome, and of the Roman people, from its origin to the invasion of the barbarians" (1883)
ไม่มีใครรู้ว่าใครเป็นวิศวกรที่รับผิดชอบเทคนิคการสร้างสะพานใหม่นี้ซึ่งไม่เคยมีการทำมาก่อน แต่ Cicero แนะนำในจดหมายว่าชื่อของวิศวกรคือ
Mumarra แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้มากว่าวิศวกรน่าจะเป็น Marcus Vitruvius Polio แห่งอาณาจักรโรมัน (สถาปนิกผู้เขียนหนังสือสถาปัตยกรรมสิบเล่มที่มีชื่อเสียง) ซึ่ง Caesar เรียกมาพบ โดยความยาวของสะพานนี้คาดว่าอาจอยู่ระหว่าง 140 - 400 เมตร และมีความกว้างระหว่าง 7 - 9 เมตร
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว กองทหารของ Caesar ก็เดินข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งพวกอูเบียนกำลังรออยู่ จากนั้น หลังจากที่ทำลายหมู่บ้านบางส่วนแล้ว เขาก็รู้ว่าชนเผ่าของ Sicambrians และ Suevi ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก และรวมตัวกับชนเผ่าต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรบกับกองทัพของเขา Caesar จึงรีบข้ามสะพานกลับออกจากพื้นที่แล้วทำลายมันลงโดยไม่มีการสู้รบครั้งใหญ่ ซึ่งกินเวลาเพียง 18 วันเท่านั้น
แบบจำลองขนาดของสะพานที่พิพิธภัณฑ์ Museo Della Civilta Romana ในกรุงโรม
Cr.ภาพ: MrJennings / Flickr
สองปีต่อมา ประวัติศาสตร์ก็ซ้ำรอย Caesar ได้สร้างสะพานขึ้นเป็นครั้งที่สองในแบบเดียวกัน แต่คราวนี้เขาไม่ได้อธิบายรายละเอียดใดๆ โดยสะพานถูกสร้างใกล้กับสถานที่ที่สะพานแห่งแรกเคยสร้าง ประมาณ 2 กิโลเมตรไปทางเหนือ (อาจอยู่ถัดจาก Urmitz ในปัจจุบัน)
ก่อนหน้านี้ ชนเผ่า Suebi (Suevi) เมื่อเห็นว่ากองทัพของ Caesar กำลังมาทางพวกเขาจึงถอยกลับไปชายฝั่งทางตะวันออกอีกครั้ง โดยทิ้งหมู่บ้านและไปซ่อนตัวอยู่ในป่า เมื่อกองกำลัง ดินทางบุกเข้าไปในชนบทก็ไม่พบการต่อต้าน พวกเขาก็กลับไปที่ Gaul และทำลายสะพานลงอีกครั้ง คราวนี้เขาแค่ทำลายส่วนปลายที่อยู่ทางฝั่งตะวันออกเท่านั้น และสร้างหอคอยป้องกันสี่ชั้นเพื่อปกป้องสะพานส่วนที่เหลือ
ทั้งนี้ กลยุทธ์ของ Caesar นั้นก่อให้เกิดผลตามที่ต้องการและยังถือเป็นผลงานชิ้นเอกของวิศวกรรมการทหาร มันแสดงให้เห็นถึงพลังและความสามารถของโรมในการข้ามแม่น้ำ Rhineได้ตลอดเวลา ดังนั้น Julius Caesar จึงต้องรักษาพรมแดนของ Gaul ไว้ ซึ่งเป็นเวลาหลายศตวรรษที่ชาวเยอรมันละเว้นการข้ามพรมแดนนี้
นอกจากนี้ Caesar ยังให้มีการตั้งรกรากของชาวโรมันในหุบเขา Rhine ซึ่งต่อมาจะมีการสร้างสะพานถาวรขึ้นใน Castra Vetera (Xanten), Colonia Claudia Ara Agrippinensium (Colonia), Confluentes (Coblenz) และ Moguntiacum (Mainz)
