ศิริกัญญา เชื่อดิจิทัลวอลเล็ตไม่คืบ เหน็บแผนศก.รบ. สะเปะสะปะ ผ่านมา 6 เดือนทำงานล่าช้า
https://www.matichon.co.th/politics/news_4424018
‘ศิริกัญญา’ คาด ประชุม คกก.ดิจิทัลวอลเล็ต 15 ก.พ.นี้ ไม่มีอะไรคืบหน้า ชี้ แผนฝื้นฝู ศก.ของ รบ. ไม่ได้ช่วยกระตุ้น ซัดทํางาน 6 เดือน ขับเคลื่อนล่าช้า-นโยบายสะเปะสะปะ
เมื่อเวลา 10.10 น. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา น.ส.
ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ว่า ตนไม่คาดหวังว่าจะได้ความคืบหน้าอะไร เนื่องจากในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา ไม่ได้มีมติเกี่ยวกับการรับทราบรายงานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากยังคงต้องเวียนให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความเห็นกันมาก่อน
ดังนั้น คาดว่าการประชุมจะมีเพียงมติให้ฟังความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักกว่าจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งตั้งแต่มีรัฐบาลมา เป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือนแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรเพิ่มจากวันแรกสักเท่าไหร่ ตนรู้สึกว่าล่าช้าเนินนาน จึงอยากให้รัฐบาลรีบตัดสินใจและเดินหน้าสักทาง
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวต่อว่า เมื่อลองดูแผนที่รัฐบาลบอกว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เราก็ยังคงไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจถูกกระตุ้นให้มีความคึกคักหรือมีชีวิตชีวา ส่วนการลดราคาน้ำมัน-ค่าไฟฟ้า ก็เริ่มหมดอิทธิฤทธิ์หรือผลกระทบแล้ว ส่วนเรื่องแก้หนี้ ยังคงเป็นช่วงเริ่มต้นการเจรจาเอฟทีเอ จึงยังไม่มีอะไรที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมสักอย่าง หรือจะรอความหวังจากงบประมาณปี’67 หรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรามีส่วนในงบกลางที่สามารถใช้ไปพลางก่อน และมีการอนุมัติไปเรียบร้อย โดยที่สามารถนำมาหยิบใช้ได้เลย แต่เรายังไม่เห็นสัญญาณว่าจะมีโครงการอื่นๆ ขึ้นมา ตนคิดว่าประชาชนตั้งหน้าตั้งตารอว่ารัฐบาลเพื่อไทย ที่มีชื่อเสียงด้านการทำให้เศรษฐกิจโตดี จะมีกลเม็ดอะไรที่จะกู้เศรษฐกิจในยามนี้ก่อนที่จะมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
น.ส.
ศิริกัญญากล่าวอีกว่า เมื่อเป้าหมายไม่ชัด ไม่นิ่ง พอถึงเวลาทำงานจริงเลยสะสมปนกันไปหมด หลายโครงการและนโยบายก็คิดไม่ทันตอนที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และค่อยๆ งอกขึ้นออกมาเรื่อยๆ ทำให้การผลักดันหรือการขับเคลื่อนเป็นไปล่าช้า
ป่าน ทะลุฟ้า : ถ้าอยากลงโทษพวกหนู ก็ต้องลงโทษเหล่าทรราชด้วย ไม่ใช่แค่ไอ้พวกเด็ก 3 กีบ
https://www.matichon.co.th/clips/news_4423429
กตัญญู หมื่นคำเรือง หรือ
ป่าน ทะลุฟ้า แสดงมุมมองส่วนตัวว่า ควรนิรโทษกรรมคดี 112 รวมไปด้วย เพราะไม่รู้บรรทัดฐานคดี 112 คดี 116 หรืออะไรก็แล้วแต่ มันควรจะนิรโทษให้หมด ย้ำคณะรัฐประหารควรต้องได้รับบทลงโทษด้วย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยเอาคนที่รัฐประหารมาลงโทษเลย ถ้าอยากลงโทษพวกหนู ก็ต้องลงโทษเหล่าทรราชด้วย ไม่ใช่แค่ไอ้พวกเด็ก 3 กีบ ในงานเสวนา “
ข้อหาหยุมหยิมมากมาย นิรโทษกรรมเท่าที่ได้ก่อนดีไหม?”
