🇹🇭💚มาลาริน💚🇹🇭ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผย จับตาโอมิครอนลูกผสม "XBB.1.5" ชี้เป็นสายพันธุ์อุบัติใหม่น่ากังวลมากที่สุด

จับตาโอมิครอนลูกผสม "XBB.1.5" ชี้เป็นสายพันธุ์อุบัติใหม่น่ากังวลมากที่สุด
 
ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ เผยโอมิครอนลูกผสม "XBB.1.5" เป็นสายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ "น่ากังวลมากที่สุด" เหตุแพร่เร็ว เลี่ยงภูมิคุ้มกัน



วันที่ 21 ธันวาคม 2565 แฟนเพจ Center for Medical Genomics ของ ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์ข้อความว่า....👇

โควิด-19 สายพันธุ์อุบัติใหม่ที่ "น่ากังวลมากที่สุด" ในปัจจุบันคือโอมิครอนลูกผสม "XBB.1.5"

นิวยอร์ก กำลังกลายเป็น "ฮอตสปอตใหม่" ของโควิดตระกูล XBB ที่พบแพร่ระบาดใหญ่ในสิงคโปร์เมื่อเดือนตุลาคม 2565 ที่ผ่านมา โดยมีตัวเลขผู้ติดเชื้อที่นิวยอร์กรายวันตั้งแต่วันที่ 9 ธันวาคมจนถึงปัจจุบันเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว
 
5.5%
5.7%
5.7%
5.3%
9.0%
13.8%
12.6%
13.7%
16.5%
18.6%
 
เมื่อเทียบกับโควิดสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในนิวยอร์ก

คาดว่าจะระบาดเข้ามาแทนที่โอมิครอน BQ.1 อย่างรวดเร็วโดยพบ
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) ที่นิวยอร์กสูงกว่า BQ.1 ถึง 144%
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดสูงกว่า BQ.1 ทั่วสหรัฐฯ 122% 
มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด สูงกว่า BQ.1 ทั่วโลกประมาณ 94%

จากฐานข้อมูลเก็บรหัสพันธุกรรมโควิดโลก “GISAID” พบแล้วทั้งสิ้น 288 ตัวอย่าง ยังตรวจไม่พบในประเทศไทย

ประเมินว่า XBB.1.5 ได้กลายพันธุ์มาจาก XBB* ที่นิวยอร์ก โดยมีอัตราการเพิ่มจำนวนประมาณถึง 100% ในแต่ละสัปดาห์

โดยอาศัยเทคโนโลยีด้าน "ชีวสารสนเทศ" ที่ก้าวหน้าไปอย่างมากมาใช้วิเคราะห์ข้อมูลการถอดรหัสพันธุกรรมโควิดทั้งจีโนม (whole SARS-CoV-2 genome sequencing) ตลอด 3 ปี จำนวนกว่า "14.2 ล้านตัวอย่าง" ช่วยให้เราสามารถทำนายรูปลักษณ์ของโปรตีนหนามที่แตกต่างกันในแต่ละสายพันธุ์ของโควิด-19 ได้อย่างแม่นยำเพื่อบ่งชี้

ความสามารถของ "โปรตีนหนาม" ของสายพันธุ์นั้น ในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกัน (immune escape) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามเปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์

ความสามารถของโปรตีนหนามของสายพันธุ์นั้นในการยึดจับตัวรับ "ACE-2" บนผิวเซลล์ผู้ติดเชื้อ เพื่อแทรกเข้าไปภายในเซลล์ (ACE-2 binding score) เนื่องจากรูปร่างโปรตีนหนามที่เปลี่ยนไปอันมีสาเหตุมาจากการกลายพันธุ์
สรุปว่า XBB.1.5 เป็นโควิด-19 ที่มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) และมีความสามารถในการหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันและการเข้ากับผิวเซลล์เพื่อทะลุผ่านเข้าไปภายในเซลล์สูงที่สุดในโลก ณ ขณะนี้ อันเป็นสาเหตุที่ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกกำลังจับตามองด้วยความกังวล



https://www.thairath.co.th/news/society/2583268

ติดตามข่าวโควิดต่อไปนะคะ....
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 9

สยามพารากอน และ ไอคอนสยาม ร่วมกับ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท และ โรงพยาบาลธนบุรี เดินหน้าฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้แก่ประชาชนทั่วไป เปิดหน่วยความร่วมมือ บริการฉีดวัคซีนนอกสถานพยาบาล ในโครงการ สยามรวมใจ เติมความสุข เติมภูมิคุ้มกัน บนพื้นที่ใจกลางเมือง 2 แห่ง ระหว่างวันที่ 19 – 26 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม 10 ทรู ไอคอน ฮอลล์ ชั้น 7 ไอคอนสยาม และ ระหว่างวันที่ 20 – 26 ธันวาคม 2565 ณ ห้องประชุม 5-6 รอยัล พารากอน ฮอลล์ ชั้น 5 ศูนย์การค้าสยามพารากอน อำนวยความสะดวกแก่ประชาชนด้วยประสิทธิภาพการบริหารจัดการและมาตรฐานความปลอดภัยสูงสุด เปิดรับประชาชนทั่วไปแบบ walk-in
https://web.facebook.com/thaimoph/posts/pfbid0241NKXXJCGN1u9vt8kXXMrGkf16Ac25SBft4AbFtseuqWSRyFMiMPZ8mk3fZXYyfSl


สธ. เตรียมรับมือการระบาดของโรคโปลิโอในต่างประเทศ หลังพบผู้ป่วยโปลิโอเพิ่มขึ้นใน 22 ประเทศ

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ขณะนี้ เริ่มมีรายงานพบผู้ป่วยโรคโปลิโอ ซึ่งทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้ออ่อนปวกเปียกเฉียบพลันในหลายประเทศ หลังจากไม่พบผู้ป่วยโรคนี้มาเป็นระยะเวลานานหลายปี กระทรวงสาธารณสุขกำลังจับตาสถานการณ์อย่างใกล้ชิด เพราะเป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวังลำดับที่ 21 ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558 โดยมีรายงานพบผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์ธรรมชาติ จำนวน 30 ราย ในปากีสถาน อัฟกานิสถาน และโมซัมบิก และผู้ป่วยโปลิโอสายพันธุ์วัคซีนกลายพันธุ์ จำนวน 577 ราย ใน 22 ประเทศ รวมถึงอินโดนีเซียที่พบผู้ป่วย 4 ราย

ทำให้ประเทศไทยต้องเร่งรัดการดำเนินงานเพื่อเตรียมความพร้อมรับมือ แม้ว่าเราจะไม่มีผู้ป่วยโรคโปลิโอมานานกว่า 25 ปีแล้ว โดยรายสุดท้ายคือในปี 2540

ทั้งนี้ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการขับเคลื่อนการกวาดล้างโรคโปลิโอ การกำจัดโรคหัด และหัดเยอรมัน ระดับชาติ เพื่อให้การดำเนินงานกวาดล้างโปลิโอของไทยมีความเข้มแข็ง รวมถึงการกำจัดโรคหัดและหัดเยอรมัน และต้องมีการขับเคลื่อนมาตรการอย่างต่อเนื่อง
https://web.facebook.com/Sumnakkaow.PRD/posts/pfbid0MrToDdaGnTCoUTvMaEWP226vZQ2KN5FhUGv4iX9U5AYfRTBN5g3StdiT5UaTtEDZl
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่