คนอีสานมั่นใจ ‘ประยุทธ์’ อยู่ครบเทอม แต่เลือก ‘อุ๊งอิ๊ง’ เป็นนายกฯคนต่อไป
https://siamrath.co.th/n/403785
เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 30 พ.ย.2565 รศ. ดร.
สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า จากผลสำรวจเรื่อง คนอีสานกับการเลือกตั้งครั้งหน้า ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่คาดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปี ชอบระบบเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ มากกว่าแบบ 1 ใบ เชื่อว่าหากกฎหมายเลือกตั้งไม่พร้อมมีโอกาสสูงที่การเลือกตั้งจะถูกยืดเวลาออกไป แนะ ส.ว. ควรโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้เกิน 250 คน กว่าครึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดต่อจ่ายเงินของหัวคะแนน พรรคไทยสร้างไทยจะเป็นตัวตัดคะแนนการชนะแบบถล่มทลายของพรรคไทยสร้างไทย พรรคที่ได้รับคะแนนนิยม 5 อันดับแรก คือพรรคเพื่อไทย ,ก้าวไกล ไทยสร้างไทย ,พรรคที่พลเอกประยุทธ์สังกัด และภูมิใจไทย ตามลำดับ
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานกับการเลือกตั้ง สส. ที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,063 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ท่านคาดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปีหรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.1 เชื่อว่า รัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปี รองลงมาร้อยละ 13.2 เชื่อว่าจะมีการยุบสภาช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 2566 ตามมาด้วย ร้อยละ 10.6 เชื่อว่าจะยุบสภาใกล้วันที่ 23 มีนาคม 2566 และมีเพียงร้อยละ 5.1 ที่เชื่อว่าจะมีการยุบสภาปลายปีนี้ เมื่อสอบถามว่า ท่านต้องการเลือกตั้งในระบบบัตร 1 ใบหรือบัตร 2 ใบพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.0 ต้องการเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ เลือกคนและพรรคแยกกัน และ ร้อยละ 29.0 ต้องการเลือกตั้งแบบบัตร 1 ใบ เลือกทั้งคนและพรรครวมกัน
เมื่อสอบถามว่า ท่านคิดว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่การเลือกตั้งอาจจะยืดเวลาออกไปหากกฎหมายเลือกตั้งไม่พร้อมพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.0 เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่การเลือกตั้งอาจจะยืดเวลาออกไป และ ร้อยละ 37.0 เชื่อว่า มีโอกาสต่ำที่จะยืดเวลาและน่าจะได้เลือกตั้งตามกำหนดการปกติ
เมื่อสอบถามว่า ในการโหวตเลือกนายกครั้งหน้า ส.ว. ส่วนใหญ่ควรวางตัวอย่างไรพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.2 เห็นว่า ส.ว. ควรโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้เกิน 250 คน และ ร้อยละ 24.8 เห็นว่า ถ้าจำเป็น ส.ว. อาจโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้ไม่ถึง 250 คน เมื่อสอบถามว่า ในการเลือกตั้ง สส. ครั้งที่แล้วท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับการรับเงินจากหัวคะแนนผู้สมัครหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 43.7 ไม่มีประสบการณ์ รองลงมา ร้อยละ 33.3 มีประสบการณ์รับเงินแต่เลือกตามความชอบ ตามมาด้วยร้อยละ 12.9 มีประสบการณ์แต่ปฏิเสธการรับเงิน ร้อยละ 7.6 มีประสบการณ์รับเงินและเลือกคนที่ให้เงินมากที่สุด และ ร้อยละ 2.5 ระบุอื่นๆ โดยรวมแล้วมีประมาณร้อยละ 53.8 ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดต่อจ่ายเงินของหัวคะแนน
รศ.ดร.