"ศูนย์จีโนมฯ" โพสต์แนะนำโควิดสายพันธุ์ "JN.1.4" โอมิครอนตัวล่าสุด
https://siamrath.co.th/n/514237
เมื่อวันที่ 14 ก.พ.67 เพจเฟซบุ๊ก "
Center for Medical Genomics" ของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์รูปพร้อมข้อความ ระบุว่า
มาทำความรู้จักโอมิครอน “JN.1.4” สายพันธุ์ล่าสุดจากตระกูล BA.2.86 (Pirola) ที่คาดว่าจะมาแทนที่ JN.1โอมิครอน (BA.2.86-->JN.1-->J์N.1.4) มีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วในทุกเดือนเพื่อต่อสู้และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การระบาดของโควิด19 ได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ทั่วโลกยังคงพบการกลายพันธุ์ของไวรัสมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโอมิครอน BA.2.86 หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือพิโรลา (Pirola) ซึ่งตรวจพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 จากตัวอย่างจากประเทศเดนมาร์ก
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกรวมทั้งองค์การอนามัยโลกในขณะนั้นมีความกังวลเพราะจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนไปมากกว่า 30 ตำแหน่งบนส่วนหนาม เมื่อเทียบกับ "บรรพบุรุษโอมิครอน BA.1/BA.2" ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองมาจากสายพันธุ์เดลตา
แต่อาจถือเป็นโชคดีของมนุษย์ที่แม้โอมิครอน BA.2.86 จะมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมแต่กลับแพร่ระบาดได้ไม่ดีนัก เพราะจนถึงปัจจุบันพบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.86 เพียง “653 ราย”
อย่างไรก็ตามทั่วโลกคลายความวิตกได้เพียงเดือนเดียว โอมิครอน BA.2.86 ไม่ยอมแพ้ต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่สร้างสะสมมาอย่างต่อเนื่องนานเกือบ 5 ปี จากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติโดยได้เกิดการกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามขึ้น 1 ตำแหน่งคือ “L455S” เกิดเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยรุ่นลูก JN.1 (B.1.1.529.2.86.1.1) ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้ยอดผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตทั่วโลกจากโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบโอมิครอน JN.1 ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 และกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในสหรัฐฯขณะนี้ ปัจจุบันสุ่มพบโอมิครอน JN.1 ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกถึง “50,366 ราย” ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID)
โอมิครอน JN.1 มิได้หยุดยั้งการกลายพันธุ์ ได้มีการกลายพันธุ์ไปอีกหนึ่งตำแหน่งบริเวณยีน ORF1a ที่ตำแหน่ง T170I เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อย JN.1.4 พบตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นมาจำนวน 18,243 รายจากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก
ทีมวิจัยของ ดร. ราเชนทราม ราชนารายณ์ จาก “NYITCOM” ของมหาวิทยาลัยรัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC) ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าโอมิครอนสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในสหรัฐอันดับที่หนึ่งคือโอมิครอน JN.1 (46.9%) อันดับสองคือ โอมิครอน JN.1.4 (25.2%)