การขุดค้นทางโบราณคดีที่กำลังดำเนินการในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ Andernach-Neuwied พบซากของ Pilings (ฐานของสิ่งก่อสร้าง)
ในแม่น้ำ Rhine (จากการวิเคราะห์ในศตวรรษที่ 20 แสดงให้เห็นว่าพวกมันถูกตัดลงในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่อาจเป็นของ สะพานของ Caesar แม้ว่าสถานที่ตั้งของมันจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด
ตำแหน่งที่เป็นไปได้ของ Rhine Bridge Cr.ภาพ: Ekem / Wikimedia Commons
การสร้างเครื่องตอกเสาเข็มแบบโรมันซึ่งใช้ในการสร้างสะพาน Rhine ที่ป้อมปราการ Ehrenbreitstein
ในเมือง Koblenz ประเทศเยอรมนี Cr.ภาพ: Holger Weinandt / Wikimedia Commons
สำหรับชาวอูเบียนใน 39 ปีก่อนคริสตกาล แม่ทัพโรมัน Marco Vipsanio Agrippa ได้ย้ายพวกเขาไปยังฝั่งตะวันตกของแม่น้ำ Rhine เพื่อตอบแทนความภักดีที่มีมายาวนาน และตามที่พวกเขาร้องขอเพราะกลัวการตอบโต้จากชนเผ่าใกล้เคียง ซึ่งชาวอูเบียนยังคงภักดีต่อโรมตลอดประวัติศาสตร์ รวมทั้งยังช่วยปราบกบฏบาตาเวียในปี 70 ด้วย
(ชาวอูเบียนหลายคนทำหน้าที่เป็นบอดี้การ์ดส่วนตัวให้กับจักรพรรดิ ซึ่งต่อมานักโบราณคดีได้ค้นพบหลุมศพของชาวอูเบียนหนึ่งในผู้คุ้มกันของจักรพรรดิเนโร) จากนั้นในที่สุด ชาวอูเบียนก็เข้ารวมกลุ่มกับชาว Franks กลุ่มชนเชื้อสายดั้งเดิม ก่อให้เกิดเป็นอาณาจักรใหม่ใน Gaul ในช่วงยุคกลาง
ที่มา บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน La Brújula Verde
Cr.
https://www.amusingplanet.com/2021/01/why-julius-caesar-built-bridge-over.html / KAUSHIK PATOWARY
(ขอขอบคุณที่มาของข้อมูลทั้งหมดและขออนุญาตนำมา)
สะพานทหารแห่งแรกข้ามแม่น้ำไรน์ที่ยิ่งใหญ่ในยุคโบราณ
ชนเผ่าดั้งเดิมที่อยู่ทางชายแดนด้านตะวันออกที่ตั้งอยู่บนฝั่งแม่น้ำไรน์ได้ทำการรุกรานไปทางทิศตะวันตก โดยเชื่อมั่นว่าแม่น้ำเป็นพรมแดนธรรมชาติที่ให้ความคุ้มครองจากการโจมตีใดๆ แต่อีกด้านหนึ่งของแม่น้ำ ก็มีชนเผ่าที่เป็นพันธมิตรกับโรมเช่น อูเบียน (Ubians) โดยพวกเขาบอกกับ Caesar ว่าจะให้เรือแก่กองทหารที่จะข้ามแม่น้ำไรน์เพื่อโจมตีชนเผ่าดั้งเดิมที่รุกรานมา
อย่างไรก็ตาม Caesar ปฏิเสธข้อเสนอเรือและตัดสินใจที่จะสร้างสะพานแทน ทั้งนี้ก็เพื่อแสดงให้เห็นว่าเขาสนับสนุนพันธมิตร Ubian และส่งเสริมความสามารถของโรมในการทำสงครามเมื่อใดก็ตามที่ต้องการข้ามพรมแดน โดย Caesar เขียนบันทึกไว้ว่า " เรือนั้นไม่ปลอดภัยเพียงพอ และการสร้างสะพานน่าจะสมศักดิ์ศรีของเขาและของคนโรมันมากกว่า ดังนั้น แม้ว่าในการสร้างสะพานจะมีความยากลำบากอย่างมากที่สุด จากความกว้าง ความเร็ว และความลึกของแม่น้ำ เขาก็รู้สึกว่าควรจะลองด้วยตัวเอง หรือไม่ก็จะนำกองทัพของเขาไปในทางอื่น "