สุทิน กล่าวต่ออีกว่า เมื่อสอบถามว่า พรรคการเมืองใดจะเป็นอุปสรรคหรือตัวตัดคะแนนสำคัญในการชนะแบบถล่มทลายของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดของท่านพบว่า ร้อยละ 47.6 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย รองลงมาร้อยละ 19.7 เป็นพรรคที่พลเอกประยุทธ์สังกัด ตามมาด้วยร้อยละ 18.7 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 12.5 ระบุว่าเป็นพรรคภูมิใจไทย และพรคคอื่นๆ ร้อยละ 1.5 เมื่อสอบถามว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้พรรคใด พบว่า อันดับ 1 เป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 32.0 รองลงมาพรรคก้าวไกล ร้อยละ18.0 อันดับ 3 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 16.8 ตามมาด้วยพรรคที่มีพลเอกประยุทธ์สังกัด ร้อยละ 10.6 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 9.7 พรรคพลังประชารัฐ (ที่ไม่มี พล.อ.ประยุทธ์) ร้อยละ 5.4 พรคคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.0 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 2.0 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.5
เมื่อสอบถามว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. แบบเขต ให้ผู้สมัครจากพรรคใด พบว่า อันดับหนึ่งเป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 36.3 รองลงมาพรรคก้าวไกล ร้อยละ16.1 อันดับ 3 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 13.3 ตามมาด้วยพรรคที่มีพลเอก
ประยุทธ์สังกัด ร้อยละ 10.8 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 10.3 พรรคพลังประชารัฐ (ที่ไม่มีพล.อ.ประยุทธ์) ร้อยละ 5.5 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 3.1
เมื่อสอบถามต่อว่า ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 เป็นของ น.ส.
แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 24.9 รองลงมา คุณหญิง
สุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 20.1 อันดับ 3 คุณ
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 17.5 ตามมาด้วยพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.0 คุณอ
นุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 9.7 คนอื่นๆ จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 4.0 พล.ต.อ.
เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 3.4 คุณ
จุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 3.1 และอื่นๆ ร้อยละ 3.0”
นายกส.ทนายฯ ออกแถลงการณ์ บิ๊กตู่ เปิดบ้านร.1ทม.รอ. รับส.ส.คุยเลือกตั้ง ส่อผิดประมวลจริยธรรม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3702860
นายกสมาคมทนายความเเถลง “ประยุทธ์” เปิดบ้านร.1 ทม.รอ. ที่เป็นส่วนราชการรับ ส.ส.หารือเลือกตั้งส่อฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน นาย
นรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยออกเเถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กรณีตามที่ปรากฏข่าวจากการนำเสนอของสื่อมวลชนและการให้สัมภาษณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งว่า เมื่อค่ำของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ได้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคร่วมรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองดังกล่าวได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีที่บ้านพักรับรองเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงสมัครรับเลือกตั้ง นั้น
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีเป็นการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งการใช้บ้านพักรับรองซึ่งตั้งอยู่ในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ อันเป็นส่วนราชการในพระองค์เป็นสถานที่นัดพบคือการใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2564 ข้อ 5 (2) และข้อ 8 (6) ตามข้อ 5 ของประมวลจริยธรรมดังกล่าว เป็นข้อกําหนดเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ อันเป็นคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) การฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อ 5 คือการไม่ซื่อสัตย์และไม่รับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (4) ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นต่อไปว่า ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองดังกล่าวนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามประกาศใช้และเป็นผู้รักษาการด้วยตนเอง จึงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของนักการเมืองที่ดี ถึงแม้การชุมนุมหรือการพบปะทางการเมืองจะเป็นสิทธิและเสรีภาพของนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองก็ตาม แต่จะต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หรือทรัพย์สินของทางราชการไปแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง เพราะนอกจากจะเป็นการไม่สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่แล้วยังขาดจิตสำนึกที่ดีอันเป็นแบบอย่างของนักการเมืองที่ไม่พึงประสงค์
"ธีรรัตน์" ตอก 8 ปีทุจริตเฟื่องฟู ภาพลักษณ์ไทยดิ่งเหว ซัด "ประยุทธ์" หยุดถลุงภาษีปชช.
https://siamrath.co.th/n/403735
วันที่ 30 พ.ย.65 น.ส.
ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มี 605 โครงการ วงเงิน 3,748.70 ล้านบาทว่า รู้สึกเศร้าใจกับรัฐบาลพลเอก
ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำเงินงบประมาณจากภาษีของพี่น้องประชาชนมาแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่รัฐบาลไม่สามารถทำได้สำเร็จนับตั้งแต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ได้ประกาศไว้ในการแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2562 แก้ปัญหาการทุจริต เป็น 1 ในนโยบายหลัก 12 ด้าน การอนุมัติงบประมาณดังกล่าวนี้ถือเป็นการประจานความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล และเป็นการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง ไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ แทนที่จะนำเงินงบประมาณนี้ไปใช้ในการสนับสนุนด้านการศึกษา ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไม่ให้หลุดออกจากระบบ หรือนำไปแก้ไขช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เผชิญปัญหาปากท้องซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่า
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พล.อ.
ประยุทธ์ ชอบอ้างว่ามาจากประชาชน ควรรู้ปัญหาประเทศว่า ขณะนี้คนไทยต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสจากความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝีมือของพลเอก
ประยุทธ์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่พลเอก
ประยุทธ์เป็นผู้นำรัฐประหาร จนมาถึงปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดคะแนนปลอดคอร์รัปชันในประเทศไทยที่จัดอันดับโดยองค์กร Transparency International พบว่า คะแนนในปี 2564 อยู่ที่ 35 คะแนน ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่วนอันดับตกลงมาต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสวนทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ตั้งเป้าว่าจะทำให้คะแนนคอร์รัปชันทำได้ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ภายในปี พ.ศ. 2565 เพียงแค่การตั้งเป้าหมายนี้ คงทำได้ยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา พลเอก
ประยุทธ์อยู่ในอำนาจมา 8 ปี อันดับและคะแนนการรับรู้การทุจริตตกต่ำลงมาเรื่อยๆ แล้วเหตุใดจึงต้องใช้งบประมาณหลายพันล้านบาท เพื่อให้การแก้ทุจริตสำเร็จ ทั้งที่อายุรัฐบาลเหลือไม่ถึง 6 เดือน การแก้ปัญหาการทุจริต ไม่สามารถแก้ไขด้วยเงินงบประมาณ แต่ทางออกเดียวที่จะทำให้การแก้ไขปัญหานี้เป็นไปได้คือ ฝากรัฐบาลชุดใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาฟื้นฟูซากปรักหักพังเหล่านี้ให้จบสิ้น ประเทศไทยพังมามากพอแล้วจากน้ำมือของพวกท่าน
"
รัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่พวกท่านกล่าวหาว่าโกง นั้น ในปี 2548 อันดับการประเมินจาก Transparency International องค์กรเดียวกัน ก็พบว่าการรับรู้การทุจริตอยู่ในอันดับที่ 59 จากวันนั้น จนถึงวันนี้ วลีที่ว่า ‘ดีและไม่โกง’ มีจริงหรือไม่ คงเป็นคำถามที่หลายคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว พลเอกประยุทธ์อย่าหลอกตัวเองอีกเลย ลงจากอำนาจก่อนที่ประเทศจะเสียหายไปมากกว่านี้" น.ส.
ธีรรัตน์ กล่าว
JJNY : 5in1 อีสานมั่นใจ‘ประยุทธ์’ แต่เลือก‘อุ๊งอิ๊ง’| ส.ทนายฯแถลง| ธีรรัตน์ตอก8ปีทุจริต| สมชัยทัก 6ผลกระทบ| กสทช.ขู่กกท.