จากการวิเคราะห์จากข้อมูลจีโนมจากฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) ผ่าน CoV-Spectrum อันเป็นแพลตฟอร์มสำรวจข้อมูลจีโนม SARS-CoV-2 พบว่า
-ทั่วโลกพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 18,242 ราย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ 36% หรือ 1.36 เท่า (ภาพ1A)
-ประเทศสหรัฐฯพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 7,430 ราย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในสหรัฐขณะนี้ 41% หรือ 1.41 เท่า (ภาพ 1B)
-ประเทศเยอรมนีพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 247 รายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในเยอรมนีขณะนี้ 43% หรือ 1.43 เท่า (ภาพ2A)
-ประเทศไทยพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 12 รายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในไทยขณะนี้ 36% หรือ 1.36 เท่า (ภาพ2B)
-ในขณะที่ทั่วโลกพบโอมิครอน JN.1.4 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า JN.1 ที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ไม่มากคือ 1% หรือ 1.01 เท่า คาดว่าค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดของ JN.1.4 จะปรับเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าและระบาดเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่โอมิครอน JN.1 (ภาพ3)
ทางศูนย์จีโนมฯเป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าติดตามการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดด้วยการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมเป็นระยะ หากพบความผิดปรกติจะแจ้งให้ทุกภาคส่วนทราบในทันทีเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ที่อาจก่อให้เกิดโรครุนแรงจากการกลายพันธุ์ไปเพียงไม่กี่ตำแหน่งบนจีโนม
#โควิด19 #โควิด #โอมิครอน
https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid09FyTvWjYauv16Q9tzoYzmFhtqcCeGcdWEcVn3BnE9C2bmY54vWvnMec6vHvXjHGgl
JJNY : ศิริกัญญาเชื่อดิจิทัลวอลเล็ตไม่คืบ│ลงโทษเหล่าทรราชด้วย│โพสต์แนะนำ "JN.1.4" ล่าสุด│เกาหลีเหนือยิงทดสอบขีปนาวุธ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4424018
‘ศิริกัญญา’ คาด ประชุม คกก.ดิจิทัลวอลเล็ต 15 ก.พ.นี้ ไม่มีอะไรคืบหน้า ชี้ แผนฝื้นฝู ศก.ของ รบ. ไม่ได้ช่วยกระตุ้น ซัดทํางาน 6 เดือน ขับเคลื่อนล่าช้า-นโยบายสะเปะสะปะ
เมื่อเวลา 10.10 น. วันที่ 14 กุมภาพันธ์ ที่รัฐสภา น.ส.ศิริกัญญา ตันสกุล ส.ส.บัญชีรายชื่อ และรองหัวหน้าพรรคก้าวไกล ให้สัมภาษณ์ถึงการประชุมคณะกรรมการนโยบายโครงการเติมเงิน 10,000 บาท ผ่านดิจิทัลวอลเล็ต ในวันที่ 15 กุมภาพันธ์นี้ ว่า ตนไม่คาดหวังว่าจะได้ความคืบหน้าอะไร เนื่องจากในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่ผ่านมา ไม่ได้มีมติเกี่ยวกับการรับทราบรายงานสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เนื่องจากยังคงต้องเวียนให้หน่วยงานต่างๆ ให้ความเห็นกันมาก่อน
ดังนั้น คาดว่าการประชุมจะมีเพียงมติให้ฟังความเห็นจากหน่วยงานต่างๆ ในเรื่องภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ดังนั้น คงต้องใช้ระยะเวลาอีกสักพักกว่าจะมีความคืบหน้าเพิ่มเติมขึ้นมา ซึ่งตั้งแต่มีรัฐบาลมา เป็นระยะเวลามากกว่า 6 เดือนแล้ว ยังไม่มีความคืบหน้าอะไรเพิ่มจากวันแรกสักเท่าไหร่ ตนรู้สึกว่าล่าช้าเนินนาน จึงอยากให้รัฐบาลรีบตัดสินใจและเดินหน้าสักทาง
