ฟังคำอธิบายนักไวรัสวิทยาเรียกโควิด "ซุปโอมิครอน"
ที่น่าสนใจมากคือส่วนหนามของโอมิครอน แต่ละสายพันธุ์ย่อยมีตำแหน่งกลายพันธุ์ทั้งที่ซ้ำกับสายพันธุ์โอมิครอน ดั้งเดิมประหนึ่งเป็นการรีไซเคิล นำตำแหน่งการกลายพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้ได้ผล (ในการหลบเลี่ยงภูมิ หรือจับกับผิวเซลล์) กลับมาใช้ใหม่ผสมผสานกับการกลายพันธุ์ตำแหน่งใหม่ ซึ่งจำเป็นใช้แข่งขันกันเองเพื่อการอยู่รอดในหมู่ของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย
ในยุคโอมิครอน ที่มีสายพันธุ์ย่อยอุบัติขึ้นมามากมาย จึงเปรียบเสมือนเป็นองค์ประกอบของซุป หากเป็นวลีไทยอาจเรียกว่า "รวมมิตรโอมิครอน" ก็เป็นได้ โดยแต่ละภูมิภาคของโลกจะมีการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน
จับตาฤดูหนาวโอมิครอยกลายพันธุ์
ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปีนี้ และต้นปีหน้า 2566 คาดว่าแต่ละภูมิภาคทั่วโลกจะมีการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน เช่นในทวีปยุโรป และอเมริกามีการติดเชื้อโอไมครอน BQ.1 และ BQ.1.1
ขณะที่ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบการระบาดของ XBB,XBB.1-XBB.5 ในขณะที่ทวีปออสเตรเลียพบการระบาดผสมผสานระหว่าง BQ.1 และ XBB
สำหรับประเทศไทยยังคงพบโอไมครอนสาย BA.5 ถึงร้อยละ 97.83%
ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.4.6 จำนวน 2 ราย BQ.1.1 ไม่พบ BQ.1 จำนวน 1 คน BF.7 จำนวน 2 คน BA.2.75 จำนวน 24 คน BA.2.75.2 จำนวน 6 ราย
XBB ไม่พบ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/321127
ราชกิจจาฯเผยแพร่ ประกาศ สธ.ยกเลิกจัดหาวัคซีนโควิดกรณีฉุกเฉิน
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ สธ. ยกเลิกจัดหาวัคซีนโควิด กรณีฉุกเฉินเหตุในประเทศมีเพียงพอ-สถานการณ์คลี่คลายแล้ว
วันที่ 3 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็น พ.ศ.2563 ซึ่งลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ประกาศ ณ วันที่ 31 ต.ค. 2565 มีสาระสำคัญดังนี้
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในภาพรวมของโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์ในประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศยกเลิกให้โรคโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง รวมทั้งได้มีการประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ส่งผลให้เหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 คลี่คลายเป็นปกติแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 รมว.สาธารณสุข จึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID -19) ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็น พ.ศ. 2563 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สามารถติดตามต่อได้ที่ :
https://www.dailynews.co.th/news/1645383/
...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ
🇹🇭🧡มาลาริน🧡🇹🇭 ฟังคำอธิบายนักไวรัสวิทยาเรียกโควิด "ซุปโอมิครอน"/เผยแพร่ ประกาศ สธ.ยกเลิกจัดหาวัคซีนโควิดกรณีฉุกเฉิน
ที่น่าสนใจมากคือส่วนหนามของโอมิครอน แต่ละสายพันธุ์ย่อยมีตำแหน่งกลายพันธุ์ทั้งที่ซ้ำกับสายพันธุ์โอมิครอน ดั้งเดิมประหนึ่งเป็นการรีไซเคิล นำตำแหน่งการกลายพันธุ์ดั้งเดิมที่ใช้ได้ผล (ในการหลบเลี่ยงภูมิ หรือจับกับผิวเซลล์) กลับมาใช้ใหม่ผสมผสานกับการกลายพันธุ์ตำแหน่งใหม่ ซึ่งจำเป็นใช้แข่งขันกันเองเพื่อการอยู่รอดในหมู่ของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อย