https://siamrath.co.th/n/403785
เมื่อเวลา 15.30 น.วันที่ 30 พ.ย.2565 รศ. ดร.สุทิน เวียนวิวัฒน์ หัวหน้าโครงการอีสานโพลศูนย์วิจัยธุรกิจและเศรษฐกิจอีสาน (ECBER) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น เปิดเผยว่า จากผลสำรวจเรื่อง คนอีสานกับการเลือกตั้งครั้งหน้า ผลสำรวจพบว่า กลุ่มตัวอย่างคนอีสานส่วนใหญ่คาดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปี ชอบระบบเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ มากกว่าแบบ 1 ใบ เชื่อว่าหากกฎหมายเลือกตั้งไม่พร้อมมีโอกาสสูงที่การเลือกตั้งจะถูกยืดเวลาออกไป แนะ ส.ว. ควรโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้เกิน 250 คน กว่าครึ่งมีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดต่อจ่ายเงินของหัวคะแนน พรรคไทยสร้างไทยจะเป็นตัวตัดคะแนนการชนะแบบถล่มทลายของพรรคไทยสร้างไทย พรรคที่ได้รับคะแนนนิยม 5 อันดับแรก คือพรรคเพื่อไทย ,ก้าวไกล ไทยสร้างไทย ,พรรคที่พลเอกประยุทธ์สังกัด และภูมิใจไทย ตามลำดับ
การสำรวจนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อสำรวจความคิดเห็นของคนอีสานกับการเลือกตั้ง สส. ที่จะเกิดขึ้นในไม่กี่เดือนข้างหน้า จากกลุ่มตัวอย่างอายุ 18 ปีขึ้นไป 1,063 รายในเขตพื้นที่ภาคอีสาน 20 จังหวัด เมื่อสอบถามกลุ่มตัวอย่างว่า ท่านคาดว่ารัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปีหรือไม่อย่างไร พบว่า ส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.1 เชื่อว่า รัฐบาลจะอยู่ครบวาระ 4 ปี รองลงมาร้อยละ 13.2 เชื่อว่าจะมีการยุบสภาช่วงเดือนมกราคมหรือกุมภาพันธ์ 2566 ตามมาด้วย ร้อยละ 10.6 เชื่อว่าจะยุบสภาใกล้วันที่ 23 มีนาคม 2566 และมีเพียงร้อยละ 5.1 ที่เชื่อว่าจะมีการยุบสภาปลายปีนี้ เมื่อสอบถามว่า ท่านต้องการเลือกตั้งในระบบบัตร 1 ใบหรือบัตร 2 ใบพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 71.0 ต้องการเลือกตั้งแบบบัตร 2 ใบ เลือกคนและพรรคแยกกัน และ ร้อยละ 29.0 ต้องการเลือกตั้งแบบบัตร 1 ใบ เลือกทั้งคนและพรรครวมกัน
เมื่อสอบถามว่า ท่านคิดว่ามีโอกาสมากน้อยแค่ไหนที่การเลือกตั้งอาจจะยืดเวลาออกไปหากกฎหมายเลือกตั้งไม่พร้อมพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 63.0 เชื่อว่ามีโอกาสสูงที่การเลือกตั้งอาจจะยืดเวลาออกไป และ ร้อยละ 37.0 เชื่อว่า มีโอกาสต่ำที่จะยืดเวลาและน่าจะได้เลือกตั้งตามกำหนดการปกติ
เมื่อสอบถามว่า ในการโหวตเลือกนายกครั้งหน้า ส.ว. ส่วนใหญ่ควรวางตัวอย่างไรพบว่าส่วนใหญ่ หรือร้อยละ 75.2 เห็นว่า ส.ว. ควรโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้เกิน 250 คน และ ร้อยละ 24.8 เห็นว่า ถ้าจำเป็น ส.ว. อาจโหวตให้พรรคที่รวบรวมเสียง ส.ส. ได้ไม่ถึง 250 คน เมื่อสอบถามว่า ในการเลือกตั้ง สส. ครั้งที่แล้วท่านมีประสบการณ์เกี่ยวกับการรับเงินจากหัวคะแนนผู้สมัครหรือไม่ พบว่า ร้อยละ 43.7 ไม่มีประสบการณ์ รองลงมา ร้อยละ 33.3 มีประสบการณ์รับเงินแต่เลือกตามความชอบ ตามมาด้วยร้อยละ 12.9 มีประสบการณ์แต่ปฏิเสธการรับเงิน ร้อยละ 7.6 มีประสบการณ์รับเงินและเลือกคนที่ให้เงินมากที่สุด และ ร้อยละ 2.5 ระบุอื่นๆ โดยรวมแล้วมีประมาณร้อยละ 53.8 ที่มีประสบการณ์เกี่ยวกับการติดต่อจ่ายเงินของหัวคะแนน