การก่อสร้างสะพานถูกดำเนินการระหว่างเมือง Andernach (ในปัจจุบัน) และ Neuwied (ทางฝั่งซ้ายของแม่น้ำไรน์ ) ซึ่งอยู่ปลายน้ำจาก Koblenz
ซึ่งเป็นพื้นที่ที่แม่น้ำมีความลึกถึง 9 เมตร หอสังเกตการณ์ถูกสร้างขึ้นบนฝั่งทั้งสองเพื่อป้องกันทางเข้า และมีการวางเสาเข็มและสิ่งกีดขวางไว้เหนือน้ำเพื่อเป็นมาตรการป้องกันการโจมตีและเศษซากที่เกิดจากกระแสน้ำ
ทหาร 40,000 คนของ Caesar สร้างสะพานในเวลาเพียง 10 วันทอดยาวกว่า 300 ฟุตข้ามแม่น้ำใหญ่ บนกองไม้ซุงสองชั้นที่ถูกตอกลงไปในแม่น้ำ โดยทิ้งก้อนหินขนาดใหญ่และหนักเพื่อนำร่องให้เสา ระบบการก่อสร้างและเทคนิคต่างๆช่วยให้มั่นใจได้ว่า แม้จะมีกระแสน้ำแรงสะพานก็ยิ่งยึดเข้าด้วยกันมากขึ้น
Mumarra แม้ว่าจะมีความเป็นไปได้มากว่าวิศวกรน่าจะเป็น Marcus Vitruvius Polio แห่งอาณาจักรโรมัน (สถาปนิกผู้เขียนหนังสือสถาปัตยกรรมสิบเล่มที่มีชื่อเสียง) ซึ่ง Caesar เรียกมาพบ โดยความยาวของสะพานนี้คาดว่าอาจอยู่ระหว่าง 140 - 400 เมตร และมีความกว้างระหว่าง 7 - 9 เมตร
เมื่อสร้างเสร็จแล้ว กองทหารของ Caesar ก็เดินข้ามไปยังอีกฝั่งหนึ่งซึ่งพวกอูเบียนกำลังรออยู่ จากนั้น หลังจากที่ทำลายหมู่บ้านบางส่วนแล้ว เขาก็รู้ว่าชนเผ่าของ Sicambrians และ Suevi ได้เคลื่อนตัวไปทางทิศตะวันออก และรวมตัวกับชนเผ่าต่างๆเพื่อเตรียมพร้อมที่จะรบกับกองทัพของเขา Caesar จึงรีบข้ามสะพานกลับออกจากพื้นที่แล้วทำลายมันลงโดยไม่มีการสู้รบครั้งใหญ่ ซึ่งกินเวลาเพียง 18 วันเท่านั้น
นอกจากนี้ Caesar ยังให้มีการตั้งรกรากของชาวโรมันในหุบเขา Rhine ซึ่งต่อมาจะมีการสร้างสะพานถาวรขึ้นใน Castra Vetera (Xanten), Colonia Claudia Ara Agrippinensium (Colonia), Confluentes (Coblenz) และ Moguntiacum (Mainz)
การขุดค้นทางโบราณคดีที่กำลังดำเนินการในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 ในพื้นที่ Andernach-Neuwied พบซากของ Pilings (ฐานของสิ่งก่อสร้าง)
ในแม่น้ำ Rhine (จากการวิเคราะห์ในศตวรรษที่ 20 แสดงให้เห็นว่าพวกมันถูกตัดลงในกลางศตวรรษที่ 1 ก่อนคริสต์ศักราช) ที่อาจเป็นของ สะพานของ Caesar แม้ว่าสถานที่ตั้งของมันจะยังไม่สามารถระบุได้แน่ชัด
(ชาวอูเบียนหลายคนทำหน้าที่เป็นบอดี้การ์ดส่วนตัวให้กับจักรพรรดิ ซึ่งต่อมานักโบราณคดีได้ค้นพบหลุมศพของชาวอูเบียนหนึ่งในผู้คุ้มกันของจักรพรรดิเนโร) จากนั้นในที่สุด ชาวอูเบียนก็เข้ารวมกลุ่มกับชาว Franks กลุ่มชนเชื้อสายดั้งเดิม ก่อให้เกิดเป็นอาณาจักรใหม่ใน Gaul ในช่วงยุคกลาง
ที่มา บทความที่ได้รับการตีพิมพ์ใน La Brújula Verde
Cr.https://www.amusingplanet.com/2021/01/why-julius-caesar-built-bridge-over.html / KAUSHIK PATOWARY