น.ส.ศิริกัญญากล่าวต่อว่า เมื่อลองดูแผนที่รัฐบาลบอกว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ เราก็ยังคงไม่รู้สึกว่าเศรษฐกิจถูกกระตุ้นให้มีความคึกคักหรือมีชีวิตชีวา ส่วนการลดราคาน้ำมัน-ค่าไฟฟ้า ก็เริ่มหมดอิทธิฤทธิ์หรือผลกระทบแล้ว ส่วนเรื่องแก้หนี้ ยังคงเป็นช่วงเริ่มต้นการเจรจาเอฟทีเอ จึงยังไม่มีอะไรที่ส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจในภาพรวมสักอย่าง หรือจะรอความหวังจากงบประมาณปี’67 หรือไม่
อย่างไรก็ตาม เรามีส่วนในงบกลางที่สามารถใช้ไปพลางก่อน และมีการอนุมัติไปเรียบร้อย โดยที่สามารถนำมาหยิบใช้ได้เลย แต่เรายังไม่เห็นสัญญาณว่าจะมีโครงการอื่นๆ ขึ้นมา ตนคิดว่าประชาชนตั้งหน้าตั้งตารอว่ารัฐบาลเพื่อไทย ที่มีชื่อเสียงด้านการทำให้เศรษฐกิจโตดี จะมีกลเม็ดอะไรที่จะกู้เศรษฐกิจในยามนี้ก่อนที่จะมีโครงการดิจิทัลวอลเล็ต ซึ่งไม่รู้จะเกิดขึ้นเมื่อไหร่
น.ส.ศิริกัญญากล่าวอีกว่า เมื่อเป้าหมายไม่ชัด ไม่นิ่ง พอถึงเวลาทำงานจริงเลยสะสมปนกันไปหมด หลายโครงการและนโยบายก็คิดไม่ทันตอนที่แถลงนโยบายต่อรัฐสภา และค่อยๆ งอกขึ้นออกมาเรื่อยๆ ทำให้การผลักดันหรือการขับเคลื่อนเป็นไปล่าช้า
ป่าน ทะลุฟ้า : ถ้าอยากลงโทษพวกหนู ก็ต้องลงโทษเหล่าทรราชด้วย ไม่ใช่แค่ไอ้พวกเด็ก 3 กีบ
https://www.matichon.co.th/clips/news_4423429
กตัญญู หมื่นคำเรือง หรือ ป่าน ทะลุฟ้า แสดงมุมมองส่วนตัวว่า ควรนิรโทษกรรมคดี 112 รวมไปด้วย เพราะไม่รู้บรรทัดฐานคดี 112 คดี 116 หรืออะไรก็แล้วแต่ มันควรจะนิรโทษให้หมด ย้ำคณะรัฐประหารควรต้องได้รับบทลงโทษด้วย แต่ที่ผ่านมาไม่เคยเอาคนที่รัฐประหารมาลงโทษเลย ถ้าอยากลงโทษพวกหนู ก็ต้องลงโทษเหล่าทรราชด้วย ไม่ใช่แค่ไอ้พวกเด็ก 3 กีบ ในงานเสวนา “ข้อหาหยุมหยิมมากมาย นิรโทษกรรมเท่าที่ได้ก่อนดีไหม?”
"ศูนย์จีโนมฯ" โพสต์แนะนำโควิดสายพันธุ์ "JN.1.4" โอมิครอนตัวล่าสุด
https://siamrath.co.th/n/514237
เมื่อวันที่ 14 ก.พ.67 เพจเฟซบุ๊ก "Center for Medical Genomics" ของศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี โพสต์รูปพร้อมข้อความ ระบุว่า
มาทำความรู้จักโอมิครอน “JN.1.4” สายพันธุ์ล่าสุดจากตระกูล BA.2.86 (Pirola) ที่คาดว่าจะมาแทนที่ JN.1โอมิครอน (BA.2.86-->JN.1-->J์N.1.4) มีการกลายพันธุ์อย่างรวดเร็วในทุกเดือนเพื่อต่อสู้และหลบเลี่ยงภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การระบาดของโควิด19 ได้ย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ทั่วโลกยังคงพบการกลายพันธุ์ของไวรัสมาอย่างต่อเนื่อง ล่าสุดโอมิครอน BA.2.86 หรือชื่ออย่างไม่เป็นทางการคือพิโรลา (Pirola) ซึ่งตรวจพบครั้งแรกเมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 จากตัวอย่างจากประเทศเดนมาร์ก
ผู้เชี่ยวชาญทั่วโลกรวมทั้งองค์การอนามัยโลกในขณะนั้นมีความกังวลเพราะจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนไปมากกว่า 30 ตำแหน่งบนส่วนหนาม เมื่อเทียบกับ "บรรพบุรุษโอมิครอน BA.1/BA.2" ที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตมากเป็นอันดับสองรองมาจากสายพันธุ์เดลตา
แต่อาจถือเป็นโชคดีของมนุษย์ที่แม้โอมิครอน BA.2.86 จะมีการกลายพันธุ์ไปมากกว่าโอมิครอนสายพันธุ์ดั้งเดิมแต่กลับแพร่ระบาดได้ไม่ดีนัก เพราะจนถึงปัจจุบันพบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.86 เพียง “653 ราย”