รศ.ดร.สุทิน กล่าวต่ออีกว่า เมื่อสอบถามว่า พรรคการเมืองใดจะเป็นอุปสรรคหรือตัวตัดคะแนนสำคัญในการชนะแบบถล่มทลายของพรรคเพื่อไทยในจังหวัดของท่านพบว่า ร้อยละ 47.6 ระบุว่าเป็น พรรคไทยสร้างไทย รองลงมาร้อยละ 19.7 เป็นพรรคที่พลเอกประยุทธ์สังกัด ตามมาด้วยร้อยละ 18.7 พรรคก้าวไกล ร้อยละ 12.5 ระบุว่าเป็นพรรคภูมิใจไทย และพรคคอื่นๆ ร้อยละ 1.5 เมื่อสอบถามว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน ส.ส. บัญชีรายชื่อให้พรรคใด พบว่า อันดับ 1 เป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 32.0 รองลงมาพรรคก้าวไกล ร้อยละ18.0 อันดับ 3 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 16.8 ตามมาด้วยพรรคที่มีพลเอกประยุทธ์สังกัด ร้อยละ 10.6 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 9.7 พรรคพลังประชารัฐ (ที่ไม่มี พล.อ.ประยุทธ์) ร้อยละ 5.4 พรคคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 3.0 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 2.0 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 2.5
เมื่อสอบถามว่า ถ้าเลือกตั้ง ส.ส. วันนี้ ท่านมีแนวโน้มจะลงคะแนน สส. แบบเขต ให้ผู้สมัครจากพรรคใด พบว่า อันดับหนึ่งเป็น พรรคเพื่อไทย ร้อยละ 36.3 รองลงมาพรรคก้าวไกล ร้อยละ16.1 อันดับ 3 พรรคไทยสร้างไทย ร้อยละ 13.3 ตามมาด้วยพรรคที่มีพลเอกประยุทธ์สังกัด ร้อยละ 10.8 พรรคภูมิใจไทย ร้อยละ 10.3 พรรคพลังประชารัฐ (ที่ไม่มีพล.อ.ประยุทธ์) ร้อยละ 5.5 พรรคประชาธิปัตย์ ร้อยละ 2.9 พรรคเสรีรวมไทย ร้อยละ 1.7 และพรรคอื่นๆ ร้อยละ 3.1
เมื่อสอบถามต่อว่า ถ้ามีการเลือกตั้งใหม่ ท่านอยากให้ใครเป็นนายกรัฐมนตรีมากที่สุด พบว่า อันดับ 1 เป็นของ น.ส. แพทองธาร ชินวัตร ร้อยละ 24.9 รองลงมา คุณหญิงสุดารัตน์ เกยุราพันธุ์ ร้อยละ 20.1 อันดับ 3 คุณพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ร้อยละ 17.5 ตามมาด้วยพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ร้อยละ 11.0 คุณอนุทิน ชาญวีรกุล ร้อยละ 9.7 คนอื่นๆ จากพรรคเพื่อไทย ร้อยละ 4.0 พล.ต.อ.เสรีพิศุทธ์ เตมียเวส ร้อยละ 3.4 คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ ร้อยละ 3.1 และอื่นๆ ร้อยละ 3.0”
นายกส.ทนายฯ ออกแถลงการณ์ บิ๊กตู่ เปิดบ้านร.1ทม.รอ. รับส.ส.คุยเลือกตั้ง ส่อผิดประมวลจริยธรรม
https://www.matichon.co.th/news-monitor/news_3702860
นายกสมาคมทนายความเเถลง “ประยุทธ์” เปิดบ้านร.1 ทม.รอ. ที่เป็นส่วนราชการรับ ส.ส.หารือเลือกตั้งส่อฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้าราชการการเมือง
เมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน นายนรินท์พงศ์ จินาภักดิ์ นายกสมาคมทนายความแห่งประเทศไทยออกเเถลงการณ์ สมาคมทนายความแห่งประเทศไทย กรณีตามที่ปรากฏข่าวจากการนำเสนอของสื่อมวลชนและการให้สัมภาษณ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรท่านหนึ่งว่า เมื่อค่ำของวันที่ 24 พฤศจิกายน 2565 ได้มีนักการเมืองกลุ่มหนึ่งประกอบด้วยหัวหน้าพรรคการเมือง เลขาธิการพรรค สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคร่วมรัฐบาลและผู้เกี่ยวข้องกับพรรคการเมืองดังกล่าวได้ไปพบกับนายกรัฐมนตรีที่บ้านพักรับรองเพื่อหารือเกี่ยวกับการลงสมัครรับเลือกตั้ง นั้น
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นว่า การกระทำดังกล่าวของนายกรัฐมนตรีเป็นการใช้หรือยินยอมให้ผู้อื่นใช้สถานะหรือตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไปแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง อีกทั้งการใช้บ้านพักรับรองซึ่งตั้งอยู่ในกรมทหารราบที่ 1 รักษาพระองค์ อันเป็นส่วนราชการในพระองค์เป็นสถานที่นัดพบคือการใช้ทรัพย์สินของทางราชการเพื่อประโยชน์ทางการเมืองของตนเองหรือผู้อื่น อันเป็นการฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมือง พ.ศ. 2564 ข้อ 5 (2) และข้อ 8 (6) ตามข้อ 5 ของประมวลจริยธรรมดังกล่าว เป็นข้อกําหนดเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์สุจริต มีจิตสำนึกที่ดี และรับผิดชอบต่อหน้าที่ อันเป็นคุณสมบัติของรัฐมนตรีตามรัฐธรรมนูญมาตรา 160 (4) และ (5) การฝ่าฝืนประมวลจริยธรรมข้อ 5 คือการไม่ซื่อสัตย์และไม่รับผิดชอบต่อตำแหน่งหน้าที่ทำให้ความเป็นรัฐมนตรีสิ้นสุดลงเฉพาะตัวตามรัฐธรรมนูญมาตรา 170 (4) ซึ่งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกวุฒิสภาจํานวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบมีสิทธิเข้าชื่อเพื่อร้องขอให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัย หรือคณะกรรมการการเลือกตั้งมีอำนาจส่งเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยได้ด้วย
สมาคมทนายความแห่งประเทศไทยเห็นต่อไปว่า ประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองดังกล่าวนายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามประกาศใช้และเป็นผู้รักษาการด้วยตนเอง จึงควรปฏิบัติตนให้เป็นแบบอย่างของนักการเมืองที่ดี ถึงแม้การชุมนุมหรือการพบปะทางการเมืองจะเป็นสิทธิและเสรีภาพของนายกรัฐมนตรีและนักการเมืองก็ตาม แต่จะต้องไม่ใช้ตำแหน่งหน้าที่หรือทรัพย์สินของทางราชการไปแสวงหาประโยชน์ทางการเมือง เพราะนอกจากจะเป็นการไม่สุจริตต่อตำแหน่งหน้าที่แล้วยังขาดจิตสำนึกที่ดีอันเป็นแบบอย่างของนักการเมืองที่ไม่พึงประสงค์
"ธีรรัตน์" ตอก 8 ปีทุจริตเฟื่องฟู ภาพลักษณ์ไทยดิ่งเหว ซัด "ประยุทธ์" หยุดถลุงภาษีปชช.