ในยุคโอมิครอน ที่มีสายพันธุ์ย่อยอุบัติขึ้นมามากมาย จึงเปรียบเสมือนเป็นองค์ประกอบของซุป หากเป็นวลีไทยอาจเรียกว่า "รวมมิตรโอมิครอน" ก็เป็นได้ โดยแต่ละภูมิภาคของโลกจะมีการระบาดของโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน
จับตาฤดูหนาวโอมิครอยกลายพันธุ์
ในช่วงเข้าสู่ฤดูหนาวปลายปีนี้ และต้นปีหน้า 2566 คาดว่าแต่ละภูมิภาคทั่วโลกจะมีการติดเชื้อโอมิครอนสายพันธุ์ย่อยที่แตกต่างกัน เช่นในทวีปยุโรป และอเมริกามีการติดเชื้อโอไมครอน BQ.1 และ BQ.1.1
ขณะที่ทวีปเอเชีย โดยเฉพาะ อินเดีย บังกลาเทศ มาเลเซีย และสิงคโปร์ พบการระบาดของ XBB,XBB.1-XBB.5 ในขณะที่ทวีปออสเตรเลียพบการระบาดผสมผสานระหว่าง BQ.1 และ XBB
สำหรับประเทศไทยยังคงพบโอไมครอนสาย BA.5 ถึงร้อยละ 97.83%
ส่วนสายพันธุ์ย่อย BA.4.6 จำนวน 2 ราย BQ.1.1 ไม่พบ BQ.1 จำนวน 1 คน BF.7 จำนวน 2 คน BA.2.75 จำนวน 24 คน BA.2.75.2 จำนวน 6 ราย
XBB ไม่พบ
https://www.thaipbs.or.th/news/content/321127
ราชกิจจาฯเผยแพร่ ประกาศ สธ.ยกเลิกจัดหาวัคซีนโควิดกรณีฉุกเฉิน
ราชกิจจาฯ เผยแพร่ประกาศ สธ. ยกเลิกจัดหาวัคซีนโควิด กรณีฉุกเฉินเหตุในประเทศมีเพียงพอ-สถานการณ์คลี่คลายแล้ว
วันที่ 3 พ.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ราชกิจจานุเบกษาเผยแพร่ประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเรื่องการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19) ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็น พ.ศ.2563 ซึ่งลงนามโดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข ประกาศ ณ วันที่ 31 ต.ค. 2565 มีสาระสำคัญดังนี้
โดยที่สถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ในภาพรวมของโลกมีแนวโน้มดีขึ้น ซึ่งองค์การอนามัยโลกได้รายงานว่า ผู้เสียชีวิตจากโรคดังกล่าวลดลงอย่างมีนัยสำคัญ และมีจำนวนต่ำที่สุดนับตั้งแต่เดือน มี.ค. 2563 สอดคล้องกับภาพรวมของสถานการณ์ในประเทศไทย และกระทรวงสาธารณสุขได้ประกาศยกเลิกให้โรคโควิด-19 จากการเป็นโรคติดต่ออันตราย และกำหนดให้โรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง รวมทั้งได้มีการประกาศยกเลิกประกาศสถานการณ์ฉุกเฉินในทุกเขตท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ประกอบกับจำนวนวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศมีจำนวนเพียงพอต่อความต้องการของประชาชน ส่งผลให้เหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็นในการจัดหาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 คลี่คลายเป็นปกติแล้ว
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 วรรคหนึ่ง และมาตรา 18 วรรคสาม แห่ง พ.ร.บ.ความมั่นคงด้านวัคซีนแห่งชาติ พ.ศ. 2561 รมว.สาธารณสุข จึงออกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่องยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง การจัดหาวัคซีนป้องกันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019) (COVID -19) ในกรณีมีเหตุฉุกเฉินหรือเหตุจำเป็น พ.ศ. 2563 โดยให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
สามารถติดตามต่อได้ที่ : https://www.dailynews.co.th/news/1645383/
...ติดตามข่าวโควิดวันนี้ค่ะ