อย่างไรก็ตามทั่วโลกคลายความวิตกได้เพียงเดือนเดียว โอมิครอน BA.2.86 ไม่ยอมแพ้ต่อภูมิคุ้มกันของมนุษย์ที่สร้างสะสมมาอย่างต่อเนื่องนานเกือบ 5 ปี จากการฉีดวัคซีนและการติดเชื้อตามธรรมชาติโดยได้เกิดการกลายพันธุ์บริเวณโปรตีนหนามขึ้น 1 ตำแหน่งคือ “L455S” เกิดเป็นโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยรุ่นลูก JN.1 (B.1.1.529.2.86.1.1) ทำให้เกิดการแพร่ระบาดไปทั่วโลก ส่งผลให้ยอดผู้เจ็บป่วยและเสียชีวิตทั่วโลกจากโควิด-19 เพิ่มสูงขึ้นอย่างมีนัยสำคัญ
องค์การอนามัยโลกรายงานว่าพบโอมิครอน JN.1 ครั้งแรกในเดือนสิงหาคม พ.ศ. 2566 และกลายเป็นสายพันธุ์หลักที่ระบาดในสหรัฐฯขณะนี้ ปัจจุบันสุ่มพบโอมิครอน JN.1 ในผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลกถึง “50,366 ราย” ด้วยการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมและแชร์ข้อมูลไว้บนฐานข้อมูลโควิดโลกจีเสส (GISAID)
โอมิครอน JN.1 มิได้หยุดยั้งการกลายพันธุ์ ได้มีการกลายพันธุ์ไปอีกหนึ่งตำแหน่งบริเวณยีน ORF1a ที่ตำแหน่ง T170I เกิดเป็นสายพันธุ์ย่อย JN.1.4 พบตั้งแต่กันยายน พ.ศ. 2566 เป็นต้นมาจำนวน 18,243 รายจากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วโลก
ทีมวิจัยของ ดร. ราเชนทราม ราชนารายณ์ จาก “NYITCOM” ของมหาวิทยาลัยรัฐอาร์คันซอ สหรัฐอเมริกาได้วิเคราะห์ข้อมูลจากศูนย์ควบคุมโรคติดต่อสหรัฐอเมริกา (Centers for Disease Control and Prevention, CDC) ในช่วง 30 วันที่ผ่านมาพบว่าโอมิครอนสายพันธุ์ที่แพร่ระบาดในสหรัฐอันดับที่หนึ่งคือโอมิครอน JN.1 (46.9%) อันดับสองคือ โอมิครอน JN.1.4 (25.2%)
จากการวิเคราะห์จากข้อมูลจีโนมจากฐานข้อมูลโควิดโลก (GISAID) ผ่าน CoV-Spectrum อันเป็นแพลตฟอร์มสำรวจข้อมูลจีโนม SARS-CoV-2 พบว่า
-ทั่วโลกพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 18,242 ราย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ 36% หรือ 1.36 เท่า (ภาพ1A)
-ประเทศสหรัฐฯพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 7,430 ราย มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในสหรัฐขณะนี้ 41% หรือ 1.41 เท่า (ภาพ 1B)
-ประเทศเยอรมนีพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 247 รายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในเยอรมนีขณะนี้ 43% หรือ 1.43 เท่า (ภาพ2A)
-ประเทศไทยพบโอมิครอน JN.1.4 จากผู้ติดเชื้อ 12 รายมีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่าสายพันธุ์อื่นที่ระบาดในไทยขณะนี้ 36% หรือ 1.36 เท่า (ภาพ2B)
-ในขณะที่ทั่วโลกพบโอมิครอน JN.1.4 มีความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาด (relative growth advantage) เหนือกว่า JN.1 ที่ระบาดทั่วโลกขณะนี้ไม่มากคือ 1% หรือ 1.01 เท่า คาดว่าค่าความได้เปรียบในการเติบโต-แพร่ระบาดของ JN.1.4 จะปรับเพิ่มขึ้นในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้าและระบาดเป็นสายพันธุ์หลักแทนที่โอมิครอน JN.1 (ภาพ3)
ทางศูนย์จีโนมฯเป็นส่วนหนึ่งในการเฝ้าติดตามการกลายพันธุ์ของโควิด-19 ในประเทศไทยอย่างใกล้ชิดด้วยการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมเป็นระยะ หากพบความผิดปรกติจะแจ้งให้ทุกภาคส่วนทราบในทันทีเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ที่อาจก่อให้เกิดโรครุนแรงจากการกลายพันธุ์ไปเพียงไม่กี่ตำแหน่งบนจีโนม
#โควิด19 #โควิด #โอมิครอน
https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid09FyTvWjYauv16Q9tzoYzmFhtqcCeGcdWEcVn3BnE9C2bmY54vWvnMec6vHvXjHGgl