https://siamrath.co.th/n/403735
วันที่ 30 พ.ย.65 น.ส.ธีรรัตน์ สำเร็จวาณิชย์ ส.ส.กทม.และโฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวถึง กรณีที่คณะรัฐมนตรีมีมติเมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2565 เห็นชอบแผนปฏิบัติการด้านการต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบ ระยะที่ 2 (พ.ศ. 2566-2570) ตามยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี มี 605 โครงการ วงเงิน 3,748.70 ล้านบาทว่า รู้สึกเศร้าใจกับรัฐบาลพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม นำเงินงบประมาณจากภาษีของพี่น้องประชาชนมาแก้ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นที่รัฐบาลไม่สามารถทำได้สำเร็จนับตั้งแต่รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ได้ประกาศไว้ในการแถลงนโยบายรัฐบาลเมื่อวันที่ 25-26 กรกฎาคม 2562 แก้ปัญหาการทุจริต เป็น 1 ในนโยบายหลัก 12 ด้าน การอนุมัติงบประมาณดังกล่าวนี้ถือเป็นการประจานความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชั่นของรัฐบาล และเป็นการใช้งบประมาณอย่างสิ้นเปลือง ไม่เหมาะสมกับภาวะเศรษฐกิจ แทนที่จะนำเงินงบประมาณนี้ไปใช้ในการสนับสนุนด้านการศึกษา ช่วยเหลือเด็กและเยาวชนไม่ให้หลุดออกจากระบบ หรือนำไปแก้ไขช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่เผชิญปัญหาปากท้องซึ่งจะมีความเหมาะสมกว่า
โฆษกพรรคเพื่อไทย กล่าวว่า พล.อ.ประยุทธ์ ชอบอ้างว่ามาจากประชาชน ควรรู้ปัญหาประเทศว่า ขณะนี้คนไทยต้องเผชิญกับความทุกข์ยากอย่างแสนสาหัสจากความล้มเหลวในการบริหารราชการแผ่นดินโดยฝีมือของพลเอกประยุทธ์ ทั้งนี้ นับตั้งแต่ที่พลเอกประยุทธ์เป็นผู้นำรัฐประหาร จนมาถึงปัจจุบัน ดัชนีชี้วัดคะแนนปลอดคอร์รัปชันในประเทศไทยที่จัดอันดับโดยองค์กร Transparency International พบว่า คะแนนในปี 2564 อยู่ที่ 35 คะแนน ต่ำสุดในรอบ 10 ปี ส่วนอันดับตกลงมาต่ำที่สุดในรอบ 4 ปี ซึ่งสวนทางยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปีที่ตั้งเป้าว่าจะทำให้คะแนนคอร์รัปชันทำได้ไม่ต่ำกว่า 50 คะแนน ภายในปี พ.ศ. 2565 เพียงแค่การตั้งเป้าหมายนี้ คงทำได้ยากยิ่งกว่าเข็นครกขึ้นภูเขา พลเอกประยุทธ์อยู่ในอำนาจมา 8 ปี อันดับและคะแนนการรับรู้การทุจริตตกต่ำลงมาเรื่อยๆ แล้วเหตุใดจึงต้องใช้งบประมาณหลายพันล้านบาท เพื่อให้การแก้ทุจริตสำเร็จ ทั้งที่อายุรัฐบาลเหลือไม่ถึง 6 เดือน การแก้ปัญหาการทุจริต ไม่สามารถแก้ไขด้วยเงินงบประมาณ แต่ทางออกเดียวที่จะทำให้การแก้ไขปัญหานี้เป็นไปได้คือ ฝากรัฐบาลชุดใหม่ที่มีความรู้ ความสามารถ เข้ามาฟื้นฟูซากปรักหักพังเหล่านี้ให้จบสิ้น ประเทศไทยพังมามากพอแล้วจากน้ำมือของพวกท่าน
"รัฐบาล ดร.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี ที่พวกท่านกล่าวหาว่าโกง นั้น ในปี 2548 อันดับการประเมินจาก Transparency International องค์กรเดียวกัน ก็พบว่าการรับรู้การทุจริตอยู่ในอันดับที่ 59 จากวันนั้น จนถึงวันนี้ วลีที่ว่า ‘ดีและไม่โกง’ มีจริงหรือไม่ คงเป็นคำถามที่หลายคนมีคำตอบในใจอยู่แล้ว พลเอกประยุทธ์อย่าหลอกตัวเองอีกเลย ลงจากอำนาจก่อนที่ประเทศจะเสียหายไปมากกว่านี้" น.ส.ธีรรัตน์ กล่าว